วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

รายงานการประชุมกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่๑/๒๕๕๖

รายงานการประชุมกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
ครั้งที่ ๑/๒๕๕๖ วันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕
ณ ห้องประชุมสภาเทศบาล ชั้น ๓
เปิดประชุมเวลา ๑๐.๐๐ น. 

เมื่อคณะกรรมการมาพร้อมกันแล้ว นางสุชาดา พันธ์นรา นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนฯ ได้กล่าวเปิดการประชุมตามระเบียบวาระดังนี้


ระเบียบวาระที่ ๑ : ประธานแจ้งที่ประชุม
- ขอแสดงความยินดีกับกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับจังหวัด สาขาการบริหารจัดการกองทุน และมีความยินดีที่ได้ทำงานร่วมกันอีกครั้ง หลังจากได้รับการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ ๒ ส่วนเงินรางวัลที่ได้ มติที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่าจะจัดทำเสื้อคณะกรรมการกองทุนฯ


ระเบียบวาระที่ ๒ : รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ ๑๑/๕๕ วันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๕
มติที่ประชุม : รับรองรายงานประชุม


ระเบียบวาระที่ ๓ : เรื่องแจ้งเพื่อทราบ


เรื่องที่ ๑ : รายงานสถานะทางการเงินของกองทุนฯ ยอดยกมา ๔,๖๕๒,๒๓๖.๖๑ บาท โดยมี รายรับ-รายจ่าย ดังนี้
๑. จ่ายให้กิจกรรมประเภทที่ ๑ จำนวน ๒ โครงการ คือ
๑.๑โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว เป็นเงิน ๓๔,๗๐๐ บาท
๑.๒โครงการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด เป็นเงิน ๖,๐๐๐ บาท

๒. จ่ายให้กิจกรรมประเภทที่ ๒ จำนวน ๓ โครงการ คือ
๒.๑โครงการพัฒนาทักษะผู้เลี้ยงดูเด็กแรกเกิด – ๕ ปี เป็นเงิน ๓๙,๔๐๐ บาท
๒.๒โครงการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐานชุมชน เป็นเงิน ๕๖,๐๐๐ บาท
๒.๓โครงการเยาวชนวัยใสห่างไกลเอดส์ เป็นเงิน ๓๕,๖๐๐ บาท

๓. จ่ายให้กิจกรรมประเภทที่ ๓ จำนวน ๔ โครงการ คือ
๓.๑โครงการสุขภาพดีจิตแจ่มใส ชุมชนสันติสุข เป็นเงิน ๑๓,๘๐๐ บาท
๓.๒โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุฯ ชุมชนสันติสุข เป็นเงิน ๘,๗๕๐ บาท
๓.๓โครงการส่งเสริมการออกกำลังกาย ชุมชนโก-ลกวิลเลจ เป็นเงิน ๑๔,๔๓๔ บาท
๓.๔โครงการส่งเสริมการออกกำลังกาย ชุมชนหลังล้อแม็กซ์ เป็นเงิน ๙,๖๓๘ บาท

๔. จ่ายให้กิจกรรมประเภทที่ ๔
๔.๑ ค่าเบี้ยประชุมคณะกรรมการฯ ประจำเดือนกันยายน ๒๕๕๕ เป็นเงิน ๗,๐๐๐ บาท
๔.๒ ค่ารับรองคณะกรรมการตรวจประเมินกองทุนฯ เป็นเงิน ๘๙๕ บาท
๔.๓ ค่าเบี้ยประชุมอนุกรรมการฝ่ายแผนฯ เป็นเงิน ๔,๔๐๐ บาท
รวมรายจ่าย เป็นเงิน ๒๓๐,๖๑๗ บาท

๕. รับเงินคืน-จากโครงการต่างๆ เป็นเงิน ๓๕,๐๕๖ บาท
-ดอกเบี้ย เป็นเงิน ๑๖,๓๓๙.๖๗ บาท
คงเหลืองบประมาณกองทุน ๔,๔๗๓,๔๑๕.๒๘ บาท
มติที่ประชุม : รับทราบ


ระเบียบวาระที่ ๔ : เรื่องเพื่อพิจารณา


เรื่องที่ ๑ : การพิจารณาโครงการที่ขอสนับสนุนงบประมาณ จากหน่วยงาน/ภาคประชาชน จำนวน ๖ โครงการ


