วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การคุ้มครองผู้บริโภค


สารบรรณงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541
ประกาศ
- หลอดไฟฟ้า
- หลอดฟลูออเรสเซ็นต์

ข่าวสารผู้บริโภค
ส.ค.บ.เตรียมคุมเข้มสัญญา ๓ ธุรกิจ

การขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน

พระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ. 2535

[ดาวโหลดแบบฟอร์มที่ใช้ในการแจ้งประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2]

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การถ่ายโอนภารกิจตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2552

ภารกิจที่ถ่ายโอนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

1.การกำกับดูแลโรงงานจำพวกที่ 1

2.การกำกับดูแลการรับแจ้งการประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2

3.การตรวจสอบกรณีที่โรงงานก่อเหตุเดือดร้อน

ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2552

คำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ 253/2552 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2552 เรื่องแต่งตั้งข้าราชการเทศบาลเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535

คำสั่งดังกล่าวได้แต่งตั้งข้าราชการเทศบาล 17 ตำแหน่ง เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535

1.นายกเทศมนตรี

2.ปลัดเทศบาล

3.รองปลัดเทศบาล

4.ผู้อำนวยการสำนักการช่าง

5.ผู้อำนวยการกองช่างหรือหัวหน้ากองช่าง

6.นักบริหารงานช่าง ระดับ 6 หรือเทียบเท่าขึ้นไป กองช่างหรือสำนักการช่าง

7.วิศวกรโยธา ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป กองช่างหรือสำนักการช่าง

8.นายช่างโยธา ระดับ 2 หรือเทียบเท่าขึ้นไป กองช่างหรือสำนักการช่าง

9.ผู้อำนวยการสำนักการช่างสุขาภิบาล

10.ผู้อำนวยการกองช่างสุขาภิบาลหรือหัวหน้ากองช่างสุขาภิบาล

11.นักบริหารงานช่างสุขาภิบาล ระดับ 6 หรือเทียบเท่าขึ้นไป กองช่างสุขาภิบาลหรือสำนักการช่างสุขาภิบาล

12.วิศวกรสุขาภิบาล ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป กองช่างสุขาภิบาลหรือสำนักการช่างสุขาภิบาล

13.นักวิชาการสุขาภิบาล ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป กองช่างสุขาภิบาลหรือสำนักการช่างสุขาภิบาล

14.ผู้อำนวยการสำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

15.ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมหรือหัวหน้ากองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

16.นักบริหารงานสาธารณสุข ระดับ 6 หรือเทียบเท่าขึ้นไป กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมหรือสำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

17.นักวิชาการสาธารณสุข ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม หรือสำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

มีอำนาจหน้าที่ตามที่มอบอำนาจไว้ดังนี้

มาตรา 11 ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในจะเริ่มประกอบกิจการโรงงานให้แจ้งต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน แบบและรายละเอียดที่ต้องแจ้งและแบบใบรับแจ้ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่รับแจ้งตามวรรค หนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบรับแจ้งเพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งแก่ผู้แจ้งในวัน ที่ได้รับแจ้ง และให้ผู้แจ้งประกอบกิจการโรงงานได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบรับแจ้งในกรณีที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบในภายหลังว่าการแจ้งตามวรรคหนึ่งไม่ถูกต้องหรือไม่ ครบถ้วน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้แจ้งแก้ไขให้ถูกต้องหรือครบถ้วนภาย ในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งดังกล่าวการเลิกประกอบกิจการ การโอน การให้เช่าหรือการให้เช่าซื้อโรงงานจำพวกที่ 2 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบภายใน สามสิบวันนับแต่วันที่ได้ดำเนินการดังกล่าว

มาตรา 33 ถ้าโรงงานจำพวกที่ 2 หรือโรงงานจำพวกที่ 3 หยุดดำเนินงานติดต่อกันเกิน กว่าหนึ่งปี ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 หรือผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 แล้วแต่กรณีต้องแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันพ้นกำหนดหนึ่งปี ถ้าบุคคลดังกล่าวตามวรรคหนึ่งประสงค์จะประกอบกิจการโรงงานต่อไป ให้แจ้งเป็นหนังสือ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนเริ่มประกอบกิจการและถ้าเป็นโรงงานจำพวกที่ 3 จะต้องได้รับอนุญาต เป็นหนังสือจากพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อนแล้วจึงประกอบกิจการโรงงานได้ ในการให้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 ต่อไปนั้น ให้นำมาตรา 15 วรรคสอง และมาตรา 16 มาใช้บังคับโดยอนุโลม (เฉพาะโรงงานจำพวกที่ 2)

