วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รายงานการประชุมกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ๖/๒๕๕๖



รายงานการประชุมกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
ครั้งที่  ๖/๒๕๕๖  วันที่  ๒๑  มิถุนายน  ๒๕๕๖
  ห้องประชุมสภาเทศบาล  ชั้น ๓

เปิดประชุมเวลา ๑๐.๐๐ น.
                เมื่อคณะกรรมการมาพร้อมกันแล้ว นายกิตติ หวังธรรมมั่ง  ผู้ทรงคุณวุฒิ ในฐานะรองประธานคณะกรรมการกองทุนฯคนที่ ๑ ได้กล่าวเปิดการประชุมตามระเบียบวาระดังนี้
 
ระเบียบวาระที่ ๑ : ประธานแจ้งที่ประชุม
สืบเนื่องประธานคณะกรรมการกองทุนฯ ติดภารกิจ ในฐานะรองประธานคณะกรรมการฯคนที่ ๑  จึงทำหน้าที่แทน

ระเบียบวาระที่ ๒ : รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่  ๕/๕๖  วันที่  ๑๕  พฤษภาคม  ๒๕๕
มติที่ประชุม : รับรองรายงานประชุม

ระเบียบวาระที่ ๓ : เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

                เรื่องที่ ๑ : รายงานสถานะทางการเงินของกองทุนฯ ยอดยกมา  ๖,๔๑๑,๑๐๕.๙๗ บาท โดยมี รายรับ-รายจ่าย ดังนี้
๑. จ่ายให้กิจกรรมประเภทที่ ๑
๑.๑ โครงการควงคู่ ฝากท้องฯ ๒๕๕๖                                                 เป็นเงิน      ๙๒,๐๐๐    บาท
๑.๒ โครงการคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน(อย.น้อย)                         เป็นเงิน      ๕๔,๐๐๐    บาท
๒. จ่ายให้กิจกรรมประเภทที่ ๓
๒.๑ โครงการจือแรตูลี สุขภาพดีฯ                                                         เป็นเงิน      ๒๕,๘๐๐    บาท
๓. จ่ายให้กิจกรรมประเภทที่ ๔
๓.๑ ค่าเบี้ยประชุมคณะกรรมการฯ ประจำเดือนมีนาคม  ๒๕๕๖    เป็นเงิน         ๗,๐๐๐    บาท
๓.๒ ค่าตอบแทนอนุฝ่ายติดตามฯ ๑๖ โครงการ                                     เป็นเงิน        ๖,๗๐๐    บาท
๓.๓ ค่าใช้จ่ายไปราชการ งานมหกรรมกองทุนฯ                               เป็นเงิน        ๔,๐๐๐     บาท
                                                                                                รวมรายจ่าย                     เป็นเงิน  ๑๘๙,๕๐๐     บาท
๔. รับเงินคืน
๔.๑ จากโครงการต่างๆ                                                                                 เป็นเงิน           ๙๘๔   บาท
                                                                                                รวมรายรับ                        เป็นเงิน           ๙๘๔  บาท
                                                                                     คงเหลืองบประมาณกองทุน       ๖,๒๒๒,๕๘๙.๙๗  บาท
มติที่ประชุม : รับทราบ



ระเบียบวาระที่ ๔ : เรื่องเพื่อพิจารณา

เรื่องที่ ๑ : การพิจารณาโครงการที่ขอสนับสนุนงบประมาณ จากหน่วยงาน/ภาคประชาชน จำนวน ๔ โครงการ

โครงการที่ ๑ โครงการชาวบาโงปริเม็งสุขภาพดี  มีความสุขถ้วนหน้า  ๒๕๕๖  ชุมชนบาโงปริเม็ง
                โครงการนี้มีลักษณะการดำเนินงานเป็นการต่อยอดการจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพชาวชุมชนในกลุ่มผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง รวมทั้งมีการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสและผู้พิการด้วย ซึ่งในระยะหลังจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทำให้ทางกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนบาโงปริเม็ง จึงมีแนวคิดการดำเนินกิจกรรมให้มีความต่อเนื่อง โดยจะมีการจัดกิจกรรมสุขภาพทุกวันศุกร์สัปดาห์ที่ ๓ ของเดือน มีกลุ่มเป้าหมายเป็นชาวชุมชน ๒๕๐ คน และผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสและผู้พิการ จำนวน ๑๗ คน โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชาวชุมชนได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ การป้องกันโรค มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง รวมทั้งมีการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น ตลอดจนเพื่อให้ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสและผู้พิการได้รับการดูแลที่บ้านอย่างต่อเนื่อง โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ เป็นค่าอาหาร ค่าวิทยากร ค่าแฟ้มจัดเก็บเอกสาร ค่าชุดเยี่ยมฯ และค่าวัสดุ เป็นเงินทั้งสิ้น ๑๓,๓๕๐ บาท ทางคณะกรรมการกองทุนฯได้ให้ความเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี เพียงแต่ติงเรื่องค่าอาหารที่ไม่ได้ระบุจำนวนคน รวมทั้งค่าชุดของเยี่ยมที่ในระเบียบไม่เปิดให้ ส่วนในเรื่องการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายให้ระบุในรายละเอียดการดำเนินงานด้วย  และให้บูรณาการการดำเนินงานร่วมศูนย์แพทย์ที่รับผิดชอบชุมชนด้วย
มติที่ประชุม : อนุมัติ  โดยให้ปรับตามคำแนะนำ


โครงการที่ ๒ โครงการนำร่องเสริมทักษะการว่ายน้ำ คปสอ.ม.สุไหงโก-ลก
                สืบเนื่องด้วยทักษะการว่ายน้ำเป็นการออกกำลังกายชนิดหนึ่งที่นอกจากจะมีความสำคัญต่อการมีสุขภาพที่ดีแล้ว ยังมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต เพื่อที่จะดูแลตัวเองให้รอดพ้นจากอุบัติเหตุจากน้ำได้ด้วย โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างทักษะการว่ายน้ำและสามารถช่วยเหลือตัวเองให้มีความปลอดภัยจากอุบัติเหตุทางน้ำได้ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาที่ยังไม่มีทักษะการว่ายน้ำ จำนวน ๔๐ คน โดยมีกิจกรรมการดำเนินงานเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการฝึกทักษะการว่ายน้ำและฝึกทักษะการช่วยชีวิตจากการจมน้ำ และขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ เป็นค่าอาหารว่าง ค่าค่าวิทยากร ค่าบริการสระว่ายน้ำ ค่าวัสดุประชาสัมพันธ์และเกียรติบัตร และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เป็นเงินทั้งสิ้น ๔๙,๙๕๐ บาท ทางคณะกรรมการกองทุนฯได้ให้ความเห็นว่าเป็นโครงการที่ควรสนับสนุน เพียงแต่ให้ปรับหลักการและเหตุผลให้เข้ากับบริบทของสุไหงโก-ลก ที่มีชุมชนติดแม่น้ำหลายชุมชนและมีเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำค่อนข้างบ่อย กลุ่มเป้าหมายเจาะจงกลุ่มเยาวชนในชุมชนติดแม่น้ำก่อนเป็นการนำร่อง รวมทั้งในเรื่องการจัดกิจกรรมให้เน้นการส่งเสริมสุขภาพมากกว่าเรื่องทักษะและกีฬา
 มติที่ประชุม : อนุมัติ  และให้ปรับตามคำแนะนำ

 โครงการที่ ๓   โครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่กลุ่มสตรี  ชุมชนศรีอามาน
                โครงการนี้เป็นโครงการที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้กลุ่มสตรีวัยเจริญพันธ์ในชุมชนที่สนใจในเรื่องสุขภาพของตนเอง มีโอกาส และกล้าที่จะรับการตรวจ เพราะสะดวก ลดการเสียเวลาไปรับบริการ ณ โรงพยาบาล ประกอบกับในปัจจุบันมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆมากมายที่มีส่วนต่อการเป็นโรคมะเร็ง เป็นการหาทางป้องกันและรักษาล่วงหน้า หากมีการพบโรคในระยะแรก ซึ่งมีโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้ โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้สตรีวัยเจริญพันธ์ มีความรู้ ความเข้าใจ มีความตระหนัก และสนใจรับการตรวจโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม รวมทั้งเพื่อเป็นการสร้างแกนนำสตรีวัยเจริญพันธ์สุขภาพดี มีเป้าหมายการดำเนินงานเป็นกลุ่มแม่บ้านและสตรีวัยเจริญพันธ์ ในชุมชน จำนวน  ๗๕ คน โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ เป็นค่าอาหาร ค่าอาหารว่าง ค่าตอบแทน  และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน ๖,๐๐๐ บาท ซึ่งคณะกรรมการกองทุนฯได้ให้ความเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี ตอบโจทย์ของกองทุนฯ ประกอบกับการดำเนินงานของชุมชนที่ชาวชุมชนเป็นมุสลิมเป็นส่วนใหญ่ เพียงแต่ให้ปรับค่าอาหารและอาหารว่างให้เป็นไปตามอัตราปัจจุบัน เห็นควรให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป
 มติที่ประชุม : อนุมัติ 

โครงการที่       โครงการขับขี่รู้กฎ  ลดอุบัติเหตุ  ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  ชุมชนเจริญสุข
เป็นโครงการที่เสนอขอสนับสนุนงบประมาณเมื่อเดือนที่ผ่านมา ให้นำมาพิจารณาใหม่ เพื่อให้คณะกรรมการไปศึกษาหนังสือกรอบกิจกรรมการดำเนินงานของ สปสช.เล่มใหม่ ทางคณะกรรมการกองทุนได้ให้ความเห็นว่า  น่าจะอยู่ในวาระติดตามมากกว่า  เมื่อพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของกองทุนฯที่เน้นเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค สำหรับโครงการนี้ยังตอบไม่ชัดเจนนัก ประกอบกับโดยปกติจะมีหน่วยงานอื่นรับผิดชอบอยู่แล้ว เช่น ตำรวจจราจรหรือขนส่ง เป็นต้น
มติที่ประชุม : ไม่อนุมัติ  


ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องเพื่อติดตาม

เรื่องที่ ๑  : รายงานผลการดำเนินงานของอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ

๑.คณะทำงานจัดทำแผนฯ
                        : กำหนดประชุมคณะทำงานจัดทำแผนกองทุนฯ ครั้งที่ ๓/๕๖ ในวันพุธ ที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๐.๐๐ น.  ณ กองสาธารณสุขฯ  ให้ทุกหน่วยงานและภาคประชาชนส่งแผนฯ ภายใน ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๖ เมื่อเทียบกับ ๒ ปีที่ผ่านมาถือว่ามีการเสนอแผนฯน้อยกว่า
คุณกิตติ : ผลักดันการทำจดหมายข่าวหรือจุลสารเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ชมรม และชาวชุมชนทราบและกระตุ้นการอยากทำโครงการ
คุณจารินี : ส่วนหนึ่งบางชุมชนอยากเสนอโครงการ แต่คิดว่าอาจยุ่งยาก  บางชุมชนอยากได้งบประมาณ แต่ไม่มีแกนนำผลักดันโครงการ
ปลัด : การเสนอโครงการ อาจจะรวมกลุ่มจัดทำโครงการด้วยกัน  ถ้าเป็นโครงการคล้ายๆกันเสนอรอบเดียว โดยให้ชุมชนที่มีความพร้อมเป็นตัวแทนนำเสนอ  ส่วนปลายปี ๒๕๕๖ ให้อนุฝ่ายเลขาฯ (ตันจุรีย์และไซนัล) ทำหนังสือสรุปผลการดำเนินงานของกองทุนฯ ที่ผ่านมา

๒.อนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ
                                : จากการประชุม คปสอ.ม.สุไหงโก-ลก เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๖ พบว่าการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม รวมทั้งการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ยังมีอัตราการครอบคลุมค่อนข้างต่ำ เห็นควรให้ศูนย์แพทย์ชุมชนบูรณาการร่วมกับ อสม. จัดทำโครงการขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ เพื่อดำเนินการในชุมชน ซึ่งจะทำให้กองทุนฯได้ผลงานด้วย

๓.อนุกรรมการฝ่ายการเงิน
:ไม่มีเรื่องแจ้ง

๔.อนุกรรมการฝ่ายติดตามฯ
ในรอบเดือนที่ผ่านมาได้ลงติดตามการดำเนินงานของโครงการต่างๆ ๒ โครงการด้วยกัน คือ
:วันที่   ๑๗  พฤษภาคม  ๒๕๕๖  ได้ติดตามการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาพชาวชุมชนหัวกุญแจ
:วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ได้ติดตามการดำเนินงานโครงการคุ้มครองผู้บริโภค(อย.น้อย) รพ.สุไหงโก-ลก
ทั้ง ๒ โครงการ ได้รับความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดี มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมเป็นไปตามที่กำหนด ถือว่าคุ้มค่า เห็นควรมีการจัดกิจกรรมลักษณะนี้ต่อไป


ระเบียบวาระที่ ๖ : วาระอื่นๆ
ตันจุรีย์ : ตามเอกสารเล่มที่แจกให้ (สีครีม) อยากให้คณะกรรมการศึกษารายละเอียดกิจกรรมการดำเนินงานต่างๆ โดยเฉพาะในประเด็นกิจกรรมที่ ๓ ซึ่งไม่ควรทำ และกิจกรรมที่ ๔ ที่ห้ามทำ
ที่ประชุม : รับทราบ

                                                                                                                                ปิดการประชุม ๑๒.๐๐ น.
  นายไซนัล  นิรมาณกุล
                                                                                                                                      ผู้บันทึกการประชุม