วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

บรรยายสรุป กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ปี ๒๕๕๙

                                          กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

    เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส เทศบาลที่มีพื้นที่ติดชายแดนรัฐ กลันตัน ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นที่มาของสมญานาม สุไหงโก-ลก สุดใต้แดนสยาม (ไม่ใช่ใต้สุด เพราะดูจากแผนที่ประเทศไทยแล้ว ใต้สุดน่าจะเป็นเทศบาลเมืองเบตง จังหวัดนราธิวาส แต่สุดใต้ คือสุดเส้นทางรถไฟสายใต้ ที่มาถึงสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก เป็นสถานีสุดท้ายในประเทศไทย ก่อนที่จะข้ามสะพานรถไฟ ข้ามแม่น้ำสุไหงโก-ลก ไปยังฝั่งประเทศมาเลเซีย ซึ่งในปัจจุบันรถไฟที่ข้ามฝั่งไปประเทศมาเลเซียได้หยุดวิ่งไปแล้ว กำลังรอการเจรจา เพื่อเปิดเดินรถในอนาคต)
เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก  ได้พิจารณาเห็นว่าการดำเนินการในด้านของการดูแลสุขภาพและอนามัยของประชาชนในพื้นที่ มีความจำเป็นอย่างมากที่ทุกภาคส่วนจะต้องเข้ามามีบทบาทร่วมกัน ทั้งในส่วนของหน่วยบริการของกระทรวงสาธารณสุขเอง เทศบาลในฐานะเจ้าของพื้นที่ และประชาชนในพื้นที่ ในฐานะผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการดำเนินการ และได้พิจารณาเห็นว่าในปัจจุบันการดำเนินการเพื่อดูแลสุขภาพและอนามัยของประชาชนในพื้นที่ การดำเนินการตามระบบราชการล้วนๆไม่สามารถจะสนองตอบต่อปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องมีองค์กรหรือรูปแบบที่ไม่ยึดระเบียบทางราชการมากนัก มีความยึดหยุ่น และมีอิสระในการดำเนินการตามสมควร จึงได้ตัดสินใจเข้าร่วมกองทุนหลักประกันสุขภาพในปีงบประมาณ  ๒๕๕๒   ซึ่งในปีแรกเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ได้เข้าร่วมได้รับเงินสนับสนุน จาก สปสช. เป็นเงิน  ๑,๓๕๔,๑๖๒.๕๐ บาท  และเทศบาลจัดตั้งงบประมาณสมทบจำนวนร้อยละห้าสิบของงบประมาณจาก สปสช. คิดเป็นเงิน  ๗๓๘,๗๐๐  บาท รวมเป็นเงินงบประมาณ ๒,๐๙๒,๘๖๒.๕๐ บาท
เมื่อการดำเนินการจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพของเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงได้มีคำสั่งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ ๐๖๑/๒๕๕๒ ลงวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๒ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ดังนี้
๑.ที่ปรึกษาของคณะกรรมการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพของเทสบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประกอบด้วย
    ๑.๑ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
    ๑.๒ สาธารณสุขอำเภอสุไหงโก-ลก
๒.คณะกรรมการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพของเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประกอบด้วย
    ๒.๑ นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก ประธานกรรมการ
    ๒.๒ นายเจ๊ะดอฮะ เจ๊ะซอ สมาชิกสภาเทศบาล กรรมการ
    ๒.๓ นายแวสดี  แวอุเซ็ง สมาชิกสภาเทศบาล กรรมการ
    ๒.๔ น.พ.ประสิทธิ์ จันทระ ผู้แทนหน่วยบริการ กรรมการ
    ๒.๕ นายวิโรจน์ หนูเสน ผู้แทน อสม. กรรมการ
    ๒.๖ นางอุไรรัตน์ สุวรรณมณี ผู้แทน อสม. กรรมการ
    ๒.๗ นางสารภี ทองรักษ์ ผู้แทนชุมชนดงงูเห่า กรรมการ
    ๒.๘ นางมาลา บุญวงศ์ ผู้แทนชุมชนบาโงปริเม็ง กรรมการ
    ๒.๙ นายวัชริศ เจ๊ะเลาะ ผู้แทนชุมชนจือแลตูลี กรรมการ
    ๒.๑๐ นางยามิงละห์ มะ ผู้แทนชุมชนเสาสัญญาณ กรรมการ
    ๒.๑๑ นายดอเลาะ เจ๊ะแว ผู้แทนชุมชนท่าโรงเลื่อย กรรมการ
    ๒.๑๒ นายอัลวา มูซอ ผู้แทนชุมชนท่าก่อไผ่ กรรมการ
    ๒.๑๓ นายอิสมาแอ ยูโซ๊ะ ผู้แทนชุมชนท่าประปา กรรมการ
    ๒.๑๔ นางสายยุตร ศิริรัตน์ ผู้แทนชุมชนกูโบร์ กรรมการ
    ๒.๑๕ นายยาการิม อูมา ผู้แทนชุมชนบือเร็ง กรรมการ
    ๒.๑๖ นางสุชานันนท์ แซ่หลี ผู้แทนชุมชนหลังด่าน กรรมการ
    ๒.๑๗ นางจันทนา มตุริมย์ ผู้แทนชุมชนกือดาบารู กรรมการ
    ๒.๑๘ น.ส.มีเนาะ เปาะโวะ ผู้แทนชุมชนหัวสะพาน กรรมการ
    ๒.๑๙ นางสมพิศ ว่องไว ผู้แทนชุมชนตันยงมะลิ กรรมการ
    ๒.๒๐ นางละเอียด บุญช่วย ผู้แทนชุมชนโก-ลกวิลเลจ กรรมการ
    ๒.๒๑ นายอาแว แวหะมะ ผู้แทนชุมชนหัวกุญแจ กรรมการ
    ๒.๒๒ น.ส.สมจิตร การเกษม ผู้แทนชุมชนสันติสุข กรรมการ
    ๒.๒๓ นางแวรอฮานิง เจ๊ะมาโชว์ ผู้แทนชุมชนมัสยัดกลาง กรรมการ
    ๒.๒๔ นางวรรณี บินหว้าสุย ผู้แทนชุมชนกือบงกาแม กรรมการ
    ๑.๒๕ นายถาวร ชุมมงคล ผู้แทนชุมชนเจริญสุข กรรมการ
    ๑.๒๖ นายกามารอเด็ง มามะ ผู้แทนชุมชนท่าชมพู่ กรรมการ
    ๑.๒๗ นางนอร์ไอนี มะรอนิง ผู้แทนชุมชนโต๊ะลือเบ กรรมการ
    ๑.๒๘ นายกิตติ หวังธรรมมั่ง ผู้แทนชุมชนสวนมะพร้าว กรรมการ
    ๑.๒๙ นางอุไรวรรณ มะหะหมัด ผู้แทนชุมชนบาโงเปาะเล็ง กรรมการ
    ๑.๓๐ นางสมคิด ศิลปี ผู้แทนชุมชนอิศรา กรรมการ
    ๑.๓๑ ปลัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก (นายนพพล ถ้ำเจริญ) กรรมการและเลขานุการ
ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้ได้มีการประชุมกันครั้งแรก เมื่อวันที่  ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๒ ซึ่งมีสาระสำคัญคือ
๑.แจ้งเรื่องการเปิดบัญชีเงินกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพของเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก เพื่อรับโอนเงินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และเงินจากเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ซึ่งดำเนินการเรียบร้อยแล้ว
๒.มีการอนุมัติให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ๓ คณะ คือ
    ๒.๑ คณะอนุกรรมการด้านเลขานุการ มี ผอ.กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน พนักงานเทศบาลในกองสาธารณสุขที่ได้รับมอบหมาย ๑ คน เป็นอนุกรรมการ และนักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ เป็น อนุกรรมการและเลขานุการ
    ๒.๒ คณะอนุกรรมการด้านการเงินและบัญชี มี ผอ.กองคลัง เป็น ประธาน พนักงานเทศบาลในกองคลังที่ได้รับมอบหมาย ๑ คน เป็น อนุกรรมการ และนักวิชาการเงินและบัญชี เป็น อนุกรรมการและเลขานุการ
    ๒.๓ คณะอนุกรรมการด้านการติดตามและประเมินผล มี รองนายกเทศมนตรีฝ่ายสาธารณสุข เป็น ประธาน ผู้แทน อสม. ๑ คน เป็นอนุกรรมการ ผู้แทนชุมชน ๒ คน เป็น อนุกรรมการ และ รองปลัดเทศบาลที่ได้รับมอบหมาย เป็น อนุกรรมการและเลขานุการ
๓.ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการจ่ายเบี้ยประชุมแก่คณะกรรมการที่เข้าประชุม และคณะอนุกรรมการที่เข้าประชุม คนละ ๒๐๐ บาท ต่อครั้ง
๔.ที่ประชุมมอบหมายให้คณะอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ ไปจัดทำร่างระเบียบบริหารงานของกองทุน เพื่อนำเสนอคณะกรรมการพิจารณา ประกาศใช้ต่อไป
และเทศบาลได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ตามคำสั่งเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ที่ ๒๖๗/๒๕๕๒ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๒ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ๓ คณะ ดังนี้
         ๒.๑ คณะอนุกรรมการด้านเลขานุการ ประกอบด้วย
         (๑). นายพินัย ศรีวิไล ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เป็น ประธาน
         (๒). นางตันจุรีย์ ไชยลาภ พยาบาลวิชาชีพ เป็น อนุกรรมการ
         (๓). นายไซนัล นิรมาลกุล นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ เป็น อนุกรรมการ/เลขานุการ
         ๒.๒ คณะอนุกรรมการด้านการเงินและการบัญชี ประกอบด้วย
         (๑).นายประทวน แก้วห่อทอง ผู้อำนวยการกองคลัง เป็นประธานอนุกรรมการ
         (๒).นางจุรี จันติ เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี เป็น อนุกรรมการ
         (๓). นายภัทรวรรณ ดีเพชร์ นักวิชาการการเงินและบัญชี เป็น อนุกรรมการ/เลขานุการ
         ๒.๓ คณะอนุกรรมการด้านการติดตามประเมินผล ประกอบด้วย
         (๑). นายอภิเชษฐ์ เจ๊ะอุมา รองนายกเทศมนตรี เป็น ประธานอนุกรรมการ
         (๒).นายวิโรจน์ หนูเสน ผู้แทน อสม. เป็น อนุกรรมการ
         (๓). น.ส.สมจิตร การเกษม ผู้แทนชุมชนสันติสุข เป็น อนุกรรมการ
         (๔). นายอิสมาแอ ยูโซ๊ะ ผู้แทนชุมชนประปา เป็น อนุกรรมการ
         (๕).นายศรัณย์ สุขเกษม รองปลัดเทศบาล เป็นอนุกรรมการ/เลขานุการ
     ต่อมาในการคราวการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนระบบหลัก ประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ครั้งที่  ๓/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ได้มีมติเห็นชอบ ระเบียบระบบหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก พ.ศ.๒๕๕๒ ซึ่งถือเป็นระเบียบฉบับแรกที่ใช้ในการบริหารงานของกองทุน
    ในปี พ.ศ.๒๕๕๓ คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพได้พิจารณาเป็นว่า งานของกองมีมากขึ้น ลัต้องการจัดระบบการทำงานของกองทุนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงได้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการฝ่ายแผนและโครงการ ขึ้นเพื่อรับผิดชอบในการจัดทำแผนของกองทุน

แนวคิดเบื้องต้นของการจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก “กองทุนหลักประกันสุขภาพ กองทุนสำหรับชุมชน”

    กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก เมื่อแรกเริ่มของการจัดตั้งนั้น คณะผู้บริหารเทศบาลเมืองสุไหง โก-ลก มีแนวคิดของการจัดตั้งกองทุนอยู่บนพื้นฐานที่ว่า กองทุนที่จัดตั้งนี้ต้องเป็นกองทุนเปิดของชุมชน ที่คนในชุมชนทุกกลุ่ม สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากกองทุนนี้ในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนได้ คือไม่ต้องการให้กองทุนนี้ถูกครอบงำด้วย ระบบราชการ หรือหน่วยราชการ แต่ต้องการให้เป็นกองทุนที่คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจบริหารกองทุน ทำงานกับกองทุน ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือเป็นผู้คิดและเสนอโครงการ จากปัญหาและ สิ่งที่เป็นปัญหากระทบด้านสุขภาพและอนามัยของคนในชุมชน รวมตลอดไปจนถึงขั้นรับเงนสนับสนุนจากกองทุนไปดำเนิน การตามแผนงาน โครงการที่ผ่านการอนุมัติจากกองทุน
    ในการดำเนินการตามแนวความคิดดังกล่างในระยะเริ่มแรกในช่วงสองปีแรก ถือว่าเป็นช่วงของการแลกเปลี่ยนเรียน รู้การเสนอโครงการอาจยังมีไม่มากนัก แต่คณะกรรมการของกองทุนก็ยังต้องการให้การบริหารงานของกองทุน เป็นไปเพื่อ ประชาชนในชุมชนอย่างแท้จริง โครงการต่างๆ ที่ต้องการขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนไปดำเนินการ จะต้องผ่านคณะ อนุกรรมการฝ่ายแผนงานโครงการ เพื่อกลั่นกรองก่อน และนำมาเสนอคณะกรรมการบริหารกองทุนพิจารณา เพื่อให้ผู้เสนอ โครงการ ได้นำเสนอหลักการเหตุผล วัตถุประสงค์ของโครงการ และคณะกรรมการได้พิจารณาและซักถามรายละเอียดของ โครงการต่างๆ จนสิ้นข้อสงสัยก่อนการอนุมัติหรือไม่อนุมัติโครงการ
    ในปัจจุบันหลังจากผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาเป็นระยะเวลามากกว่า ๕ ปี คณะกรรมการกองทุน ตลอดจนหน่วย งาน สมาคม กลุ่ม ชมรมต่างๆที่อยู่ในพื้นที่ ต่างเข้าใจในวัตถุประสงค์ของกองทุนมากขึ้น การเสนอโครงการ การพิจารณา โครงการมีความสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินการของโครงการมากขึ้น อันเป็นการนำไปสึความสำเร็จของกองทุนในอนาคต

กองทุนเพื่อสุขภาพและการป้องกันโรค

    คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ได้มีมติร่วมกันในการบริหารงาน กองทุนที่ว่า จะพิจารณาให้การสนับสนุนโครงการจากทุกภาคส่วน บนพื้นฐานของโครงการที่ดำเนินการแล้ว ทำให้คนไม่ต้อง ไปโรงพยาบาล หรือเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลให้น้อยที่สุด โดยมุ่งเน้นการดำเนินการในประเด็นหลัก ๆ ใน ๒ ประเด็น คือ
    ๑.การสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ โดยใช้แนวคิดเบื้องต้น โดยนำหลัก ๔ อ. มาเป็นหลักในการดำเนินการ คือ
         ๑.๑ อาหาร กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จะให้ความสำคัญกับ การให้ความรู้ใน เรื่องของการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย และการบริโภคอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ เช่นการให้การสนับสนุนโครงการ ที่เกี่ยวกับการให้ความรู้เรื่องการใช้น้ำมันทอดซ้ำ การออกตรวจสอบร้านอาหาร โครงการจัดการอบรมเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ โครงการป้องกันโรคโลหิตจางในหญิงภาวะตั้งครรภ์ โครงการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการในเด็กแรกเดือน – ๗๒ เดือน โครงการครัวลดเค็มต้นแบบ เป็นต้น
         ๑.๒ ออกกำลังกาย กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ให้ความสำคัญกับการออกกำลัง กาย โดยสนันสนุนส่งเสริมให้สมาคม ชมรมออกกำลังกายต่างๆ ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จัดทำและเสนอโครงการเพื่อ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการฝึกอบรมและสอนทักษะการออกกำลังกายเบื้องต้นที่ถูกหลักแก่ประชาชน เช่น โครงการ เสริมสร้างสุขภาพโดยใช้กีฬาปันจักสีลัตเป็นสื่อ โครงการส่งเสริมการออกกำลังกานด้วยกีฬาแบดมินตัน โครงการส่งเสริมการ ออกกำลังกายด้วยบาสเก็ตบอล โครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพและฝึกทักษะกีฬาเทควันโดเบื้องต้น โครงการลดความอ้วน ในเด็กนักเรียน โครงการเพิ่มสมรรถนะของผู้สูงอายุด้วยโปรแกรมการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ โครงการส่งเสริมการออก กำลังกายด้วยไทเกก เป็นต้น
         ๑.๓ อารมณ์ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ได้สนับสนุนการจัดทำโครงการ เพื่อพัฒนาทางด้านอารมณ์ของประชาชนในกลุ่มต่างๆ เช่น โครงการ พัฒนาแกนนำวัย Teen และผู้ให้ความช่วยเหลือในศูนย์ เพื่อนใจวัย Teen โครงการอบรมทักษะการนวดเพื่อสุขภาพในผู้สูงอายุ โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ โครงการส่งเสริม สุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณษการ เป็นต้น
         ๑.๔ อนามัยสิ่งแวดล้อม กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ได้จัดทำโครงการที่เกี่ยวกับ อากาศหรืออนามัยสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการค่ายเยาวชนต้านภัยยาเสพติดและเกมส์อินเตอร์เน็ต โครงการด่านพรมแดนสุไหง โก-ลกปลัอดบุหรี่ โครงการอบรมนักเรียนส่งเสริมสุขภาพและสุขบัญญัติแห่งชาติ เป็นต้น
    ๒.การป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ที่สามารถดำเนินการป้องกันได้ล่วงหน้า โดยเฉพาะการค้นหากลุ่มเสี่ยง ในโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคอันตราย เช่น โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งปากมดลูก และโรคระบาดตามฤดูกาล เช่น โรคไข้เลือกออก โรคมือเท้าปากในเด็ก เป็นต้น โดยมีโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ไปแล้ว เช่น โครงการรณรงค์การฉีดวัคซีนโปลิโอ โครงการชุมชนสุขภาพดีมีความสุข โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.ในการ ช่วยเหลือดูแลผู้มีปัญหาเพศวิถีรอบด้าน โครงการส่งเสริมสุขภาพตา  โครงการควบคุมไข้เลือดออก โครงการตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก โครงการส่งเสริมการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ ติดบ้าน/ติดเตียง โครงการอบรมป้องกัน เอชไอวี/เอดส์ เป็นต้น
  