มาตรา 34 ในกรณีมีอุบัติเหตุในโรงงานเนื่องจากโรงงานหรือเครื่องจักรของโรงงานไม่ว่าจะ เป็นกรณีของโรงงานจำพวกใด ถ้าอุบัติเหตุนั้น
(1)
เป็นเหตุให้บุคคลถึงแก่ความตาย เจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ ซึ่งภายหลังเจ็ดสิบ สองชั่วโมงแล้วยังไม่สามารถทำงานในหน้าที่เดิมได้ ให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานแจ้งเป็นหนังสือให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบภายในสามวันนับแต่วันตาย หรือวันครบกำหนดเจ็ดสิบสองชั่วโมง แล้วแต่กรณี
(2)
เป็นเหตุให้โรงงานต้องหยุดดำเนินงานเกินกว่าเจ็ดวัน ให้ผู้ประกอบกิจการ โรงงานแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบภายในสิบวันนับแต่วันเกิด อุบัติเหตุ เมื่อเกิดอุบัติเหตุในโรงงานใดตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจโรงงานและ เครื่องจักรและพิจารณาดำเนินการตามมาตรา 37 หรือมาตรา 39 แล้วแต่กรณี (เฉพาะโรงงานจำพวกที่ 1 และ 2 )

มาตรา 35 เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ดังต่อไปนี้
(1)
เข้าไปในโรงงานหรืออาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่มีเหตุควรสงสัยว่า จะประกอบกิจการโรงงานในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลา ทำการของสถานที่ ดังกล่าว เพื่อตรวจสภาพโรงงาน อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะ สภาพเครื่องจักร หรือการกระทำใดที่อาจเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
(2)
นำตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่สงสัยเกี่ยวกับคุณภาพในปริมาณพอสมควร เพื่อตรวจสอบคุณภาพพร้อมกับเอกสารที่เกี่ยวข้อง
(3)
ตรวจ ค้น กัก ยึดหรืออายัดผลิตภัณฑ์ ภาชนะบรรจุ สมุดบัญชี เอกสาร หรือสิ่งใด ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่มีเหตุสงสัยว่าการประกอบกิจการของโรงงานอาจก่อให้เกิดอันตราย แก่บุคคลหรือทรัพย์สินที่อยู่ในโรงงานหรือที่อยู่ใกล้เคียงกับโรงงาน หรือมีการกระทำผิดต่อพระราชบัญญัตินี้
(4)
มีหนังสือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งเอกสารหรือวัตถุใดมาเพื่อประกอบการพิจารณาได้

มาตรา 37 ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ผู้ประกอบกิจการโรงงานผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือการประกอบกิจการโรงงานมีสภาพที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ความเสียหายหรือความเดือดร้อนแก่บุคคลหรือทรัพย์สินที่อยู่ในโรงงานหรือที่ อยู่ใกล้เคียงกับโรงงาน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นระงับการกระทำที่ฝ่าฝืนหรือ แก้ไขหรือปรับปรุงหรือปฏิบัติให้ ถูกต้องหรือเหมาะสมภายในระยะเวลาที่กำหนดได้ (เฉพาะโรงงานจำพวกที่ 1และ 2 )

มาตรา 38 การส่งคำสั่งตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่นำส่ง ณ ภูมิลำเนา
หรือโรงงานของบุคคลซึ่งระบุไว้ในคำสั่ง ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลา ทำการของบุคคลนั้น หรือจะส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับก็ได้ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่นำส่งแล้วแต่บุคคลซึ่งระบุไว้ในคำสั่งปฏิเสธไม่ ยอมรับคำสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ขอให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจไปเป็น พยานเพื่อวางคำสั่งไว้ ณ ที่นั้น แต่ถ้าไม่พบบุคคลซึ่งระบุไว้ในคำสั่ง ณ ภูมิลำเนาหรือสถานที่ทำการของบุคคลนั้นจะส่งให้กับบุคคลใด ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วซึ่งอยู่หรือทำงาน ณ ที่นั้นก็ได้ และถ้าไม่พบบุคคลใดหรือพบแต่ไม่มีบุคคลใด ยอมรับไว้แทน ให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่ที่เห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือโรงงานนั้นต่อหน้าพนักงานฝ่าย ปกครองหรือตำรวจที่ไปเป็นพยาน เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองแล้วให้ถือว่า บุคคลซึ่งระบุ ไว้ในคำสั่งได้รับคำสั่งนั้นแล้ว แต่ถ้าเป็นการส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือโดยการปิดคำสั่งให้ถือว่าได้รับคำสั่งนั้นเมื่อครบกำหนดห้าวันทำการนับ แต่วันที่พนักงานไปรษณีย์ได้ส่งหรือวันที่ได้ปิดคำสั่งนั้นไว้แล้วแต่กรณี

