วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก พ.ศ.๒๕๕๘





ระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพ
เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
พ.ศ.๒๕๕๘
..............................................

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุง  ระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกเสียใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  เรื่อง  การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่  พ.ศ.  ๒๕๕๘  จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
 อาศัยอำนาจตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  เรื่อง  การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่  พ.ศ.  ๒๕๕๘  จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑  ระเบียบนี้เรียกว่า     ระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมือง
สุไหงโก-ลก  พ.ศ.  ๒๕๕๘
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่    มกราคม ๒๕๕๘  เป็นต้นไป
ข้อ ๓  ให้ยกเลิกระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก พ.ศ.  ๒๕๕๓  ลงวันที่    เดือนมกราคม  พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
คณะกรรมการ หมายความว่า  คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
 กองทุนหลักประกันสุขภาพ  หมายความว่า   กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมือง       สุไหงโก-ลก  เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ  การป้องกันโรค  การฟื้นฟูสมรรถภาพ  และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิ  ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต
สถานบริการ  หมายความว่า  สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ  ของเอกชน  และ          ของสภากาชาดไทย  หน่วยบริการประกอบโรคศิลปะสาขาต่าง ๆ และสถานบริการสาธารณสุขอื่นที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดเพิ่มเติม
หน่วยบริการ  หมายความว่า  สถานบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ  พ.ศ.  ๒๕๔๕  ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
สำนักงาน  หมายความว่า   สำนักงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ที่ทำการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก 
ตั้งอยู่ที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม  ๑๗๐ ถนนเทศปฐม  อำเภอสุไหงโก-ลก  จังหวัดนราธิวาส
หน่วยงานสาธารณสุขหมายความว่า หน่วยงานที่มีภารกิจด้านการสาธารณสุขโดยตรง  แต่มิได้เป็นสถานบริการหรือหน่วยบริการ  เช่นสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ส่วนสาธารณสุข  เป็นต้น
หน่วยงานอื่นหมายความว่า หน่วยงานที่มิได้มีภารกิจด้านการสาธารณสุขโดยตรงแต่อาจดำเนินกิจกรรมด้านส่งเสริมสุขภาพหรือป้องกันโรคได้ในขอบเขตหนึ่งเช่น โรงเรียน  สถาบันการศึกษา วัด เป็นต้น
กลุ่มหรือองค์กรประชาชนหมายความว่า องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน หรือภาคเอกชน ที่มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม  ชมรม สมาคม มูลนิธิ หรือองค์กรที่เรียกชื่ออย่างอื่นตั้งแต่ ๕ คนขึ้นไป ซึ่งเป็นการรวมตัว กันดำเนินกิจกรรมโดยมีวัตถุประสงค์ไม่แสวงหาผลกำไร  ทั้งนี้จะเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้

ข้อ ๕  ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับกับการบริหารงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมือง       สุไหงโก-ลก
บรรดาระเบียบ  ข้อบังคับ  คำสั่ง  มติของคณะกรรมการ  หรือวิธีปฏิบัติอื่นใดที่ขัด  หรือแย้งกับความตามระเบียบนี้ให้ใช้ความในระเบียบนี้แทน
ข้อ ๖ ให้ประธานกรรมการรักษาการตามระเบียบนี้  และให้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือออกประกาศเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้  โดยไม่ขัด หรือแย้งกับระเบียบนี้

