วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

รายงานการประชุมกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโกลก ครั้งที่ ๒ / ๒๕๕๗ วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๖

รายงานการประชุมกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโกลก
ครั้งที่ ๒ / ๒๕๕๗ วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๖
ณ. ห้องประชุมสภาเทศบาล ชั้น๓
เปิดประชุมเวลา ๑๐.๐๐ น.

เมื่อคณะกรรมการมาพร้อมกันแล้ว นายกิตติ หวังธรรมมั่ง ผู้ทรงคุณวุฒิ ในฐานะรองประธานคณะกรรมการกองทุนฯ คนที่ ๑ ได้เปิดการประชุมตามระเบียบวาระดังนี้

ระเบียบวาระที่ ๑ : ประธานแจ้งที่ประชุม

สืบเนื่องที่ประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ติดภารกิจ ในฐานะรองประธานคณะกรรมการคนที่๑ จึงทำหน้าที่แทน

ระเบียบ วาระที่ ๒ : รับรองรายงานการประชุม ครั้ง ๑ / ๒๕๕๗ วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๖
มติที่ประชุม : รับรองรายงานการประชุม

ระเบียบวาระที่ ๓ : เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

เรื่อง ที่ ๑ : รายงานสถานะทางการเงินของกองทุน ประจำเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ยอดยกมา ๕,๕๐๐,๙๗๐.๐๙๗ บาท โดยมีรายรับ รายจ่าย ดังต่อไปนี้
๑. จ่ายให้กิจกรรมประเภทที่ ๑ ไม่มี
๒. จ่ายให้กิจกรรมประเภทที่ ๒ มี ๑ โครงการ
๒.๑ โครงการขยายเครือข่ายอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (เพื่อนช่วยเพื่อน) เป็นเงิน ๓๖,๓๐๐ บาท
๓. จ่ายให้กิจกรรมประเภทที่ ๓ มี ๒ โครงการ
๓.๑ โครงการสุขภาพดี จิตแจ่มใสทุกวัย (กิจกรรมที่ ๖ ) เป็นเงิน ๑๗,๒๐๐ บาท
๓.๒โครงการอบรมให้ความรู้มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เป็นเงิน ๖,๘๕๐ บาท
๔. จ่ายให้กิจกรรมประเภทที่ ๔ มี ๔ กิจกรรม
๔.๑ค่าเบี้ยประชุมประจำเดือน ธันวาคม ๒๕๕๖ เป็นเงิน ๗,๐๐๐ บาท
๔.๒ค่าจัดประชุมซักซ้อมแผนให้ภาคประชาชน เป็นเงิน ๑,๗๕๐ บาท
๔.๓ค่าตอบแทนอนุกรรมการฝ่ายติดตามประเมินผลโครงการ เป็นเงิน ๒,๗๐๐ บาท
๔.๔ค่าเบี้ยประชุมอนุกรรมการฝ่ายจัดทำแผนฯ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๗ เป็นเงิน ๔,๔๐๐ บาท
รวมรายจ่าย เป็นเงิน ๗๖,๒๐๐ บาท
๕. รับเงินคืน
๕.๑ จากโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ฯ ชุมชนโปฮงยามู ๑,๘๐๐ บาท
๕.๒จากโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกฯ ชุมชนสวนมะพร้าว ๑,๘๐๐ บาท
๕.๓จากเบี้ยประชุมประจำเดือน ตุลาคม ๒๕๕๖ ๖๗๐ บาท
๕.๔จากเบี้ยประชุมอนุกรรมการแผนกองทุนฯ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๖ ๘๔๓ บาท
๕.๕จากโครงการบาสเกตบอลเพื่อสุขภาพ ๗,๕๐๙ บาท

รวมรายรับ เป็นเงิน ๒๑,๑๗๙ บาท
คงเหลืองบประมาณกองทุนฯ ๕,๕๐๐,๙๗๐.๙๗ บาท


มติที่ประชุม : รับทราบ

ระเบียบวาระที่ ๔ : เรื่องเพื่อพิจารณา

เรื่องที่ ๑ : การพิจารณาโครงการที่ขอสนับสนุนงบประมาณ จากหน่วยงาน / ภาคประชาชน จำนวน ๔ โครงการ

