วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สรุปผลการประชุมคณะกรรมการกองทุนฯครั้งที่ ๒/๒๕๕๕

สรุปผลการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก 
ครั้งที่ ๒/๒๕๕๕
เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔

๑. รับทราบสถานะทางการเงินของกองทุน ปัจจุบันกองทุนมีเงินงบประมาณคงเหลือ ๓,๔๐๗,๔๘๐.๗๗ บาท
๒.ให้ความเห็นชอบโครงการ ที่เสนอโดยหน่วยงานต่างๆ ดังนี้
  ๒.๑ โครงการรณรงค์วันรวมใจต้านภัยเอดส์ ปี ๒๕๕๔ เสนอโดยหน่วยกามโรคและโรคเอดส์ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เยาวชน นักเรียน นิสิตนักศึกษา และประชาชนทั่วไป มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะ และความสามารถในการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยอนุมัติงบประมาณภายในวงเงินไม่เกิน ๑๕๐,๐๐๐ บาท และให้ผู้เสนอโครงการปรับปรุงโครงการ ปรับลดเป้าหมายให้สอดคล้องกับงบประมาณ
  ๒.๒ โครงการรณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอ ปี ๒๕๕๕ เสนอโดย คปสอ.ม.สุไหงโก-ลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี ได้รับวัคซีนโปลิโอ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐ โดยดำเนินการยอดวัคซีนสองครั้ง คือในวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๔ และวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๕ อนุมัติงบประมาณ ๔๗,๒๐๐ บาท
  ๒.๓ โครงการรณรงรงค์กวาดล้างโรคไข้เลือดออก ปี ๒๕๕๕ เสนอโดย คปสอ.ม.สุไหงโก-ลก โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อลดอัตราป่วย และอัตราการตายด้วยโรคไข้เลือดออก ให้ชุมชนและโรงเรียน และภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย อนุมัติงบประมาณ ๖๖,๑๐๐ บาท

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

รายงานการประชุมกองทุน ฯ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๕


รายงานการประชุมกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
ครั้งที่  ๑/๒๕๕๕  วันที่  ๑๘  ตุลาคม  ๒๕๕๔
ณ  ห้องประชุมสภาเทศบาล  ชั้น ๓

เปิดประชุมเวลา ๑๐.๐๐ น.
                เมื่อคณะกรรมการมาพร้อมกันแล้ว นายกิตติ หวังธรรมมั่ง ผู้ทรงคุณวุฒิ ในฐานะรองประธานคณะกรรมการกองทุนฯคนที่ ๑ ได้กล่าวเปิดการประชุมตามระเบียบวาระดังนี้

ระเบียบวาระที่ ๑ : ประธานแจ้งที่ประชุม
                สืบเนื่องประธานคณะกรรมการกองทุนฯ ติดราชการ ในฐานะรองประธานจึงทำหน้าที่แทน

ระเบียบวาระที่ ๒ : รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ ๙/๕๔ วันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๔
มติที่ประชุม : รับรองรายงานประชุม

ระเบียบวาระที่ ๓ : เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
                เรื่องที่ ๑ : รายงานสถานะทางการเงินของกองทุนฯ ยอดยกมา  ๓,๗๔๕,๒๘๔.๗๐  บาท
โดยมี รายรับ-รายจ่าย ดังนี้
๑. จ่ายให้กิจกรรมประเภทที่ ๒ จำนวน ๑ โครงการ คือ
                ๑.๑ โครงการควบคุมป้องกันภาวะขาดสารไอโอดีน                      เป็นเงิน       ๒๕,๙๘๐    บาท
๒. จ่ายให้กิจกรรมประเภทที่ ๓ จำนวน ๑ โครงการ คือ
                ๒.๑ โครงการส่งเสริมด้านการออกกำลังกายปี ๒๕๕๔ (๑๑ ชุมชน)
                                                                                                                                  เป็นเงิน    ๒๓๓,๓๙๐    บาท
๓. จ่ายให้กิจกรรมประเภทที่ ๔
                ๓.๑ ค่าเบี้ยประชุม ค่าเอกสาร อาหารว่าง                                         เป็นเงิน           ๖,๕๐๐    บาท
                                                                                                รวมรายจ่าย             เป็นเงิน   ๒๖๕,๘๗๐     บาท
๔. รับเงินคืนจากโครงการต่างๆ                                                                        เป็นเงิน       ๑๓,๔๖๐     บาท
๕.รับค่าดอกเบี้ย                                                                                                   เป็นเงิน        ๑๑,๑๑๔      บาท
                                                                                คงเหลืองบประมาณกองทุน       ๓,๕๐๓,๙๘๘.๗๐  บาท
มติที่ประชุม : รับทราบ