หมวดที่  
วัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ข้อ    ให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก  โดยกองทุนหลักประกันสุขภาพมีวัตถุประสงค์ดังนี้
               (๑) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุข  ของหน่วยบริการหรือสถานบริการ  หรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่  โดยเน้นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ  การป้องกันโรค  การฟื้นฟูสมรรถภาพและการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก  เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ  กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง   และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ                                                                     
(๒)  เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนหรือหน่วยงานอื่นในพื้นที่  ได้ดำเนินงานตามแผนงาน  หรือโครงการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ  การป้องกันโรค  ให้แก่สมาชิกหรือ
ประชาชนในพื้นที่  และกรณีมีความจำเป็นต้องจัดซื้อวัสดุที่มีลักษณะเป็นครุภัณฑ์ให้สนับสนุนได้ในวงเงินไม่เกิน ๕,๐๐๐  บาทต่อโครงการ วัสดุครุภัณฑ์ที่หาได้ให้อยู่ในความดูแลและบำรุงรักษาของกลุ่มหรือองค์กรประชาชนหรือหน่วยงานอื่นที่ได้รับการสนับสนุน
(๓)  เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ  การป้องกันโรค  การฟื้นฟูสมรรถภาพ  และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก  ของศูนย์เด็กเล็กหรือศูนย์ที่มีชื่ออย่างอื่นที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน  หรือศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ หรือศูนย์ที่มีชื่ออย่างอื่นที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการในชุมชน  ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกำหนด  เป็นเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๕ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพในแต่ละปีงบประมาณนั้น 
(๔) เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ  ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๕  ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพในแต่ละปีงบประมาณนั้น และในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อซื้อครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรงครุภัณฑ์นั้นจะต้องมีราคาไม่เกิน ๒๐,๐๐๐  บาทต่อหน่วย  โดยการจัดซื้อจัดจ้างให้ใช้ระเบียบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยอนุโลม  และครุภัณฑ์ที่จัดหาได้  ให้อยู่ในความดูแลและบำรุงรักษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ
(๕) กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่  ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น  เหมาะสม  และทันต่อสถานการณ์                                                                                                               