คณะอนุกรรมการ คณะทำงานและภาคีเครือข่าย ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการดำเนินงานของกองทุน
    ลำพังคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพของเทศบาลไม่สามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานชองกองทุน ให้สู่ความสำเร็จได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องใช้คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ และคณะทำงาน เข้าไปช่วยขับเคลื่อน การดำเนินงานของกองทุน ซึ่งคณะอนุกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งรวม ๔ คณะ คือ
๑.คณะอนุกรรมการฝ่ายจัดทำแผนฯ
มีหน้าที่รับผิดชอบ พิจารณา กลั่นกรอง รวบรวม แผนงาน โครงการ กิจกรรม ด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและฟื้นฟูสุขภาพ ซึ่งมาจากภาคประชาชน หน่วยงานราชการและชมรมต่างๆ ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก มีการใช้จ่ายเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลและประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด ตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนฯ และนำเสนอแผนการใช้จ่ายเงินต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฯเพื่อให้ความเห็นชอบ ก่อนนำไปสู่การปฏิบัติ
๒.คณะอนุกรรมการฝ่ายเลขาและธุรการ
มีหน้าที่รับผิดชอบ ด้านงานธุรการของกองทุนฯ จัดเตรียม จัดทำเอกสารและบันทึกเกี่ยวกับการประชุมของคณะกรรมการ เก็บรักษาเอกสาร หลักฐานต่างๆของกองทุน รับและกลั่นกรองโครงการต่างๆ ของหน่วยงาน ภาคประชาชน ก่อนนำเสนอคณะกรรมการพิจารณา งานอื่นๆที่ไม่มีผู้รับผิดชอบโดยเฉพาะและ งานอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
๓.คณะอนุกรรมการฝ่ายการเงินและบัญชี ประกอบด้วย
มีหน้าที่รับผิดชอบ ควบคุมดูแลการรับ จ่ายเงินของกองทุนฯ การจัดทำบัญชีโดยถือปฏิบัติตามรูปแบบบัญชีของเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกโดยอนุโลม จัดทำงบดุล ตามแบบที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด และงานอื่นๆตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
๔.คณะกรรมการด้านการติดตามประเมินผลประกอบด้วย
มีหน้าที่รับผิดชอบ ด้านการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณของกองทุนฯและจัดทำรายงานสรุปผลการติดตาม ประเมินผล เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯเพื่อทราบ
    ภาคีเครือข่าย ปัจจัยของความสำเร็จในการดำเนินการของกองทุน เนื่องจากแนวคิดของกองทุนในเบื้องต้นที่ต้องการ ให้กองทุนนี้เป็นกองทุนเปิดของชุมชน ดังนั้น ภาคีเครือข่ายต่างๆที่อยู่ในพื้นที่ เช่น ส่วนราชการต่างๆเช่น โรงพยาบาล โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สมาคม ชมรมออกกำลังกายต่างๆ ชมรมผู้สูงอายุ ชมรม อสม.ฯลฯ จึงได้รับเชิญให้ร่วมคิดร่วมทำในการบริหารจัดการสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ โดยผ่านกระบวนการร่วมเป็นคณะกรรมการ คณะอนุกรรม การ ประชุมสัมมนาให้ความรู้ การเสนอโครงการ และการดำเนินการตามโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ซึ่งทำให้โครงการต่างๆมีความหลากหลายและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ ประชาชนในทุกกลุ่มทุกอาชีพ เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีของประชาชนในพื้นที่
  
ผลการดำเนินการที่ผ่านมา
    การดำเนินการของกองทุนที่ผ่านมา มีโครงการและกิจกรรมที่มีผลการดำเนินการที่ต่อเนื่องและถือเป็นแบบอย่างที่ น่าสนใจเช่น โครงการคลีนิคดูแลสุขภาพของคนในชุมชน ซึ่งจะให้บริการด้านของการตรวจความดัน เบาหวานและให้ความรู้ ทางด้านสุขภาพอนามัยแก่คนในชุมชนเป็นประจำทุกเดือนต่อเนื่องตลอดทั้งปี โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็ง ปากมดลุกในกลุ่มสตรีในชุมชน โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยกีฬาปันจักสีลัต โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วย ไทเก็กของผู้สูงอายุ และโครงการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของศูนย์เรียนรู้ผู้สูงอายุ เป็นต้น
เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้พิการ คือเป้าหมายในการดำเนินการในอนาคต ของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมือง   สุไหงโก-ลก

ผลการดำเนินการในรอบปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๒๘ – ๒๕๒๙

ครั้งที่  ๑/๒๕๕๘   วันที่  ๖   พฤศจิกายน   ๒๕๕๗
โครงการที่ ๑  โครงการส่งเสริมสุขภาพตาเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวา มหาราช
                โครงการ นี้เป็นโครงการที่ทางกลุ่มงานจักษุวิทยา และกลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ได้เห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งสภาวะตาบอดของประเทศไทยในปี พ.ศ.๒๕๔๙-๒๕๕๐ พบว่าประชากรไทยมีความชุกของตาบอดร้อยละ๐.๕๙ และสายตาเลือนรางร้อยละ๑.๕๗ ความพิการทางตาทุกประเภทจะพบว่าเพิ่มขึ้นตามอายุของประชากรที่มากขึ้น และเพิ่มอัตราที่สูงเมื่ออายุมากกว่า ๖๐ ปี เพศหญิงมีความพิการทางสายตามากที่สุด มีความผิดปกติของสายตาและไม่มีแว่นตาใส่ จึงจัดการอบรมเทิดพระเกียรติพระบาทสมด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องวโรกาสวันเฉลิม พระชนมพรรษา ๕ ธันวามหาราช โดยใช้แนวทางการแพทย์ทางเลือกเพื่อให้ประชาชนสุขภาพดีถ้วนหน้าและมีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้นถือเป็นหัวใจสำคัญในระบบสาธารณสุขนอกเหนือไปจากการป้องกัน การรักษาและการฟื้นฟู และเป็นการเพิ่มความสมบูรณ์และครบถ้วนทั้ง ๔ มิติ เพื่อส่งเสริมให้บุคลากร มีความรู้ ทักษะ และความเข้าใจในการดูแลตาด้วยวิธีการแพทย์ทางเลือก อีกทั้งเพื่อส่งเสริมให้บุคลากร มีสุขภาพดวงตาที่สมบูรณ์ เข้าใจถึงการรักษาสุขภาพดวงตาที่ถูกต้อง และสม่ำเสมอโดยวิธีธรรมชาติ   ขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ๙๕,๖๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายอาหารว่างและเครื่องดื่ม อาหารกลางวัน ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าที่พักของวิทยากร และค่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น
ครั้งที่  ๒/๒๕๕๘   วันที่  ๑๑  ธันวาคม   ๒๕๕๗
โครงการที่ ๑  โครงการพัฒนาสุขภาพและทักษะโดยใช้กีฬาฟิตเนสเป็นสื่อ
                โครงการนี้เป็นโครงการทางชมรมกีฬาฟิตเนสเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จัดทำเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงห่างไกลจากโรค ทั้งยังช่วยประหยัดงบประมาณของรัฐบาลในค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฟิตเนสก็เป็นกีฬาอีกชนิดหนึ่งที่ใช้ในการออกกำลังกาย ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนที่สนใจในการออกกำลังกายแบบฟิตเนสให้ได้ผลนั้น นอกจากการเล่นต่อครั้งต้องเหมาะสมแล้ว ยังต้องคำนึงถึงผลที่ได้รับ ทางชมรมฟิตเนส ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนสนใจในการออกกำลังกาย เพื่อสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ควบคุมน้ำหนักและช่วยการเผาผลาญในร่างกายให้ดีขึ้น เพิ่มอัตราการไหลเวียนของโลหิตในการนำออกซิเจนและสารอาหารไปยังส่วนต่างๆของร่างกายมากขึ้น โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ๔๔,๐๘๐  บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายอาหารว่างและเครื่อง ค่าวิทยากร และค่าวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
โครงการที่ ๒  โครงการอบรมเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ ชมรมผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร
                   โครงการ นี้เป็นโครงการที่ทางชมรมผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จัดทำเพื่อเป็นการรวมกลุ่มผู้ประกอบการขายอาหาร สร้างความรักและความสามัคคีในกลุ่ม และพัฒนายกระดับการประกอบอาชีพ ทางชมรมมีความเห็นว่า อาหารเพื่อสุขภาพ มีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่ผู้ประกอบการจะต้องรู้และเข้าใจ เพราะนอกจากเป็นที่นิยมชมชอบของผู้บริโภคที่จะได้รับอาหารที่ส่งผลดีต่อ สุขภาพและให้ผู้ประกอบการเข้าใจในอาหารเพื่อสุขภาพและถูกหลักอนามัย อีกทั้งยังสามารถเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการอีกทางหนึ่ง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ๘๐,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับอาหารว่าง อาหารกลางวันและเครื่องดื่ม ค่าวิทยากร ค่าวัสดุอุปกรณ์สาธิตทำอาหารและค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น
โครงการที่ ๓  โครงการรณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประจำปี ๒๕๕๘
                  โครงการนี้เป็นโครงการที่ชมรม อสม.เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกร่วมกับ คปสอ.ม.สุไหงโก-ลก จัดทำโครงการนี้อย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อให้เด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี มีภูมิต้านทานต่อโรคโปลิโอสูงเพียงพอที่จะป้องกันการแพร่เชื้อโปลิโอนิดก่อโรคจากภายนอกเข้ามาในประเทศ รวมทั้งการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสวัคซีนโปลิโอ โดยการให้วัคซีนโปลิโอเสริม ๒ ครั้งแก่เด็กไทยอายุต่ำกว่า ๕ ปี ครอบคลุม ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ ๙๐ ในพื้นที่เป้าหมายและกวาดล้างโปลิโอให้หมดไปจากโลก ครั้งที่๑ วันที่ ๑๔ มกราคม  ๒๕๕๘  ครั้งที่ ๒ วันที่  ๑๑ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๘ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ เป็นเงิน ๕๘,๗๕๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการได้แก่ ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าพาหนะของอาสาสมัครที่ปฏิบัติงาน  ค่าจัดทำไวนิลประชาสัมพันธ์ และอื่นๆ
โครงการที่ ๔  โครงการชาวชุมชน สุขภาพดี มีความสุข ประจำปี ๒๕๕๘
                  โครงการนี้เป็นของทางชุมชนจือแรตูลี จะทำเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มวัยผู้ใหญ่ ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง เช่น ความดัน เบาหวาน รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ได้รับการดูแลสุขภาพที่บ้านด้วย ทางกลุ่ม อสม.ชุมชนจือแรตูลี จัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มดังกล่าว โดยมีศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๑ เป็นพี่เลี้ยง และวัสดุอุปกรณ์จากศูนย์บริการสาธารณสุขฯ กิจกรรมดังกล่าวจะจัดเดือนละ ๑ ครั้ง วันอาทิตย์ สัปดาห์ที่ ๒ ของทุกเดือน มีจำนวนผู้มารับบริการเพิ่มขึ้น มีรายใหม่เพิ่มขึ้นได้รับการตอบรับจากชาวชุมชนเป็นอย่างดี โครงการนี้ได้ทำมาอย่างต่อเนื่อง ปีนี้เป็นปี ๔  กิจกรรมที่จัดมุ่งเน้นให้ชาวชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง มีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ในกลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ  โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ เป็นเงิน ๒๘,๒๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  ค่าตอบแทนวิทยากร และค่าวัสดุอื่นๆ ที่จำเป็น
โครงการที่  ๕  โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.ในการดูแลช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหา เพศวิถีศึกษารอบด้าน
                  โครงการนี้เป็นโครงการที่ทางโรงพยาบาลสุไหงโก-ลกของกลุ่มงานจิตเวช จัดโครงการนี้เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม. ให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในเรื่องเพศศึกษา  สามารถให้การดูแล ช่วยเหลือ ผู้ที่ประสบปัญหา ซึ่งวัยรุ่นในสมัยนี้เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลง ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เนื่องจากเป็นช่วงต่อของวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ ซึ่งจากสภาพแวดล้อมทางสังคม ครอบครัว และเศรษฐกิจ ตลอดจนเทคโนโลยีในปัจจุบันนับเป็นวิกฤติ ในช่วงพัฒนาของชีวิต ซึ่งปัญหาที่พบมากในวัยรุ่น ทั้งปัญหาสุขภาพ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ เป็นต้น ซึ่งมารกาวัยรุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การตั้งครรภ์เมื่อยังไม่พร้อมจะส่งผลเสียต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นมารดาหรือทารกหรือปัญหาความรุนแรงในครอบครัว  ดังนั้นเพื่อให้ผู้ที่ประสบปัญหาในเรื่องเพศวิถีศึกษารอบด้านได้รับการดูแล ช่วยเหลือและส่งต่อ ได้อย่างถูกต้องและมีคุณภาพ  โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ เป็นเงิน ๔๑,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารกลางวัน ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าที่พักวิทยากร และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น
โครงการที่ ๖  โครงการพัฒนาแกนนำวัย Teen และผู้ให้ความช่วยเหลือศูนย์เพื่อนใจวัย Teen
                  โครงการนี้ก็เป็นอีกหนึ่งโครงการของกลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จัดทำขึ้นเพื่อเป็นจัดตั้งเป็นศูนย์เพื่อนใจวัย Teen นอกสถานพยาบาลเป็นแนวทางและรูปแบบการจัดบริการรูปแบบหนึ่งที่เป็นจุดรับการ เชื่อมต่อที่กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงได้ง่ายในรูปแบบต่างๆ ในอำเภอสุไหงโก-ลก พบว่ามีหญิงตั้งครรภ์อายุ น้อยกว่า ๒๐ ปี ร้อยละ ๑๐.๒๕ ,๑๑.๓๓ และ ๑๒.๗๘ ในปี ๒๕๕๕, ๒๕๕๖,และ ๒๕๕๗ ตามลำดับ มารดาวัยรุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากวัยรุ่นเป็นวัยที่มีภาวะอารมณ์แปรปรวนสูง วุฒิภาวะทางอารมณ์ยังไม่สมบูรณ์ มีความสับสนในบทบาทของตนเองในสังคม ขาดทักษะและประสบการณ์ในการเผชิญหน้า ขาดการเข้าใจตนเอง และประสบการณ์ชีวิต ทำให้วัยรุ่นมีความวิตก กังวลและถูกชักจูงไปในทางที่ผิดได้ง่าย  กลุ่มเป้าหมายในโครงการนี้เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ๕ แห่ง คือ โรงเรียนสุไหงโก-ลก ,วิทยาลัยการอาชีพ,เทศบาล ๔,การศึกษานอกระบบและโรงเรียนแสงธรรม แห่งละ ๑๐ คน รวมทั้งผู้ให้ความช่วยเหลือ จำนวน ๑๐ คน  ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ทั้งสิ้น ๑๘๑,๑๐๐ บาท โดยแบ่งออกเป็น ๒ กิจกรรม กิจกรรมที่ ๑ อบรมเชิงปฏิบัติการในเรื่องการอนามัยการเจริญพันธุ์  โดยใช้งบประมาณ ๔๑,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย อาหารว่างและอาหารกลางวัน ค่าวิทยากร และค่าที่พักของวิทยากร และค่าวัสดุต่างๆ
โครงการที่  ๗  โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