มาตรา 43 ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 และโรงงานจำพวกที่ 3 ต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปีตามหลักเกณฑ์ วิธีการและอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงตลอดเวลาที่ยังประกอบกิจการ ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการประกอบกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและเงินเพิ่มครบจำนวน และให้นำมาตรา 39 มาตรา 40 และมาตรา 41 มาใช้บังคับโดยอนุโลม (เฉพาะโรงงานจำพวกที่ 2)

คำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมที่ 254/2552 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2552 เรื่องมอบหมายให้ข้าราชการเทศบาลมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535

มอบอำนาจให้

1.นายกเทศมนตรี

2.ปลัดเทศบาล

3.รองปลัดเทศบาล

มีอำนาจหน้าที่

มาตรา 37 ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ผู้ประกอบกิจการโรงงานผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือการประกอบกิจการโรงงานมีสภาพที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ความเสียหายหรือความเดือดร้อนแก่บุคคลหรือทรัพย์สินที่อยู่ในโรงงานหรือที่ อยู่ใกล้เคียงกับโรงงาน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นระงับการกระทำที่ฝ่าฝืนหรือ แก้ไขหรือปรับปรุงหรือปฏิบัติให้ถูกต้องหรือเหมาะสมภายในระยะเวลาที่กำหนด ได้

ใน กรณีที่เห็นสมควร เมื่อได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวง หรือผู้ซึ่งปลัดกระทรวงมอบหมาย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจผูกมัดประทับตราเครื่องจักร เพื่อมิให้เครื่องจักรทำงานได้ในระหว่างการปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้า หน้าที่ตามวรรคหนึ่ง (เฉพาะโรงงานจำพวกที่ 1 และ 2)

มาตรา 39 ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการโรงงานใดจงใจไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามมาตรา 37 โดยไม่มีเหตุอันควรหรือในกรณีที่ปรากฏว่าการประกอบกิจการของโรงงานใดอาจจะ ก่อให้เกิดอันตราย ความเสียหายหรือความเดือดร้อนอย่างร้ายแรงแก่บุคคลหรือทรัพย์สินที่อยู่ใน โรงงานหรือที่อยู่ใกล้เคียงกับโรงงานให้ปลัดกระทรวงหรือผู้ซึ่งปลัดกระทรวง มอบหมายมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานนั้นหยุดประกอบกิจการโรงงานทั้ง หมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว และปรับปรุงแก้ไขโรงงานนั้นเสียใหม่หรือปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่ กำหนด

ถ้าผู้ประกอบกิจการโรงงานได้ปรับปรุงแก้ไขโรงงานหรือปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้ว ให้ปลัดกระทรวงหรือผู้ซึ่งปลัดกระทรวงมอบหมายสั่งให้ประกอบกิจการโรงงานต่อไปได้

ถ้าผู้ประกอบกิจการโรงงานไม่ปรับปรุงแก้ไขโรงงานหรือไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง ภายในเวลาที่กำหนด ให้ปลัดกระทรวงหรือผู้ซึ่งปลัดกระทรวงมอบหมายมีอำนาจสั่งปิดโรงงานได้ และในกรณีที่เป็นโรงงานจำพวกที่ 3 ให้คำสั่งปิดโรงงานดังกล่าวมีผลเป็นการเพิกถอนใบอนุญาตด้วย

การจำแนกจำพวกโรงงาน

พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 ได้แบ่งโรงงานออกเป็น 3 จำพวก โดยคำนึงถึงความจำเป็นในการควบคุมดูแล การป้องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญ การป้องกันความเสียหาย และการป้องกันอันตรายตามระดับความรุนแรงของผลกระทบที่มีต่อประชาชนหรือสิ่งแวดล้อมดังนี้

1.โรงงานจำพวกที่ 1 ได้แก่โรงงานประเภท ชนิด และขนาดที่สามารถประกอบกิจการโรงงานได้ทันทีตามความประสงค์ของผู้ประกอบกิจการโรงงาน