หมวดที่ ๒
คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
ข้อ ๘ให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประกอบด้วย          
(๑)   นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก                                 เป็นประธานกรรมการ
(๒)  ผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่  จำนวน    คน                           เป็นรองประธานกรรมการ
(๓)  สมาชิกสภาเทศบาลที่สภามอบหมาย   จำนวน    คน  เป็นกรรมการ
(๔)  หัวหน้าหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่   จำนวน  ๒ คน  เป็นกรรมการ
(๕)  อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่            
      คัดเลือกกันเอง  จำนวน     คน                                      เป็นกรรมการ         
(๖)  ผู้แทนชุมชนที่ชุมชนคัดเลือกกันเอง 
       จำนวนไม่เกิน    คน                                                      เป็นกรรมการ 
(๗)  ผู้แทนศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน
      หรือศูนย์รับเรื่องร้องเรียนอิสระในพื้นที่
      (ถ้ามี)หน่วยละ ๑ คน                                                        เป็นกรรมการ     
(๘) ปลัดเทศบาลหรือเจ้าหน้าที่อื่นที่นายกเทศมนตรี            เป็นกรรมการและ                   
        มอบหมาย                                                                     เลขานุการ
(๙) ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม                 เป็นกรรมการและ       
       หรือเจ้าหน้าอื่นที่นายกเทศมนตรีมอบหมาย                 ผู้ช่วยเลขานุการ
ให้สาธารณสุขอำเภอและผู้อำนวยการโรงพยาบาลในพื้นที่เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุน
การคัดเลือกกรรมการตาม (๕)และ(๖) ให้เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก  จัดประชุมเพื่อให้บุคคลในแต่ละกลุ่มได้คัดเลือกกันเองอย่างเปิดเผยและมีส่วนร่วมของประชาชนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่  ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกำหนด
ให้คณะกรรมการตาม (๑) และ (๓)-(๙) ประชุมคัดเลือกกรรมการตาม (๒) จำนวน ๒ คน  จากผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่  โดยให้คนหนึ่งเป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง  และอีกคนหนึ่งเป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  แจ้งรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการพร้อมบันทึกรายงานการประชุมคัดเลือก  ให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  หรือสำนักงานเขตออกคำสั่งแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการกองทุนต่อไป
ข้อ ๙  ให้กรรมการในคณะกรรมการกองทุนที่มาจากการคัดเลือก  มีวาระในตำแหน่งคราวละ ๔ ปี
 เมื่อกรรมการในวรรคหนึ่งอยู่ในตำแหน่งครบวาระ ๔ ปีแล้ว  ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการคนใหม่  ให้กรรมการที่ครบวาระนั้น  อยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่  ทั้งนี้ต้องไม่เกินหกสิบวัน
             ในกรณีที่กรรมการตามวรรคหนึ่ง  พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ  ให้มีการดำเนินการคัดเลือกกรรมการประเภทเดียวกันแทน  และให้ผู้ได้รับการคัดเลือกอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลือของ  กรรมการซึ่งตนแทน
ในกรณีที่ประธานกรรมการตามข้อ ๘  วรรคหนึ่ง (๑)ไม่มีหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้  ให้รองประธานกรรมการทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมตามลำดับ  แต่ในกรณีที่ประธานกรรมการตามข้อ ๘  วรรคหนึ่ง (๑)  พ้นจากตำแหน่ง ให้ปลัดเทศบาลที่ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลกปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานกรรมการแทน
ข้อ ๑๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระแล้ว  กรรมการที่มาจากการคัดเลือกตามข้อ        ๘ วรรคหนึ่ง (๒)(๔)(๕)(๖) และ (๗) พ้นจากตำแหน่ง  ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑ ) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ย้ายไปดำรงตำแหน่งหรือประกอบวิชาชีพหรืออาชีพในท้องถิ่นหรือพื้นที่อื่น
(๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(๕) เป็นบุคคลล้มละลาย
                ข้อ ๑๑  คณะกรรมการกองทุนมีอำนาจหน้าที่  ดังนี้
                                (๑) พิจารณาอนุมัติแผนงาน  หรือโครงการ  หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
                                กรณีกรรมการผู้ใดในคณะกรรมการกองทุน  เป็นผู้เสนอและดำเนินการวางแผนงานหรือโครงการ  หรือกิจกรรม  ให้กรรมการผู้นั้นมีสิทธิชี้แจงต่อที่ประชุม  แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงอนุมัติแผนงาน  หรือโครงการหรือกิจกรรมนั้น
                                (๒) ออกระเบียบที่จำเป็นเพื่อประสิทธิภาพในการบริหารกองทุน  และระเบียบว่าด้วยค่าตอบแทนของคณะกรรมการกองทุนหรือคณะกรรมการหรือผู้ดำเนินงาน  ทั้งนี้ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้  และไม่เกินกว่าอัตราหรือหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
                                (๓) ควบคุมและกำกับดูแลการรับเงิน  การจ่ายเงิน  การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
                                (๔) กำกับดูแลให้หน่วยงาน  หรือกลุ่มหรือองค์กรผู้ที่ได้รับอนุมัติงบประมาณดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนงาน  โครงการที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติและตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
                                (๕) สนับสนุนให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ในพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณะสุขทั้งที่บ้าน  ในชุมชน  หรือหน่วยบริการ  ได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
                                (๖) ให้คำแนะนำในการจัดทำข้อมูลและแผนดำเนินงานที่เกี่ยวกับปัญหาสาธารณสุขของกลุ่มเป้าหมาย  หน่วยบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                                (๗) พิจารณาให้ความเห็นชอบการจัดทำสรุปผลการดำเนินงาน  รายงานการรับจ่ายและเงินคงเหลือของกองทุนหลักประกันสุขภาพ  เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้สำนักงานสาขาจังหวัดสำนักงานเขต  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน  ภายในเดือนธันวาคมของทุกปี
                                (๘) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน  เพื่อดำเนินงานที่เกี่ยวข้องได้ตามความจำเป็น  และให้คณะอนุกรรรมการหรือคณะทำงานที่ได้รับแต่งตั้ง  ได้รับค่าตอบแทนการประชุมหรือค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นในการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
                                ทั้งนี้  หลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดตาม  (๒) (๓) และ (๔) ให้เป็นไปตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้
                                ข้อ ๑๒ ให้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกไม่น้อยกว่าปีละหกครั้ง  การประชุมต้องมีกรรมการมาประชุมไมน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนคณะกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม
                                การลงมติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมมีสิทธิออกเสียงเพื่อการชี้ขาด
                                คณะกรรมการและที่ปรึกษาที่เข้าร่วมประชุมมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนหรือเบี้ยประชุมตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
                                ข้อ ๑๓ เพื่อให้การบริหารงานของกองทุน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงาน  ได้อย่างน้อย ๔ คณะคือ
                                (๑) คณะอนุกรรมการด้านแผนฯ
                                (๒) คณะอนุกรรมการด้านเลขานุการ
                                (๓) คณะอนุกรรมการด้านการเงินและบัญชี
                                (๔) คณะอนุกรรมการด้านการติดตามประเมินผล
                                ให้อนุกรรมการหรือคณะทำงานมีสิทธิเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการ  และให้ได้รับค่าตอบแทนและเบี้ยประชุมตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
                                ข้อ ๑๔ การยุบเลิกกองทุนหลักประกันสุขภาพของเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกให้เป็นไปตามวิธีการที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
หมวดที่ ๓
การรับเงิน การจ่ายเงิน  การเก็บรักษาเงิน  การบัญชี