                  โครงการนี้เป็นโครงการที่ทางอนุกรรมการฝ่ายเลขาและธุรการ เพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีการใช้จ่างบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในพื้นที่ จึงจัดมีการประชุมพิจารณาแผนงานโครงการซึ่งมาจากส่วนราชการ ภาคประชาชน ที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน โดยจัดให้มีการประชุมคณะอนุกรรมการฝ่ายจัดทำแผนฯทุกๆ ๔ เดือน รวม ๓ ครั้ง/ปี และเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯได้กำหนด จึงจัดให้มีการประชุมเพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการโดยคณะกรรมการกองทุนฯเดือนละ ๑ ครั้ง รวม ๑๒ ครั้ง/ปี  การออกประเมินติดตามโครงการต่างๆ ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน  ดังนั้นเพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนฯเป็นไปอย่างประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีการใช้งบประมาณทั้งหมด  ๒๖๒,๒๕๐ บาท  แบ่งเป็น ๗ กิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมที่ ๑ ประชุมพิจารณาแผนกองทุนฯ ๓ ครั้ง/ปี  เป็นเงิน ๑๘,๐๕๐ บาท
กิจกรรมที่ ๒ ค่าใช้จ่ายจัดประชุมซักซ้อมการจัดทำแผนงานโครงการ  เป็นเงิน ๓,๕๐๐ บาท
กิจกรรมที่ ๓  ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ๑๒ ครั้ง / ปี  เป็นเงิน  ๑๖๐,๗๐๐  บาท
กิจกรรมที่ ๔  ค่าใช้จ่ายในการออก ติดตามประเมินผลโครงการต่างๆ เป็นเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท
กิจกรรมที่ ๕  ค่าจัดทำสรุปรายงานการดำเนินงานประจำปี ของกองทุนฯ  เป็นเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท
กิจกรรมที่ ๖ ค่าจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้ในงานกองทุนฯ เป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท
กิจกรรมที่ ๗ จัดซื้อครุภัณฑ์เพื่อใช้ในงานกองทุนฯ เป็นเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท
ครั้งที่ ๓/๒๕๕๘ วันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๘
โครงการที่ ๑ โครงการไม่อ้วนเอาเท่าไหร่
โครงการนี้เป็นโครงการของทางโรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก จัดทำขึ้นจากการคัดกรองพบว่านักเรียนบางส่วนมีภาวะโภชนาการเกินซึ่งอาจมีผล ต่อสุขภาพ อนามัยของนักเรียน อันจะส่งผลต่อการเรียนและการดำเนินชีวิตประจำวัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่นักเรียนดังกล่าวต้องได้รับการพัฒนาสุขภาพพื้นฐานด้าน โภชนาการและการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจและสติปัญญา อีกทั้งนักเรียนสามารถดูแลสุขภาพของตนเองและผู้อื่นร่วมถึงมุ่งสร้าง พฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ๔๙,๙๔๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าวิทยากร อาหารว่างและอาหารกลางวัน และค่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น
โครงการที่ ๒ โครงการอบรมทักษะความรู้การนวดเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ
โครงการนี้เป็นโครงการของกลุ่มแกนนำสตรีมุสลิม เสนอเพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสุขภาพไม่ว่าจะเป็นโรคเริ้อรัง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เครียด บางรายอาจมีภาวะซึมเศร้าด้วย จึงเสนอโครงการนวดเพื่อสุขภาพผ่อนคลายจะช่วยให้ผู้สูงอายุได้มีกิจกรรมส่ง เสริมสุขภาพพร้อมกัน ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตทางอ้อม คลายความตึงเครียดได้เป็นอย่างดี อีกทั้งสามารถให้ผู้สูงอายุได้มีทักษะการพึ่งพาตนเองในการดูแลสุขภาพเบื้อง ต้นและส่งเสริมสุขภาพจิตให้ผู้สูงอายุด้วย โดยมีกลุ่มเป้าหมายสตรีผู้สูงอายุ จำนวน ๔๐ คน จึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ๒๑,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการ ค่าอาหารว่างและอาหารกลางวัน ค่าวิทยากร และอุปกรณ์ที่จำเป็น

โครงการที่ ๓ โครงการอบรมค่ายเยาวชนต้านภัยยาเสพติดและติดเกมอินเตอร์เน็ต
โครงการนี้เป็นโครงการของโรงเรียนเทศบาล ๑ (ราษฎรบำรุง) นำเสนอเพื่ออยากแก้ไขปัญหายาเสพติดและเกมที่มีความรุนแรงต่อเยาวชนที่ได้ เริ่มแพร่ระบาดและกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างน่าวิตก เป็นผลให้เยาวชน หลงผิดเข้าสู่วงจรการซื้อขายและเสพยาติดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประเทศ และเป็นการทำลายทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นอนาคตและเป็นพลังในการพัฒนาประเทศให้ ด้อยคุณภาพ อันจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ ปัญหายาเสพติดและเกมทางอินเตอร์เน็ตได้นำมาซึ่งความรุนแรงในครอบครัวและ อาชญากรรมต่างๆในสังคม เช่น การลักขโมย ฉกชิงวิ่งราวและการก่อปัญหาอาชญากรรมอื่นๆตามมาอีกมากมาย ทางโรงเรียนเทศบาล ๑ (ราษฎรบำรุง) ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงทำโครงการนี้เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับรู้ ทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติดและเกมอินเตอร์เน็ตเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ทักษะทางความคิดสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านร่างกายและจิตใจให้กับนักเรียนไม่ หลงในเกมอินเตอร์เน็ตและยาเสพติด จึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ๓๐,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับวิทยากร ค่าอาหารว่าง และค่าวัสดุอุปกรณ์ต่างๆกลุ่มเป้าหมาย เป็น นักเรียนท.๑ ทั้งหมด ๗๐๐ คน
โครงการที่ ๔ โครงการควบคุมโรคไข้เลือดออกในปี ๒๕๕๘
โครงการนี้เป็นอีกหนึ่งโครงการของโรงเรียนเทศบาล ๑(ราษฎรบำรุง)ที่ได้เล็งเห็นความสำคัญของโรคไข้เลือดออก ในปัจจุบันพบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ยังทวีความรุนแรงและมีผู้ป่วยมากขึ้นซึ่งจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกันและ รณรงค์เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรงและ เพื่อเป็นการป้องกันอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการที่จะให้ผลอย่างเต็มที่จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ช่วยกัน ป้องกันโรคดังกล่าวในหลากหลายรูปแบบ เช่น การรณรงค์ การร่วมมือกับโรงเรียน ชุมชน ในการจัดหาสารฆ่าลูกน้ำ การพ่นหมอกควันและสารเคมี การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย การใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำ และที่สำคัญที่สุดคือการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด
โครงการที่ ๕ โครงการส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์
โครงการนี้เป็นโครงการของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒ ที่เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมการดูแลสุขภาพมารดาและเด็ก เพื่อให้แม่ปลอดภัยจากการตั้งครรภ์และการคลอด ลูกได้รับการเลี้ยงดูให้เจริญเติบโต มีพัฒนาการสมวัยโภชนาการที่ดี มีเชาว์ปัญญาเทียบเท่ามาตรฐานสากล จากการทำงานในพื้นที่รับผิดชอบพบว่ากลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ยังไม่เห็นความ สำคัญของการฝากครรภ์เร็ว ทำให้มาฝากครรภ์เมื่ออายุครรภ์มาก ทำให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อมารดาและทารกในครรภ์ได้ ดังนั้นศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อค้นหาหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่พร้อมจะตั้งครรภ์ ให้ตระหนักถึงความสำคัญประโยชน์ของการฝากครรภ์เร็ว เพื่อให้ได้รับการดูแลเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ส่งผล “ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย” จึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ๓,๕๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ที่มาร่วม กิจกรรม ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ
โครงการที่ ๖ โครงการรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง
โครงการนี้เป็นของทางศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒ จากการดำเนินงานของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒ ในปี ๒๕๕๗ พบว่ามีประชากรกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ จำนวน ๑,๕๒๖ คน ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจำนวน ๒๑๓ ราย ไม่พบเซลล์ผิดปกติ จากการดำเนินงานดังกล่าว ยังดำเนินการไม่ครอบคลุมเนื่องจากกลุ่มสตรียังมีความอาย ยังไม่เห็นความสำคัญ ดังนั้นศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคให้กับประชาชนเพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตและลดค่าใช้จ่าย ตลอดจนทรัพยากรที่จะต้องใช้ในการดูแลรักษาคนไข้โรคมะเร็ง จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและตรวจมะเร็งเต้านมใน หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มี อายุ ๓๐-๖๐ ปี ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย โดยให้บริการเชิงรุกในชุมชนขึ้นเพื่อค้นหาคัดกรองและส่งต่อรักษาได้ทันท่วง ที โดยมีกลุ่มเป้าหมายในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน ๗๐๐ คน จึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ๑๘,๕๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าป้ายประชาสัมพันธ์
โครงการที่ ๗ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง
โครงการนี้เป็นอีกหนึ่งโครงการของทางศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒ จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลมีความรู้เกี่ยวกับการทำกายภาพบำบัด ด้านโภชนาการและการดูแลสิ่งแวดล้อมของผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง และเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายกลับคืนสู่ภาวะปกติได้ เร็วขึ้น สำหรับเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก มีผู้สูงอายุทั้งหมด ๔,๙๗๘ ราย อยู่ในเขตรับผิดชอบของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒ จำนวน ๒,๔๘๙ ราย จากการสำรวจทั้งหมดพบผู้สูงอายุ ติดบ้าน ๒๕ ราย ติดเตียง ๑๕ ราย ซึ่งจากการดำเนินงานดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในปีที่ผ่านมา (๒๕๕๗) พบว่า ผู้สูงอายุที่อยู่ติดบ้าน/ติดเตียง มักมีปัญหาของอัมพาต/อัมพฤกษ์ ทำให้เกิดการติดของข้อตามมาก่อให้เกิดภาวะทุพพลภาพระยะยาว การทำกายภาพบำบัดจึงมีความสำคัญช่วยให้ฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายของผู้ป่วย กลับคืนสู่ภาวะปกติได้ ผู้ดูแลควรมีความรู้ และทำกายภาพบำบัดอย่างสม่ำเสมอให้กับผู้สูงอายุที่มีปัญหาอัมพาต/อัมพฤกษ์ หรือนอนนานๆ จะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีโอกาสฟื้นคืนสู่สภาวะปกติได้ สามารถช่วยเหลือตัวเองได้บางส่วนในการประกอบกิจวัตรประจำวัน จึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ๕,๕๒๕ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารกลางวัน ค่าวิทยากร ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น
โครงการที่ ๘ โครงการเสริมสร้างสุขภาพเยาวชนโดยใช้กีฬาปันจักสีลัดเป็นสื่อ (ต่อยอด)
โครงการนี้เป็นโครงการของทางชุมชนหัวกุญแจ ที่ได้เล็งเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายของเยาวชนในพื้นที่ โดยใช้กีฬาปันจักสีลัดเป็นสื่อกลางในการสนับสนุนการออกกำลังกาย เพื่อให้ห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บ และห่างไกลยาเสพติด ที่ระบาดมากขึ้นทุกวันในกลุ่มเยาวชนในปัจจุบัน ชุมชนหัวกุญแจ เป็นหนึ่งในชุมชนเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก มีสถานที่ออกกำลังกายภายในชุมชนมีเยาวชนจำนวนมากที่มีความสนใจในการออกกำลัง กายโดยเฉพาะการเล่นกีฬา ซึ่งกีฬาปันจักสีลัดก็เป็นอีกกีฬาหนึ่ง ที่เยาวชนต้องการที่จะเรียนรู้ ฝึกฝน เพราะเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่ควรแก่การอนุรักษ์สืบสานไว้ อีกทั้งยังช่วยในการบริหารการหายใจ การบริหารกล้ามเนื้อ เพราะการร่ายรำปันจักสีลัด ช่วยลดความดันโลหิต ทำให้การทำงานของระบบหัวใจทำงานได้ดีขึ้น ช่วยกระตุ้นการเผาผลาญ การขับถ่ายของเสีย กลุ่มเป้าหมายในการจัดกิจกรรมเป็นเยาวชนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโกลก จำนวน ๘๐ คน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ๑๘๘,๒๕๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเป็นค่าอาหารว่าง ค่าอาหารกลางวัน เครื่องดื่ม ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าวัสดุอุปกรณ์ และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น
ครั้งที่  ๔/๒๕๕๘   วันที่  ๑๑  กุมภาพันธ์   ๒๕๕๘
โครงการที่ ๑  โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ (วันผู้สูงอายุ)
            โครงการนี้เป็นโครงการของทางชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จัดทำขึ้นมาเพื่อส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพให้ผู้สูงอายุ เอาใจใส่ในการดูแลสุขภาพของตนเองตามความเหมาะสม เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการทำกิจกรรม พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านสุขภาพ และจิตใจ ผู้สูงอายุมีความตระหนักว่าตนเองมีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อสังคม จากการศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพทางจิตของผู้สูงอายุ พบว่าผู้สูงอายุที่มีสุขภาพจิตใจดีเป็นผู้ที่มีอารมณ์แจ่มใส มองโลกในแง่ดีเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความสงบร่มเย็นแก่ครอบครัว ชุมชนและสังคม การที่ผู้สูงอายุจะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขนั้น ต้องรักษาระดับกิจกรรมทางสังคมของตนไว้ให้มาก เป็นกิจกรรมที่ทำช่วยทำให้หายเหงา เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตใจ  โดยมีกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก และผู้สนใจ จำนวน ๔๔๐ คน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ  จำนวน ๕๒,๐๐๐ บาท   เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายค่าอาหารกลางวัน  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็นในโครงการนี้
โครงการที่ ๒  โครงการอบรมเข้าค่ายเยาวชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมห่างไกลยาเสพติดและอบายมุข
            โครงการนี้เป็นโครงการของทางชมรมกองทุนแม่ของแผ่นดิน ชุมชนเจริญสุข  จัดขึ้นเพื่อให้เยาวชนได้รับรู้ถึงโทษ พิษภัยของสารเสพติด ห่างไกลยาเสพติด สิ่งพิมพ์ลามกต่างๆ และเพื่อให้เยาวชนเข้าใจถึงเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ การป้องกันโรคต่างๆและให้เยาวชนหันมาออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดี เพื่อลดปัญหา สังคม ชุมชน และครัวเรือน ดังนั้นทางคณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดิน ชุมชนเจริญสุข ได้ตระหนักเห็นโทษและพิษภัยเหล่านี้ไม่อยากให้เยาวชนต้องมามัวเมาลุ่มหลงกับสิ่งเหล่านี้ให้มาก จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นมาและร่วมสนองพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถที่มีให้ไว้กับ “กองทุนแม่ของแผ่นดิน” โดยมีกลุ่มเป้าหมายเยาวชนในชุมชน จำนวน ๕๖ คน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน  ๓๑,๑๕๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารกลางวัน ค่าตอบแทนวิทยากร และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็นในโครงการ
