วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

รายงานการประชุมกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ครั้งที่ ๗/๒๕๕๗



รายงานการประชุมกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
ครั้งที่  ๗/๒๕๕๗   วันที่  ๒๕   มิถุนายน   ๒๕๕๗
  ห้องประชุมสภาเทศบาล  ชั้น ๓
เปิดประชุมเวลา  ๑๐.๐๐ น.
                เมื่อคณะกรรมการมาพร้อมกันแล้ว นายกิตติ หวังธรรมมั่ง รองประธานคณะกรรมการกองทุนฯ ทำหน้าที่ประธานการประชุมได้กล่าวเปิดการประชุมและแจ้งว่า นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก ในฐานะประธานกรรมการกองทุนติดภารกิจ และได้มอบหมายให้ผมทำหน้าที่ประธานการประชุมแทน จึงขอ ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระดังนี้
ระเบียบวาระที่ ๑ : ประธานแจ้งที่ประชุม  ไม่มีเรื่องแจ้ง
ระเบียบวาระที่ ๒ : รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่  ๖/๒๕๕๗   วันที่    พฤษภาคม   ๒๕๕
มติที่ประชุม : รับรองรายงานประชุม
ระเบียบวาระที่ ๓ : เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
เรื่องที่ ๑   รายงานสถานะทางการเงินของกองทุน ฯ ประจำเดือน พฤษภาคม ๒๕๕๗ มีรายละเอียดดังนี้
                                ยอดยกมา ๗,๒๑๕,๗๓๔.๒๕ บาท
        รายรับ
รับเงินคืนจากโครงการโปลิโอฯ                                                                       ๖,๒๐๐                   บาท
รับเงินคืนจากเบี้ยประชุมฯ                                                                               ๑,๑๐๒                   บาท
รับเงินคืนจากโครงการอบรมสร้างและใช้แผนที่ยุทธศาสตร์ฯ ๒๓,๔๖๖                บาท
                                                                รวมรายรับ                                            ๓๐,๗๖๘               บาท
      รายจ่าย
ค่าใช้จ่ายกิจกรรมประเภทที่ ๑                                          ไม่มี
ค่าใช้จ่ายกิจกรรมประเภทที่ ๒                                         ไม่มี
ค่าใช้จ่ายกิจกรรมประเภทที่ ๓                                         ๕๒,๕๑๐              บาทรายละเอียดดังนี้
๓.๑โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายกีฬาตะกร้อ    ๓๔,๗๖๐                บาท
๓.๒โครงการยิ้มสดใสในวัยเด็ก (๒-๑๓ ปี)                  ๑๒,๗๕๐              บาท(เจริญสุข )
๓.๓โครงการส่งเสริมสุขภาพเพื่อชุมชน                        ๕,๐๐๐                   บาท(เจริญสุข)
ค่าใช้จ่ายกิจกรรมประเภทที่ ๔                                         ๗,๐๐๐                   บาทรายละเอียดดังนี้
๔.๑ค่าใช้จ่ายประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ                ๗,๐๐๐                   บาท
รวมรายจ่ายทั้ง ๔ กิจกรรมเป็นเงิน ๕๙,๕๑๐                บาท
                คงเหลือเงินกองทุนฯ        ๗,๑๘๗,๐๐๑.๒๕                บาท       
มติที่ประชุม : รับทราบ