ข้อ ๑๕  การรับเงิน การจ่ายเงิน  การเก็บรักษาเงิน  การบัญชี  ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด

  ประกาศ     วันที่        มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๘ 


                                                      
                                                                          (นางสุชาดา    พันธ์นรา)
                                                                    นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก
                                                    ประธานกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ
                                                                          เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก


วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

รายงานการประชุมกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ครั้งที่ ๓/๒๕๕๘

รายงานการประชุมกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
ครั้งที่ ๓/๒๕๕๘ วันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๘
ณ ห้องประชุมสภาเทศบาล ชั้น ๓
เปิดประชุมเวลา ๐๙.๓๐ น.
เมื่อคณะกรรมการมาพร้อมกันแล้ว นายกิตติ หวังธรรมมั่ง รองประธานคณะกรรมการกองทุนฯ ทำหน้าที่ประธานการประชุมได้กล่าวเปิดการประชุมและแจ้งว่า นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก ในฐานะประธานกรรมการกองทุนฯติดภารกิจ และได้มอบหมายให้ผมทำหน้าที่ประธานการประชุมแทน จึงขอดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระดังนี้

ระเบียบวาระที่ ๑ : ประธานแจ้งที่ประชุม ไม่มีเรื่องแจ้ง

ระเบียบวาระที่ ๒ : รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ ๒/๒๕๕๘ วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
มติที่ประชุม : รับรองรายงานประชุม

ระเบียบวาระที่ ๓ : เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

เรื่องที่ ๑ รายงานสถานะทางการเงินของกองทุน ฯ ประจำเดือนธันวาคม ๒๕๕๗ มีรายละเอียดดังนี้
ยอดยกมา ๖,๘๐๒,๔๙๖.๙๗ บาท
๑ รายรับ ไม่มี

๒ รายจ่าย
ค่าใช้จ่ายกิจกรรมประเภทที่ ๑ ไม่มี
ค่าใช้จ่ายกิจกรรมประเภทที่ ๒ ไม่มี
ค่าใช้จ่ายกิจกรรมประเภทที่ ๓ ไม่มี
ค่าใช้จ่ายกิจกรรมประเภทที่ ๔ ไม่มี
คงเหลือเงินกองทุนฯ ๖,๘๐๒,๔๙๖.๙๗ บาท

มติที่ประชุม : รับทราบ


ระเบียบวาระที่ ๔ : เรื่องเพื่อพิจารณา

เรื่องที่ ๑ : การพิจารณาโครงการที่ขอสนับสนุนงบประมาณ จากหน่วยงาน/ภาคประชาชน ๘ โครงการ