โครงการที่ ๓  โครงการรักและห่วงใยใส่ใจผู้สูงอายุ สุขภาพดีมีความสุข ชุมชนไม่ทอดทิ้งกัน
               โครงการนี้เป็นอีกหนึ่งโครงการของชมรม อสม.เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ร่วมกับ ๑๔ ชุมชน รวมตัวทำโครงการนี้เพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชนได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง การบริโภคอาหารอย่างถูกหลัก มีสุขภาพดี แข็งแรง ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่เป็นอยู่และมีสุขภาพชีวิตที่ดี และให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกัน พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จากการทำกิจกรรมใน ๓ ปีที่ผ่านมา ก็ได้รับการตอบรับจากชาวชุมชนและผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการเป็นอย่างมาก ซึ่งบางชุมชนที่ยังไม่เคยได้ทำกิจกรรม พอได้ทำกิจกรรมนี้เกิดความรู้สึกที่ดี มีความสุข ผู้สูงอายุมีรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ บางคนถึงกับร้องไห้ด้วยความดีใจและรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ๖๗๒ คน จาก ๑๔ ชุมชน ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จัดกิจกรรมในห้วงเดือนเมษายน โดยกำหนดวันจัดตามแต่ชาวชุมชนสะดวก  ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ  ๑๐๘,๕๓๐ บาท  เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารกลางวัน ค่าอุปกรณ์ออกกำลังกาย   และอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในโครงการ
ครั้งที่  ๕/๒๕๕๘   วันที่  ๒๖  มีนาคม   ๒๕๕๘
โครงการที่  ๑  โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยกีฬาแบดมินตัน ประจำปี  ๒๕๕๘
            โครงการนี้เป็นโครงการของชมรมแบดมินตันเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จัดขึ้นเพื่อให้เยาวชน ประชาชนที่สนใจกีฬาแบดมินตัน เรียนรู้วิธีการออกกำลังกายด้วยกีฬาแบดมินตันอย่างถูกวิธี นำไปสู่สุขภาพพลานานัยที่ดี อีกทั้งสร้างแรงจูงใจให้เยาวชน ประชาชน มีใจรักการออกกำลังกาย ทำให้มีสุขภาพแข็งแรง เจ็บป่วยน้อยลง   เพื่อให้สามารถเล่นกีฬาได้อย่างต่อเนื่องซึ่งจะทำให้มีสุขภาพพลานัยที่ดีอย่างยั่งยืน ปราศจากโรคภัยคุกคาม ลดอัตราการเจ็บป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลต่างๆ และลดความเสี่ยงที่จะเกี่ยวข้องกับยาเสพติดเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายประชาชนและเยาวชนที่สนใจ จำนวน ๑๐๐ คน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน  ๑๗๒,๙๘๔ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายจัดซื้ออุปกรณ์กีฬา ค่าวิทยากร ค่าอาหารว่างและค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็นในโครงการนี้
 โครงการที่ ๒ โครงการอบรมป้องกันเอชไอวี/เอดส์ โดยอาสาสมัครสาธาณสุขหัวใจโอโซน ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
            โครงการนี้เป็นโครงการของกลุ่มศูนย์โอโซนนราธิวาส จัดขึ้นเพื่อให้ อสม.และผู้นำชุมชนมีทักษะในการสื่อสารเรื่องเอชไอวี/เอดส์  เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมในชุมชนมุสลิม เพื่อให้ อสม.มีส่วนร่วมกับโอโซนในการดูแลเบื้องต้นและการป้องกันเอชไอวี/เอดส์ในชุมชน กลุ่มโอโซนจึงเห็นความสำคัญในเรื่องสุขภาพของครอบครัวผู้ใช้ยา เนื่องจากผลกระทบที่เกิดขึ้นมิได้เพียงแต่กระทบกับกลุ่มประชากรดังกล่าวเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อคู่ของตนเอง ครอบครัวและชุมชน ที่ผ่านมาการทำงานของกลุ่มโอโซน ทำงานเชิงรุกโดยผ่านการทำงานแบบเพื่อนช่วยเพื่อนในการเข้าถึงผู้ใช้ยา แต่ยังไม่สามารถเข้าถึงครอบครัวและชุมชนของกลุ่มดังกล่าวได้ดีนัก แต่อสม.คือคนในชุมชน คนที่ครอบครัวให้ความไว้วางใจในการดูแลสุขภาพ และการให้คำปรึกษาต่างๆ ด้วยเหตุนี้จึงต้องการให้ อสม.เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานร่วมกับกลุ่มโอโซนพัฒนาคุณภาพชีวิตของครอบครัวผู้ใช้ยาให้มีชีวิตที่ยั่งยืน โดยมีกลุ่มเป้าหมาย อสม. ผู้นำชุมชนและชุมชนนำร่อง ๓ ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จำนวน ๔๐ คน จึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน  ๓๕,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายค่าอาหาร
โครงการที่ ๓  โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยกีฬาบาสเกตบอล ประจำปี ๒๕๕๘
               โครงการนี้เป็นโครงการของชมรมบาสเกตบอล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนมีทางเลือกในการออกกำลังกายและดูแลสุขภาพ สนับสนุนให้เยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ให้เยาวชนในพื้นที่ได้เรียนรู้ทักษะการเล่นกีฬาบาสเกตบอลอย่างถูกต้อง อีกทั้งส่งเสริมให้เยาวชนลด ละ เลิก อบายมุขและห่างไกลยาเสพติด ลดปัญหาความไม่สงบในพื้นที่และเกิดการพัฒนาศักยภาพของเด็ก เยาวชนและประชาชน โดยแบ่งเวลาการฝึกอบรมออกเป็น ๓ ช่วง ทั้งนี้เพื่อให้โครงการได้มีความต่อเนื่องในระยะยาว และอยู่ในช่วงที่น้องๆเยาวชนให้ความสนใจในกีฬาชนิดนี้เป็นพิเศษ คือช่วงปิดเทอมหน้าร้อน (มี.ค-เม.ย) ช่วงกีฬานักเรียน (ก.ค) และช่วงปิดเทอมกลาง (ต.ค) โดยมีกลุ่มเป้าหมาย เด็กเยาวชนทั้งชายและหญิง ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน ๓๐ คน   ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ  เป็นเงิน๕๒,๒๕๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย  ค่าจัดซื้ออุปกรณ์ ค่าวิทยากร และค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  นอกจากนี้ได้รับการสนับสนุนจากชมรมฯ จำนวน ๕,๐๐๐ บาทเพื่อซื้ออุปกรณ์ที่นอกเหนือจากที่ได้รับสนับสนุนจากโครงการ
โครงการที่ ๔  โครงการแก้ไขภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์
            โครงการนี้เป็นของโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จัดขึ้นเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง เพื่อลดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ให้เหลือไม่เกินร้อยละ ๑๐ ลดอัตราการคลอดทารกน้ำหนักน้อยกว่า ๒๕๐๐ กรัม ไม่เกินร้อยละ ๗ ลดอัตราการคลอดก่อนกำหนด ลดลงร้อยละ ๕ จากเดิม ดังนั้นพื่อให้การดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด กลุ่มงานสูตินรีเวชและวางแผนครอบครัว โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก  จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายหญิงตั้งครรภ์ในเขตตำบลสุไหงโก-ลกที่ฝากครรภ์โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ,ศูนย์สุขภาพชุมชนใกล้ใจ ๑และ ๒ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๑๔,๗๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าสาธิตอาหารแก่หญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการ
โครงการที่ ๕  โครงการคุณแม่คุณภาพ
            โครงการนี้เป็นอีกหนึ่งโครงการของทางโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จัดทำเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และสามี มีความรู้และสามารถปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ การคลอด และหลังคลอดได้ถูกต้อง เพื่อลดอัตรามารดาตายไม่เกิน ๓๖ ต่อแสนการเกิดมีชีพ ลดอัตราทารกตายไม่เกิน ๑๕ ต่อพันการเกิดมีชีพ อีกทั้งสร้างแรงจูงใจให้หญิงตั้งครรภ์มาคลอดในสถานบริการของรัฐ และเพิ่มศักยภาพสามี ให้สามารถดูแลมารดาและบุตรได้ถูกต้อง แผนกฝากครรภ์และศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก เล็งเห็นปัญหางานอนามัยแม่และเด็กที่จำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น โดยมุ้งเน้นให้หญิงตั้งครรภ์และสามี มีความรู้ ความเข้าใจ และการปฏิบัติตนตั้งแต่ตั้งครรภ์ การคลอดและหลังคลอดที่ปลอดภัย ทารกน้ำหนักมากว่า ๒,๕๐๐ กรัม และสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงพร้อมทั้งลดอัตราการตายของทารกลง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายหญิงตั้งครรภ์และสามีหญิงตั้งครรภ์ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๘๕,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าอาหารว่าง อาหารกลางวันและเครื่องดื่ม  ค่าจัดทำคู่มือการดูแลครรภ์มารดา และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็นในโครงการนี้
โครงการที่ ๖  โครงการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการในเด็กแรกเกิดถึง ๗๒ เดือน ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ปี ๒๕๕๘
            โครงการนี้เป็นโครงการของทางศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๑ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จากการดำเนินงานเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการในเด็กแรกเกิดถึง ๗๒ เดือน ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก เขตรับผิดชอบศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๑ จำนวน ๑๔ ชุมชน พบว่าเด็กยังประสบปัญหาทุพโภชนาการเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจส่งผลต่อการพัฒนาการทางสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต การแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียว ไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยลงหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่บิดา มารดา และผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก จากสภาพปัญหาดังกล่าว ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๑ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กแรกเกิดถึง ๗๒ เดือน ในชุมชนเขตรับผิดชอบสุไหงโก-ลก ๑๔ ชุมชน เพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัว และชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง  โครงการนี้แบ่งออกเป็น ๒ กิจกรรม กิจกรรมที่ ๑ รณรงค์การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและคัดกรองพัฒนาการ กิจกรรมที่ ๒ ติดตามเยี่ยมบ้านเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์และเด็กที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์อายุ และจัดกิจกรรมกลุ่ม Self help group โดยมีกลุ่มเป้าหมายเด็กในเขตรับผิดชอบ ๑๔ ชุมชน จำนวน ๓๖๑ คน ผู้ปกครองเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ อสม./เจ้าหน้าที่ ๔๘ คน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ๑๔,๙๐๕ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับซื้อนมกล่องแจกเด็กที่ร่วมโครงการ   ค่าจัดซื้อวัสดุเพื่อกิจกรรมสาธิตอาหารเสริม  ค่าตอบแทนวิทยากร และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็นในโครงการนี้
โครงการที่ ๗  โครงการคัดกรองและส่งเสริมสุขภาพชาวชุมชนกือดาบารูและชุมชนหลังล้อแม๊กซ์ ประจำปี  ๒๕๕๘
            โครงการนี้เป็นของชุมชนกือดาบารูและชุมชนหลังล้อแม๊กซ์ที่ร่วมมือกัน จากการที่ อสม. ประธานและคณะกรรมการ ทั้ง ๒ ชุมชน ได้ไปศึกษา    การคัดกรองความดัน/เจาะเบาหวาน ที่ชุมชมจือแรตูลี จึงเกิดแนวคิด เรื่องการส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มวัยผู้ใหญ่ ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันรวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ก็ได้รับการดูแล สุขภาพที่บ้านด้วย  อสม.เป็นผู้จัดกิจกรรมมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นพี่เลี้ยง ที่ปรึกษามีศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๑,๒ มีสถานบริการสาธารณสุขที่รับส่งต่อผู้ป่วยที่ผิดปกติ เทศบาลเป็นหน่วยสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์  ระยะเวลา ๓ เดือนที่ผ่านมา ทาง อสม.ได้ทดลองดำเนินกิจกรรมในชุมชน เดือนละ ๑ ครั้ง วันเสาร์สัปดาห์สุดท้ายของเดือน มีจำนวนผู้มารับบริการเพิ่มขึ้น มีรายใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จึงอยากจะดำเนินโครงการให้ต่อเนื่องและมีการพัฒนาบริการให้ดียิ่งขึ้นต่อไป  โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ชาวชุมชนกือดาบารู อายุ ๒๕ ปีขึ้นไป จำนวน ๓๕ คน  และชาวชุมชนหลังล้อแม๊กซ์ จำนวน  ๔๐ ปี ขึ้นไป  จึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๓๐,๔๗๕ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าสาธิตอาหารเพื่อสุขภาพ และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็นในโครงการนี้
ครั้งที่  ๖/๒๕๕๘   วันที่  ๑๒  พฤษภาคม   ๒๕๕๘
โครงการที่ ๑  โครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพฝึกทักษะกีฬาเทควันโดเบื้องต้น
            โครงการนี้เป็นโครงการของทางชมรมเทควันโด สุไหงโก-ลก จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายให้เด็กและเยาวชน ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ห่างไกลยาเสพติด อีกทั้งเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย เช่น กระดูก ข้อต่างๆ สายตาให้แข็งแรงขึ้น  และสามารถนำทักษะกีฬาเทควันโดไปใช้ป้องกันตัวในชีวิตประจำวันได้ กีฬาเทควันโดเป็นอีกหนึ่งกีฬาที่ได้รับความสนใจจาก กลุ่มเด็ก นักเรียน และเยาวชน ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย  ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกรวม ๑๓๖ คน โดยใช้สถานที่ของชมรมเทควันโด (ใต้อัฒจันทร์สนามกีฬามหาราช) เป็นสถานที่ฝึก ช่วงเวลาในการฝึกตั้งแต่ เวลา ๐๙.๐๐ น. ถึง ๑๕.๐๐ น. ที่ผ่านมามีผู้ปกครองสนใจ นำบุตรหลานมาสมัครเรียนเทควันโดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทางคณะกรรมการชมรมจึงได้ทำจัดโครงการนี้  จึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๗๙,๘๕๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายจัดซื้ออุปกรณ์กีฬา ค่าวิทยากร ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น
โครงการที่ ๒  โครงการด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก ปลอดบุหรี่ ปี ๒๕๕๘
            โครงการนี้เป็นของโครงการของด่านอาหารและยาสุไหงโก–ลกและด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศสุไหงโก-ลก โดยการสนับสนุนจากด่านศุลกากรสุไหงโก-ลกและหน่วยงานในอาคารด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก เสนอโครงการนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดสถานที่สูบบุหรี่บริเวณด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก ให้เจ้าหน้าที่และประชาชนที่มาใช้บริการด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก  สูบบุหรี่ในบริเวณที่จัดไว้ และเพื่อเป็นการคุ้มครองสุขภาพของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ให้ปลอดภัยจากควันบุหรี่ และเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ ด้วยเหตุนี้จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว  จึงจัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อกำหนดให้บริเวณในอาคารและรอบอาคารด่านพรมแดนสุไหงโก-ลกเป็น เขตปลอดบุหรี่ จัดบริเวณสูบบุหรี่ซึ่งเป็นบริเวณที่มี่คนเดินผ่านโดยจัดหาม้านั่งและที่ ทิ้งก้นบุหรี่ จัดทำป้ายทางไปที่สูบบุหรี่ แต่ยังขาดงบประมาณในส่วนของการทำป้ายห้ามสูบบุหรี่ ป้ายสถานที่สูบบุหรี่ ป้ายประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ และการอบรมให้ความรู้แก่ผู้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้างที่อยู่ประจำบริเวณ ด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก โดยจัดอบรมจำนวน ๒ รุ่น รุ่นละ ๒๐ คน จำนวน ๔๐ คน จึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๒๑,๓๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าจัดทำป้ายต่างๆ และ ค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน และค่าวิทยากร