ระเบียบวาระที่ ๔ : เรื่องเพื่อพิจารณา
เรื่องที่ ๑ : การพิจารณาโครงการที่ขอสนับสนุนงบประมาณ จากหน่วยงาน/ภาคประชาชน      โครงการ
โครงการที่ ๑  โครงการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพเพื่อความฉลาดทางสติปัญญาตามสุขบัญญัติแห่งชาติ
                โครงการนี้เป็นโครงการที่ทางโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จัดทำเพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุขพฤติกรรมสุขภาพและปัญหาทางสติปัญญาของเด็ก ซึ่งปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก  ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยทางสังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งพฤติกรรม ซึ่งมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น โครงการนี้จัดทำเพื่อให้ผู้อบรมนำความรู้ที่ได้รับสามารถปฏิบัติและเพื่อให้มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามหลักสุขบัญญัติ ๑๐ ประการ ตลอดจนส่งผลทางความฉลาดทางสติปัญญาได้ และสามารถถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ สู่เพื่อนนักเรียนในสถานศึกษาได้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นแกนนำนักเรียนชั้น ป.๔ และป.๕ ชั้นละ ๒๐ คน (โรงเรียนเทศบาล ๑-๔และโรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก) จำนวน ๒๐๐ คน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๑๓,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย อาหารว่างและเครื่องดื่ม  ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม
คณะกรรมการกองทุนฯ มีความเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีควรดำเนินโครงการประสานร่วมกับโรงเรียนและให้ทำอย่างต่อเนื่อง  และให้ปรับแบบเสนอโครงการตามแบบของกองทุนฯ
 มติที่ประชุม : อนุมัติ  ปรับตามข้อเสนอแนะ
โครงการที่ ๒        วัยรุ่นยุคใหม่ใส่ใจสุขภาพโรงเรียนแสงธรรมวิทยา ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๗
โครงการนี้ เป็นโครงการที่โรงเรียนแสงธรรมวิทยาจัดทำเพื่อลดปัญหาสุขภาพนักเรียนในโรงเรียน ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่ไม่ค่อยใส่ใจสุขภาพของตนเอง  นอนดึกและไม่ออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายอ่อนแอป่วยง่าย  บริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และนักเรียนบางกลุ่มนั้นติดยาเสพติดเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น สูบบุหรี่ กัญชา น้ำกระท่อม เป็นต้น ดังนั้นด้วยเหตุผลดังกล่าว ทางโรงเรียนจึงทำโครงการนี้เพื่อให้เยาวชนในโรงเรียน มีความรู้ และเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเอง ได้รับรู้ถึงอันตรายของสารตกค้าง และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ๒๓๐ คน นักเรียน ๒๐๐ คนแบ่ง ๒ รุ่นๆละ ๑๐๐ คน นักเรียนชาย ๑๐๐ คน นักเรียนหญิง ๑๐๐ คน ม.๒-ม.๖ ครูควบคุม ๑๐ คน และแกนนำ (ยสร.) ๒๐ คน  ขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๗๕,๔๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายค่าอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าวิทยากรและค่าวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