โครงการที่ ๑ โครงการไม่อ้วนเอาเท่าไหร่
โครงการนี้เป็นโครงการของทางโรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก จัดทำขึ้นจากการคัดกรองพบว่านักเรียนบางส่วนมีภาวะโภชนาการเกินซึ่งอาจมีผล ต่อสุขภาพ อนามัยของนักเรียน อันจะส่งผลต่อการเรียนและการดำเนินชีวิตประจำวัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่นักเรียนดังกล่าวต้องได้รับการพัฒนาสุขภาพพื้นฐานด้าน โภชนาการและการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจและสติปัญญา อีกทั้งนักเรียนสามารถดูแลสุขภาพของตนเองและผู้อื่นร่วมถึงมุ่งสร้าง พฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ๔๙,๙๔๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าวิทยากร อาหารว่างและอาหารกลางวัน และค่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น

คณะกรรมการกองทุนฯ มีความเห็นว่าให้ปรับค่าวิทยากร และปรับค่าอาหารกลางวัน ถ้าจัดโครงการในวันปกติให้เบิกเฉพาะค่าอาหารกลางวันให้กับผู้ปกครองเท่านั้น (ส่วนนักเรียนรับประทานอาหารกลางวันของทางโรงเรียนจัดให้อยู่แล้ว) ส่วนถ้าจัดในวันหยุดสามารถเบิกได้ทั้งนักเรียนและผู้ปกครอง ระบุกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนเพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ขอ

มติที่ประชุม : อนุมัติ เห็นควรปรับตามข้อเสนอแนะของกรรมการ

โครงการที่ ๒ โครงการอบรมทักษะความรู้การนวดเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ
โครงการนี้เป็นโครงการของกลุ่มแกนนำสตรีมุสลิม เสนอเพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสุขภาพไม่ว่าจะเป็นโรคเริ้อรัง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เครียด บางรายอาจมีภาวะซึมเศร้าด้วย จึงเสนอโครงการนวดเพื่อสุขภาพผ่อนคลายจะช่วยให้ผู้สูงอายุได้มีกิจกรรมส่ง เสริมสุขภาพพร้อมกัน ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตทางอ้อม คลายความตึงเครียดได้เป็นอย่างดี อีกทั้งสามารถให้ผู้สูงอายุได้มีทักษะการพึ่งพาตนเองในการดูแลสุขภาพเบื้อง ต้นและส่งเสริมสุขภาพจิตให้ผู้สูงอายุด้วย โดยมีกลุ่มเป้าหมายสตรีผู้สูงอายุ จำนวน ๔๐ คน จึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ๒๑,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการ ค่าอาหารว่างและอาหารกลางวัน ค่าวิทยากร และอุปกรณ์ที่จำเป็น

คณะกรรมการกองทุนฯ มีความเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี เป็นกิจกรรมที่ริเริ่มของกลุ่มแกนนำสตรีมุสลิม มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรม สามารถให้ผู้สูงอายุช่วยเหลือตนเองยามเจ็บไข้ ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตให้ผู้สูงอายุได้ด้วย

มติที่ประชุม : อนุมัติ และปรับเพิ่มค่าตอบแทนวิทยากรให้ด้วย


โครงการที่ ๓ โครงการอบรมค่ายเยาวชนต้านภัยยาเสพติดและติดเกมอินเตอร์เน็ต
โครงการนี้เป็นโครงการของโรงเรียนเทศบาล ๑ (ราษฎรบำรุง) นำเสนอเพื่ออยากแก้ไขปัญหายาเสพติดและเกมที่มีความรุนแรงต่อเยาวชนที่ได้ เริ่มแพร่ระบาดและกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างน่าวิตก เป็นผลให้เยาวชน หลงผิดเข้าสู่วงจรการซื้อขายและเสพยาติดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประเทศ และเป็นการทำลายทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นอนาคตและเป็นพลังในการพัฒนาประเทศให้ ด้อยคุณภาพ อันจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ ปัญหายาเสพติดและเกมทางอินเตอร์เน็ตได้นำมาซึ่งความรุนแรงในครอบครัวและ อาชญากรรมต่างๆในสังคม เช่น การลักขโมย ฉกชิงวิ่งราวและการก่อปัญหาอาชญากรรมอื่นๆตามมาอีกมากมาย ทางโรงเรียนเทศบาล ๑ (ราษฎรบำรุง) ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงทำโครงการนี้เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับรู้ ทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติดและเกมอินเตอร์เน็ตเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ทักษะทางความคิดสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านร่างกายและจิตใจให้กับนักเรียนไม่ หลงในเกมอินเตอร์เน็ตและยาเสพติด จึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ๓๐,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับวิทยากร ค่าอาหารว่าง และค่าวัสดุอุปกรณ์ต่างๆกลุ่มเป้าหมาย เป็น นักเรียนท.๑ ทั้งหมด ๗๐๐ คน

