วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ธุรกิจขายก๊าซหุงต้ม

ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา

เรื่อง ให้ธุรกิจขายก๊าซหุงต้มที่เรียกเงินประกันถังก๊าซหุงต้ม

เป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒[๑]

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๕ เบญจ และมาตรา ๓๕ อัฎฐ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ ประกอบกับมาตรา ๓ มาตรา ๔ และมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงินและลักษณะของหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ในประกาศนี้

เงินประกัน หมายความว่า เงินที่ผู้บริโภคมอบให้ไว้แก่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นค่าประกันถังก๊าซหุงต้ม และผู้บริโภคจะได้รับคืนต่อเมื่อนำถังก๊าซหุงต้มคืนให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ หรือผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๒๑ ที่เป็นเจ้าของถังก๊าซหุงต้ม หรือผู้ประกอบธุรกิจรายหนึ่งรายใดที่ขายก๊าซหุงต้มของผู้ค้าน้ำมันดังกล่าว

ก๊าซหุงต้ม หมายความว่า ก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ใช้ในการหุงต้ม

ผู้ประกอบธุรกิจ หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจขายก๊าซหุงต้มที่บรรจุสำเร็จในถังก๊าซหุงต้มให้แก่ผู้บริโภค

ข้อ ๒ ให้ธุรกิจขายก๊าซหุงต้มที่เรียกเงินประกันถังก๊าซหุงต้ม เป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒

ข้อ ๓ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีหลักฐานการรับเงินตามข้อ ๔ และมอบให้แก่ผู้บริโภคในทันทีที่รับเงินประกันจากผู้บริโภคที่ซื้อก๊าซหุงต้ม

ข้อ ๔ หลักฐานการรับเงินที่ผู้ประกอบธุรกิจ ออกให้แก่ผู้บริโภคตามข้อ ๓ ต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน มีขนาดของตัวอักษรไม่เล็กกว่าสองมิลลิเมตร และต้องใช้ข้อความที่มีสาระสำคัญและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

(๑) ชื่อและที่อยู่ของผู้ประกอบธุรกิจ และลายมือชื่อของผู้มีอำนาจออกหลักฐานการรับเงิน

(๒) วัน เดือน ปีที่รับเงินประกัน

(๓) จำนวนเงินประกัน และข้อความว่า ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับคืนเงินประกันเมื่อผู้บริโภคนำถังก๊าซหุงต้มคืนให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๒๑ ที่เป็นเจ้าของถังก๊าซหุงต้ม หรือผู้ประกอบธุรกิจรายหนึ่งรายใดที่ขายก๊าซหุงต้มของผู้ค้าน้ำมันดังกล่าว

ข้อ ๕ หลักฐานการรับเงินตามข้อ ๔ ต้องไม่มีข้อความว่า ผู้ประกอบธุรกิจจะหักเงินประกันเป็นค่าเสื่อมราคาของก๊าซหุงต้มหรือค่าอื่น ใด เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจพิสูจน์ได้ว่าถังก๊าซหุงต้มที่ผู้บริโภค นำมาคืนมีความชำรุดบกพร่องอันเกิดจากการใช้ถังก๊าซหุงต้มอย่างผิดปกติจาก วิสัยของวิญญูชน

ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓ เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒

ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์

ประธานกรรมการว่าด้วยสัญญา


หมายเหตุ :- เหตุผลในการออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาฉบับนี้ คือ เนื่องจากสภาพการค้าก๊าซหุงต้ม เมื่อผู้บริโภคซื้อก๊าซหุงต้มจากผู้ประกอบธุรกิจจะต้องวางเงินประกันมอบให้ไว้แก่ผู้ประกอบธุรกิจเพื่อเป็นค่าประกันถังก๊าซหุงต้ม แต่ผู้ประกอบธุรกิจบางรายไม่ได้มอบหลักฐานการรับเงินประกันให้ไว้ ผู้บริโภคอาจไม่ได้รับเงินประกันเมื่อนำถังก๊าซหุงต้มคืนให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจหรือได้รับคืนแต่ไม่เต็มตามจำนวน หรือในกรณีผู้ประกอบธุรกิจปิดกิจการ ผู้บริโภคก็ไม่สามารถนำถังก๊าซหุงต้มไปคืนและได้รับเงินประกันคืน และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้ประสานกับผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๒๑ และผู้ประกอบธุรกิจขายก๊าซหุงต้มรายย่อยแล้วว่าต่อไปจะมีราคาถังก๊าซหุงต้มเป็นราคาเดียวกันตั้งแต่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๖ โรงงานบรรจุ และผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและจะทำสัญญากับผู้ประกอบธุรกิจขายก๊าซหุงต้มรายย่อยโดยระบุข้อความที่มีผลผูกพันไปยังผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๖ ว่า ถ้าผู้บริโภคซื้อก๊าซหุงต้มของตนไปแล้วนำถังก๊าซหุงต้มมาคืน จะสามารถคืนให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๖ ก็ได้ หรือจะคืนให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจขายก๊าซหุงต้มรายย่อย รายใดรายหนึ่งที่ขายก๊าซหุงต้มของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๖ ก็ได้ ดังนั้น คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาจึงเห็นสมควรออกประกาศฉบับนี้เพื่อให้เกิดผลบังคับการคืนเงินหลักประกันให้แก่ผู้บริโภค

หมายเหตุเพิ่มเติม

เมื่อ คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาได้กำหนดให้มีการประกาศควบคุมรายการในหลักฐานการรับ เงินของการประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการรายใดแล้ว หากปรากฏว่า

- ไม่ใช้ข้อความ ที่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาประกาศกำหนด ให้ถือว่าหลักฐานการรับเงินดังกล่าว มีข้อความตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

- ใช้ข้อความ ที่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาประกาศห้ามใช้ ให้ถือว่าหลักฐานการรับเงินดังกล่าว ไม่มีข้อความเช่นว่า นั้น

บทลงโทษ

ถ้า ผู้ประกอบการรายใดไม่ส่งมอบสัญญาหรือไม่ส่งมอบหลักฐานการรับเงินที่มีข้อ สัญญาหรือข้อความตามที่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญา ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับเกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ข้อมูลเพิ่มเติม

ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อสินค้าหรือบริการ

ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ร้องเรียนที่ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนผู้บริโภคเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

งานนิติการ กองวิชาการและแผนงาน

สำนักงานเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก โทร.073-615295

บริการซ่อมรถยนต์

ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา

เรื่อง ให้ธุรกิจการให้บริการซ่อมรถยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการ

ในหลักฐานการรับเงิน

พ.ศ. ๒๕๔๖[๑]

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๕ เบญจ และมาตรา ๓๕ อัฏฐ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับมาตรา ๓ มาตรา ๔ และมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงินและลักษณะของหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ในประกาศนี้

ธุรกิจการให้บริการซ่อมรถยนต์ หมายความว่า การประกอบธุรกิจหลักในการให้บริการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องยนต์ และหรือซ่อมตัวถังและอาจมีการให้บริการทำสี บำรุงรักษารถยนต์ รวมทั้งส่วนควบอื่นและอุปกรณ์ของรถยนต์ด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะให้บริการภายในหรือภายนอกสถานประกอบการ

รถยนต์ หมายความว่า รถยนต์ส่วนบุคคล รถยนต์สาธารณะ และรถยนต์บริการตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์

ข้อ ๒ ให้ธุรกิจการให้บริการซ่อมรถยนต์ เป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน

ข้อ ๓ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีหลักฐานการรับเงินตามข้อ ๔. และมอบให้แก่ผู้บริโภคในทันทีที่รับเงินหรือค่าตอบแทนการให้บริการซ่อมรถยนต์