คณะกรรมการกองทุนฯ มีความเห็นว่า  เป็นโครงการที่ดี เป็นการแก้ไขปัญหาสุขภาพในกลุ่มวัยรุ่น ให้ปรับค่าอาหารกลางวันจาก ๖๐ บาทเป็น ๕๐ บาท เหมือนกับโครงการอื่นๆ และอยากให้ทางโรงเรียนมีส่วนร่วมด้วยตามที่โรงเรียนมีต้นทุน  และอยากให้ ปรับ เพิ่มกลุ่มเป้าหมายโดยเน้น  ม.๒   ม.๓  และ ม. ๔ เป็นหลัก  ส่วนกิจกรรมที่ได้จากการอบรมเพื่อความยั่งยืน ต่อเนื่อง ควรให้แกนนำนักเรียนไปเผยแพร่ผ่านสื่อในโรงเรียนเช่น กิจกรรมหน้าเสาธง  เสียงตามสาย  เป็นต้น  นอกจากนี้อยากให้วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนว่า มีปัญหาอะไรบ้าง จะแก้ปัญหาได้อย่างไร กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน แต่งตั้งคณะทำงานที่จะร่วมแก้ปัญหา ของบสนับสนุนเพื่อไปดำเนินการ ติดตามผล ดูผลสำเร็จของงาน 
มติที่ประชุม : ให้ปรับโครงการตามข้อเสนอแนะและนำเข้าที่ประชุมพิจารณารายละเอียดที่แก้ไขอีกครั้งในคราวประชุมครั้งต่อไป
 โครงการที่๓ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้นำเยาวชนสาธารณสุขในโรงเรียนแสงธรรมวิทยา และ อย.น้อย
                โครงการนี้เป็นโครงการที่ทางโรงเรียนแสงธรรมวิทยาจัดทำขึ้นเพราะได้เล็งเห็นถึงปัญหาสุขาภิบาลอาหาร  และ สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ซึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ห้องน้ำ เมื่อเสร็จภารกิจแล้วมักจะไม่ล้างมือ หรือราดน้ำให้สะอาดทั่งถึงและโรงอาหารของโรงเรียนไม่สะอาด  เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้วมักจะไม่ชอบเอาขยะไปทิ้งลงถังขยะ  ดังนั้นด้วยเหตุผลดังกล่าวทางโรงเรียนแสงธรรมวิทยาจึงจัดโครงการนี้เพื่อสร้างแกนนำหรือเยาวชนสาธารณสุขในโรงเรียน ให้มีความรู้ และความเข้าใจในเรื่องสุขภาพและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น เป็นแบบอย่างที่ดี สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันและเผยแพร่เยาวชนในโรงเรียนได้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ๑๑๑ คน นักเรียน  ๑๐๐ คน ชาย ๕๐ คน หญิง ๕๐ คน   ม.๒- ม.๖ ชั้นละ ๑๐ ครูผู้ควบคุม ๕ คน  แกนนำ (ยสร.) ๖ คน ขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน  ๑๗,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายอาหารว่างและเครื่องดื่ม  อาหารกลางวัน ค่าวิทยากร ค่าชุดทดสอบอาหาร และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น
คณะกรรมการกองทุนฯ มีความเห็นว่า ทั้ง ๒ โครงการที่โรงเรียนเสนอมา เป็นเรื่องที่คล้ายกัน ซ้ำซ้อน กลุ่มเป้าหมายเดียวกัน ให้ทางโรงเรียนไปปรับว่าในโรงเรียนมีปัญหาเกี่ยวกับอะไรบ้าง เช่น ปัญหาสุขภาพ ปัญหาสุขาภิบาล ปัญหาสิ่งแวดล้อม  นำทั้ง๒ โครงการมาปรับรวมเป็น  ๑ โครงการใหญ่  ปรับกิจกรรมย่อย ปรับการดำเนินงาน วิธีการให้ชัด  ให้มาหารือกับทางกองสาธารณสุขเพิ่มเติม
มติที่ประชุม :  อนุมัติในหลักการแต่ให้นำทั้ง ๒ โครงการ มายุบรวมเป็น ๑ โครงการใหญ่ แยกกิจกรรม การดำเนินงาน โดยให้สอดคล้องกับปัญหา  เมื่อแก้ไขโครงการแล้วให้นำเข้าที่ประชุมให้คณะกรรมการพิจารณาใหม่อีกครั้ง
โครงการที่ ๔     โครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและเต้านม