คณะ กรรมการกองทุนฯ มีความเห็นว่าเป็นโครงการที่ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของกองทุนหลัก ประกันสุขภาพ โดยตรง กลุ่มเป้าหมายมีจำนวนมากเกินไป ควรเลือกทำเป็นกลุ่มอาจเป็นช่วงชั้นที่ ๒ หรือแยกจัดเป็นรุ่นๆละ ๑ ชั้นเรียน

มติที่ประชุม : อนุมัติในหลักการ แต่ให้ปรับหลักการและเหตุผลให้สอดคล้องกันโดยเน้นข้อมูลของโรงเรียน เน้นการส่งเสริม ป้องกัน ให้ปรับกลุ่มเป้าหมาย ให้แนบกำหนดการอบรมด้วย


โครงการที่ ๔ โครงการควบคุมโรคไข้เลือดออกในปี ๒๕๕๘
โครงการนี้เป็นอีกหนึ่งโครงการของโรงเรียนเทศบาล ๑(ราษฎรบำรุง)ที่ได้เล็งเห็นความสำคัญของโรคไข้เลือดออก ในปัจจุบันพบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ยังทวีความรุนแรงและมีผู้ป่วยมากขึ้นซึ่งจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกันและ รณรงค์เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรงและ เพื่อเป็นการป้องกันอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการที่จะให้ผลอย่างเต็มที่จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ช่วยกัน ป้องกันโรคดังกล่าวในหลากหลายรูปแบบ เช่น การรณรงค์ การร่วมมือกับโรงเรียน ชุมชน ในการจัดหาสารฆ่า
ลูกน้ำ การพ่นหมอกควันและสารเคมี การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย การใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำ และที่สำคัญที่สุดคือการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด

คณะ กรรมการกองทุนฯ มีความเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี การดำเนินงานเน้นทำในกลุ่มเป้าหมายใด ไม่ควรเป็นเด็กเล็กเกินไป ควรระบุวิทยากรให้ชัดเจนว่าจากหน่วยงานใด และให้แนบตารางการอบรมมาด้วย

มติที่ประชุม : อนุมัติและให้ปรับตามข้อเสนอแนะ


โครงการที่ ๕ โครงการส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์
โครงการนี้เป็นโครงการของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒ ที่เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมการดูแลสุขภาพมารดาและเด็ก เพื่อให้แม่ปลอดภัยจากการตั้งครรภ์และการคลอด ลูกได้รับการเลี้ยงดูให้เจริญเติบโต มีพัฒนาการสมวัยโภชนาการที่ดี มีเชาว์ปัญญาเทียบเท่ามาตรฐานสากล จากการทำงานในพื้นที่รับผิดชอบพบว่ากลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ยังไม่เห็นความ สำคัญของการฝากครรภ์เร็ว ทำให้มาฝากครรภ์เมื่ออายุครรภ์มาก ทำให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อมารดาและทารกในครรภ์ได้ ดังนั้นศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อค้นหาหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่พร้อมจะตั้งครรภ์ ให้ตระหนักถึงความสำคัญประโยชน์ของการฝากครรภ์เร็ว เพื่อให้ได้รับการดูแลเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ส่งผล “ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย” จึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ๓,๕๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ที่มาร่วม กิจกรรม ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ

คณะกรรมการกองทุนฯ มีความเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี อยากให้ปรับแก้แบบเสนอโครงการ ให้เป็นไปตามแบบเสนอโครงการของกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ และกิจกรรมให้เน้นทำเชิงรุก ปรับระยะเวลาดำเนินการให้เป็นปัจจุบัน

มติที่ประชุม : อนุมัติ ให้ปรับแก้ตามข้อเสนอแนะ


โครงการที่ ๖ โครงการรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง
โครงการนี้เป็นของทางศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒ จากการดำเนินงานของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒ ในปี ๒๕๕๗ พบว่ามีประชากรกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ จำนวน ๑,๕๒๖ คน ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจำนวน ๒๑๓ ราย ไม่พบเซลล์ผิดปกติ จากการดำเนินงาน
ดังกล่าว ยังดำเนินการไม่ครอบคลุมเนื่องจากกลุ่มสตรียังมีความอาย ยังไม่เห็นความสำคัญ ดังนั้นศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคให้กับประชาชนเพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตและลดค่าใช้จ่าย ตลอดจนทรัพยากรที่จะต้องใช้ในการดูแลรักษาคนไข้โรคมะเร็ง จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและตรวจมะเร็งเต้านมใน หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มี อายุ ๓๐-๖๐ ปี ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย โดยให้บริการเชิงรุกในชุมชนขึ้นเพื่อค้นหาคัดกรองและส่งต่อรักษาได้ทันท่วง ที โดยมีกลุ่มเป้าหมายในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน ๗๐๐ คน จึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ๘๘,๕๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ และค่าผ้าถุงสำหรับเปลี่ยนขณะตรวจ

คณะกรรมการกองทุนฯ มีความเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีและให้ปรับแบบเสนอโครงการให้เป็นไปตามแบบของ กองทุนหลักประกันสุขภาพ ฯ และควรระบุระยะเวลาดำเนินการให้ชัดเจน แต่ไม่เห็นด้วยกับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับผ้าถุงซึ่งใช้จ่ายในหมวดนี้เป็นเงิน ๗๐,๐๐๐ บาท

มติที่ประชุม : อนุมัติ แต่ตัดงบประมาณ ค่าผ้าถุงสำหรับเปลี่ยนขณะตรวจ คงเหลืออนุมัติงบประมาณโครงการนี้ในวงเงิน ๑๘,๕๐๐ บาท


โครงการที่ ๗ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง
โครงการนี้เป็นอีกหนึ่งโครงการของทางศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒ จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลมีความรู้เกี่ยวกับการทำกายภาพบำบัด ด้านโภชนาการและการดูแลสิ่งแวดล้อมของผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง และเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายกลับคืนสู่ภาวะปกติได้ เร็วขึ้น สำหรับเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก มีผู้สูงอายุทั้งหมด ๔,๙๗๘ ราย อยู่ในเขตรับผิดชอบของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒ จำนวน ๒,๔๘๙ ราย จากการสำรวจทั้งหมดพบผู้สูงอายุ ติดบ้าน ๒๕ ราย ติดเตียง ๑๕ ราย ซึ่งจากการดำเนินงานดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในปีที่ผ่านมา (๒๕๕๗) พบว่า ผู้สูงอายุที่อยู่ติดบ้าน/ติดเตียง มักมีปัญหาของอัมพาต/อัมพฤกษ์ ทำให้เกิดการติดของข้อตามมาก่อให้เกิดภาวะทุพพลภาพระยะยาว การทำกายภาพบำบัดจึงมีความสำคัญช่วยให้ฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายของผู้ป่วย กลับคืนสู่ภาวะปกติได้ ผู้ดูแลควรมีความรู้ และทำกายภาพบำบัดอย่างสม่ำเสมอให้กับผู้สูงอายุที่มีปัญหาอัมพาต/อัมพฤกษ์ หรือนอนนานๆ จะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีโอกาสฟื้นคืนสู่สภาวะปกติได้ สามารถช่วยเหลือตัวเองได้บางส่วนในการประกอบกิจวัตรประจำวัน จึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ๕,๕๒๕ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารกลางวัน ค่าวิทยากร ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น