ข้อ ๔ หลักฐานการรับเงินที่ผู้ประกอบธุรกิจออกให้แก่ผู้บริโภคตามข้อ ๓ ต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน มีขนาดของตัวอักษรไม่เล็กกว่าสองมิลลิเมตร และต้องใช้ข้อความที่มีสาระสำคัญและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

(๑) ชื่อและที่อยู่ของผู้ประกอบธุรกิจและของผู้มีอำนาจออกหลักฐานการรับเงิน

(๒) วัน เดือน ปี ที่ผู้บริโภคส่งมอบรถยนต์ให้ซ่อม และ วัน เดือน ปี ที่ผู้บริโภครับมอบรถยนต์เมื่อซ่อมเสร็จ

(๓) วัน เดือน ปี ที่รับเงินหรือค่าตอบแทนการให้บริการซ่อมรถยนต์

(๔) รายละเอียดเกี่ยวกับยี่ห้อ รุ่น หมายเลขเครื่องยนต์ หมายเลขตัวถังและหมายเลขทะเบียนของรถยนต์ที่ทำการซ่อม

(๕) ระยะทางการใช้ของรถยนต์ในวันที่รับมอบเพื่อซ่อมและในวันที่ซ่อมเสร็จ

(๖) รายการที่ทำการซ่อม

(๗) ราคาค่าบริการซ่อมรถยนต์ (ค่าแรง)

(๘) กรณีที่มีการเปลี่ยนอะไหล่ต้องระบุ

(ก) รายการ ยี่ห้อ และสภาพของอะไหล่ที่เปลี่ยน

(ข) ราคาอะไหล่

(๙) ระยะเวลาหรือระยะทางสำหรับการรับประกันความชำรุดบกพร่องหรือคุณภาพงานซ่อม และหรือการรับประกันอะไหล่ที่เปลี่ยน

(๑๐) ลายมือชื่อของผู้มีอำนาจออกหลักฐานการรับเงินในเอกสารหลักฐานการรับเงินและหรือเอกสารแนบท้ายหลักฐานการรับเงินทั้งหมด

ข้อ ๕ หลักฐานการรับเงินตามข้อ ๔ ต้องไม่มีข้อความที่มีลักษณะหรือความหมายเป็นการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิด ของผู้ประกอบธุรกิจที่เกิดจากความจงใจหรือประมาทเลินเล่อในการให้บริการซ่อม รถยนต์ของผู้ประกอบธุรกิจหรือของบุคคลอื่นซึ่งผู้ประกอบธุรกิจต้องรับผิด ด้วย

ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๗ เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖

ขวัญชัย สันตสว่าง

ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการว่าด้วยสัญญา

หมายเหตุเพิ่มเติม

เมื่อ คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาได้กำหนดให้มีการประกาศควบคุมรายการในหลักฐานการรับ เงินของการประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการรายใดแล้ว หากปรากฏว่า

- ไม่ใช้ข้อความ ที่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาประกาศกำหนด ให้ถือว่าหลักฐานการรับเงินดังกล่าว มีข้อความตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

- ใช้ข้อความ ที่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาประกาศห้ามใช้ ให้ถือว่าหลักฐานการรับเงินดังกล่าว ไม่มีข้อความเช่นว่า นั้น

บทลงโทษ

ถ้า ผู้ประกอบการรายใดไม่ส่งมอบสัญญาหรือไม่ส่งมอบหลักฐานการรับเงินที่มีข้อ สัญญาหรือข้อความตามที่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญา ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับเกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ข้อมูลเพิ่มเติม

ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อสินค้าหรือบริการ

ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ร้องเรียนที่ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนผู้บริโภคเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

งานนิติการ กองวิชาการและแผนงาน

สำนักงานเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก โทร.073-615295

ธุรกิจการให้เช่าที่อยู่อาศัย

ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา

เรื่อง ให้ธุรกิจการให้เช่าที่อยู่อาศัยที่เรียกเงินประกัน

เป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. ๒๕๔๙[๑]

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๕ เบญจ และมาตรา ๓๕ อัฏฐ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับมาตรา ๓ มาตรา ๔ และมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงินและลักษณะของหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ในประกาศนี้