โครงการที่ ๑ โครงการรณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอ ปีงบประมาณ ๒๕๕๖
โครงการนี้เป็นโครงการที่องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศที่จะกวาดล้างโปลิโอให้หมดไปจากโลก จึงได้กำหนดให้ทุกประเทศร่วมกันรณรงค์หยอดวัคซีนโปลิโอทุกปี โดยปีนี้เป็นปีที่ ๑๙ โดยเฉพาะในเด็กที่พลาดการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอตามระบบปกติ หรือได้รับวัคซีนไม่ครบตามกำหนด เช่น เด็กเล็กในกลุ่มแรงงานเคลื่อนย้ายอพยพบ่อยๆ เด็กต่างด้าว ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจแพร่ระบาดของโรคนี้ได้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี มีภูมิต้านทานโรคโปลิโอสูงเพียงพอที่จะป้องกันการแพร่เชื้อโปลิโอ ในปีนี้ได้กำหนดวันรณรงค์ ในวันพุธที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๖ และ วันพุธที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ มีเป้าหมายดำเนินงานเป็นเด็กไทยอายุต่ำกว่า ๕ ปี และเด็กต่างชาติอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี ที่อยู่ในพื้นที่ไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๙๐ โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ เป็นค่าพาหนะ ค่าอาหารว่าง ค่าวัสดุสื่อประชาสัมพันธ์ เป็นเงิน ๔๘,๐๐๐ บาท ซึ่งคณะกรรมการกองทุนฯได้ให้ความเห็นว่าเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับการส่ง เสริมสุขภาพและป้องกันโรค ตอบโจทย์ของกองทุนฯ โดยเฉพาะในพื้นที่บ้านเราที่มีแรงงานต่างด้าวมาก และการเคลื่อนย้ายข้ามเขตแดนบ่อย อาจไม่ได้รับวัคซีนมาก่อน ซึ่งสามารถเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคนี้ได้
มติที่ประชุม : อนุมัติ



โครงการที่ ๒ โครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่กลุ่มสตรี ชุมชนสันติสุข
โครงการนี้เป็นโครงการที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้กลุ่มสตรีวัยเจริญพันธ์ใน ชุมชนที่สนใจในเรื่องสุขภาพของตนเอง มีโอกาส และกล้าที่จะรับการตรวจ เพราะสะดวก ลดการเสียเวลาไปรับบริการ ณ โรงพยาบาล เป็นการดำเนินงานในชุมชน รวมทั้งเป็นการหาทางป้องกันและรักษาล่วงหน้า หากมีการพบโรคในระยะแรก ซึ่งมีโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้ โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้สตรีวัยเจริญพันธ์ มีความรู้ ความเข้าใจ มีความตระหนัก และสนใจรับการตรวจโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม รวมทั้งเพื่อเป็นการสร้างแกนนำสตรีวัยเจริญพันธ์สุขภาพดี มีเป้าหมายการดำเนินงานเป็นกลุ่มแม่บ้าน
และสตรีวัยเจริญพันธ์ ในชุมชน จำนวน ๔๐ คน โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ เป็นค่าอาหาร ค่าอาหารว่าง ค่าตอบแทน ค่าสื่อประชาสัมพันธ์ และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน ๒๕,๖๐๐ บาท ซึ่งคณะกรรมการกองทุนฯได้ให้ความเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี ตอบโจทย์ของกองทุนฯ ประกอบกับการดำเนินงานของชุมชนที่ได้รับการสนับสนุนก่อนหน้านี้ได้รับการตอบ รับที่ดี น่าสนับ
สนุนอย่างต่อเนื่อง
มติที่ประชุม : อนุมัติ


โครงการที่ ๓ โครงการสูงวัยอย่างมีคุณค่า ชราอย่างมีศักดิ์ศรี สืบสานประเพณีไทย ใน ๙ ชุมชน
โครงการ นี้มีลักษณะการดำเนินงานเป็นการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ให้ได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพ มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง รวมทั้งเป็นการสนับสนุนส่งเสริมวัฒนธรรมที่ดีงามของไทย ประกอบกับสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ได้กำหนด วันที่ ๑๓ – ๑๕ เมษายนของทุกปี เป็นวันผู้สูงอายุและวันครอบครัว ๙ ชุมชนจึงได้รวมกลุ่มจัดทำโครงการนี้ขึ้นมา มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สูงอายุใน ๙ ชุมชน จำนวน ๔๗๓ คน โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพจิตผู้สูงอายุ รู้จักการดูแลสุขภาพตนเอง ได้ทำกิจกรรมสร้างสรรค์สุขภาพร่วมกัน พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สร้างขวัญกำลังใจให้ผู้สูงอายุ และเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทย โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ เป็นค่าอาหาร ค่าอาหารว่าง ค่าวิทยากร ค่าวัสดุ และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เป็นเงินทั้งสิ้น ๙๘,๗๕๐ บาท ทางคณะกรรมการกองทุนฯได้ให้ความเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี เพียงแต่เรื่องกลุ่มเป้าหมายแต่ละชุมชนให้ตรวจสอบรายละเอียดตามความเป็นจริง พร้อมทั้งอยากให้จัดกิจกรรมลักษณะนี้ในชุมชนมุสลิมด้วย
มติที่ประชุม : อนุมัติ



