วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

หนังสือพิมพ์ของเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

วารสารเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประจำปี 2555

ฉบับประจำเดือนตุลาคม 2555
ฉบับประจำเดือนกันยายน 2555
ฉบับประจำเดือนสิงหาคม 2555
ฉบับประจำเดือนกรกฎาคม 2555
ฉบับประจำเดือนมิถุนายน 2555
ฉบับประจำเดือนพฤษภาคม 2555 

ฉบับประจำเดือนเมษายน 2555
ฉบับประจำเดือนมีนาคม 2555
ฉบับประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2555
ฉบับประจำเดือนมกราคม 2555

 
วารสารเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประจำปี 2554
ฉบับประจำเดือนกรกฏาคม 2554
ฉบับประจำเดือนมิถุนายน 2554
ฉบับประจำเดือนพฤษภาคม 2554
ฉบับประจำเดือนเมษายน 2554
ฉบับประจำเดือนมีนาคม 2554
ฉบับประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2554
ฉบับประจำเดือนมกราคม 2554
รายงานกิจการประจำปี
รายงานกิจการประจำปี 2553 
รายงานกิจการประจำปี 2554

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

ระเบียบวาระประชุมคณะกรรมการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ระเบียบวาระประชุมคณะกรรมการ

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ครั้งที่ 3 / 2554

วันที่ 26 มกราคม 2554 เวลา 10.00 น.

สถานที่ ห้องประชุมสภาเทศบาลฯ ชั้น 3

………………………

ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

ระเบียบวาระที่ 2 รับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ เทศบาลเมือง

สุไหงโก-ลก ครั้งที่ 2 /2554 วันที่ 22 ธันวาคม 2553

มติที่ประชุม…………………………………………………………………………………..

ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

เรื่องที่ 1 รายงานสถานะทางการเงินของกองทุนฯ (ตามเอกสาร)

ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณา

เรื่องที่ 1 การอนุมัติโครงการสร้างเสริมสุขภาพจากหน่วยงาน / ภาคประชาชน จำนวน 5 โครงการ

1.โครงการฝึกสอนกีฬาลีลาศ ตามมาตรฐานการกีฬาลีลาศ

ผู้รับผิดชอบ ชมรมกีฬาลีลาศสุไหงโก-ลก งบประมาณ 50,400 บาท

มติที่ประชุม ............................................................................................................................

2.โครงการแก้ปัญหาภาวะโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์

ผู้รับผิดชอบ แผนกฝากครรภ์และศูนย์สุขภาพชุมชน รพ.สก. งบประมาณ 37,500 บาท

มติที่ประชุม ............................................................................................................................

3.โครงการคุณแม่คุณภาพ

ผู้รับผิดชอบ แผนกฝากครรภ์ ศูนย์สุขภาพชุมชน รพ. สก. งบประมาณ 55,200 บาท

มติที่ประชุม ............................................................................................................................

4.โครงการแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์

ผู้รับผิดชอบ แผนกสูตินรีเวชและศูนย์สุขภาพชุมชน รพ. สก. งบประมาณ 11,000 บาท

มติที่ประชุม ............................................................................................................................

5.โครงการส่งเสริมสุขภาพด้านการออกกำลังกาย

ผู้รับผิดชอบ 11 ชุมชน งบประมาณ 247,720 บาท

มติที่ประชุม ............................................................................................................................

ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องเพื่อติดตาม

เรื่องที่ 1 รายงานผลการดำเนินงานของอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ

1. คณะทำงานจัดทำแผน ฯ

2. อนุกรรมการฝ่ายเลขาและธุรการ

3. อนุกรรมการฝ่ายการเงินและการคลัง

4. อนุกรรมการฝ่ายติดตามประเมินผล

เรื่องที่ 2 กิจกรรมขอตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการและเอกซเรย์ ของโครงการสร้างเสริมสุขภาพ

อรม. ชุมชนสุไหงโก-ลก (กลุ่มพายุ)

ระเบียบวาระที่ 6 วาระอื่น ๆ

.................................................................................................................................................

รายงานการประชุมกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

รายงานการประชุมกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ครั้งที่ 2/54 วันที่ 22 ธันวาคม 2553

ห้องประชุมเทศบาล ชั้น 3

เปิดประชุมเวลา 10.00 น.