                 โครงการนี้เป็นโครงการที่ทางชุมชนศรีอามานจัดทำขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ในปีนี้ดำเนินการเป็นปีที่ ๔ และได้รับความร่วมมือจากชาวชุมชนเป็นอย่างดี ทางชุมชนยังต้องดำเนินการต่อเนื่อง เพราะในยุคปัจจุบัน อาหารการกิน และสภาพแวดล้อมมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันหญิงไทยได้เสียชีวิตกับโรคมะเร็งเป็นจำนวนมากและพบในคนอายุน้อยมากขึ้นทุกปี อีกทั้งยังขาดความรู้การเฝ้าระวังโรคดังกล่าว ทางชุมชนศรีอามานตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ จัดทำการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในชุมชนเพื่อให้ชาวชุมชนเกิดความสะดวกมากขึ้น และค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชน ให้ได้รับการรักษาทันท่วงที ถูกต้องและต่อเนื่อง โดยเชิญเจ้าหน้าที่จากศูนย์สุขภาพชุมชนของโรงพยาบาลสุไหงโก-ลกมาให้ความรู้ สอนตรวจเต้านมด้วยตนเองและ คัดกรองมะเร็งปากมดลูก ภายในชุมชน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน  ๑๐,๔๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อาหารกลางวัน ค่าตอบแทนวิทยากร และค่าไวนิล
 คณะกรรมการกองทุน  มีความเห็นว่า เป็นโครงการที่ดี และทำมาอย่างต่อเนื่อง และอยากให้ทางชุมชนอื่นทำกิจกรรมเชิงรุกเช่นนี้ด้วย   ส่วนไวนิลอยากให้ปรับข้อความให้สามารถใช้ได้ต่อเนื่อง  
มติที่ประชุม : อนุมัติ ปรับตามข้อเสนอแนะ
ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องเพื่อติดตาม
เรื่องที่ ๑  : รายงานผลการดำเนินงานของอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ
                ๑.คณะอนุกรรมการฝ่ายจัดทำแผนฯ   การจัดทำแผน   เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการใช้ประกาศกองทุนฯ ฉบับใหม่  ปี ๒๕๕๗ มีสิ่งที่ต้องดำเนินการดังนี้
Ø จัดประชุมเพื่อปรับปรุงระเบียบกองทุนหลักประกันเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ให้สอดคล้องกับประกาศฉบับใหม่  โดยจะนัดอนุกรรมการฝ่ายเลขาและอนุกรรมการฝ่ายแผน ฯ ประชุมร่วมกัน
Ø จัดประชุมเพื่อซักซ้อมการเสนอแผนงาน โครงการ  จากกลุ่มต่างๆ ได้แก่  ๑.ส่วนราชการ  กองต่างๆ  โรงเรียน   ๒.ชุมชน อสม.   ๓. ชมรม กลุ่ม สมาคม  ๔. ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์ต่างๆ เป็นต้น
โดยจะดำเนินการเชิญประชุม กลุ่มต่างๆ ในเดือน สิงหาคม  นี้  โดยให้แจกเอกสารแนบท้าย ให้กลุ่มต่างๆ ใช้ประกอบในการเสนอโครงการด้วย             
                ๒.คณะอนุกรรมการฝ่ายเลขาและธุรการ  จากการเข้าร่วมประชุมของผอ.พินัย มีเรื่องแจ้งคือ
Ø นโยบายหลักประกันสุขภาพในอนาคต จะเพิ่มหน่วยบริการปฐมภูมิ กระจายทั่วเมือง เน้นการสร้างนำซ่อม
Ø  โรคภัยเงียบ  โรคเรื้อรัง NCD   มะเร็ง ซึ่งหลายโรคสามารถป้องกันได้ 
Ø การจัดระบบการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
Ø ศูนย์เด็กเล็ก เน้นการพัฒนาทุกด้านให้เด็กมีสุขภาพดี มีพัฒนาการสมวัย
                ๓.คณะอนุกรรมการฝ่ายการเงินและบัญชี   :   ไม่มีเรื่องแจ้ง
                ๔.คณะอนุกรรมการฝ่ายประเมินและติดตาม :  ไม่มีเรื่องแจ้ง
               