โครงการที่ ๔ โครงการเจริญสุขประสานใจ ต้านภัยยาเสพติด ชุมชนเจริญสุข
โครงการ นี้เป็นโครงการที่ตอบสนองพระราชดำรัสฯ และนโยบายรัฐบาล ในการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด ลดปัญหาต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกัน ทั้งปัญหาอาชญากรรม การฆาตกรรม ลักเล็กขโมยน้อย ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น เอกชน และชาวชุมชน โดยมีกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยยาเสพติด และกิจกรรมการเข้าฐานต่างๆ โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เยาวชน และชาวชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติดที่ถูกต้อง ลดปัญหาครอบครัวและชุมชน มีการใช้เวลาว่างที่เป็นประโยชน์ และสามารถลดการติดยาเสพติดได้ โดยมีเป้าหมายเป็นกลุ่มเยาวชน ผู้ปกครอง และชาวชุมชน จำนวน ๖๐ คน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ เป็นค่าวิทยากร ค่าอาหาร ค่าอาหารว่าง ค่าวัสดุอุปกรณ์ และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน ๑๓,๓๕๐ บาท ซึ่งคณะกรรมการกองทุนฯได้ให้ความเห็นว่าเป็นโครงการที่น่าสนับสนุน เพียงแต่กลุ่มเป้าหมายถ้าเป็นเฉพาะคนในชุมชนน่าจะไม่ถึง ถ้าสามารถปรับตามความเป็นจริงได้ยิ่งดี รวมทั้งเรื่องกิจกรรมการเข้าฐาน อาจใช้สถานที่นอกชุมชนหรือสวนสาธารณะ เพื่อป้องกันความจำเจหรือเบื่อหน่ายของผู้เข้าอบรม
มติที่ประชุม : อนุมัติ


โครงการที่ ๕ โครงการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ
โครงการ นี้มีลักษณะเป็นการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการหรือพัฒนากองทุนหลัก ประกันสุขภาพของท้องถิ่น ให้สามารถดำเนินกิจกรรมการประชุมคณะกรรมการฝ่ายต่างๆในการพิจารณาแผนงาน โครงการจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งจากส่วนราชการ ชุมชน ชมรม และภาคประชาชน รวมทั้งการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับของกองทุนให้สามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของงบประมาณที่ได้รับจัดสรรและสนับสนุนในรอบปีงบประมาณนั้นๆ มีกลุ่มเป้าหมายคณะกรรมการบริหารกองทุน อนุกรรมการฝ่ายต่างๆ และคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถบริหารจัดการกองทุนได้ อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถกลั่นกรองแผนงานโครงการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน และเกิดการพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการทุกฝ่าย โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ เป็นค่าเบี้ยประชุม ค่าอาหารว่าง ค่าวัสดุและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เป็นเงินทั้งสิ้น ๙๖,๐๘๐ บาท ทางคณะกรรมการกองทุนฯได้ให้ความเห็นว่าเป็นโครงการที่สนับสนุนการดำเนินงาน ตามมิติที่ ๔ ซึ่งจำเป็นต้องมีโครงการเฉพาะ เพื่อทำการบันทึกข้อมูลในรายงานตามเว็บไซด์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่ง ชาติ
มติที่ประชุม : อนุมัติ