เมื่อคณะกรรมการมาพร้อมกันแล้ว นางสุชาดา พันธ์นรา นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก ในฐานะประธานกรรมการกองทุนฯ ได้กล่าวเปิดการประชุมและดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระดังนี้

ระเบียบวาระที่ 1 ประธานแจ้งที่ประชุม

ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ด้วยในวันที่ 27 และ 28 ธันวาคม 2553 ทางเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จะจัดกิจกรรมวันอาซูรอสัมพันธ์ เฉลิมพระเกียรติพระชนมายุ 84 พรรษา ขอเชิญชวนทุกคนทุกชุมชนร่วมกิจกรรมครั้งนี้ด้วย

ระเบียบวาระที่ 2 รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 1/54 วันที่ 2 ตค. 2553

มติที่ประชุม : รับรองรายงานการประชุม

ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

เรื่องที่ 1 : รายงานสถานะทางการเงินของกองทุน ยอดยกมา 2,271,399.58 บาท โดยมีรายรับ-รายจ่าย ดังนี้

1.จ่ายให้กิจกรรมประเภทที่ 1 จำนวน 3 โครงการ คือ

1.1โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเยาวชนสาธารณสุขในโรงเรียน เป็นเงิน 7,800 บาท

1.2 โครงการวัยรุ่นยุคใหม่ ใส่ใจสุขภาพ เป็นเงิน 57,600 บาท

1.3 โครงการรณรงค์วัคซีนโปลิโอ เป็นเงิน 47,200 บาท

2.จ่ายให้กิจกรรมประเภทที่ 2 จำนวน 3 โครงการ คือ

2.1โครงการดูแลผู้ไปฮัจญ์ เป็นเงิน 8,940 บาท

2.2 โครงการวันรวมใจ ต้านภัยเอดส์ เป็นเงิน 150,900 บาท

2.3 โครงการมหกรรมเสริมสร้างและคัดกรองสุขภาพจิต เป็นเงิน 49,960 บาท

3.จ่ายให้กิจกรรมประเภทที่ 4

3.1 ค่าเบี้ยประชุม ค่าเอกสาร อาหารว่าง เป็นเงิน 6,500 บาท

3.2 ค่าจัดทำไวนิล ซื้ออุปกรณ์ งานมหกรรมกองทุนฯ เป็นเงิน 18,136 บาท

3.3 ค่าเดินทางไปราชการงานมหกรรมกองทุนฯ เป็นเงิน 5,230 บาท

4.รับเงินคืนจากโครงการต่างๆ เป็นเงิน 5,457 บาท

5.รับเงินสนับสนุนจัดบูธนิทรรศการมหกรรมกองทุน จาก สปสช.เขต 12 เป็นเงิน 5,000 บาท

คงเหลืองบประมาณกองทุน 1,934,820.58 บาท

มติที่ประชุม : รับทราบ

ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณา

เรื่องที่ 1 : การพิจารณาโครงการที่ขอสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงาน / ภาคประชาชน

- ในการประชุมครั้งนี้ไม่มีโครงการเสนอขอสนับสนุนงบประมาณ

เรื่องที่ 2 : หารือกิจกรรมขอตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการและเอกซเรย์ ของโครงการสร้างเสริมสุขภาพ อรม.ชุมชนสุไหงโก-ลก (กลุ่มพายุ)

- ที่ประชุมได้มีความเห็นว่าในการขอสนับสนุนงบประมาณโครงการลักษณะนี้ เพื่อไม่ให้เป็นมาตรฐานสำหรับองค์กรและชมรมอื่นๆ ที่จะขอสนับสนุนในลักษณะเดียวกัน จึงเห็นควรลดกิจกรรม ลดประเภทรายการที่จะตรวจ ซึ่งได้แนบรายการตรวจสุขภาพประจำปีพร้อมค่าใช้จ่าย ทั้งประเภทอายุน้อยกว่า 35 ปี และมากกว่า 35 ปี รวมทั้งจากการปรึกษาหารือ กับ สปสช.เขต ซึ่งได้แนะนำว่าการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการตรวจคัดกรองเบื้องต้นสามารถตรวจได้ ส่วนการตรวจทางห้องปฏิบัติการจะเกินขอบเขตของกองทุน ประกอบกับ สปสช.มีงบประมาณสนับสนุนให้สถานบริการสาธารณสุขใช้สำหรับดำเนินการในรายที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งในเรื่องนี้ที่ประชุมให้คุณตันจุรีย์ประสานกับผู้รับผิดชอบของโรงพยาบาล และให้ทางผู้เสนอโครงการหารือกับผู้อำนวยการโรงพยาบาลด้วย

มติที่ประชุม : รับทราบ

ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องเพื่อติดตาม

เรื่องที่ 1 : รายงานผลการดำเนินงานของอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ

1.คณะทำงานจัดทำแผนฯ

- จากการให้แต่ละหน่วยงาน ชุมชนและชมรม จัดทำแผน พบว่าแผนงานของโรงพยาบาลได้เสนอโครงการ 29 โครงการ ใช้งบประมาณ 1,300,000.-กว่าบาท ซึ่งเกินจากที่เรากำหนดสัดส่วนการสนับสนุนในแต่ละมิติ คือ ร้อยละ 25 : 25 : 40 :10 ซึ่งคณะทำงานจัดทำแผนได้เสนอว่า สำหรับแผนที่มีงบประมาณที่เกี่ยวข้องสนับสนุนอยู่แล้วให้ไปรับการสนับสนุนจากงบประมาณนั้นๆ เช่น โครงการเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ให้ไปขอกับงบ ศตส. ซึ่งมีจำนวน 4 โครงการ ให้ไปปรับหรือทบทวนเพื่อพิจารณารอบใหม่จำนวน 6 โครงการ และไม่ผ่านการพิจารณาเข้าแผน 6 โครงการ เนื่องจากมีงบประมาณปกติสนับสนุนอยู่แล้ว ส่วนของชมรมและชุมชนก็เช่นเดียวกัน ถ้าเป็นแผนเกี่ยวกับการจัดซื้อครุภัณฑ์ จะไม่ได้รับการเข้าแผนกองทุน ซึ่งในการพิจารณา ทางคณะทำงานมีกรรมการจากทุกหน่วยงาน โดยเรายึดวัตถุประสงค์ของกองทุนเป็นหลัก ไม่ได้มีอำนาจจะพิจารณาตัดหรืออนุมัติ แต่พิจารณาว่าโครงการใด มีงบที่สนับสนุนอยู่แล้วให้ไปใช้ในงบนั้น ในหลายโครงการที่ใกล้เคียง ทั้งของสถานบริการ และชุมชน ทางคณะทำงานพยายามจะจัดกลุ่มเข้าด้วยกัน สำหรับโครงการที่ผ่านเข้าแผน ไม่ใช่ว่าจะได้รับการสนับสนุนทันที ต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการชุดใหญ่ก่อน

2.อนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ

- มีโครงการที่ยังไม่ได้ส่งหลักฐานทางการเงิน และสรุปผลการดำเนินงาน 6 โครงการ โดยได้ประสานกับผู้รับผิดชอบโครงการให้รีบดำเนินการด้วย เรื่องระยะเวลาการส่งใช้ และการสรุปสำหรับบางโครงการที่จ่ายเป็นงวด อาจจะช้าในการสรุปส่งหลักฐาน

3.อนุกรรมการฝ่ายการเงิน

- การทำเอกสารส่งใช้หลักฐานบางโครงการ แม้จะช้าแต่ไม่ค่อยมีปัญหาให้แก้ไขมาก

4.อนุกรรมการฝ่ายติดตามฯ

- วันที่ 25 พฤศจิกายน 2553 ติดตามโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เยาวชนสาธารณสุขในโรงเรียน ถือว่า ผ่านเกณฑ์มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 50 คน

- วันที่ 26 พฤศจิกายน 2553 ติดตามโครงการวัยรุ่นยุคใหม่ ใส่ใจสุขภาพ ผลที่ออกมาถือว่าคุ้มค่า เพราะเป็นการดำเนินงานของกลุ่มนักเรียนเอง ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกินเป้าที่วางไว้

-วันที่ 3 ธันวาคม 2553 ติดตามโครงการวันรวมใจต้านภัยเอดส์ พบว่ากิจกรรมการดำเนินงานได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะความร่วมมือจากโรงเรียนต่างๆ

- สำหรับโครงการจิตเวช ขอเลื่อนโครงการไปเป็นวันที่ 5 มกราคม 2553

ระเบียบวาระที่ 6 เรื่องอื่นๆ

เรื่องที่ 1 : หารือเรื่องการทำป้ายกองทุน และการจัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์กองทุน ให้อนุฝ่ายเลขาหาตัวอย่างรูปแบบของโลโก้หลายๆแบบ มานำเสนอเพื่อคัดเลือกเป็นโลโก้ของกองทุนเรา ส่วนเรื่องการจัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์กองทุน น่าจะมีการจัดทำเอกสารแผ่นพับประชาสัมพันธ์กองทุนให้บุคคลภายนอกทราบ ซึ่งรูปแบบอาจดูตัวอย่างของกองทุนสุขภาพเทศบาลนครสงขลาก็ได้

ปิดการประชุม 11.30 น.