โครงการที่ ๑ โครงการรณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอ ผู้รับผิดชอบ คปสอ. เมืองสุไหงโกลก
โครงการนี้เป็นโครงการที่รณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอในกลุ่มเด็ก ๐ – ๕ ปี และในกลุ่มเด็กต่างด้าว ๐ – ๑๕ ปี โดยรณรงค์หยอดวัคซีน ๒ ครั้ง ห่างกัน ๑ เดือน จัดรณรงค์พร้อมกันเต็มพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโปลิโอในบางพื้นที่ๆไม่ครอบคลุม เรื่องวัคซีน รวมถึงเพิ่มการให้วัคซีนในเด็กที่เกิดใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี มีภูมิต้านทานต่อโรคโปลิโอสูงเพียงพอที่จะป้องกันกันการแพร่เชื้อโปลิโอชนิด ก่อโรคจากภายนอกเข้ามาในประเทศ รวมทั้งป้องกันปัญหาการกลายพันธุ์ของเชื้อเนื่องจากระดับความครอบคลุมของ วัคซีนต่ำ โดยกำหนดเป้าหมายไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๙๐ ในพื้นที่เป้าหมาย สำหรับในเขตเทศบาลจัดรณรงค์ครอบคลุมทั้ง ๒๘ ชุมชน ย่านการค้า รวมถึงเขตที่ไม่สังกัดชุมชน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯเป็นค่า พาหนะของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พยาบาล และอสม. ที่ออกปฎิบัติงาน ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์ ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม ค่าวัสดุ เป็นเงิน ๔๘,๐๐๐บาท
คณะกรรมการกองทุนฯได้ให้ความเห็นว่า ควรปรับโครงการให้จัดทำโดยภาคประชาชน เป็นตัวหลัก ส่วนของงานควบคุมโรค และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นทีมสนับสนุนแทน ส่วนค่า
พาหนะของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พยาบาล ให้ปรับเป็นค่าพาหนะสำหรับอาสาสมัครที่ออกปฎิบัติงาน แทน

มติที่ประชุม : อนุมัติ และให้ปรับแก้ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ

โครงการที่ ๒ : โครงการ บริการสาธารณสุขเชิงรุกแก่ผู้ประสบอุทกภัย ประจำปี ๒๕๕๗
โครงการนี้เป็นโครงการที่กองสาธารณสุขฯ เทศบาลเมืองสุไหงโกลก เตรียมความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือด้านสาธารณสุข และให้บริการด้านสุขภาพแก่ชาวชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยทั้งขณะเกิด อุทกภัย และให้บริการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมหลังน้ำลด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมในการให้บริการด้านสาธารณสุข แก่ผู้ประสบอุทกภัย เพื่อให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้นแก่ผู้ประสบอุทกภัย และเพื่อให้สุขศึกษา การปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคหลังน้ำลด มีเป้าหมายคือ ๑๒ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย โดยขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ๑๙,๗๕๐ บาทเพื่อใช้จ่ายเป็น ค่ายา เวชภัณฑ์ สารเคมี ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อาหารกลางวันสำหรับผู้ปฏิบัติงาน

คณะกรรมการกองทุนฯ ได้ให้ความเห็นว่า ปัญหาอุทกภัยในพื้นที่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นประจำในช่วงฤดูฝนซึ่งสามารถ เตรียมการไว้ล่วงหน้าได้ ถือเป็นงานประจำซึ่งสามารถเตรียมการ จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ ยาเวชภัณฑ์ ที่จำเป็นไว้ล่วงหน้าได้ โดยให้ใช้งบประจำแทนงบกองทุนสุขภาพฯ
มติที่ประชุม : ให้ถอนโครงการนี้ออก ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณในการจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ให้ใช้งบประจำแทน