2.โรงงานจำพวกที่ 2 ได้แก่โรงงานประเภท ชนิด และขนาดที่จะประกอบกิจการโรงงานต้องแจ้งให้ผู้อนุญาตทราบก่อน

3.โรงงานจำพวกที่ 3 ได้แก่โรงงาน ชนิด และขนาดที่การตั้งโรงงานจะต้องได้รับใบอนุญาตก่อนจึงจะดำเนินการได้

กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง

1.กฎกระทรวง (พ.ศ.2535) ลงวันที่ 24 กันยายน 2535

2.กฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ.2544) ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2544

3.กฎกระทรวง ฉบับที่ 16 (พ.ศ.2545) ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2545

4.กฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ.2549) ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2549

ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต

1 กฎกระทรวง ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕

2 กฎกระทรวง ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕

3 กฎ กระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ [ยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ ๒ หรือจำพวกที่ ๓ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่ง ประเทศไทย]

4 กฎ กระทรวง ฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๕๔๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ (แก้ไขเพิ่มเติมให้สามารถชำระค่าธรรมเนียมรายปีของผู้ประกอบกิจการโรงงาน จำพวกที่ ๒ และโรงงานจำพวกที่ ๓ ได้อีกวิธีหนึ่ง)

5 กฎ กระทรวง ฉบับที่ ๑๘ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ (กฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ กำหนดให้โรงงานที่มีการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชำระค่า ธรรมเนียมรายปีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับการถ่ายโอนภารกิจนั้น)

ให้กำหนดค่าธรรมเนียมรายปีดังต่อไปนี้
(1) ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการโรงงานที่ไม่ใช้เครื่องจักร ปีละ 150 บาท
(2) ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการโรงงานที่ใช้เครื่องจักร ไม่ถึงห้าแรงม้า ปีละ 150 บาท
(3) ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการโรงงานที่ใช้เครื่องจักร ตั้งแต่ห้าแรงม้าหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ห้าแรงม้า แต่ไม่ถึงยี่สิบแรงม้า ปีละ 300 บาท
(4) ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการโรงงานที่ใช้เครื่องจักร ตั้งแต่ยี่สิบแรงม้าหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ยี่สิบแรงม้า แต่ไม่ถึงห้าสิบแรงม้า ปีละ 450บาท
(5) ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการโรงงานที่ใช้เครื่องจักร ตั้งแต่ห้าสิบแรงม้าหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ห้าสิบแรงม้าแต่ไม่ถึงหนึ่ง ร้อยแรงม้า ปีละ 900 บาท
(6) ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการโรงงานที่ใช้เครื่องจักร ตั้งแต่หนึ่งร้อยแรงม้าหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่หนึ่งร้อยแรงม้าแต่ไม่ถึง สองร้อยแรงม้า ปีละ 1,500 บาท
(7) ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการโรงงานที่ใช้เครื่องจักร ตั้งแต่สองร้อยแรงม้าหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่สองร้อยแรงม้าแต่ไม่ถึงสาม ร้อยแรงม้า ปีละ 2,100 บาท
(8) ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการโรงงานที่ใช้เครื่องจักร ตั้งแต่สามร้อยแรงม้าหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่สามร้อยแรงม้าแต่ไม่ถึงสี่ ร้อยแรงม้า ปีละ 2,700 บาท
(9) ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการโรงงานที่ใช้เครื่องจักร ตั้งแต่สี่ร้อยแรงม้าหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่สี่ร้อยแรงม้า แต่ไม่ถึงห้าร้อยแรงม้า ปีละ 3,600 บาท
(10) ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการโรงงานที่ใช้เครื่องจักร ตั้งแต่ห้าร้อยแรงม้าหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ห้าร้อยแรงม้าแต่ไม่ถึงหก ร้อยแรงม้า ปีละ 4,500 บาท
(11) ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการโรงงานที่ใช้เครื่องจักร ตั้งแต่หกร้อยแรงม้าหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่หกร้อยแรงม้าแต่ไม่ถึงเจ็ด ร้อยแรงม้า ปีละ 5,400 บาท
(12) ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการโรงงานที่ใช้เครื่องจักร ตั้งแต่เจ็ดร้อยแรงม้าหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่เจ็ดร้อยแรงม้าแต่ไม่ถึงแปด ร้อยแรงม้า ปีละ 6,600 บาท
(13) ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการโรงงานที่ใช้เครื่องจักร ตั้งแต่แปดร้อยแรงม้าหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่แปดร้อยแรงม้าแต่ไม่ถึงเก้า ร้อยแรงม้า ปีละ 7,800 บาท
(14) ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการโรงงานที่ใช้เครื่องจักร ตั้งแต่เก้าร้อยแรงม้าหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่เก้าร้อยแรงม้าแต่ไม่ถึง หนึ่งพันแรงม้า ปีละ 9,000 บาท
(15) ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการโรงงานที่ใช้เครื่องจักร ตั้งแต่หนึ่งพันแรงม้าหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่หนึ่งพันแรงม้าแต่ไม่ถึงสอง พันแรงม้า ปีละ 10,500 บาท
(16) ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการโรงงานที่ใช้เครื่องจักร ตั้งแต่สองพันแรงม้าหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่สองพันแรงม้าแต่ไม่ถึงสามพัน แรงม้า ปีละ 12,000 บาท
(17) ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการโรงงานที่ใช้เครื่องจักร ตั้งแต่สามพันแรงม้าหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่สามพันแรงม้าแต่ไม่ถึงสี่พัน แรงม้า ปีละ 13,500 บาท
(18) ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการโรงงานที่ใช้เครื่องจักร ตั้งแต่สี่พันแรงม้าหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่สี่พันแรงม้า แต่ไม่ถึงห้าพันแรงม้า ปีละ 15,000 บาท
(19) ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการโรงงานที่ใช้เครื่องจักร ตั้งแต่ห้าพันแรงม้าหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ห้าพันแรงม้าแต่ไม่ถึงหกพัน แรงม้า ปีละ 16,500 บาท
(20) ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการโรงงานที่ใช้เครื่องจักร ตั้งแต่หกพันแรงม้าหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่หกพันแรงม้าขึ้นไป ปีละ 18,000 บาท