โครงการที่ ๖ โครงการซ้อมแผน เพื่อรับมือภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศฯ
โครงการ นี้มีลักษณะการดำเนินงานเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกัน ควบคุมและแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดต่อระหว่างประเทศ เนื่องจากอำเภอสุไหงโก-ลก เป็นอำเภอชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะมีการเดินทางเข้าออกระหว่างประเทศตลอดเวลา ประกอบกับในเขตเมืองมีสถานประกอบการและสถานบันเทิงค่อนข้างมาก โอกาสที่จะมีการแพร่กระจายของโรคติดต่างๆมีมาก ทำให้จำเป็นต้องมีการซ้อมแผนการรับมือทั้งแผนบนโต๊ะและสถานที่จริง เพื่อให้สามารถควบคุมสถานการณ์การระบาดของโรคได้ทันท่วงทีและมีความครอบคลุม มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเจ้าของสถานประกอบการโรงแรม คณะเจ้าหน้าที่สาธารณสุข วิทยากร และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน ๘๐ คน โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบุคลากรจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถรับมือกับภาวะฉุกเฉินได้ รู้บทบาทหน้าที่ มีความพร้อมในการแก้ไข ควบคุมการลุกลามของโรคติดต่อได้ โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ เป็นค่าอาหาร อาหารว่าง ค่าตอบแทนกรรมการ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับห้องประชุม ค่าจัดทำคู่มือซ้อมแผนฯ และค่าวัสดุที่เกี่ยวข้อง เป็นเงินทั้งสิ้น ๕๕,๙๐๐ บาท ทางคณะกรรมการกองทุนฯได้ให้ความเห็นว่าเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคจากการ เดินทางโดยมีคนเป็นพาหะเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น การซ้อมแผนล่วงหน้าเป็นการเตรียมความพร้อมการรับมือ ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรส่งเสริม โดยเฉพาะในกลุ่มของสถานประกอบการที่พักต่างๆ เพียงแต่ในเรื่องค่าพาหนะ และค่าตอบแทนผู้เข้าอบรม ในระเบียบของกองทุนจะไม่เปิดในส่วนนี้ เพราะฉะนั้นให้ปรับตามความเหมาะสมและความเป็นจริงให้มากที่สุด
มติที่ประชุม : อนุมัติ แต่ให้ปรับตามคำแนะนำ





ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องเพื่อติดตาม


เรื่องที่ ๑ : รายงานผลการดำเนินงานของอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ

๑.คณะทำงานจัดทำแผนฯ
ตามที่คณะทำงานจัดทำแผนกองทุนฯ กำหนดการประชุมพิจารณาแผนทุก ๔ เดือน รวม ๓
ครั้ง/ปี (ครั้งที่ ๑ เดือน ธันวาคม ๕๕ / ครั้งที่ ๒ เดือน มีนาคม ๕๖ / และครั้งที่ ๓ เดือน มิถุนายน ๕๖ )
: สรุปผลการประชุมคณะอนุกรรมการฝ่ายจัดทำแผนฯ ครั้งที่ ๑ / ๒๕๕๖ วันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๕
๑.มีส่วนราชการและภาคประชาชนเสนอแผนงาน กิจกรรม โครงการ ดังนี้
๑.๑ ส่วนราชการ ๓ แห่ง จำนวน ๓๑ โครงการ
๑.๒ ภาคประชาชน ๘ แห่ง จำนวน ๑๔ โครงการ
รวมทั้งสิ้น ๔๕ โครงการ
๒.การประชุมพิจารณาแผนงาน กิจกรรม โครงการ
๒.๑ ผ่าน จำนวน ๓๑ โครงการ
๒.๒ไม่ผ่าน จำนวน ๘ โครงการ เนื่องจากไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และโครงการที่
ซ้ำซ้อนกัน
๒.๓ ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะนำเข้าแผนกองทุนฯ รอบ ๒ จำนวน ๕ โครงการ
๒.๔ ขอยกเลิก จำนวน ๑ โครงการ
๓. ประมาณการค่าใช้จ่ายแยกตามประเภทกิจกรรมทั้ง ๔ ดังนี้
๓.๑ ประเภทที่ ๑ การจัดบริการเสริมสร้างสุขภาพป้องกันโรคและฟื้นฟูสุขภาพตามชุดสิทธิ
ประโยชน์ จำนวน ๑๓ โครงการ เป็นเงิน ๕๑๓,๘๙๐ บาท
๓.๒ ประเภทที่ ๒ การสนับสนุนหน่วยบริการสาธารณสุข จำนวน ๗ โครงการ เป็นเงิน
๒๓๔,๗๐๐ บาท
๓.๓ ประเภทที่ ๓ การสร้างเสริมสุขภาพโดยภาคประชาชนและชุมชน จำนวน ๑๐ โครงการ
เป็นเงิน ๓๔๓,๖๒๕ บาท
๓.๔ ประเภทที่ ๔ การบริหารจัดการกองทุนฯ เป็นเงิน ๑๒๐,๐๐๐ บาท
รวมเป็นเงินทั้ง ๔ กิจกรรม เป็นเงิน ๑,๒๑๒,๒๑๕ บาท