คณะกรรมการกองทุนฯ มีความเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีและให้ปรับโครงการให้เป็นไปตามแบบของกองทุน หลักประกันสุขภาพฯ และควรระบุระยะเวลาดำเนินการที่ชัดเจน

มติที่ประชุม : อนุมัติ ปรับตามข้อเสนอแนะ

โครงการที่ ๘ โครงการเสริมสร้างสุขภาพเยาวชนโดยใช้กีฬาปันจักสีลัดเป็นสื่อ (ต่อยอด)
โครงการนี้เป็นโครงการของทางชุมชนหัวกุญแจ ที่ได้เล็งเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายของเยาวชนในพื้นที่ โดยใช้กีฬาปันจักสีลัดเป็นสื่อกลางในการสนับสนุนการออกกำลังกาย เพื่อให้ห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บ และห่างไกลยาเสพติด ที่ระบาดมากขึ้นทุกวันในกลุ่มเยาวชนในปัจจุบัน ชุมชนหัวกุญแจ เป็นหนึ่งในชุมชนเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก มีสถานที่ออกกำลังกายภายในชุมชนมีเยาวชนจำนวนมากที่มีความสนใจในการออกกำลัง กายโดยเฉพาะการเล่นกีฬา ซึ่งกีฬาปันจักสีลัดก็เป็นอีกกีฬาหนึ่ง ที่เยาวชนต้องการที่จะเรียนรู้ ฝึกฝน เพราะเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่ควรแก่การอนุรักษ์สืบสานไว้ อีกทั้งยังช่วยในการบริหารการหายใจ การบริหารกล้ามเนื้อ เพราะการร่ายรำปันจักสีลัด ช่วยลดความดันโลหิต ทำให้การทำงานของระบบหัวใจทำงานได้ดีขึ้น ช่วยกระตุ้นการเผาผลาญ การขับถ่ายของเสีย กลุ่มเป้าหมายในการจัดกิจกรรมเป็นเยาวชนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโกลก จำนวน ๘๐ คน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ๑๘๘,๒๕๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเป็นค่าอาหารว่าง ค่าอาหารกลางวัน เครื่องดื่ม ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าวัสดุอุปกรณ์ และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น

คณะกรรมการกองทุนฯ มีความเห็นว่า เป็นโครงการที่ให้เยาวชนในชุมชนได้มีทางเลือกในการออกกำลังกาย โดยใช้ปันจักสีลัดเป็นกีฬาในพื้นที่ น่าจะช่วยดึงเด็ก เยาวชน ในพื้นที่ให้ห่างไกลจากยาเสพติด รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

มติที่ประชุม : อนุมัติ


ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องเพื่อติดตาม

เรื่องที่ ๑ : รายงานผลการดำเนินงานของอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ
๑.คณะอนุกรรมการฝ่ายจัดทำแผนฯ : ไม่มีเรื่องแจ้ง
๒.คณะอนุกรรมการฝ่ายเลขาและธุรการ: ไม่มีเรื่องแจ้ง
๓.คณะอนุกรรมการฝ่ายการเงินและการบัญชี : ไม่มีเรื่องแจ้ง
๔.คณะอนุกรรมการฝ่ายประเมินและติดตาม : ได้ออกติดตามและประเมินโครงการ จำนวน ๒ โครงการ


ระเบียบวาระที่ ๖ เรื่องอื่นๆ ไม่มี



ปิดการประชุม ๑๕.๓๐ น.

นางปะอีซะห์ มะฮามะรีเป็น บันทึกและพิมพ์รายงานการประชุม
นางตันจุรีย์ ไชยลาภ ตรวจทานและแก้ไข