โครงการที่ ๓ โครงการเพิ่มสมรรถนะของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลสุไหงโก-ลก ด้วยโปรแกรมการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ
            โครงการนี้เป็นโครงการของทางโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก หน่วยงานกายภาพบำบัด จัดขึ้นเพื่อให้ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลสุไหงโก-ลก มีความรู้ในการออกกำลังกายอย่างถูกวิธี  กิจกรรมการออกกำลังกายเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสภาพร่างกาย ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ช่วยพัฒนาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง พัฒนาอารมณ์ให้มีความสุข โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ทางงานกายภาพบำบัดจึงได้ตระหนักในเรื่องนี้ เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ป้องกันการเกิดโรคจากความเสื่อมสภาพ อีกทั้งยังใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และมีความสุข ด้วยกิจกรรมการออกกำลังกาย โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สูงอายุในเขตเทศบาลสุไหงโก-ลก จำนวน ๑๐๐  คน ใช้เวลาในการอบรม ๑ วัน  ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๑๕,๐๐๐ บาท  เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารกลางวัน และค่าวัสดุต่างๆ
โครงการที่ ๔  โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้นำนักเรียนส่งเสริมสุขภาพและสุขบัญญัติแห่งชาติ ปี ๒๕๕๘
               โครงการนี้เป็นอีกหนึ่งโครงการของทางโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จัดทำเพื่อเพื่อสร้างผู้นำนักเรียนให้มีความรู้ และทักษะในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง เพื่อให้ผู้นำนักเรียนสามารถเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ด้านสุขภาพทั้งในโรงเรียนและชุมชนได้ และให้นักเรียนสามารถช่วยเหลือดูแลสุขภาพเบื้องต้น แก่ตนเองและเพื่อนนักเรียน สมาชิกในครอบครัว เพื่อพัฒนาชมรมเด็กไทยทำได้และโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัยและโรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติต้นแบบ  ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในโรงเรียนบรรลุวัตถุประสงค์ และพัฒนาศักยภาพของนักเรียนแกนนำ ให้สามารถดำเนินงานสอดคล้องกับแนวคิดของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพและเด็กไทยทำได้ จึงจัดให้มีการอบรมผู้นำนักเรียนส่งเสริมสุขภาพและนักสุขบัญญัติ โดยมีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ๑๐๐ คน  จึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน  ๔๔,๕๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารกลางวัน ค่าวิทยากร ค่าวัสดุอุปกรณ์  ค่าโล่รางวัล 
โครงการที่ ๕  โครงการ “ครัวเรือน ลดเค็ม ต้นแบบ”
            โครงการนี้เป็นอีกหนึ่งโครงการของทางโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก  จัดทำขึ้นเพื่อให้ประชาชนกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ความเข้าใจในการบริโภคอาหารรสเค็มที่มีเกลือ (โซเดียม) ที่ถูกต้อง มีความตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพของตนเองจากการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม และให้ประชาชนกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเกลือ(โซเดียม) ที่ถูกต้อง ลดอัตราป่วยและกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จากการสำรวจประชาชนชุมชนศรีอามาน ส่วนใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุมากกว่า ๓๕ ปี ขึ้นไปมีภาวะความเจ็บป่วยจากโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนเป็นจำนวนมาก มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ๑๕ คน เบาหวาน ๗ คน จากการศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุปัญหาดังกล่าว ทางฝ่ายสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายสุขภาพ/ชุมชนศรีอามาน จึงมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยหวังว่าจะเป็นแนวทางหนึ่งในการช่วยลดพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มและเกลือโซเดียมที่สูงเกินความจำเป็น อันจะเป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรคความดันโลหิตสูงของคนในชุมชนและเป็นชุมชน ครัวเรือน ลดเค็ม ต้นแบบ ในอนาคต  โดยมีกลุ่มเป้าหมาย  จำนวน ๕๐ คน  ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๒๗,๘๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารกลางวัน ค่าวิทยากร ค่าวัสดุต่างๆ ค่าโล่รางวัลในการประกวด และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น
โครงการที่ ๖ โครงการส่งเสริมสุขภาพตา เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ ๖๐ พรรษา ๒ เมษายน ๒๕๕๘
            โครงการนี้เป็นโครงการของทางโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก กลุ่มงานจักษุวิทยา กลุ่มงานเวชกรรมสังคม และกลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ได้เห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพจึงจัดการอบรมโครงการส่งเสริมสุขภาพตา เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ ๖๐ พรรษา ขึ้นโดยใช้แนวทางการแพทย์ทางเลือก เพื่อให้ประชาชนสุขภาพดีถ้วนหน้าและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในระบบสาธารณสุข นอกเหนือไปจากการป้องกัน การรักษาและการฟื้นฟู และเป็นความเพิ่มความสมบูรณ์และครบถ้วน ทั้ง ๔ มิติ ของระบบบริการสุขภาพสาขาจักษุ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาตาบอด สายตาเรือนรางและสายตาพิการลง อีกทั้งเพื่อส่งเสริมให้บุคลากร มีความรู้ ทักษะ และความเข้าใจในการดูแลตา ด้วยวิธีการแพทย์ทางเลือก เพื่อให้บุคลากร สามารถปฏิบัติตนได้ถูกวิธีในการดูแลตาด้วยวิธีการแพทย์ทางเลือก โดยมีกลุ่มเป้าหมายจำนวน ๘๐ คน อบรมมีทั้งรายเก่าและรายใหม่ จึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๘๒,๖๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อาหารกลางวัน ค่าวิทยากร และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น
โครงการที่ ๗ โครงการรณรงค์กวาดล้างโรคไข้เลือดออกเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ปี ๒๕๕๘
            โครงการนี้เป็นโครงการของทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกร่วมกับงานควบคุมโรค ฯ  จัดขึ้นเพื่อลดอัตราการป่วย และลดอัตราการตายด้วยโรคไข้เลือดออก และเพื่อให้ชุมชน โรงเรียน ภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และกระตุ้นให้ประชาชนตระหนัก และเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออกและมีส่วนร่วมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่อำเภอสุไหงโก-ลก เริ่มมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกใน ปี ๒๕๔๔  มีผู้ป่วย ๒๕๑ ราย เสียชีวิต ๑ ราย ในปี ๒๕๔๕   มีการระบาดอย่างหนักผู้ป่วย ๓๐๕ ราย ปี ๒๕๕๐ ผู้ป่วย ๑๔๕ ราย  และในปี ๒๕๕๖ มีผู้ป่วย ๑๐๗ ราย  จะเห็นว่าจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทางชมรมฯและทางคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขอำเภอสุไหงโก-ลก (คปสอ.) จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นมา โดยมีการดำเนินการ กลุ่มเป้าหมาย ทั้งในโรงเรียน ชุมชน และย่านการค้า จึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ  ๑๑๖,๗๕๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อาหารกลางวัน ค่าทรายกำจัดลูกน้ำ  ค่าจัดทำคู่มือเพื่อสำรวจลูกน้ำยุงลายแก่นักเรียน
ครั้งที่ ๗/๒๕๕๘ วันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๘
โครงการที่ ๑ โครงการปรับเปลี่ยนสุขภาพสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ เรื่อง “โรคตาในผู้สูงอายุ”
โครงการนี้เป็นโครงการของทางชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จัดทำขึ้นเนื่องจากตรวจคัดกรองและประเมินสุขภาพของสมาชิกชมรม พบว่า สมาชิกป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ โรคต้อกระจกต้อหิน ฯลฯ จากการสอบถามสมาชิกชมรมยังขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตาและโรคตาใน ผู้สูงอายุ ดังนั้นทางชมรมจึงจัดโครงการนี้เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลเฝ้าระวังสุขภาพตา และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่น เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะตาบอด หรือเกิดความพิการในผู้สูงอายุ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุที่มีปัญหาโรคตา เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองตา โดยมีกลุ่มเป้าหมายสมาชิกชมรมผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังและสมาชิก ทั่วไป จำนวน ๑๐๐ คน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๑๐,๙๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารกลางวัน และค่าวิทยากร และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็นในโครงการนี้
โครงการที่ ๒ โครงการต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ “เพื่อนสะกิดเพื่อนป้องกันโรคอ้วน” ในโรงเรียนประถมศึกษา
โครงการนี้เป็นของทางโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จัดทำขึ้นมาเพื่อให้เด็กนักเรียนมีภาวะอ้วนและเริ่มอ้วนลดลง จากสถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบัน แนวโน้มมีปัญหาสุขภาพมากขึ้น สำหรับเด็กในชั้นประถมศึกษา ในพื้นที่อำเภอสุไหงโก-ลก โรงเรียนประถมศึกษาเทศบาล ๑-๔ ในชั้น ป.๕ ป.๖ โรงเรียนเทศบาล ๑ เด็กอ้วนและเริ่มอ้วน ๑๑.๐๔% โรงเรียนเทศบาล ๒ เด็กอ้วนและเริ่มอ้วนคิดเป็น ๐.๑๘% โรงเรียนเทศบาล ๓ เด็กอ้วนและเริ่มอ้วนคิดเป็น ๕๘.๔๘% โรงเรียนเทศบาล ๔ เด็กอ้วนและเริ่มอ้วนคิดเป็น ๑๘% (จากข้อมูลของกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อ.สุไหงโก-ลก) ดังนั้นจึงมีความประสงค์ที่จะทำโครงการเพื่อที่จะส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคในกลุ่มเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาล ๑-๔ ในอำเภอสุไหงโก-ลก โดยมีกลุ่มเป้าหมาย เด็กนักเรียนประถมศึกษาชั้น ป.๕ ป.๖ ในโรงเรียนเทศบาล ๑-๔ ที่มีภาวะโภชนาการเกินมาตรฐาน จำนวน ๘๐ คน โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๑๑,๓๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารกลางวัน ค่าวิทยากร และค่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น ในโครงการ
โครงการที่ ๓ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค อสม.เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ปี ๒๕๕๘
โครงการนี้เป็นโครงการของทางชมรม อสม.เทศบาลเมืองสุไหโก-ลก จัดทำเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ อสม.ได้รับการตรวจสุขภาพตนเอง เพื่อให้ อสม.มีความรู้ความเข้าใจ อย่างถูกต้อง เพื่อให้ อสม.มีความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวชุมชน เป็นต้นแบบของการดูแลสุขภาพตนเองโดยภาคประชาชน เพื่อขยายเครือข่ายการดูแลสุขภาพภาคประชาชนระดับตำบลให้มีความเข้มแข็ง โดยมีกิจกรรมได้แก่ การให้ความรู้ การเดินรณรงค์ การตรวจคัดกรองสุขภาพ และกิจกรรมเสริมทักษะในด้านงานสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสุขภาพ ตลอดจนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการดำเนินงานด้านสุขภาพภาคประชาชนซึ่งกันและกัน โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ อสม.ใน เขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ๑๙๗ คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน ๒๐ คน โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๕๖,๙๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารกลางวัน ค่าวิทยากร ค่าสนับสนุนกิจกรรมเดินรณรงค์ และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น
โครงการที่ ๔ โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายไทเกกเพื่อสุขภาพ ปี ๒๕๕๘
โครงการนี้เป็นโครงการของชมรมไทเกก สุไหงโก-ลก จัดทำเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายไทเกกเพื่อสุขภาพแก่ผู้สูงอายุชุมชนเมือง ย่านการค้า และส่งเสริมสุขภาพจิตให้กับผู้สูงอายุ ทางชมรมไทเกก จึงความตั้งใจที่จะประชาสัมพันธ์ให้คนทั่วไปได้รับทราบ และสามารถเข้ารับการฝึกไทเกก ได้ทั้งสมาชิกชมรมและประชาชนทั่วไปโดยไม่มีค่าใช้จ่าย และเพื่อเพิ่มทางเลือกหนึ่งในการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ หรือประชาชนทุกกลุ่มวัยที่มีความสนใจ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๘๐ คน ซึ่งทางชมรมไทเกก สนับสนุนค่าวิทยากร จำนวน ๒๐,๐๐ บาท และขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ เป็นเงินทั้งสิ้น ๗๓,๕๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าที่พัก ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ของวิทยากร และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น
ครั้งที่  ๑/๒๕๕๙   วันที่  ๒๐  พฤศจิกายน   ๒๕๕๘
โครงการที่ ๑  โครงการ Run for king วิ่งเพื่อสุขภาพ
          โครงการนี้เป็นโครงการของชมรมวิ่งเพื่อสุขภาพสุไหงโก-ลก จัดทำขึ้นและได้เล็งเห็นความสำคัญ การออกกำลังกายของผู้คนสมัยนี้ การวิ่งเป็นการออกกำลังกายที่มีประโยชน์มากมาย ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือด ปอด หัวใจ ทำงานดีขึ้น ลดระดับไขมันในเลือด เพื่อป้องกันโรคหัวใจ และช่วยให้ไม่เป็นลมหน้ามืด ทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น ลดภาวะกระดูกพรุน ช่วยปรับภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานดีขึ้น ช่วยควบคุมน้ำหนักของร่างกาย กระตุ้นให้สมองเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นสารเคมีธรรมชาติที่มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวด และทำให้รู้สึกสุขสบาย ทั้งนี้ทางชมรมวิ่งเพื่อสุขภาพสุไหงโก-ลกได้ตระหนักถึงความสำคัญในการออกกำลังกายด้วยการ เดิน วิ่ง การออกกำลังกายเป็นประจำ และการหมั่นตรวจเช็คร่างกายเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญ เพราะการออกกำลังกายเป็นการเสริมสร้างและป้องกันโรคภัยต่างๆและเป็นการสร้างความรัก ความสามัคคีของประชาชนในอำเภอสุไหงโก-ลก โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็น เยาวชนและประชาชนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกที่มีความสนใจ จำนวน ๖๐๐ คน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณกองทุนฯ ๔๒,๑๐๐ บาท  เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  ค่าเดินทาง ค่าที่พักและค่าตอบแทนวิทยากร  ค่าจัดทำไวนิล และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็นในโครงการ