โครงการที่ ๓ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองสุไหงโกลก ปี ๒๕๕๗
เป็นหนึ่งในโครงการกิจกรรมที่ ๔ ด้านการบริหารจัดการกองทุนฯ ซึ่งจัดทำเพื่อรองรับการใช้จ่ายงบประมาณในหมวดนี้ ร้อยละ ๑๐ ของงบประมาณรายรับของปีนั้นๆ ซึ่งจะเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมของคณะกรรมการกองทุนฯ ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมของอนุกรรมการทั้ง ๔ ฝ่าย ค่าใช้จ่ายในการออกติดตาม ประเมินผลโครงการทั้งหมดที่ขอรับการสนับสนุนงบจากกองทุนสุขภาพฯ ค่าใช้จ่ายในการจัดทำสรุปรายงานผลการดำเนินงานของกองทุนฯ ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ ที่จำเป็น รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๑๕๕,๙๗๕ บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการทั้ง ๔ ฝ่าย ในการบริหารกองทุนฯให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้การใช้จ่ายเงินของกองทุนฯเป็นไปตามวัตถุประสงค์ มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด

คณะกรรมการกองทุนฯได้ให้ความเห็นว่า ให้เพิ่มการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานกองทุนฯด้วย เสนอให้มีการจัดอบรมการทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน แก่คณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการทั้ง ๔ ฝ่าย ตัวแทนจาก
ภาค ประชาชน ชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานกองทุนสุขภาพฯมีทิศทางที่ชัดเจนและมีแนวทาง เดียวกัน สามารถนำไปปรับใช้ในการจัดทำแผนงานโครงการ ตามบริบทของแต่ละพื้นที่ต่อไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในระยะยาว โดยให้ประสานขอสนับสนุนวิทยากรกระบวนการด้านการทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ มาเป็นพี่เลี้ยงในการจัดอบรมและดำเนินงานในครั้งนี้

มติที่ประชุม : อนุมัติ และให้เพิ่มเติมตามข้อเสนอแนะ

โครงการที่ ๔ : โครงการชาวชุมชน สุขภาพดี มีความสุข ประจำปี ๒๕๕๗
โครงการนี้เป็นโครงการที่ทางชุมชนจือแรตูลีและชุมชนศรีอามาน ได้ดำเนินการด้านการเฝ้าระวัง คัดกรองสุขภาพแก่ชาวชุมชน โดยจัดกิจกรรมในชุมชนทุกเดือน ดำเนินการต่อเนื่องมาแล้ว ๓ ปี ได้รับการตอบรับจากชาวชุมชนเป็นอย่างดี สังเกตได้จากกลุ่มเป้าหมายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ มีการเฝ้าระวังโรคเรื้อรังแก่ชาวชุมชน ให้สุขศึกษารายบุคคล รายกลุ่ม แนะนำอาหารสุขภาพ การออกกำลังกาย ส่งเสริมสุขภาพจิต จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่กลุ่มเสี่ยง การเฝ้าระวังโรคแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย การส่งต่อผู้ป่วยให้ศูนย์สุขภาพชุมชนดูแลต่อเนื่อง เป็นต้น โดยของบประมาณสนับสนุนจากกองทุนฯเพื่อใช้จ่ายเป็นค่าจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ สมุดทะเบียนผู้รับบริการ ค่าจัดซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าจัดทำอุปกรณ์เสริมสำหรับนวดมือ เท้า อื่นๆ เป็นเงิน ทั้งสิ้น ๔๔,๘๐๐ บาท( ๒ ชุมชน) ส่วนชุดเจาะเบาหวาน อุปกรณ์เจาะเลือด สมุดตรวจสุขภาพได้รับการสนับสนุนจากงานศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลฯ
คณะกรรมการกองทุนฯ ได้ให้ความเห็นว่า การเจาะเลือดตรวจทุกรายเป็นเรื่องที่สิ้นเปลือง จึงไม่จำเป็นต้องเจาะเลือดทุกคน ทุกเดือนโดยปกติควรเจาะตรวจปีละครั้ง ควรเลือกเจาะในรายที่มีความจำเป็น ที่ต้องเฝ้าระวังใกล้ชิดและควรจัดระบบใหม่ในการเจาะเลือด ตรวจเบาหวานแทนการตรวจทุกคน และให้ปรับค่าอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มแทน เนื่องจากมีการจัดกิจกรรม ซึ่งมีการอบรมให้ความรู้แก่ผู้รับบริการอยู่แล้ว