ระเบียบวาระที่ ๔ : เรื่องเพื่อพิจารณา
เรื่องที่ ๑ : การพิจารณาโครงการที่ขอสนับสนุนงบประมาณ จากหน่วยงาน/ภาคประชาชน จำนวน ๔ โครงการ
                : เดือนนี้ไม่มีโครงการเสนอขอสนับสนุนงบประมาณ
                          
ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องเพื่อติดตาม
เรื่องที่ ๑ : รายงานผลการดำเนินงานของอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ
๑.คณะทำงานจัดทำแผนฯ
หลังจากได้ส่งแบบฟอร์มการเสนอแผนงานขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ให้หน่วยงาน ชุมชน และชมรมต่างๆภายในเขตเทศบาล จำนวนประมาณ ๖๐ แห่ง ซึ่งมีกำหนดส่งภายในวันที่ ๓๑ ตุลาคม มีบางหน่วยงาน และชมรม มีบางหน่วยงาน และบางชมรม ได้ทยอยส่งมาบ้างแล้ว และจะเชิญคณะทำงานจัดทำแผนร่วมพิจารณาภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ สำหรับวันเวลาที่แน่นอนจะประสานอีกครั้ง
๒.อนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ
                แจ้งอนุกรรมการเรื่องการพิจารณาแผนการดำเนินงานของบกองทุนฯปี ๒๕๕๕ จะมีการพิจารณา ๓ งวด ประมาณเดือนพฤศจิกายน มีนาคม และกรกฎาคม ต้องเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงาน ชมรม และชุมชน รับทราบด้วย เพื่อส่งแผนให้คณะจัดทำแผนพิจารณากลั่นกรองก่อน
๓.อนุกรรมการฝ่ายการเงิน
ขณะนี้ยังมีบางโครงการที่ยังไม่เคลียร์หลักฐาน แต่โดยส่วนใหญ่ผู้ขอสนับสนุนงบประมาณ เพื่อดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ในการส่งหลักฐานและสรุปผลการดำเนินงาน เมื่อดำเนินการเสร็จแล้ว 
๔.อนุกรรมการฝ่ายติดตามฯ
ได้ติดตามการดำเนินกิจกรรมของโครงการต่างๆ จำนวน ๒ โครงการด้วยกัน คือ
๑.โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ชุมชนสันติสุข มีนายกฯเป็นประธานในพิธีเปิด
๒.โครงการส่งเสริมใช้เกลือไอโอดี มีรองอภิเชษฐ์ เป็นประธานพิธีเปิด
    ทั้ง ๒ โครงการได้รับความร่วมมือจากชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกินเป้าหมาย ถือว่าคุ้มค่าน่าสนับสนุนสำหรับโอกาสต่อไป

ระเบียบวาระที่ ๖ : วาระอื่นๆ
ตันจุรีย์   : สรุปผลการดำเนินงานกองทุนปี ๒๕๕๔ ดังนี้

สรุปการใช้งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
(ตามแผนฯ) ตั้งแต่  ตุลาคม  ๒๕๕๓ - กันยายน ๒๕๕๔
ประเภทกิจกรรม
จำนวนโครงการที่
งบประมาณที่เบิกจ่ายแล้ว
คิดเป็นร้อยละ
ตามแผนกองทุนปี ๕๔
สัดส่วนที่กองทุนกำหนด
ได้รับการอนุมัติ
คิดเป็นร้อยละ
1.การจัดบริการด้านส่งเสริมสุขภาพ  ป้องกันโรค  ฟื้นฟูสมรรถภาพ  ตามชุดสิทธิประโยชน์
  โครงการ