๒.อนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ
: เสนอเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของคณะอนุกรรมการฝ่ายติดตาม ในการออกติดตามการดำเนินกิจกรรมของโครงการต่างๆ จะมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าน้ำมันรถ จึงเห็นควรมีค่าตอบแทนค่าพาหนะด้วย ส่วนจำนวนเท่าไหร่นั้นแล้วแต่มติที่ประชุม รวมทั้งการจัดซื้อกล้องถ่ายรูปสำหรับการออกติดตาม
มติที่ประชุม : เห็นสมควรจัดให้ รวมทั้งเรื่องกล้องถ่ายรูป ให้จัดซื้อกล้องที่เหมาะสมกับการใช้งานและราคา


๓.อนุกรรมการฝ่ายการเงิน
:มีหลายโครงการที่ได้ดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณแล้ว แต่ค้างการส่งหลักฐานสรุป
การดำเนินงาน ได้ประสานและทำหนังสือเร่งรัดให้ผู้จัดทำโครงการสรุปผลการดำเนินงานพร้อมหลักฐานการเงินไปแล้ว


๔.อนุกรรมการฝ่ายติดตามฯ
ในรอบเดือนที่ผ่านมาได้ลงติดตามการดำเนินงานของโครงการต่างๆ ๒ โครงการด้วยกัน คือ
:วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๖ ได้ติดตามการดำเนินงานโครงการใส่ใจสุขภาพผู้สูงอายุ ในชุมชนสันติสุข
:วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๖ ได้ติดตามการดำเนินงานโครงการศูนย์ ๓ วัยฯ ณ โรงพยาบาล
สุไหงโก-ลก
ทั้ง สองโครงการ ได้รับความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดี มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่าที่กำหนด ถือว่าคุ้มค่า เห็นควรมีการจัดกิจกรรมลักษณะนี้ต่อไป



ระเบียบวาระที่ ๖ : วาระอื่นๆ

ปลัด : การส่งใช้เอกสารสรุปผลการดำเนินงานให้แจ้งผู้จัดทำโครงการ ให้ส่งรายงานเป็น ๒ ชุด
คือ ๑.รายงานเกี่ยวกับการเงิน เช่นใบเสร็จ ใบสำคัญรับเงิน เป็นต้น
๒.รายงานเอกสารสรุปผลการดำเนินงานว่าได้อะไรบ้าง มีปัญหาอุปสรรคอย่างไร ข้อเสนอแนะอะไรบ้าง ไม่ใช่ส่งแค่รูปอย่างเดียว

ตัน จุรีย์ : ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมประชุมติดตามการดำเนินงานของกองทุนหลักประกัน สุขภาพจังหวัดนราธิวาส วันที่ ๒๘ พย. ๕๕ ที่เทศบาลเมืองนราธิวาส โดยมีรายละเอียดดังนี้
> ปี ๒๕๕๖ นราธิวาส มีกองทุนน้องใหม่ ๕ แห่ง ปัจจุบันจังหวัดนราธิวาสมีกองทุน
สุขภาพฯรวม ๘๘ กองทุน (อปท.ทุกแห่งเข้าร่วมกองทุนฯหมดแล้ว)
> ที่ผ่านมาทุกกองทุนยังเน้นปริมาณ ไม่เน้นคุณภาพ
> ปัญหา อุปสรรคการดำเนินงานของกองทุนที่ผ่านมามีดังนี้
๑.หลายกองทุนฯมีเงินเหลือในกองทุนจำนวนมาก ไม่ใช้จ่ายเงิน ไม่มีกิจกรรม
๒.กิจกรรมที่จัดยังผิดวัตถุประสงค์ ผิดเจตนารมณ์ของกองทุนฯ ซึ่งเน้นการใช้จ่ายเงินอย่างมี
ประสิทธิภาพสูงสุด เกิดประโยชน์แก่ชาวชุมชน ไม่เน้นการแจกของ ของเยี่ยม ค่าตอบแทน
๓.การบันทึกข้อมูลในโปรแกรมออนไลน์ ไม่เป็นปัจจุบัน ไม่นำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการ
ดำเนินงานเพื่อลดภาระงาน ลดเอกสาร ไม่มีการรายงานผลการดำเนินงานของกองทุนประจำปีให้เทศบาล อบต. ทราบ
๔.การประเมินตนเองในโปรแกรมออนไลน์ไม่ครบทุกกองทุนฯ โดยให้ทุกกองทุนมีการ
ประเมินตนเองปีละ 2 ครั้ง คือ มีนาคม และ สิงหาคม ของทุกปี ซึ่งโปรแกรมจะปิดช่วงปลายปี

> ตัวชี้วัด การดำเนินงานกองทุนฯ ปี ๒๕๕๕ – ๒๕๕๖
๑.ทุกกองทุนฯ ควรมีกิจกรรมตรวจคัดกรอง กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค
เรื้อรัง เน้นความดัน เบาหวาน
๒.ทุกกองทุนฯ ควรมีกิจกรรมและอาสาสมัครดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ คนพิการด้อยโอกาส
ร่วม กับหน่วยบริการและท้องถิ่น ให้มีการสร้างระบบในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ในสโลแกน ชุมชนไม่ทอดทิ้งกัน โดยทุกกิจกรรม ควรมีที่ไปที่มา ของปัญหา ซึ่งอาจจะมาจากการทำเวทีประชาคม แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ การค้นหาปัญหา แล้วนำมาจัดทำแผนสุขภาพชุมชน ขยายเป็นโครงการ กิจกรรม และดำเนินการ
> เงื่อนไขการสนับสนุนงบประมาณ ปี ๒๕๕๖
๑.มีเงินคงเหลือในกองทุนฯ น้อยกว่า ร้อยละ ๒๕ ของเงิน ที่มีทั้งหมดในกองทุนฯ
๒.มีการบันทึกข้อมูลเป็นปัจจุบัน
๓.มีการประเมินตนเองในโปรแกรม ปีละ ๒ ครั้ง
๔.มีการบันทึกแผนงาน โครงการ การใช้จ่ายในโปรแกรมออนไลน์ ภายใน มีนาคม ๕๖
หรือไตรมาส ๒
๕.มีการสมทบเงินเข้ากองทุนฯตามเงื่อนไขที่กำหนดครบทุกปี
> เกณฑ์การจัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนฯ ปี ๒๕๕๖
เนื่องจากจำนวนปชก. ตามทะเบียนราษฎร์มากกว่า ปชก. ของที่สปสช.สำรวจ ๗๕๗๗ คน (ทั้ง
จังหวัด)จึงขอเสนอเกณฑ์การจัดสรร ดังนี้
๑.กรณีปชก. ต่ำกว่า ๔,๐๐๐ คน จัดสรรให้เท่ากับ ปชก. ทะเบียนราษฎร์ ( ๖ กองทุน )
๒.กรณีปชก. ๔,๐๐๐ คน – ๔,๕๐๐ คน หักกองทุนละ ๘๙ คน( ๗ กองทุน)
๓.กรณีปชก. ๔,๕๐๐ คน – ๑๐,๐๐๐ คน หักกองทุนละ ๙๐ คน( ๕๘ กองทุน )
๔.กรณีปชก. มากกว่า ๑๐,๐๐๐ คน หักกองทุนละ ๑๐๒ คน(๑๗ กองทุน )
สำหรับ งบประมาณ ปี ๒๕๕๖กองทุนหลักประกันสุขภาพเมืองสุไหงโกลก ได้รับจัดสรรงบประมาณจากสปสช. เป็นเงินรวม ๑,๖๓๖,๒๔๐ บาท ( ๔๐ บาท x ๔๐,๙๐๖ คน )
ที่ประชุม : รับทราบ

ตันจุรีย์ : สืบเนื่องได้รับข้อเสนอแนะจากผู้จัดทำโครงการทั้งภาคชุมชนและส่วนราชการ เรื่องค่าอาหาร และค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ที่ ณ อัตราปัจจุบันแทบไม่พอกับค่าใช้จ่ายที่เป็นจริง จึงขอเสนอให้มีการปรับสักเล็กน้อยตามสมควร
มติที่ประชุม : อนุมัติ โดยให้ปรับค่าอาหารเป็น ๕๐ บาท/มื้อ ค่าอาหารว่าง&เครื่องดื่มเป็น ๒๕ บาท/มื้อ


ปิดการประชุม ๑๒.๐๐ น.
นายไซนัล นิรมาณกุล
ผู้บันทึกการประชุม