ระเบียบวาระที่  ๖ เรื่องอื่นๆ   ไม่มีเรื่องแจ้ง
                                             ปิดการประชุม  ๑๒.๐๐ น.
                                                                นางปะอีซะห์    มะฮามะรีเป็น          บันทึกและพิมพ์รายงานการประชุม
นางตันจุรีย์       ไชยลาภ                     ตรวจทานและแก้ไข

วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

จำนวนประชากรในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ประชากรปี พ.ศ.๒๕๖๐

เดือน พฤษภาคม ๒๕๖๐ 
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๖๒๓ คน หญิง ๒๑,๘๗๗ คน รวม ๔๑,๕๐๐ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๓,๐๐๓ คน หญิง ๑๕,๔๕๓ คน รวม ๒๘,๔๕๖ คน

 จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๘๕๖ หลัง


เดือน เมษายน ๒๕๖๐ 
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๖๒๐ คน หญิง ๒๑,๙๐๗ คน รวม ๔๑,๕๒๗ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๙๘๓ คน หญิง ๑๕,๔๔๕ คน รวม ๒๘,๔๒๘ คน

 จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๘๒๙ หลัง

เดือน มีนาคม ๒๕๖๐
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๖๒๗ คน หญิง ๒๑,๙๐๓ คน รวม ๔๑,๕๓๐ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๙๖๙ คน หญิง ๑๕,๔๓๓ คน รวม ๒๘,๔๐๒ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๘๑๙ หลัง


ประชากรปี พ.ศ.๒๕๕๙

เดือน ธันวาคม ๒๕๕๙
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๖๕๘ คน หญิง ๒๑,๘๙๓ คน รวม ๔๑,๕๕๑ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๙๘๖ คน หญิง ๑๕,๔๒๖ คน รวม ๒๘,๔๑๒ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๗๖๗ หลัง


เดือน หฤศจิกายน ๒๕๕๙
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๖๖๖ คน หญิง ๒๑,๙๒๑ คน รวม ๔๑,๕๘๗ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๙๘๑ คน หญิง ๑๕,๔๓๓ คน รวม ๒๘,๔๑๔ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๕๕๙ หลัง


เดือน กันยายน ๒๕๕๙
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๖๙๕ คน หญิง ๒๑,๙๒๓ คน รวม ๔๑,๖๑๘ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๙๙๐ คน หญิง ๑๕,๔๐๘ คน รวม ๒๘,๓๙๘ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๗๓๘ หลัง


เดือน สิงหาคม ๒๕๕๙
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๖๘๘ คน หญิง ๒๑,๙๒๙ คน รวม ๔๑,๖๑๗ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๙๗๗ คน หญิง ๑๕,๔๑๑ คน รวม ๒๘,๓๕๘ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๖๘๔ หลัง


เดือน กรกฎาคม ๒๕๕๙
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๖๙๐ คน หญิง ๒๑,๙๕๕ คน รวม ๔๑,๖๔๕ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๙๖๑๙ คน หญิง ๑๕,๔๑๖ คน รวม ๒๘,๓๗๗ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๖๖๓ หลัง


เดือน มิถุนายน ๒๕๕๙
จำนวนประชากร ชาย ๒๐,๔๖๙ คน หญิง ๒๑,๐๔๖ คน รวม ๔๑,๕๑๕ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๙๕๔ คน หญิง ๑๕,๔๑๒ คน รวม ๒๘,๓๖๖ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๖๕๔ หลัง


เดือน พฤษภาคม ๒๕๕๙
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๗๔๗ คน หญิง ๒๑,๙๘๕ คน รวม ๔๑,๗๓๒ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๙๘๔ คน หญิง ๑๕,๔๐๒ คน รวม ๒๘,๓๘๖ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๖๖๒ หลัง


เดือน มีนาคม ๒๕๕๙
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๗๒๖ คน หญิง ๒๑,๙๔๙ คน รวม ๔๑,๖๗๕ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๙๗๙ คน หญิง ๑๕,๓๘๘ คน รวม ๒๘,๓๖๗ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๕๗๗ หลัง


เดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๗๖๗ คน หญิง ๒๑,๙๘๐ คน รวม ๔๑,๗๔๗ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๙๙๒ คน หญิง ๑๕,๔๑๕ คน รวม ๒๘,๔๐๗ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๖๑๔ หลัง

เดือน มกราคม ๒๕๕๙
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๗๑๖ คน หญิง ๒๑,๙๒๕ คน รวม ๔๑,๖๔๑ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๙๙๘ คน หญิง ๑๕,๔๐๖ คน รวม ๒๘,๔๐๔ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๖๐๙ หลัง


ประชากรปี พ.ศ.๒๕๕๘


เดือน พฤศจิกายน ๒๕๕๘
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๗๒๘ คน หญิง ๒๑,๙๐๑ คน รวม ๔๑,๖๒๙ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๓,๐๐๒ คน หญิง ๑๕,๓๗๔ คน รวม ๒๘,๓๗๖ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๕๗๗ หลัง

เดือน กันยายน ๒๕๕๘
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๗๒๙ คน หญิง ๒๑,๘๖๗ คน รวม ๔๑,๕๙๖ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๙๙๑ คน หญิง ๑๕,๓๘๓ คน รวม ๒๘,๓๗๔ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๕๕๘ หลัง