โครงการที่ ๒     โครงการเสริมสร้างสุขภาพเยาวชนและประชาชนโดยใช้กีฬาปันจักสีลัตเป็นสื่อ
โครงการนี้เป็นของชมรมปันจักสีลัต เป็นโครงการต่อยอดจากปีที่ผ่านมา การออกกำลังกาย การเล่นกีฬา เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดความแข็งแรง ทั้งร่างกายและจิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา และสามารถแก้ปัญหาทางสังคมได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งกีฬาปันจักสีลัตก็เป็นอีกชนิดกีฬา ที่เยาวชนต้องการที่จะเรียนรู้ ฝึกฝน เพราะเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่ควรแก่การอนุรักษ์สืบสานไว้ ดังนั้นทางชุมชนจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการออกกำลังกาย ของเยาวชนในพื้นที่ โดยใช้กีฬาปันจักสีลัตเป็นสื่อกลางในการสนับสนุนการออกกำลังกายของเยาวชนในพื้นที่ เพื่อห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บและยาเสพติดที่ระบาดมากขึ้นทุกวันในกลุ่มเยาวชนในปัจจุบัน เป็นการปลูกฝังให้เด็กเยาวชนรักการเล่นกีฬาและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๒๘๓,๔๖๘ บาท โดยแบ่งออกเป็น ๓ ช่วงกิจกรรม แยกตามกลุ่มเป้าหมาย  มีรายละเอียดดังนี้
ช่วงที่ ๑ กิจกรรมปันจักสีลัตเป็นสื่อ (ต่อยอด)  กลุ่มเป้าหมาย เป็นเยาวชนที่สนใจ   เริ่มในเดือนมกราคม ถึงเมษายน ๒๕๕๙ จัดกิจกรรม วันจันทร์ถึงวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ -๑๗.๐๐ น. เป็นเวลา ๑๔ วัน ใช้งบประมาณทั้งหมด ๑๘๓,๒๑๘ บาท
ช่วงที่ ๒ กิจกรรม “ปันจักสีลัตบำบัด”  กลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้สูงอายุ  เริ่มเดือน พฤษภาคม ๒๕๕๙ จัดกิจกรรมวันจันทร์ ถึงวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา ๑๕.๐๐ ถึง ๑๘.๐๐ น. เป็นเวลา ๗ วัน ใช้งบประมาณ ๓๙,๖๕๐ บาท
ช่วงที่ ๓ กิจกรรม “พี่สอนน้องโดยใช้ปันจักสีลัตเป็นสื่อ” จัดกิจกรรม วันจันทร์ถึงวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา ๑๖.๐๐ น.ถึง ๑๘.๐๐ น.เป็นเวลา ๑๔ วัน  ใช้งบประมาณ ๖๐,๖๐๐ บาท
โครงการที่ ๓  โครงการรณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ปีงบประมาณ ๒๕๕๙
          โครงการนี้เป็นโครงการของ คปสอ.ม.สุไหงโก-ลกร่วมกับชมรม อสม.เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก เพื่อให้เด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี มีภูมิต้านทานต่อโรคโปลิโอสูงเพียงพอ ที่จะป้องกันการแพร่เชื้อโปลิโอชนิดก่อโรคจากภายนอกเข้ามาในประเทศ รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสวัคซีนโปลิโอ อันเนื่องจากระดับความครอบคลุมการได้รับวัคซีนอยู่ในระดับต่ำ โดยการให้วัคซีนโปลิโอเสริม ๒ ครั้ง แก่เด็กไทยอายุต่ำกว่า ๕ ปี ครอบคลุม ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๙๐ ในพื้นที่เป้าหมาย ทั้งนี้เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบัน ปัญหาการระบาดข้ามประเทศจากประเทศที่ยังมีโรคโปลิโอเป็นโรคประจำถิ่นไปยัง ประเทศที่ปลอดจากโรคแล้วเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกประทศต้องหาทางป้องกัน ขณะเดียวกัน ยังพบปัญหาการได้รับวัคซีนไม่ครบถ้วนในประชากรบางกลุ่ม บางพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อต่อไปภายในประเทศ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกทั้งหมดและเด็กต่างชาติ อายุต่ำกว่า ๑๕ ปี กำหนดการรณรงค์ ๒ ครั้ง ครั้งที่ ๑ วันที่ ๑๖ ธันวาคม  ๒๕๕๘ ครั้งที่ ๒ วันที่ ๒๐ มกราคม  ๒๕๕๙ จึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ๕๙,๒๕๐ บาท เพื่อเป็นค่าจ่ายค่าพาหนะ ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าจัดทำไวนิลประชาสัมพันธ์ และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็นในโครงการนี้
โครงการที่ ๔     โครงการคัดกรองและส่งเสริมสุขภาพ ชาวชุมชน ประจำปี ๒๕๕๙
โครงการนี้เป็นโครงการของชมรม อสม.เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ที่ผ่านมาทาง อสม.หลายชุมชน ได้ทดลองดำเนินกิจกรรมคัดกรองสุขภาพ เดือนละ ๑ ครั้ง ผลตอบรับจากชาวชุมชนค่อนข้างดี ดังนั้นเพื่อความต่อเนื่อง ทางชมรม อสม.เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกร่วมกับ ๘ ชุมชน ที่มีความพร้อม จัดโครงการให้ต่อเนื่องและมีการพัฒนาบริการให้ดียิ่งขึ้นต่อไป มีการเสริมกิจกรรม เช่น กิจกรรมออกกำลังกาย กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต รวมถึงการให้ความรู้ให้สุขศึกษาเรื่องโรคต่างๆ โดยกิจกรรมที่จัด มุ่งเน้นให้ชาวชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเองกลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง และกลุ่มผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง  ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ติดบ้าน ติดเตียง ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ได้รับการดูแลที่บ้านอย่างต่อเนื่องจาก อสม.และเจ้าหน้าที่ และเพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการดูแลส่งเสริมสุขภาพของตนเองและครอบครัว โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นชาวชุมชนอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังติดบ้าน ติดเตียง ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส  ของ ๘ ชุมน  จึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๑๗๙,๑๗๕ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าวิทยากร ค่าจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ ค่าจัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิต และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็นในโครงการนี้  โดยมีรายละเอียดงบประมาณ แยกรายชุมชน ทั้ง ๘ ชุมชน
โครงการที่ ๕     โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ปี ๒๕๕๙
เทศบาล เมืองสุไหงโก-ลกได้จัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไห งโก-ลกตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ โดยได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการหรือสถานบริการ เน้นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคการฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิ เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มแม่และเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ทั่วถึงมีประสิทธิภาพ ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไห งโก-ลกเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีการใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในพื้นที่ จึงจัดให้การประชุมพิจารณาแผนงานโครงการซึ่งมาจากส่วนราชการ ภาคประชาชน มีการประชุมคณะอนุกรรมการฝ่ายจัดทำแผนฯทุกๆ ๖ เดือน รวม ๒ ครั้ง/ปี ประชุมเพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการ ๑๒ ครั้ง/ปี การประชุมของอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ รวมถึงการ ดังนั้นเพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนเป็นไปอย่างประสิทธิภาพและเกิด ประโยชน์สูงสุดทางอนุกรรมการฝ่ายเลขาธุรการจึงได้จัดโครงการดังกล่าวนี้ขึ้น มา จึงของบประมาณกองทุนฯ จำนวน ๒๗๒,๑๐๐ บาท โดยแบ่งเป็น ๘ กิจกรรม ดังรายละเอียดต่อไปนี้
กิจกรรมที่๑ การใช้จ่ายในการจัดประชุมซักซ้อมแผนการจัดทำแผนงานโครงการ มีค่าใช้จ่ายเป็นค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๑๐๐ คน และค่าจัดทำเอกสาร ทั้งหมดเป็นเงิน ๓,๕๐๐ บาท
กิจกรรมที่ ๒  กิจกรรมประชุมพิจารณาแผนกองทุนฯ (อนุกรรมการฝ่ายแผนฯ)  มีค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๑๑,๘๐๐ บาท
กิจกรรมที่ ๓  ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ(คณะกรรมการบริหารและอนุกรรมการทั้ง ๔ ฝ่าย) มีค่าใช้จ่ายเป็นเงิน  ๑๗๒,๐๐๐ บาท
กิจกรรมที่ ๔ ประชุมอนุกรรมการฝ่ายการเงินฯการสรุปสถานะทางการเงิน รายงานการเงินรายเดือน รายไตรมาส และรายปี มีค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๔,๘๐๐ บาท
กิจกรรมที่ ๕  การติดตามประเมินผล(อนุกรรมการฝ่ายประเมิน)  มีค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๑๕,๐๐๐ บาท
กิจกรรมที่ ๖ ค่าจัดทำสรุปรายงานการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ กิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการ มีค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท
กิจกรรมที่ ๗  ค่าจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆเพื่อใช้ในงานกองทุนฯ ได้แก่ กระดาษ แฟ้ม กล่องใส่เอกสาร หมึกพิมพ์ เป็นต้น มีค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๑๕,๐๐๐ บาท
กิจกรรมที่ ๘ การจัดซื้อครุภัณฑ์เพื่อใช้ในงานกองทุนฯ มีค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท
ครั้งที่   ๒/๒๕๕๙    วันที่  ๒๙  ธันวาคม   ๒๕๕๘
โครงการที่ ๑  โครงการคลินิกยุวชน เยาวชนคนสุไหงโก-ลก  รักฟุตบอล ๒๐๑๖   รุ่นที่ ๑ ปี  ๒๕๕๙
          โครงการนี้เป็นโครงการของชมรมฟุตบอลรวมใจเพื่อนสุไหงโก-ลก  จัดเพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมให้ยุวชนเยาวชนได้ออกกำลังกาย ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และห่างไกลยาเสพติดโดยการเล่นฟุตบอล และได้รับความรู้ ประสบการณ์จากการฝึกทักษะฟุตบอล เป็นทางเลือกหนึ่งในการออกกำลังกาย โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเยาวชนอายุ ๙-๑๒ ปี  จำนวน ๖๐ คน จาก ๒๘ ชุมชน ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก  ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๑๑๙,๖๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอุปกรณ์การฝึก ค่าจัดทำประกาศนียบัตรและค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็นในโครงการ
 คณะกรรมการกองทุนฯ มีความเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี  ส่ง เสริมให้เยาวชนได้เล่นกีฬาฟุตบอลอย่างถูกต้อง เป็นทางเลือกในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ แต่รูปแบบกิจกรรมไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนฯปรับชื่อโครงการให้ เป็นแนวทางการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
โครงการที่  ๒    โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ (วันผู้สูงอายุ)
โครงการนี้ เป็นโครงการของทางชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก  จัดทำขึ้นทุกปี เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการทำกิจกรรม พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็นและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านสุขภาพ และจิตใจ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความตระหนักว่าตนเองมีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อสังคม ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้ด้านสุขภาพมากขึ้น สามารถดูแลตนเองตามความเหมาะสม ปัจจุบันคนไทยโดยเฉลี่ยมีอายุยืนยาวขึ้น ทำให้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” โดยมีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ ๑๐ ของจำนวนประชากรทั้งหมด  ดังนั้น การรักษาสุขภาพเพื่อให้สมบูรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็นมากสำหรับผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังต้องให้ความสำคัญในการดูแลทางทางด้านสุขภาพจิตควบคู่กันไป ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพจิตใจดีเป็นผู้ที่มีอารมณ์แจ่มใส มองโลกในแง่ดีเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความสงบร่มเย็นแก่ครอบครัว ชุมชนและสังคม  โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกและผู้สนใจ จำนวน ๔๕๐ คน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๕๒,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารกลางวัน ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็นในโครงการ โดยทางชมรมได้สนับสนุนงบประมาณเพิ่ม อีก ๑๒,๐๐๐ บาท เพื่อสมทบเข้าในกิจกรรมดังกล่าว
โครงการที่  ๓    โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ
โครงการนี้ เป็นโครงการของศูนย์เรียนรู้ผู้สูงอายุเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ ให้ผู้สูงอายุได้ดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้สูงอายุได้พบปะ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายจะ ต้องร่วมมืออย่างจริงจังและต่อเนื่องในการเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุทุก คนตลอดจนบุคคลในครอบครัวและชุมชน กลุ่มผู้สูงอายุในศูนย์เรียนรู้ผู้สูงอายุได้เล็งเห็นความสำคัญในการที่จะ รวมกลุ่มเพื่อดูแลผู้สูงอายุในกลุ่มให้มีสุขภาพที่ดี โดยมีรูปแบบกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ส่งเสริมสุขภาพจิต ส่งเสริมการออกกำลังกาย ส่งเสริมการฝึกอาชีพ เพื่อส่งเสริมรายได้ การปรับตัวในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นเสริมความรู้และทักษะชีวิต จึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ  จำนวน ๑๑๐,๐๐๐ บาท แบ่งเป็น ๕ กิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมที่ ๑   กิจกรรมตรวจสุขภาพสมาชิกในศูนย์เรียนรู้ ปีละ ๒ ครั้ง
กิจกรรมที่ ๒ กิจกรรมทางศาสนา เดือนละ  ๑ ครั้ง จำนวน ๘ เดือน โดยศาสนาพุทธ จัดกิจกรรมฟังเทศน์ ส่วนศาสนาอิสลาม เรียนคัมภีร์อัลกุรอาน
กิจกรรมที่ ๓ กิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายด้วย ไม้พลอง,ยางยืด,ลีลาศ,ไทเกก,โยคะ เดือนละ ๑ ครั้ง จำนวน ๘ ครั้ง
กิจกรรมที่  ๔  กิจกรรมอบรมแกนนำบำบัดโรคด้วยแผนไทย ๑ วัน
กิจกรรมที่  ๕  กิจกรรมป้องกันฟื้นฟูโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ จำนวน ๒ ครั้ง
โครงการที่  ๔       โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยกีฬาบาสเกตบอล ประจำปี ๒๕๕๙
โครงการนี้ เป็นโครงการของทางชมรมบาสเกตบอลสุไหงโก-ลก  มีความประสงค์จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนมีทางเลือกในการออกกำลังกายและดูแลสุขภาพ สนับสนุนให้เยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ให้เยาวชนในพื้นที่ได้เรียนรู้ทักษะการเล่นบาสเกตบอลอย่างถูกต้องและปลอดภัย ส่งเสริมให้เยาวชน ลด ละ เลิก อบายมุขและห่างไกลยาเสพติด ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีใจรักในการออกกำลังกายนำไปสู่การมีสุขภาพแข็งแรง เจ็บป่วยน้อยลง มีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย   ดังนั้นทางชมรมฯจึงได้จัดโครงการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยบาสเกตบอล ประจำปี ๒๕๕๙ โดยแบ่งการฝึกสอนโครงการออกเป็น ๓ ช่วงเวลา ช่วงละ ๑๕ วัน เพื่อความสะดวกในการดำเนินการและติดตามผลรวมถึงความสะดวกของวิทยากรและความต่อเนื่องของโครงการ
ช่วงเวลาที่ ๑  วันที่  ๓  มกราคม ๕๙ – ๑๘ มกราคม ๕๙ ตั้งแต่เวลา ๑๗.๐๐ -๒๐.๐๐ น.