ธุรกิจการให้เช่าที่อยู่อาศัย หมายความว่า การประกอบธุรกิจที่ผู้ประกอบธุรกิจทำการตกลงกับผู้เช่าในการให้เช่าที่อยู่อาศัยโดยมีสถานที่ที่จัดแบ่งให้เช่าตั้งแต่ ๕ หน่วยขึ้นไป

ที่อยู่อาศัย หมายความว่า สถานที่ที่จัดขึ้นสำหรับการให้เช่าเพื่อเป็นที่พักอาศัย เช่น บ้าน อาคาร อาคารชุด อพาร์ตเม้นท์ หรือสถานที่พักอาศัยที่เรียกชื่ออย่างอื่น และให้หมายความรวมถึงหอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงสถานที่พักที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม

ผู้ประกอบธุรกิจ หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจการให้เช่าที่อยู่อาศัยโดยเรียกเงินค่าเช่าหรือค่าตอบแทนอย่างอื่นเพื่อการเช่าจากผู้เช่า

ผู้เช่า หมายความว่า ผู้บริโภคซึ่งเช่าที่อยู่อาศัยเพื่อการพักอาศัยเป็นหลัก และการเช่านั้นต้องมิใช่เป็นการเช่าเพื่อให้เช่าช่วง ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผู้บริโภคซึ่งเป็นนิติบุคคล

เงินประกัน หมายความว่า เงินที่ผู้เช่ามอบให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นค่าประกันการเช่าที่อยู่อาศัย หรือค่าประกันความเสียหาย หรือเงินอื่นใดที่ผู้ประกอบธุรกิจเรียกเก็บจากผู้เช่าในลักษณะทำนองเดียวกัน

ข้อ ๒ ให้ธุรกิจการให้เช่าที่อยู่อาศัยที่เรียกเงินประกันเป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน

ข้อ ๓ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีหลักฐานการรับเงินตามข้อ ๔ และมอบให้แก่ผู้เช่าในทันทีที่รับเงินประกันจากผู้เช่า

ข้อ ๔ หลักฐานการรับเงินที่ผู้ประกอบธุรกิจออกให้แก่ผู้เช่าตามข้อ ๓ ต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน มีขนาดของตัวอักษรไม่เล็กกว่าสองมิลลิเมตร และต้องใช้ข้อความที่มีสาระสำคัญและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

(๑) ชื่อและที่อยู่ของผู้ประกอบธุรกิจ และของผู้มีอำนาจออกหลักฐานการรับเงิน

(๒) ชื่อและที่อยู่ของผู้เช่า

(๓) ชื่อและสถานที่ตั้งของที่อยู่อาศัย

(๔) กำหนดระยะเวลาเช่าที่อยู่อาศัย โดยระบุวันเริ่มต้นการเช่า และวันสิ้นสุดการเช่า (ถ้ามี)

(๕) วัน เดือน ปี ที่รับเงินประกัน

(๖) จำนวนเงินประกัน และข้อความว่า ผู้เช่ามีสิทธิได้รับคืนเงินประกันทันทีเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาเช่าที่อยู่อาศัยหรือเมื่อสัญญาเช่าที่อยู่อาศัยเลิกกัน เว้นแต่กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจประสงค์จะตรวจสอบความเสียหายที่ผู้เช่าต้องรับผิดชอบ หากผู้เช่ามิได้ทำความเสียหาย ให้ผู้เช่ามีสิทธิได้รับคืนเงินประกันภายใน ๗ วัน โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจรับภาระค่าใช้จ่ายในการนำส่งคืนเงินประกันนั้นตามวิธีการที่ผู้เช่าแจ้งให้ทราบ

(๗) ลายมือชื่อของผู้ประกอบธุรกิจ หรือผู้มีอำนาจออกหลักฐานการรับเงิน

ข้อ ๕ หลักฐานการรับเงินตามข้อ ๔ ต้องไม่มีข้อความที่มีความหมายในทำนองว่าผู้ประกอบธุรกิจจะไม่คืนเงินประกันให้แก่ผู้เช่าทั้งหมดไม่ว่ากรณีใด ๆ

ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙

ขวัญชัย สันตสว่าง

ประธานกรรมการว่าด้วยสัญญา

-----------------------------------

หมายเหตุเพิ่มเติม

เมื่อ คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาได้กำหนดให้มีการประกาศควบคุมรายการในหลักฐานการรับ เงินของการประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการรายใดแล้ว หากปรากฏว่า

- ไม่ใช้ข้อความ ที่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาประกาศกำหนด ให้ถือว่าหลักฐานการรับเงินดังกล่าว มีข้อความตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

- ใช้ข้อความ ที่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาประกาศห้ามใช้ ให้ถือว่าหลักฐานการรับเงินดังกล่าว ไม่มีข้อความเช่นว่า นั้น

บทลงโทษ

ถ้า ผู้ประกอบการรายใดไม่ส่งมอบสัญญาหรือไม่ส่งมอบหลักฐานการรับเงินที่มีข้อ สัญญาหรือข้อความตามที่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญา ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับเกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ข้อมูลเพิ่มเติม

ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อสินค้าหรือบริการ

ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ร้องเรียนที่ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนผู้บริโภคเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

งานนิติการ กองวิชาการและแผนงาน

สำนักงานเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก โทร.073-615295


ธุรกิจการขายรถยนต์ใช้แล้ว

ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา

เรื่อง ให้ธุรกิจการขายรถยนต์ใช้แล้วเป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน

พ.ศ. ๒๕๕๐[๑]

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๕ เบญจ และ ๓๕ อัฏฐ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ ประกอบกับมาตรา ๓ มาตรา ๔ และมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงินและลักษณะของหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ธุรกิจการขายรถยนต์ใช้แล้วเป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน

ข้อ ๒ ในประกาศนี้

ธุรกิจการขายรถยนต์ใช้แล้ว หมายความว่า การประกอบธุรกิจการค้าโดยผู้ประกอบธุรกิจนำรถยนต์ใช้แล้ว ออกขาย แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายโดยประการอื่นอย่างทรัพย์ที่ใช้แล้ว

รถยนต์ใช้แล้ว หมายความว่า รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคน และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม ซึ่งมิได้ใช้ประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ แล้ว ทั้งนี้ ไม่รวมถึงรถยนต์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแยกขายเป็นชิ้นส่วนเท่านั้น

ผู้ประกอบธุรกิจ หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจขายรถยนต์ใช้แล้วซึ่งไม่รวมถึงการซื้อขายโดยทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

ข้อ ๓ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีหลักฐานการรับเงินตามข้อ ๔ และมอบให้แก่ผู้บริโภคในทันทีที่ได้รับชำระราคารถยนต์ใช้แล้วไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนจากผู้บริโภค

ข้อ ๔ หลักฐานการรับเงินที่ประกอบธุรกิจออกให้แก่ผู้บริโภคตามข้อ ๓ ต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน มีขนาดของตัวอักษรไม่เล็กกว่าสองมิลลิเมตร และต้องใช้ข้อความที่มีสาระสำคัญและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

๔.๑ กรณีที่ผู้บริโภคชำระราคาครบถ้วน

(๑) ชื่อและที่อยู่ของผู้ประกอบธุรกิจ และของผู้มีอำนาจออกหลักฐานการรับเงิน

(๒) ชื่อและที่อยู่ของผู้บริโภค

(๓) รายละเอียดของรถยนต์ใช้แล้วเกี่ยวกับ ยี่ห้อ รุ่น ปี สี หมายเลขเครื่องยนต์ หมายเลขตัวถัง หมายเลขทะเบียน ระยะทางการใช้ของรถยนต์ ภาระผูกพันของรถยนต์ (ถ้ามี) และชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือผู้ครอบครองรถยนต์