๒๖๕,๓๔๐

๑๑.๐๑

๒๑.๕๗

๒๕

2.การสนับสนุนงบประมาณแก่หน่วยบริการ

  โครงการ

๑๑๕,๘๘๐

๔.๘๑

๑๐.๒๓

๒๕

3.การสร้างเสริมสุขภาพโดยประชาชน  และชุมชน

  โครงการ

๓๔๓,๕๔๐

๑๔.๒๖

๒๓.๒๗

๔๐

4.การบริหารจัดการกองทุน


  ครั้ง
๕๒,๐๐๐
๒.๑
๔.๓๒
๑๐

รวม

๗๗๖,๗๖๐

๓๒.๒๕

๕๙.๔๐

๑๐๐

คงเหลือ
๑,๖๓๑,๖๖๐
๖๗.๗๕
๔๐.๖๐


สามารถแยกโครงการตามมิติได้ดังนี้
ประเภทมิติที่  ๑  การจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ  ป้องกันโรค  และฟื้นฟูสมรรถภาพ  (ตามชุดสิทธิประโยชน์) 
จำนวน  ๙  โครงการ
ลำดับ
ชื่อโครงการ
ผู้รับผิดชอบ
งบประมาณ (บาท)
โครงการคุณแม่คุณภาพ
งานฝากครรภ์ ( รพ.สก.)
๕๕,๒๐๐
โครงการแก้ปัญหาภาวะโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์
งานฝากครรภ์ ( รพ.สก.)
๓๗,๕๐๐
โครงการแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์
งานฝากครรภ์ ( รพ.สก.)
๑๑,๐๐๐

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของ
สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ
งานสังคมสงเคราะห์
๑๙,๙๘๐
โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุชุมชนสันติสุข
อสม. ชุมชนสันติสุข
๓๐,๙๒๐

โครงการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการใน
เด็กแรกเกิด ๐-๗๒ เดือน
งานศูนย์แพทย์ชุมชน
๓๖,๑๘๐

โครงการห่วงใยใส่ใจผู้สูงอายุ  และกลุ่มเสี่ยงในชุมชนเจริญสุข
อสม. ชุมชนเจริญสุข
๖,๐๐๐
โครงการศูนย์  ๓ วัย  สานสายใยรักแห่งครอบครัว
งานฝากครรภ์ ( รพ.สก.)
๗๔,๘๕๐
โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุชุมชนสวนมะพร้าว
อสม. ชุมชนสวนมะพร้าว
๒๓,๐๐๐

ประเภทมิติที่ 
การสนับสนุนงบประมาณให้หน่วยบริการฯ  จำนวน ๓   โครงการ
ลำดับ
ชื่อโครงการ
ผู้รับผิดชอบ
งบประมาณ (บาท)
โครงการรวมพล  คน  อสม.รักสุขภาพ
กองสาธารณสุขฯ
๕๐,๐๐๐
โครงการดูแล  ใส่ใจผู้ไปประกอบฮัจย์  ปี ๒๕๕๔
คปสอ.ม.สุไหงโก-ลก
๔๐,๐๐๐

โครงการควบคุมป้องกันภาวะขาดสารไอโอดีน  โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
งานเวชกรรมสังคม

๒๕,๙๘๐


ประเภทมิติที่ 
การสร้างเสริมสุขภาพโดยชุมชน/ภาคประชาชน  จำนวน  ๕  โครงการ
ลำดับ
ชื่อโครงการ
ผู้รับผิดชอบ
งบประมาณ (บาท)
โครงการลีลาศเพื่อสุขภาพ
ชมรมลีลาศสุไหงโก-ลก
๕๐,๔๐๐