มติที่ประชุม : อนุมัติและให้ปรับตามข้อเสนอแนะ

ระเบียบวาระที่ ๕ : เรื่องเพื่อติดตาม

เรื่องที่ ๑ รายงานผลการดำเนินงานของอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ
๑.อนุกรรม การฝ่ายจัดทำแผน ฯ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ อนุกรรมการฝ่ายจัดทำแผนฯได้จัดประชุมซักซ้อมการจัดทำแผนงานโครงการเพื่อขอ รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ภาคประชาชน และส่วนราชการ ได้รับความร่วมมือจากทุกส่วนเป็นอย่างดี

วัน ที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๖ ได้จัดประชุมอนุกรรมการฝ่ายจัดทำแผนฯ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๗ เพื่อพิจารณาแผนงาน โครงการ ที่มาจาก ส่วนราชการ ภาคประชาชน รวม ๗๒ โครงการ โดยมีรายละเอียดดังนี้คือ ผ่าน ๕๒ โครงการ ให้ทบทวน ปรับใหม่ ๗ โครงการ ไม่ผ่าน ๘ โครงการ ให้รวมโครงการ ๕ โครงการ

๒. อนุกรรมการฝ่ายเลขาและธุรการ ฯ

๒.๑ สปสช. แจ้งประกาศฉบับใหม่ เรื่องแนวทางการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบล ปี ๒๕๕๗ อยู่ระหว่างการเสนอผู้บริหารลงนามในประกาศ ซึ่งมีสาระสำคัญหลายประเด็น ทางอนุกรรมการฝ่ายเลขา ขอนำเสนอรายละเอียดของประกาศฉบับใหม่อีกครั้ง ความต่อไป

๒.๒ หารือการแต่งตั้ง คุณนาสรูดิน สือแม หัวหน้าฝ่ายบริการสาธารณสุข เป็นอนุกรรมการฝ่ายเลขาและธุรการ แทนคุณไซนัล นิรมาณกุล ซึ่งได้ย้ายไปปฎิบัติงานที่ อบต.มูโน๊ะ

๓.อนุกรรมการฝ่ายการเงินและการคลัง ไม่มีเรื่องแจ้ง

๔.อนุกรรม การฝ่ายติดตามและประเมินผล ได้ออกติดตามประเมินผลโครงการในเดือนที่แล้ว ๒ โครงการ ๑.โครงการเสริมทักษะการว่ายน้ำ ฯ จัดที่สระว่ายน้ำโรงแรมเกนติ้ง เป้าหมายเป็นเยาวชนที่อยู่ริมคลอง ๔๐คน จัดกิจกรรม ในวันเสาร์ อาทิตย์ รวม ๑๒ สัปดาห์ เป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จ บรรลุวัตถุประสงค์ อีก ๑ โครงการ ๒.โครงการชกมวยเพื่อสุขภาพ ชุมชนศรีอามาน เป้าหมายเป็นเยาวชนชาย หญิงในชุมชน จำนวน ๒๐ คน ได้รับความร่วมมือจากเยาวชน ประชาชน ครูมวย ในการสอน ฝึกทักษะการชกมวย เยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยการออกกำลังกาย แต่มีอุปสรรคช่วงที่ฝึกตรงกับช่วงฝนตก การฝึกต้องทำในที่แจ้งทำให้จัดกิจกรรมได้ไม่ต่อเนื่อง

วาระที่ ๖ เรื่องอื่นๆ ไม่มี
ปิด การประชุม เวลา ๑๑.๔๕ น.

ตันจุรีย์ ไชยลาภ ผู้บันทึกการประชุม