เดือน สิงหาคม ๒๕๕๘
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๗๒๙ คน หญิง ๒๑,๘๖๑ คน รวม ๔๑,๕๙๐ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๙๗๗ คน หญิง ๑๕,๓๘๑ คน รวม ๒๘,๓๕๘ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๕๒๘ หลัง


เดือน กรกฎาคม ๒๕๕๘
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๗๔๒ คน หญิง ๒๑,๘๖๕ คน รวม ๔๑,๖๐๗ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๙๕๙ คน หญิง ๑๕,๓๖๔ คน รวม ๒๘,๓๒๓ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๔๙๕ หลัง


เดือน พฤษภาคม ๒๕๕๘
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๗๕๑ คน หญิง ๒๑,๘๙๐ คน รวม ๔๑,๖๔๑ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๙๒๘ คน หญิง ๑๕,๓๗๑ คน รวม ๒๘,๒๙๙ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๔๑๗ หลัง

เดือน เมษายน ๒๕๕๘
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๗๕๔ คน หญิง ๒๑,๘๘๓ คน รวม ๔๑,๖๓๗ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๙๑๓ คน หญิง ๑๕,๓๕๒ คน รวม ๒๘,๒๖๕ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๓๙๒ หลัง

เดือน มีนาคม ๒๕๕๘
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๗๖๒ คน หญิง ๒๑,๘๙๔ คน รวม ๔๑,๖๕๖ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๙๑๐ คน หญิง ๑๕,๓๕๗ คน รวม ๒๘,๖๒๗ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๓๙๖ หลัง

เดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๗๒๖ คน หญิง ๒๑,๙๐๓ คน รวม ๔๑,๖๒๙ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๙๐๐ คน หญิง ๑๕,๓๓๓คน รวม ๒๘,๒๓๓ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๓๙๖ หลัง

เดือน มกราคม ๒๕๕๘
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๗๑๗ คน หญิง ๒๑,๘๕๙ คน รวม ๔๑,๕๗๖ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๘๘๐ คน หญิง ๑๕,๓๓๕ คน รวม ๒๘,๒๒๕ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๓๗๖ หลัง
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ประชากรปี พ.ศ. ๒๕๕๗

เดือน ธันวาคม ๒๕๕๗
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๗๔๓ คน หญิง ๒๑,๘๔๗ คน รวม ๔๑,๕๙๐ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๘๘๐ คน หญิง ๑๕,๓๑๖ คน รวม ๒๘,๑๙๖ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๓๕๘ หลัง

เดือน พฤศจิกายน ๒๕๕๗
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๗๑๕ คน หญิง ๒๑,๘๔๐ คน รวม ๔๑,๕๕๕ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๘๗๓ คน หญิง ๑๕,๒๙๑ คน รวม ๒๘,๑๕๗ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๓๔๔ หลัง


เดือน ตุลาคม ๒๕๕๗
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๗๑๕ คน หญิง ๒๑,๘๓๘ คน รวม ๔๑,๕๕๓ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๘๘๖ คน หญิง ๑๕,๒๙๑ คน รวม ๒๘,๑๕๗ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๓๕๓หลัง


เดือน กันยายน ๒๕๕๗
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๖๘๖ คน หญิง ๒๑,๘๐๘ คน รวม ๔๑,๔๙๔ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๘๔๕ คน หญิง ๑๕,๒๖๖ คน รวม ๒๘,๑๑๑ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๓๓๘ หลัง


เดือน สิงหาคม ๒๕๕๗
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๖๙๑ คน หญิง ๒๑,๗๙๗ คน รวม ๔๑,๔๘๘ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๘๔๐ คน หญิง ๑๕,๒๔๘ คน รวม ๒๘,๐๘๘ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๒๗๗ หลัง

เดือน กรกฎาคม ๒๕๕๗
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๖๙๔ คน หญิง ๒๑,๘๐๒ คน รวม ๔๑,๔๙๖ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๘๓๔ คน หญิง ๑๕,๒๓๐ คน รวม ๒๘,๐๖๔๕ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๒๔๖ หลัง