โครงการคัดกรอง  ความดัน  เบาหวานเชิงรุกโดย
อสม.
ชมรม อสม. เทศบาลฯ

๕๐,๐๐๐

โครงการจัดงานวันผู้สูงอายุ
ชมรมผู้สูงอายุ (รพ.สก.)
๔๕,๐๐๐

โครงการออกกำลังกายโดยวิธีการรำวงมาตรฐานเพื่อสุขภาพ
กลุ่มไม้พลองเพื่อสุขภาพ

๙,๐๐๐

โครงการส่งเสริมด้านการออกกำลังกาย
๑๑  ชุมชน
๒๓๙,๐๔๐

ประเภทมิติที่ 
การบริหารจัดการกองทุนฯ
 - จ่ายเป็นค่าเบี้ยประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ คณะทำงาน  (ตามระเบียบของกองทุนฯ)  ค่าเอกสาร ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  และอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้อง  รวม  10  ครั้ง  ( ประชุมคณะกรรมการบริหาร ฯ  8  ครั้ง  และคณะทำงานจัดทำแผน  2  ครั้ง ) เป็นเงินทั้งสิ้น  52,000 บาท
ผอ.พินัย : จะสังเกตได้ว่ากองทุนเรายังมีเงินเหลืออีกพอสมควร  ส่วนหนึ่งสืบเนื่องมาจากคณะทำงานจัดทำแผนกองทุนด้วย ที่พิจารณาแผนแล้วไม่ให้ผ่านในบางโครงการ เบื้องต้นจะพิจารณาแต่ละโครงการภายใต้การมีประโยชน์ต่อส่วนรวมมากน้อยเพียงใด ถ้าประเภทที่มีแต่กิจกรรมการอบรมเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีกิจกรรมอื่นๆเสริมด้วย มักจะไม่ผ่านการพิจารณา ส่วนเรื่องปัญหาอุปสรรค บางครั้งคณะกรรมการไม่ซักถามเพราะไม่รู้รายละเอียดของกีฬาประเภทนั้นๆ เช่น กีฬาลีลาศ หรือมีความเกรงใจที่จะถามผู้จัดทำโครงการ
คุณกิตติ  : ส่วนหนึ่งที่ภาคชุมชน หรือชมรม ไม่ค่อยอยากทำโครงการ เนื่องมาจากจะถูกมองว่าทำแล้วได้ผลประโยชน์ ทำให้คนมีจิตอาสาหมดกำลังใจ ทำแล้วไม่ได้อะไรแถมยังโดนด่าโดนว่าอีก ควรหาแนวทางแก้ไข เช่น การให้ค่าตอบแทนผู้จัดทำโครงการได้หรือไม่  เพื่อไม่ต้องควักกระเป๋าหรือเข้าเนื้อตัวเอง 
ผอ.พินัย : จะเก็บเป็นประเด็น เพื่อหารือในเวทีการประชุมเฉพาะ จะได้ว่าเป็นเรื่องๆ เพราะมันมีข้อจำกัดในเรื่องเกี่ยวกับการเงิน ซึ่งมักจะ Fix ในเรื่องการใช้จ่าย  รวมทั้งเรื่องการจัดทำเอกสารเผยแพร่ผลงานของกองทุน  อาจจะต้องมีการสัมภาษณ์คณะกรรมการฯ  และผู้จัดทำโครงการต่างๆที่ผ่านมาด้วย
ผอ.ประทวน : การประชุมครั้งนี้จะเป็นการประชุมกองทุนฯ ครั้งสุดท้าย เพราะต้องย้ายไปรับราชการที่เทศบาลเมืองปัตตานีในต้นเดือนหน้า
คุณยามิงละห์ : กองทุนน่าจะมีกล้องถ่ายรูปของกองทุนโดยเฉพาะ เพื่อใช้ในการติดตามการดำเนินงานของโครงการต่างๆ โดยเฉพาะกรณีที่เจ้าของโครงการไม่มีกล้องหรือไม่ได้ถ่ายรูปไว้
ที่ประชุม : รับทราบ


ปิดการประชุม ๑๑.๓๐ น.
  นายไซนัล  นิรมาณกุล
                                                                                                                  ผู้บันทึกการประชุม