ท่านสามารถรับบริการเกี่ยวกับงานจดทะเบียนโรงงานได้ที่ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักงานเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

การควบคุมโรงงาน

โรงงานไม่ว่าจะเป็นโรงงานจำพวกที่ 1 หรือ 2 หรือ 3 จะต้องประกอบกิจการภายใต้การควบคุมในด้านต่างๆดังนี้

1.การควบคุมมลภาวะด้านน้ำทิ้ง

การควบคุมน้ำทิ้งที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน มีการควบคุมตามประกาศดังนี้

1.ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2539) เรื่องกำหนดคุณลักษณะของน้ำทิ้งที่ระบายออกจากโรงงาน ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2539

2.ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่องกำหนดคุณลักษณะของน้ำทิ้งที่ระบายออกนอกโรงงานให้มีค่าแตกต่างจากที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับ 2 ( พ.ศ. 2539) เรื่อง กำหนดคุณลักษณะของน้ำทิ้งที่ระบายออกจากโรงงาน ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540

2.การควบคุมมลภาวะด้านอากาศ

อากาศที่ระบายออกจากโรงงาน มีกฎหมายควบคุมดังนี้

1.ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานปูนซีเมนต์ พ.ศ. ๒๕๔๙

2.ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๙

3.ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณเขม่าควันที่เจือปนในอากาศที่ระบายออกจากปล่องของหม้อน้ำโรง สีข้าวที่ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๙

4.ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณเขม่าควันที่เจือปนในอากาศที่ระบายออกจากปล่องของหม้อน้ำของโรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๙

5.ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่เจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรง งาน ซึ่งใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงในการเผาไหม้ พ.ศ. ๒๕๔๗

6.ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดให้โรงงานประเภทต่าง ๆ ต้องติดตั้งเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์พิเศษเพื่อตรวจสอบคุณภาพอากาศจาก ปล่องแบบอัตโนมัติ พ.ศ. ๒๕๔๔

7.ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานผลิต ส่ง หรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า พ.ศ. ๒๕๔๔

8.ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน

9.ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดปริมาณสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากปล่องเตาเผาสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุ ที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นอันตรายจากอุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๔๕

10.ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานปูนซีเมนต์ พ.ศ. ๒๕๔๗

11.แก้คำผิด ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานปูนซีเมนต์ พ.ศ. ๒๕๔๗ [ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม ๑๒๑ ตอนพิเศษ ๗๐ ง วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๔๗]

12.ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๘

13ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน กรณีการใช้น้ำมันใช้แล้วที่ผ่านกระบวนการปรับคุณภาพและเชื้อเพลิงสังเคราะห์ เป็นเชื้อเพลิงในเตาอุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๔๘

14.ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศ ที่ระบายออกจากโรงงาน (เพิ่มเติม)

15.

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานผลิต ส่งหรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า

16.

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) เรื่อง ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน (เพิ่มเติม)