นายไซนัล นิรมาณกุล

ผู้บันทึกการประชุม

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

การนับปีทางจันทรคติ

สำนักทะเบียนกลาง ได้มีหนังสือที่ มท ๐๓๑๐/ว ๔ ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ ซักซ้อมการลงรายการเกี่ยวกับวันเดือนปี ทางจันทรคติ(ปีนักษัตร) ในเอกสารทะเบียนราษฎรไว้ดังนี้ การลงวันเดือนปี ทางจันทรคติ (ปีนักษัตร ชวด ฉลู ขาล..) ในเอกสารทะเบียนราษฎร สำนักทะเบียนราษฎรควรถือปฏิบัติในการนับวันเดือนปี ตามปฏิทินหลวงเป็นหลัก ซึ่งกำหนดให้วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑ (อ้าย) เป็นวันที่เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ โดยจะอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม ในแต่ละปี ส่วนวันสุดท้ายของปีนักษัตร คือวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

ภารกิจถ่ายโอน การควบคุมน้ำมันเชื่อเพลิง

ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง การถ่ายโอนภารกิจงานควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงตามพระราชบัญญัติ กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

เพื่อให้การกระจายอำนาจและถ่ายโอนภารกิจงานควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง ตาม พระราชบัญญัติ ควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ที่กรมธุรกิจพลังงานรับผิดชอบให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 32 (1) แห่ง พระราชบัญญัติ กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และ แผนการปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดขอบเขต การถ่ายโอนภาคกิจงานด้านควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงตามพระราชบัญญัติ ควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ประจำปี 2546 ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล ชั้น 1 และ 2 และอาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 4 วรรคเก้า แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 กรมธุรกิจพลังงานจึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 กรมธุรกิจพลังงาน กำหนดขอบเขตการถ่ายโอนภารกิจและวิธีปฏิบัติงานสำหรับในปี 2546 ให้แก่ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลชั้น 1 และ 2 ดังต่อไปนี้
(1) กิจการควบคุมประเภทที่ 1 ได้แก่ การตรวจตราสถานประกอบกิจการ
(2) กิจการควบคุมประเภทที่ 2 ได้แก่ การรับแจ้งการประกอบกิจการ และการตรวจตราสถานประกอบกิจการ
(3) กิจการควบคุมประเภทที่ 3 ได้แก่ การอนุญาตประกอบกิจการและการตรวจตราสถานประกอบกิจการ เฉพาะสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ยกเว้นประเภท ฉ
ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขที่กำหนดท้ายประกาศนี้
ข้อ 2 อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน มอบอำนาจการเป็นผู้อนุญาต ตาม พระราชบัญญัติ ควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ให้ผู้ดำรงตำแหน่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้
(1) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
(2) นายกเมืองพัทยา ในเขตพื้นที่เมืองพัทยา
(3) นายกเทศมนตรี ในเขตพื้นที่เทศบาลที่รับผิดชอบ
(4) นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลที่รับผิดชอบ
ข้อ 3[1] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2546
(ลงชื่อ) วิโรจน์ คลังบุญครอง
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน

สรุปกิจการที่ถ่ายโอนให้กับเทศบาล

1) การตรวจตราสถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงลักษณะที่หนึ่ง (ร้านค้าปลีกจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงรายย่อย)

2) การรับแจ้งการประกอบกิจการและการตรวจตรา

2.1 สถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงลักษณะที่สอง (โรงงานขนาดเล็กหรือเพื่อการเกษตร)

2.2 สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ค ลักษณะที่ หนึ่ง (ปั๊มถังลอยดีเซลริมทางขนาดเล็ก)

2.3 สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ง (ปั๊มหลอดแก้วมือหมุน)

2.4 สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท จ ลักษณะที่หนึ่ง (สถานีบริการทางน้ำขนาดเล็ก)

3) การอนุญาตประกอบกิจการและตรวจตรา

3.1 สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก (สถานีบริการมาตรฐานบนถนนใหญ่)

3.2 สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ข (สถานีบริการมาตรฐานขนาดเล็กในซอย)

3.3 สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ค ลักษณะที่สอง (ปั๊มถังลอยดีเซลริมทางขนาดใหญ่)

3.4 สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท จ ลักษณะที่สอง (สถานีบริการทางน้ำขนาดใหญ่เก็บน้ำมันดีเซลหรือน้ำมันเบนซิน)


การติดต่อขอรับบริการเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง ติดต่อได้ที่กองช่าง สำนักงานเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก