วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

รายงานการประชุมกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ครั้งที่ ๑/๒๕๕๗

รายงานการประชุมกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
ครั้งที่ ๑/๒๕๕๗ วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๖
ณ ห้องประชุมสภาเทศบาล ชั้น ๓

เปิดประชุมเวลา ๑๐.๐๐ น. 

เมื่อคณะกรรมการมาพร้อมกันแล้ว นายกิตติ หวังธรรมมั่ง ผู้ทรงคุณวุฒิ ในฐานะรองประธานคณะกรรมการกองทุนฯคนที่ ๑ ได้กล่าวเปิดการประชุมตามระเบียบวาระดังนี้


ระเบียบวาระที่ ๑ : ประธานแจ้งที่ประชุม

สืบเนื่องประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ติดภาระกิจ ในฐานะรองประธานคณะกรรมการฯคนที่ ๑ จึงทำหน้าที่แทน


ระเบียบวาระที่ ๒ : รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ ๘/๕๖ วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๖

มติที่ประชุม : รับรองรายงานประชุม


ระเบียบวาระที่ ๓ : เรื่องแจ้งเพื่อทราบ


เรื่องที่ ๑ : รายงานสถานะทางการเงินของกองทุนฯ ยอดยกมา ๕,๗๗๓,๑๒๑.๙๗ บาท โดยมี รายรับ-รายจ่าย ดังนี้
๑. จ่ายให้กิจกรรมประเภทที่ ๑
๑.๑ โครงการชุมชนต้นแบบต้านภัยเอดส์ เป็นเงิน ๑๒๘,๗๕๐ บาท
๒. จ่ายให้กิจกรรมประเภทที่ ๒
๒.๑ โครงการปรับเปลี่ยนตามสุขบัญญัติฯ เป็นเงิน ๑๒,๐๐๐ บาท
๓. จ่ายให้กิจกรรมประเภทที่ ๓
๓.๑ โครงการชกมวยเพื่อสุขภาพ เป็นเงิน ๒๓,๐๐๐ บาท
๓.๒ โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยกีฬาว่ายน้ำ เป็นเงิน ๔๙,๙๕๐ บาท
๓.๓ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ชุมชนล้อแม็กซ์ เป็นเงิน ๓,๘๒๕ บาท
๓.๔ โครงการป้องกันโรคไข้เลือดออก ชุมชนโปฮงยามู เป็นเงิน ๑๑,๖๐๐ บาท
๓.๕ โครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกฯ ใน ๘ ชุมชน เป็นเงิน ๔๒,๑๐๐ บาท
๓.๖ โครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกฯ ชุมชนศรีอามาน เป็นเงิน ๑๐,๔๐๐ บาท
๔. จ่ายให้กิจกรรมประเภทที่ ๔
๔.๑ ค่าเบี้ยประชุมคณะกรรมการฯ ประจำเดือนสิงหาคมฯ เป็นเงิน ๗,๐๐๐ บาท
๔.๒ ค่าจัดซื้อวัสดุสำนักงานฯ เป็นเงิน ๔,๗๐๕ บาท
รวมรายจ่าย เป็นเงิน ๒๙๓,๓๓๐ บาท
๕. รับเงินคืน
๕.๑ จากเบี้ยประชุมฯ เป็นเงิน ๑,๑๗๙ บาท
๕.๒ จากโครงการไท้เก็กฯ เป็นเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท
รวมรายรับ เป็นเงิน ๒๑,๑๗๙ บาท
คงเหลืองบประมาณกองทุน ๕,๕๐๐,๙๗๐.๙๗ บาท

มติที่ประชุม : รับทราบ


ระเบียบวาระที่ ๔ : เรื่องเพื่อพิจารณา


เรื่องที่ ๑ : การพิจารณาโครงการที่ขอสนับสนุนงบประมาณ จากหน่วยงาน/ภาคประชาชน จำนวน ๒ โครงการ


โครงการที่ ๑ โครงการขยายเครือข่ายอาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุ “เพื่อช่วยเพื่อน” ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๑ รพ.สุไหงโก-ลก

โครงการนี้เป็นโครงการที่มีลักษณะการจัดกิจกรรมเป็นการสนับสนุนช่วยเหลือผู้ สูงอายุที่มีลักษณะติดบ้าน ติดเตียง ให้สามารถได้รับการดูแลทางด้านสุขภาพกายและสุขภาพใจอย่างต่อเนื่อง โดยมีอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่มีความรู้และทักษะพอสมควร ช่วยครอบครัวของผู้สูงอายุ เพื่อนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี เหมาะสมตามมาตรฐานที่สมควรได้รับ โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ความรู้ ทักษะของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองสุขภาพอย่างต่อเนื่อง และสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นของครอบครัวอันเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนของ โรค โดยมีเป้าหมายของกิจกรรมเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขและผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี จำนวน ๖๐ คน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ เป็นค่าอาหาร ค่าอาหารว่าง ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าตอบแทนผู้ออกเยี่ยม ค่าวัสดุอุปกรณ์ และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน ๒๓,๗๐๐ บาท ซึ่งคณะกรรมการกองทุนฯได้ให้ความเห็นว่าเป็นโครงการที่ส่งเสริมการมีสุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ติดบ้านและติดเตียง เพียงแต่ในเรื่องของอาสาสมัครผู้ดูแล อยากให้เป็นญาติใกล้ชิดในครอบครัวน่าจะดีกว่าเพราะสามารถดูแลได้ตลอดอย่าง ต่อเนื่อง รวมทั้งเรื่องค่าตอบแทนของอาสาสมัครผู้ดูแลในการติดตามออกเยี่ยม ควรเปลี่ยนเป็นค่าจัดกิจกรรมอย่างอื่นแทน เพื่อไม่ให้เป็นแบบอย่างกับโครงการอื่นๆ เช่น ปรับเป็นค่าอาหารก็ได้และให้แก้ไขคำหรือข้อความที่ผิดในตัวโครงการด้วย

มติที่ประชุม : อนุมัติ แต่ให้ปรับตามคำแนะนำ


โครงการที่ ๒ โครงการส่งเสริมสุขภาพชาวชุมชนด้วยการเล่นกีฬา ชุมชนโต๊ะลือเบ

เนื่อง ด้วยชุมชนโต๊ะลือเบ เป็นชุมชนที่อยู่ค่อนข้างไกลจากสถานที่ออกกำลังกายของเทศบาลจัดให้แต่ชาว ชุมชนส่วนใหญ่ ทุกเพศ ทุกวัย ชอบออกกำลังกาย ประกอบกับในชุมชนพอที่จะมีพื้นที่สำหรับการออกกำลังกาย แต่ยังขาดวัสดุอุปกรณ์กีฬาออกกำลังกาย ทางกรรมการชุมชนจึงได้จัดทำและเสนอโครงการเพื่อให้ชาวชุมชน ได้มีกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง เหมาะสมกับเพศและวัยของตนเอง รวมทั้งทำให้มีสุขภาพกายและจิตใจดีด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็ก เยาวชน ประชาชน ได้สร้างเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย ส่งเสริมให้เยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ห่างไกลยาเสพติด ก่อเกิดความสามัคคีภายในชุมชน มีเป้าหมายการดำเนินงานเป็นเด็ก เยาวชน ประชาชน จำนวนไม่น้อยกว่า ๖๐ คน โดย ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ เป็นค่าวัสดุอุปกรณ์กีฬา และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน ๑๙,๓๐๐ บาท ซึ่งคณะกรรมการกองทุนฯได้ให้ความเห็นว่าเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับการส่ง เสริมการมีสุขภาพที่ดี กลุ่มเป้าหมายการร่วมกิจกรรมค่อนข้างครอบคลุม เพียงแต่ให้ปรับในเรื่องหลักการและเหตุผล ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนฯใหมากที่สุด รวมทั้งเรื่องผู้รับผิดชอบการดูแลรักษา เพื่อความคงทนและยืนยาวของอุปกณ์กีฬา

มติที่ประชุม : อนุมัติ และให้ปรับตามคำแนะนำ


ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องเพื่อติดตาม


เรื่องที่ ๑ : รายงานผลการดำเนินงานของอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ

๑.คณะทำงานจัดทำแผนฯ
- ไม่มี

๒.อนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ
- ไม่มี


๓.อนุกรรมการฝ่ายการเงิน
:ปี ๒๕๕๖ มีโครงการที่ได้ทำการเบิกงบประมาณของกองทุนฯ ๓๙ โครงการ แต่ขณะนี้มี
โครงการ ที่ได้ส่งสรุปหลักฐานพร้อมผลการดำเนินงานเพียง ๑๐ โครงการเท่านั้น ขอให้โครงการที่ยังไม่ส่งหลักฐานและสรุปผลการดำเนินงานให้อนุกรรมการการ เงินฯ ให้ส่งหลักฐานพร้อมผลการดำเนินกิจกรรมด้วย ซึ่งทางอนุฝ่ายการเงินได้ประสานและทำหนังสือเร่งรัดให้ผู้จัดทำโครงการสรุป ผลการดำเนินงานพร้อมหลักฐานการเงินไปแล้ว

๔.อนุกรรมการฝ่ายติดตามฯ
:ในรอบเดือนที่ผ่านมาได้ติดตามการดำเนินงานจำนวน ๓ โครงการ คือ
๑.โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขดูแลสุขภาพจิต ในชุมชนศรีอามาน และ
ชุมชนหัวกุญแจ
๒.โครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ในชุมชนกูโบร์ และโปฮงยามู
๓.โครงการการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยชุมชน ชุมชนโปฮงยามู
ซึ่งทุกโครงการและกิจกรรม ได้รับผลตอบรับจากชาวชุมชนเป็นอย่างดี มีกลุ่มเป้าหมายเข้า
ร่วมกิจกรรมเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด


ระเบียบวาระที่ ๖ : วาระอื่นๆ

ตัน จุรีย์ : นำเสนอสรุปการดำเนินงานของกองทุนระหว่างปี ๒๕๕๕ ถึง ๒๕๕๖ ซึ่งจะมีพัฒนาการเพิ่มเติมจากปีก่อนหน้าหลายประการ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้



เงินอุดหนุนจาก สปสช. ปี ๒๕๕๕ เป็นเงิน ๑,๖๒๒,๑๒๐ บาท  เงินสมทบจากเทศบาล ๘๑๑,๙๒๐ บาท
เงินอุดหนุนจาก สปสช. ปี ๒๕๕๖ เป็นเงิน  ๑,๖๓๖,๒๔๐บาท  เงินสมทบจากเทศบาล ๘๑๙,๒๘๐บาท
                                                  ปี ๒๕๕๕                                ปี ๒๕๕๖
ประเภทกิจกรรม                     โครงการ    งบประมาณ              โครงการ     งบประมาณ
๑.การจัดบริการตามชุด
สิทธิประโยชน์                            ๑๒     ๓๗๖,๔๔๓                    ๘        ๔๓๕,๙๕๐
๒.การสนับสนุนหน่วยบริการฯ           ๙     ๒๖๖,๙๙๐                     ๓        ๑๘๖,๙๐๐

๓.การสนับสนุนภาคประชาชนฯ       ๑๗     ๕๗๑,๑๖๑                   ๒๐        ๗๑๗,๒๓๐

๔.การบริหารจัดการฯ                      ๑       ๘๓,๕๐๐                     ๑       ๑๑๐,๐๒๕
รวม                                          ๓๙     ๑,๒๙๘,๐๙๔               ๓๒    ๑,๔๕๐,๑๐๕

ปี ๒๕๕๕ จะมีที่ทำการพร้อมป้ายกองทุนฯ ณ กองสาธารณสุขฯ และคณะกรรมการได้กำหนดกรอบการสนับสนุนกิจกรรมเป็นร้อยละ ๒๕,๒๕,๔๐และ๑๐
ปี ๒๕๕๖ มีโครงการจากหน่วยงานและชุมชนใหม่ๆเพิ่ม เช่น
-โครงการ ชกมวยเพื่อสุขภาพ
-โครงการ ประชุมเชิงปฏิบัติการ” การซ้อมแผนภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ”
-โครงการ นำร่องเสริมสร้างทักษะการว่ายน้ำสำหรับเยาวชน
-โครงการ ป้องกันและควบคุมโรคเชิงรุก ชุมชนโปฮงยามู ( นำร่อง โซน 1 ) เป็นต้น
ส่วน แนวทางการพัฒนากองทุนฯ ในปี ๒๕๕๗ จะเสริมการใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์เป็นทิศทางการดำเนินงาน โดยจะมีการอบรมให้คณะกรรมการกองทุน และ ตัวแทนภาคประชาชน รวมทั้งจัดทำแบบประเมินความพึงพอใจ ทั้งผู้รับผิดชอบโครงการเพื่อประเมินกองทุน ฯ และผู้เข้าร่วมโครงการ หรือกิจกรรมเพื่อประเมินโครงการ ฯ

ที่ประชุม : รับทราบ

ปิดการประชุม ๑๑.๓๐ น.
นายไซนัล นิรมาณกุล
ผู้บันทึกการประชุม