(๔) จำนวนเงิน และข้อความว่า ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการจดทะเบียนรถยนต์ใช้แล้วเป็นชื่อผู้บริโภคหรือ ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ใช้แล้วให้ผู้บริโภคหรือมีการบอกเลิกสัญญาขายรถยนต์ ใช้แล้ว โดยมิใช่เป็นความผิดของผู้บริโภค ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้ผู้บริโภค

(๕) กำหนดวัน เดือน ปี ที่ส่งมอบรถยนต์

(๖) กำหนดวัน เดือน ปี ที่ส่งมอบสมุดคู่มือจดทะเบียนรถยนต์พร้อมเอกสารที่จำเป็นสำหรับการจดทะเบียนรถยนต์ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด

(๗) วัน เดือน ปี ที่รับเงิน

(๘) ลายมือชื่อของผู้มีอำนาจออกหลักฐานการรับเงิน

๔.๒ กรณีที่ผู้บริโภคชำระราคาบางส่วน

(๑) ชื่อและที่อยู่ของผู้ประกอบธุรกิจ และของผู้มีอำนาจออกหลักฐานการรับเงิน

(๒) ชื่อและที่อยู่ของผู้บริโภค

(๓) รายละเอียดของรถยนต์ใช้แล้วเกี่ยวกับ ยี่ห้อ รุ่น ปี สี หมายเลขเครื่องยนต์ หมายเลขตัวถัง หมายเลขทะเบียน ระยะทางการใช้ของรถยนต์ ภาระผูกพันของรถยนต์ (ถ้ามี) และชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือผู้ครอบครองรถยนต์

(๔) จำนวนเงิน และข้อความว่า ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการจดทะเบียนรถยนต์ใช้แล้วเป็นชื่อผู้บริโภคหรือ ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ใช้แล้วให้ผู้บริโภคหรือมีการบอกเลิกสัญญาขายรถยนต์ ใช้แล้ว โดยมิใช่เป็นความผิดของผู้บริโภค ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้ผู้บริโภค

(๕) วัน เดือน ปี ที่รับเงิน

(๖) กำหนดวัน เดือน ปี ที่ส่งมอบสำเนาสมุดคู่มือจดทะเบียนรถยนต์

(๗) ลายมือชื่อของผู้มีอำนาจออกหลักฐานการรับเงิน

ข้อ ๕ หลักฐานการรับเงินตามข้อ ๔ ต้องไม่มีข้อความที่มีลักษณะหรือความหมาย ดังต่อไปนี้

(๑) ข้อความที่ให้สิทธิผู้ประกอบธุรกิจยึดเงินทั้งหมดไม่ว่ากรณีใด ๆ

(๒) ข้อความที่เป็นการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อความชำรุดบกพร่องหรือเพื่อการรอนสิทธิของรถยนต์ใช้แล้ว

ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐

ขวัญชัย สันตสว่าง

ประธานกรรมการว่าด้วยสัญญา

-------------------------------------------------------------------------


หมายเหตุเพิ่มเติม

เมื่อคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาได้กำหนดให้มีการประกาศควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงินของการประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการรายใดแล้ว หากปรากฏว่า

- ไม่ใช้ข้อความ ที่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาประกาศกำหนด ให้ถือว่าหลักฐานการรับเงินดังกล่าว มีข้อความตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

- ใช้ข้อความ ที่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาประกาศห้ามใช้ ให้ถือว่าหลักฐานการรับเงินดังกล่าว ไม่มีข้อความเช่นว่า นั้น

บทลงโทษ

ถ้าผู้ประกอบการรายใดไม่ส่งมอบสัญญาหรือไม่ส่งมอบหลักฐานการรับเงินที่มีข้อสัญญาหรือข้อความตามที่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญา ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับเกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ข้อมูลเพิ่มเติม

ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อสินค้าหรือบริการ

ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ร้องเรียนที่ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนผู้บริโภคเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

งานนิติการ กองวิชาการและแผนงาน

สำนักงานเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก โทร.073-615295