เดือน มิถุนายน ๒๕๕๗
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๖๘๐ คน หญิง ๒๑,๗๙๖ คน รวม ๔๑,๔๗๖ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๘๒๒ คน หญิง ๑๕,๒๑๓ คน รวม ๒๘,๐๓๕ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๒๑๗ หลัง


เดือน พฤษภาคม ๒๕๕๗
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๖๖๑ คน หญิง ๒๑,๗๘๕ คน รวม ๔๑,๔๔๖ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๘๐๕ คน หญิง ๑๕,๒๐๒ คน รวม ๒๘,๐๐๗ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๒๐๓ หลัง

เดือน เมษายน ๒๕๕๗
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๖๕๘ คน หญิง ๒๑,๗๘๗ คน รวม ๔๑,๔๔๕ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๗๙๔ คน หญิง ๑๕,๒๑๑ คน รวม ๒๘,๐๐๕ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๑๙๔ หลัง

เดือน  มีนาคม ๒๕๕๗
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๖๑๙ คน หญิง ๒๑,๗๘๓ คน รวม ๔๑,๔๐๒ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๗๙๓ คน หญิง ๑๕,๑๙๓ คน รวม ๒๗,๙๘๖ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๑๗๑ หลัง

เดือน  กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๖๐๖ คน หญิง ๒๑,๗๗๔ คน รวม ๔๑,๒๓๘ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๗๗๑ คน หญิง ๑๕,๑๖๙ คน รวม ๒๗,๙๔๐ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๑๔๘ หลัง

เดือน  มกราคม ๒๕๕๗
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๕๒๔ คน หญิง ๒๑,๗๑๔ คน รวม ๔๑,๒๓๘ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๗๗๑ คน หญิง ๑๕,๑๖๙ คน รวม ๒๗,๙๔๐ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๑๒๙ หลัง




ประชากร ปี พ.ศ.๒๕๕๖

เดือน  พฤศจิกายน ๒๕๕๖
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๔๘๙ คน หญิง ๒๑,๖๙๓ คน รวม ๔๑,๑๘๒ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๗๕๑ คน หญิง ๑๕,๑๔๘ คน รวม ๒๗,๘๙๙ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๔,๐๕๔ หลัง

เดือน  กรกฏาคม ๒๕๕๖
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๕๑๗ คน หญิง ๒๑,๗๑๙ คน รวม ๔๑,๒๓๖ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๗๓๒ คน หญิง ๑๕,๑๖๔ คน รวม ๒๗,๘๙๖ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๓,๙๙๖ หลัง

เดือน  มิถุนายน ๒๕๕๖
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๕๐๐ คน หญิง ๒๑,๗๒๗ คน รวม ๔๑,๒๒๗ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๗๑๔ คน หญิง ๑๕,๑๓๕ คน รวม ๒๗,๘๖๗ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๓,๙๖๐ หลัง

เดือน  พฤษภาคม ๒๕๕๖
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๕๑๕ คน หญิง ๒๑,๗๑๙ คน รวม ๔๑,๒๓๔ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๗๒๔ คน หญิง ๑๕,๑๒๙ คน รวม ๒๗,๘๕๓ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๓,๙๓๐ หลัง

เดือน  เมษายน ๒๕๕๖
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๕๐๓ คน หญิง ๒๑,๗๑๔ คน รวม ๔๑,๒๑๗ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๙๖๓ คน หญิง ๑๕,๓๕๓ คน รวม ๒๘,๓๑๖ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๓,๙๐๙ หลัง

เดือน  มีนาคม ๒๕๕๖
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๕๑๓ คน หญิง ๒๑,๗๓๕ คน รวม ๔๑,๒๑๘ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๙๙๑ คน หญิง ๑๕,๓๘๔ คน รวม ๒๘,๓๗๕ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๓,๙๐๔ หลัง

เดือน  มกราคม ๒๕๕๖
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๔๗๐ คน หญิง ๒๑,๗๐๓ คน รวม ๔๑,๑๗๓ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๓,๐๒๕ คน หญิง ๑๕,๔๑๘ คน รวม ๒๘,๔๔๓ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๓,๘๕๓ หลัง

ประชากรปี ๒๕๕๕

เดือน  พฤศจิกายน ๒๕๕๕
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๔๕๑ คน หญิง ๒๑,๖๐๔ คน รวม ๔๑,๐๙๑ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๗๑๓ คน หญิง ๑๕,๐๖๗ คน รวม ๒๗,๗๘๐ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๓,๘๑๓ หลัง

เดือน  กันยายน ๒๕๕๕
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๔๔๒ คน หญิง ๒๑,๖๐๔ คน รวม ๔๑,๐๖๔ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๗๓๙ คน หญิง ๑๕,๐๘๖ คน รวม ๒๗,๘๒๕ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๓,๗๗๓ หลัง

เดือน  กรกฎาคม ๒๕๕๕
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๔๕๕ คน หญิง ๒๑,๕๙๒ คน รวม ๔๑,๐๔๗ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๗๙๑ คน หญิง ๑๕,๑๐๕ คน รวม ๒๗,๘๙๖ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๓,๗๓๑ หลัง

เดือน  มิถุนายน ๒๕๕๕
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๔๓๕ คน หญิง ๒๑,๕๗๓ คน รวม ๔๑,๐๐๘ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๗๙๓ คน หญิง ๑๕,๑๑๖ คน รวม ๒๗,๙๐๙ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๓,๗๑๒ หลัง

เดือน พฤษภาคม  ๒๕๕๕
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๔๓๔ คน หญิง ๒๑,๕๙๙ คน รวม ๔๐,๙๙๓ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๘๑๙ คน หญิง ๑๕,๑๒๘ คน รวม ๒๗,๙๔๗ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๓,๗๐๔ หลัง

เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๓๔๕ คน หญิง ๒๑,๔๖๗ คน รวม ๔๐,๘๑๒ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๘๖๒ คน หญิง ๑๔,๑๗๐ คน รวม ๒๘,๐๓๒ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๓,๖๒๔ หลัง

เดือนมกราคม ๒๕๕๕
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๓๒๖ คน หญิง ๒๑,๔๓๘ คน รวม ๔๐,๗๖๔ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๘๗๒ คน หญิง ๑๔,๑๘๐ คน รวม ๒๘,๐๕๒ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๓,๖๒๔ หลัง
-------------------------------------------------------------------------------------------
เดือนกันยายน ๒๕๕๔
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๒๘๐ คน หญิง ๒๑,๓๙๕ คน รวม ๔๐,๖๗๕ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๖๓๗ คน หญิง ๑๔,๘๙๙ คน รวม ๒๗,๕๓๖ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๓,๕๖๓ หลัง

เดือนสิงหาคม ๒๕๕๔
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๒๔๑ คน หญิง ๒๑,๓๖๖ คน รวม ๔๐,๖๐๗ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๖๕๑ คน หญิง ๑๔,๙๐๗ คน รวม ๒๗,๕๕๘ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๓,๕๔๑ หลัง

เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๔
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๒๒๙ คน หญิง ๒๑,๓๘๒ คน รวม ๔๐,๖๑๑ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๖๗๑ คน หญิง ๑๔,๙๓๖ คน รวม ๒๗,๖๐๗ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๓,๔๕๑๑ หลัง

เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๔
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๒๒๘ คน หญิง ๒๑,๓๖๘ คน รวม ๔๐,๕๙๖ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๖๘๘ คน หญิง ๑๔,๙๓๘ คน รวม ๒๗,๖๒๖ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๓,๔๘๔ หลัง

เดือนมีนาคม ๒๕๕๔
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๒๓๗ คน หญิง ๒๑,๓๙๖ คน รวม ๔๐,๖๓๓ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๗๓๑ คน หญิง ๑๔,๙๘๗ คน รวม ๒๗,๗๑๘ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๓,๔๕๙ หลัง

เดือนมกราคม ๒๕๕๔
จำนวนประชากร ชาย ๑๙,๑๒๖ คน หญิง ๒๑,๒๔๗ คน รวม ๔๐,๓๗๓ คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย ๑๒,๗๕๑ คน หญิง ๑๔,๙๗๒ คน รวม ๒๗,๗๒๓ คน
จำนวนหลังคาเรือน ๑๓,๔๔๐ หลัง