ช่วงเวลาที่ ๒ วันที่  ๓  มีนาคม  ๕๙ – ๑๘ มีนาคม ๕๙    ตั้งแต่เวลา  ๑๗.๐๐ -๒๐.๐๐ น.
ช่วงเวลาที่ ๓  วันที่  ๑ พฤษภาคม ๕๙- ๑๕ พฤษภาคม ๕๙ ตั้งแต่เวลา  ๑๗.๐๐ -๒๐.๐๐ น.
ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๕๗,๕๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม โดยได้รับการสนับสนุนจากชมรมบาสเกตบอล จำนวน ๕,๐๐๐ บาท
โครงการที่  ๕    โครงการแก้ไขภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์
โครงการนี้ เป็นโครงการของโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก แผนกฝากครรภ์ จัดทำขึ้นเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง ลดอัตราการเกิดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ลดอัตราการคลอดทารกน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม ลดอัตราการคลอดก่อนกำหนด  ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทั้งสุขภาพของมารดา และทารกในครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจะมีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ในส่วนของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรงจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการตกเลือดในระหว่างคลอด และมีโอกาสติดเชื้อในระยะ หลังคลอด ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดและเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหางานอนามัยแม่และเด็กอย่างต่อเนื่อง โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์ในโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก และศูนย์สุขภาพชุมชนใกล้ใจ ๑ และ ๒ จำนวน ๓๐๐ ราย มีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เดือน มกราคม – กันยายน ๒๕๕๙ จึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๗,๕๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการนี้
โครงการที่  ๖    โครงการคุณแม่คุณภาพ
โครงการนี้ เป็นอีกหนึ่งโครงการของโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก แผนกฝากครรภ์และศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก เล็งเห็นปัญหางานอนามัยแม่และเด็กที่จำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นให้หญิงตั้งครรภ์และสามี มีความรู้ ความเข้าใจและการปฏิบัติตนตั้งแต่ตั้งครรภ์ การคลอดและหลังคลอดที่ปลอดภัย ทารกน้ำหนักมากกว่า ๒,๕๐๐ กรัม และสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง พร้อมทั้งลดอัตราการตายของทารกไม่เกิน ๑๕ ต่อพันการเกิดมีชีพ ลดอัตรามารดาตายไม่เกิน ๓๖ ต่อพันการเกิดมีชีพ หญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก มารับบริการคลอดในสถานบริการมากกว่าร้อยละ๘๐ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นหญิงตั้งครรภ์ ตำบลสุไหงโก-ลก เข้ารับการอบรมร้อยละ ๘๐ จำนวน ๓๖๐ ราย สามีของหญิงตั้งครรภ์ เข้าร่วมอบรบร้อยละ ๒๐ จำนวน ๑๒๐ ราย การดำเนินงานส่งเสริมความรู้หญิงตั้งครรภ์และสามี โดยแบ่งการอบรมออกเป็น ๔ รุ่น รุ่นละ ๑๒๐ คน  กำหนดจัดทุกๆ ๓ เดือน  ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๕๘,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่อาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารกลางวัน และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็นในโครงการนี้
ครั้งที่ ๓/๒๕๕๙ วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๙
โครงการที่ ๑ โครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนการเฝ้าระวัง IQ และ EQ ในวัยเรียน
โครงการนี้เป็นโครงการของทางกลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก เพื่อให้ครูและผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้อง อีกทั้งมีทักษะในการคัดกรองความฉลาดทางอารมณ์และเชาว์ปัญญาเด็กเบื้องต้นได้ ในปี ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา จำนวนโรงเรียนที่ได้ดำเนินการคัดกรอง จำนวน ๕ โรง จำนวนห้องเรียนทั้งหมด ๑๙ ห้อง จำนวนนักเรียนที่ได้รับการคัดกรอง ๖๗๗ คน และจำนวนนักเรียนที่มีผิดปกติทั้งหมด ๕๗ คน ในการนี้เพื่อให้ทราบถึงระดับความฉลาดทางอารมณ์และเชาว์ปัญญาเด็ก และให้คำแนะนำ อีกทั้งเพื่อให้ครูและผู้ดูแลเด็กสามารถคัดกรอง ค้นพบเด็กที่มีปัญหา ทำให้สามารถช่วยเหลือแก้ไขได้อย่างทันเวลา ป้องกันการเกิดปัญหาระยะยาวในเด็ก จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ตัวแทนครู และผู้ดูแลเด็กในโรงเรียนเขตเทศบาล จำนวน ๘ แห่งๆละ ๒ คน และเขตรับผิดชอบในพืนที่การศึกษา๒ จำนวน ๑๗ แห่งๆละ ๒ คน เจ้าหน้าที่เขตการศึกษา ๒ จำนวน ๒ คน รวม ๕๕ คน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๑๕,๕๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารกลางวัน ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าที่พักวิทยากร และค่าวัสดุต่างๆที่จำเป็นในโครงการนี้
โครงการที่ ๒ โครงการพัฒนาศักยภาพครอบครัว ในการดูแลช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาเพศวิถีศึกษารอบด้าน
โครงการนี้เป็นอีกหนึ่งโครงการของกลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก เพื่อพัฒนาศักยภาพครอบครัวให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในเรื่องเพศศึกษา เพื่อให้ครอบครัวสามารถให้การดูแล ช่วยเหลือ และส่งต่อได้ถูกต้อง เพื่อป้องกันและส่งเสริมไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เพื่อให้มีทักษะการสื่อสารและช่วยเหลือเด็กวัยรุ่น จากแนวโน้มสถานการณ์ในปัจจุบันที่พบในวัยรุ่น ทั้งปัญหาสุขภาพ ยาเสพติด พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ เป็นต้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็น ครอบครัวที่มีบุตรหลานวัยรุ่นในชุมชน เขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก นำร่อง จำนวน ๕ ชุมชนๆละ ๓๐ คน ทั้งหมด ๑๕๐ คน กลุ่มเป้าหมายคือผู้ปกครองและเด็กวัยรุ่น ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๔๔,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารกลางวัน ค่าตอบแทนวิทยากร และค่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในโครงการนี้
โครงการที่ ๓ โครงการพัฒนาแกนนำวัยทีน Teen และผู้ให้ความช่วยเหลือศูนย์เพื่อนใจวัย Teen
โครงการนี้เป็นโครงการของกลุ่มงานจิตเวชโรงพยาบาลสุไหงโก-ลกจัดขึ้นเพื่อ สร้างรูปแบบบริการที่ง่ายต่อการเข้าถึงของกลุ่มเป้าหมาย เป็นศูนย์ให้คำปรึกษาเบื้องต้น หรือความต้องการช่วยเหลือที่ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อพัฒนาการจัดระบบบริการที่สอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินกลุ่มเป้าหมายให้ มีระบบการบริการที่เข้าถึงง่าย ทางโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จึงได้จัดตั้งศูนย์เพื่อนใจวัย Teen ซึ่งเป็นแนวทางและรูปแบบการจัดบริการรูปแบบหนึ่งที่เป็นจุดรับการเชื่อมต่อ ที่กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงได้ง่ายในรูปแบบต่างๆละส่งต่อระบบบริการที่ เหมาะสมแก่กลุ่มเป้าหมายต่อไป โดยมีกลุ่มเป้าหมาย เป็นกลุ่มวัยเรียน วัยรุ่น ในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษา แกนนำวัย Teen ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา๕ แห่ง คือ โรงเรียนสุไหงโก-ลก วิทยาลัยการอาชีพ เทศบาล๔ การศึกษานอกระบบ และโรงเรียนแสงธรรม แห่งละ ๑๐ คน รวมทั้งหมด ๖๐ คน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๒๐,๓๕๒ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารกลางวัน ค่าวิทยากร ค่าที่พักวิทยากร ค่าเดินทางวิทยากร ค่าวัสดุอื่นๆที่จำเป็น ในโครงการนี้
ครั้งที่   ๔/๒๕๕๙    วันที่   ๒  มีนาคม   ๒๕๕๙
โครงการที่ ๑  โครงการส่งเสริมสุขภาพแกนนำสตรีมุสลิม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
            โครงการนี้เป็นโครงการของชมรมแกนนำสตรีมุสลิม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมสุขภาพแก่แกนนำสตรีมุสลิม เพื่อให้แกนนำสตรีมีความรู้โภชนาการที่ถูกต้องและเหมาะสม  เพราะสมาชิกหลายท่านเริ่มมีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น นิยมรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำมัน กะทิ ไม่นิยมรับประทานผัก ไม่ค่อยออกกำลังกาย ประกอบกับผู้สูงอายุเริ่มมีอาการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเส้นเลือดสูง เป็นต้น ทางสมาชิกคณะกรรมการกลุ่มจึงได้พูดคุย ปรึกษาหารือ เพื่อจัดกิจกรรมขึ้นโดยสมาชิกส่วนใหญ่สนใจกิจกรรมการออกกำลังกาย และกิจกรรมด้านโภชนาการ ดังนั้นเพื่อให้สมาชิกแกนนำสตรีได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกแกนนำกลุ่มสตรีมุสลิม ๖๐ คน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ  ๒๕,๕๕๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย สำหรับค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารกลางวัน ค่าวิทยากร ค่าสาธิตอาหาร และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็นในโครงการนี้
โครงการที่  ๒       โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ช่วยเหลือ ดูแลผู้สูงอายุพึ่งพิงฯ
โครงการนี้ เป็นโครงการของทางศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงในชุมชนให้มีคุณภาพ ลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยติดเตียง ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในเรื่องการจัดการปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน จากการดำเนินงานของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒ ในรอบปีที่ผ่านมา พบว่า ในชุมชนที่รับผิดชอบ ๑๔ ชุมชน มีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน ๔๓๕ ราย สามารถควบคุมได้ ๒๗๖ ราย และเปลี่ยนเป็นผู้ป่วยติดเตียงจำนวน ๒๒ ราย ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นภาระของญาติในการดูแล เพราะฉะนั้นผู้ดูแลเหล่านี้จะต้องมีทักษะความรู้ ความสามารถในการช่วยเหลือผู้ป่วย เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ พัฒนาศักยภาพให้กับผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่อยู่ในความรับผิดชอบโดยมีทีมหมอครอบครัวระดับตำบล อำเภอ และภาคีเครือข่าย ร่วมดูแลประสานให้ความร่วมมือ ช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง โดยมีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ๖๐ คน  ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๙,๔๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารกลางวัน ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าอุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็น 
โครงการที่  ๓       โครงการคัดกรองเร็วไวห่างไกลมะเร็ง
โครงการนี้ เป็นโครงการของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒  จัดเพื่อให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก/มะเร็งเต้านม พร้อมทั้งสามารถตรวจนมด้วยตนเองได้ เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก/มะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น เพื่อลดอัตราการเกิดมะเร็งปากมดลูก/มะเร็งเต้านมในระยะรุนแรง จากสถานการณ์ปัจจุบันมะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศหญิง คือ มะเร็งปากมดลูก รองลงมาคือ มะเร็งเต้านม จากการดำเนินงานในปี ๒๕๕๘ พบว่ามีสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐-๖๐ ปี ในเขตรับผิดชอบ ๑๔ ชุมชน จำนวน ๑,๗๕๙ คน ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจำนวน ๒๑๘ ราย ซึ่งยังไม่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ยังต้องดำเนินการค้นหาและเน้นย้ำให้ประชาชนเล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพ เพื่อลดอัตราป่วย อัตราตายจากโรคมะเร็ง และส่งต่อรักษาได้ทันท่วงที  โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี ในเขตรับผิดชอบ จำนวน ๗๐๐ ราย ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๑๘,๖๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าโมเดลเต้านม ส่วนค่าวิทยากรใช้บุคลากรของทางศูนย์แพทย์
โครงการที่  ๔       โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแม่และเด็กชุมชนกูโบร์ ปี ๒๕๕๙
โครงการนี้ เป็นโครงการของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จัดขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะของทีมงานอนามัยและเด็กระดับชุมชนและตำบล เพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก เพื่อจัดตั้งแม่ชมรมอาสาในชุมชน โดยจะนำร่องชุมชนกูโบร์เป็นชุมชนแรก การแก้ไขปัญหาดังกล่าวในสถานบริการเพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขปัญหาทั้งหมดได้ จำเป็นต้องมีการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแม่และเด็กร่วมกับชุมชน โดยมีการคืนข้อมูลให้ชุมชน การจัดเวทีประชาคมและมีการรวมตัวแกนนำในชุมชน โดยการจัดตั้งชมรมแม่อาสา และให้ความรู้แก่แม่อาสาและอสม.ให้สามารถช่วยเหลือดูแลสมาชิกในชุมชนได้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายดังนี้
๑.      อสม.และแม่อาสาชุมชนกูโบร์ จำนวน ๑๕ ราย
๒.      หญิงตั้งครรภ์ชุมชนกูโบร์ จำนวน ๒๓ ราย
๓.      หญิงวัยเจริญพันธุ์ชุมชนกูโบร์ จำนวน ๑๙๒ ราย
๔.      หญิงหลังคลอดกูโบร์ จำนวน ๒๓ ราย
๕.      เด็กแรกเกิด – ๗๒ เดือน ชุมชนกูโบร์ จำนวน ๑๔๓ ราย
ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ทั้งหมดจำนวน ๖,๐๗๕ บาทซึ่งมีการแบ่งกิจกรรมเป็น๓ กิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมที่ ๑ จัดตั้งชมรมแม่อาสาในชุมชนเพื่อเป็นแกนนำในการดูแลแม่และเด็กในชุมชน ใช้งบประมาณ ๒,๒๒๕ บาท  เป็นค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าวิทยากรและค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม
กิจกรรมที่ ๒ รณรงค์ค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ เพื่อค้นหาหญิงตั้งครรภ์ให้มาฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ ค้นหาหญิงตั้งครรภ์อายุต่ำกว่า ๒๐ ปี และติดตามเยี่ยมมารดาหลังคลอด  กิจกรรมนี้ไม่ใช้งบประมาณ
กิจกรรมที่ ๓ สร้างเสริมสุขภาพเด็กอายุ ๐-๕ ปี ให้มีสุขภาพดี ใช้งบประมาณ ๓,๘๕๐ บาท เป็นค่าใช้จ่ายค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าวิทยากร ค่าสาธิตอาหาร และค่าวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
โครงการที่  ๕       โครงการคัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน
โครงการนี้ เป็นโครงการของทางศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จากการคัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ของศูนย์แพทย์ใก้ลใจ ๒ ปี ๒๕๕๙ โดยมีกลุ่มเป้าหมายประชาชนอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป จำนวน ๒,๙๙๒ ราย ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ๒,๓๔๘ ราย พบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง ๘๓๗ ราย กลุ่มสงสัยรายใหม่ ๑๒๑ ราย  ได้ รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ๕๐ ราย คัดกรองโรคเบาหวาน ๑,๔๖๗ ราย พบกลุ่มเสี่ยง ๓๐๔ ราย ดังนั้นทางศูนย์แพทย์ใก้ลใจ ๒ แกนนำในชุมชนเขตรับผิดชอบมีมติร่วมกันในการดำเนินการคัดกรองและปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพในชุมชน โดยมุ่งเน้นให้ประชาชน อสม. แกนนำและภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง รวมถึงมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่องเพื่อลดกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยรายใหม่ ของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมาดำเนินกิจกรรมร่วมกันและสามารถขยายเป็นชุมชนต้น แบบต่อไป ดังนั้นทางศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒ จึงได้จัดโครงการนี้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายชุมชนละ ๑๐ ราย ทั้งหมด ๑๔ ชุมชน รวมเป็น ๑๔๐ ราย  ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๑๖,๓๒๐ บาท โดยแบ่งกิจกรรมออกเป็น ๓ กิจกรรม ดังนี้
๑.      คัดกรองความดันโลหิตสูง/โรคเบาหวานร่วมกับชุมชน ใช้งบประมาณ ๕๐๐ บาท เป็นค่าไวนิล
๒.      กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและติดตามผล ใช้งบประมาณ ๑๑,๒๕๐ บาท เป็นค่าใช้จ่ายอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และ ติดตามผลการปรับเปลี่ยน ๓ ครั้ง
๓.      สรุปผลการดำเนินงานและมอบเกียรติบัตร ใช้งบประมาณ ๘๒๐ บาท เป็นค่าวัสดุอุปกรณ์
โครงการที่  ๖       โครงการดูแลสุขภาพปากและฟันของผู้สูงอายุในชุมชน
โครงการนี้ เป็นโครงการของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จัดขึ้นมาเพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพปากและฟันได้รับการตรวจรักษาทางทันตกรรม ให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้และสามารถดูแลสุขภาพปากและฟันได้อย่างถูกต้อง เพราะช่องปากเป็นด่านแรกของระบบทางเดินอาหารของร่างกาย หน้าที่สำคัญ คือ การเคี้ยว กัด และกลืนอาหารส่งต่อภาวะโภชนาการการรวมถึงการได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย จากการสำรวจสภาวะทันตกรรมสุขภาพในชุมชนพบว่า ปัญหาหลักของผู้สูงอายุได้แก่การสูญเสียฟันจนไม่สามารถเคี้ยวอาหาร ส่วนผู้สูงอายุที่มีฟันมากกว่าครึ่งพบว่ามีปัญหาฟันผุและโรคปริทันต์ที่ยังไม่ได้รับการรักษา ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ร้อยละ ๘๐ ไม่เคยพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน เนื่องด้วยวัยที่สูงอายุและปัญหาด้านสุขภาพทำให้ไม่สามารถเข้าถึงบริการทันตกรรมได้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สูงอายุที่ทีปัญหาสุขภาพปากและฟัน จำนวน ๑๔๐ ราย จากชุมชนเขตรับผิดชอบ ๑๔ ชุมชน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๔,๖๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าวิทยากร ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์
โครงการที่  ๗       โครงการ สร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาและส่งเสริม สุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในคลินิก
โครงการนี้ เป็นโครงการของทางศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จากการดำเนินงานในคลินิกโรคเรื้อรังของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒ ใน ๒ ปีย้อนหลัง พบว่ามีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี ๒๕๕๗ มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่รับการรักษาในคลินิก ๔๑๓ ราย โรคเบาหวาน ๑๔๕ ราย ปี ๒๕๕๘ มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ๔๗๙ ราย โรคเบาหวาน ๑๗๘ ราย   ดังนั้นทางศูนย์แพทย์ฯเห็นถึงความสำคัญในการสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเอง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตสูงและระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติและลดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในคลีนีก ปี ๒๕๕๙ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๖,๕๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าน้ำดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิกศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒ และค่าวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ
โครงการที่  ๘       โครงการกายภาพบำบัดพบประชาชน เพื่อให้ความรู้และทักษะการดูแลสุขภาพตนเอง แก่ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
โครงการนี้ เป็นโครงการของทางกลุ่มงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จัดทำขึ้นเพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก มีความรู้และทักษะการดูแลสุขภาพตนเอง เพื่อให้บริการทางกายภาพบำบัดแก่ประชาชน กายภาพบำบัดมีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพชุมชน ทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันการรักษาโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อสุขภาวะของประชาชน ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่สามารถให้บริการกายภาพบำบัดได้อย่างทั่วถึง เนื่องจากบุคลากรที่มีจำกัด การให้ความรู้และทักษะเรื่องการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องทางกายภาพบำบัด จะทำให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวให้มีสุขภาพดี เป็นการลดภาระของสังคมด้านการรักษาพยาบาล ทางงานกายภาพบำบัดได้ตระหนักถึงความสำคัญในการขยายขอบข่ายงานและความรู้ทางกายภาพบำบัดให้ครอบคลุมถึงระดับชุมชน โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นประชาชนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จำนวน ๑๐๐ คน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๑๔,๒๗๖ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าวิทยากร ค่าวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นในโครงการ
โครงการที่  ๙       โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.และผู้นำชุมชนในการเป็นแกนนำการออกกำลังกายของผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
โครงการนี้ เป็นอีกหนึ่งโครงการของกลุ่มงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก อาสาสมัครสาธารณสุข หรือ อสม.ถือได้ว่าเป็นบุคลากรด้านสาธารณสุขที่มีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชน ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน โดย อสม.จะได้รับความรู้ผ่านกระบวนการอบรมให้ความรู้จากบุคลากรทางสาธารณสุข การพัฒนาสุขภาพต้องพัฒนาไปพร้อมๆกับพัฒนาด้านอื่นๆด้วย ดังนั้น อสม.จึงต้องเพิ่มบทบาท ความรับผิดชอบ และพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถให้มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่กำลังจะเข้าสู่ระยะที่เรียกว่า ภาวะประชากรผู้สูงอายุ อสม.จึงควรจะต้องมีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุในเบื้องต้น โดยมีกลุ่มเป้าหมาย อสม.และผู้นำชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จำนวน ๑๐๐ คน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๑๕,๖๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารกลางวัน ค่าวิทยากร และค่าวัสดุต่างๆ
โครงการที่  ๑๐    โครงการอบรมเข้าค่ายเยาวชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและห่างไกลยาเสพติดและอบายมุข
โครงการนี้ เป็นโครงการของทางชุมชนเจริญสุข จัดขึ้นมาเพื่อให้เยาวชนได้รับรู้ถึงโทษ และพิษภัยของสารเสพติด ให้เยาวชนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ลดปัญหา สังคม ครอบครัว ไม่มั่วสุมกับยาเสพติด ปัจจุบันปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาทางสังคม ซึ่งนับวันมีแต่จะเพิ่มขึ้น เป็นปัญหาระดับชาติ ถึงแม้จะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบป้องกันและปราบปรามก็ตาม ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ให้หมดสิ้น ดังนั้นทางชุมชนเจริญสุขได้เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ จัดกิจกรรมอบรมเยาวชนในช่วงปิดเทอม เพื่อลดการไปมั่วสุมกับสารเสพติดและสิ่งอบายมุข ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสร้างโอกาสให้เยาวชนได้ทำความดีเพื่อสังคมและส่วนรวม มีการจัดกิจกรรม ๒ วัน ๑ คืน โดยเชิญทีมวิทยากรจากญาลานันบารู เป็นวิทยากรมาบรรยายเกี่ยวกับพิษภัยของสารเสพติดต่างๆ เป้าหมายเป็นเยาวชนในชุมชนอายุ ๑๐ -๑๕ ปี จำนวน  ๕๖ คน  ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๓๑,๘๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารกลางวัน ค่าวิทยากร ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ และค่าวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
โครงการที่  ๑๑    โครงการรักและห่วงใยใส่ใจผู้สูงอายุ สุขภาพดีมีความสุข ชุมชนไม่ทอดทิ้งกัน ปี ๒๕๕๙
โครงการ นี้ เป็นโครงการของชมรม อสม.เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ซึ่งจัดมาทุกปี ปีนี้เป็นปีที่ ๖ ซึ่งทำมาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพของ ตนเอง และบริโภคอาหารอย่างถูกหลัก ให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี แข็งแรง ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่เป็นอยู่ ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จากการดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในปีที่ผ่านมา ก็ได้รับการตอบรับจากชุมชนต่างๆที่เข้าร่วมกิจกรรม ผู้สูงอายุพึงพอใจและมีความสุข รู้สึกตนเองมีคุณค่าไม่เป็นภาระต่อสังคม ในปีนี้ชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมมี ๑๕ ชุมชน โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สูงอายุ จำนวน ๗๒๑ คน จาก ๑๕ ชุมชน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ๑๔๗,๙๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าอาหารว่าง ค่าอาหารกลางวัน ค่าอุปกรณ์สาธิตการออกกำลังกาย และค่าเอกสารต่างๆ
ครั้งที่   ๕/๒๕๕๙    วันที่   ๘  เมษายน   ๒๕๕๙
โครงการที่ ๑  โครงการอบรมการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
            โครงการ นี้เป็นโครงการของชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จัดโครงการนี้เพื่อสนับสนุนให้สมาชิกและผู้สนใจสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้ เพื่อระดมความคิดในการเลือกอาหารที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพเผย แพร่แก่ผู้สนใจนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ส่งเสริมให้ดื่มน้ำสมุนไพรบำบัดโรคและป้องกันโรคเรื้อรัง รู้จักเลือกการออกกำลังกายในร่มที่ถูกวิธีและเหมาะกับตนเองได้ ทางชมรมได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพด้วยตนเองของสมาชิกและผู้ สนใจจึงได้จัดโครงการนี้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกชมรมและผู้สนใจ จำนวน ๕๐ คน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ๑๐,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าวิทยากร ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารกลางวัน ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำน้ำสมุนไพร และค่าวัสดุต่างๆที่จำเป็นในโครงการนี้
โครงการที่  ๒       โครงการรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
โครงการนี้ เป็นโครงการของทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง ๕ ศูนย์ ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ร่วมมือกันจัดโครงการเพื่อพัฒนาศูนย์เด็กเล็กให้ปลอดภัยจากโรคติดต่อ ศูนย์เด็กเล็กเป็นสถานที่ๆมีเด็ก อายุต่ำกว่า ๕ ปี มาอยู่รวมกัน ซึ่งเด็กกลุ่มนี้จะขาดในเรื่องการปฏิบัติตนในการดูแลตนเอง ไม่มีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อ ดังนั้นในส่วนครูผู้ดูแล แม่ครัว ผู้ปกครอง ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ ที่ผ่านมาเคยมีการระบาดโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็ก เช่น โรคตาแดง โรคมือเท้าปาก โรคหวัด โรคหัด โรคอีสุกอีใส เป็นต้น ซึ่งโรคดังกล่าวสามารถป้องกันได้ ซึ่งถ้ามีการระบาดของโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็กก็จะมีผลเสียต่อนักเรียนโดยตรง ผู้ปกครองก็ต้องขาดงานมาดูแลลูกหลาน ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีแผนและกิจกรรมในการเฝ้าระวังโรคติดต่อ เพื่อช่วยป้องกันและลดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อที่อาจจะเกิดขึ้นได้  โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ปกครองและเด็กนักเรียนในศูนย์ทั้ง ๕ ศูนย์ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ เป็นเงินทั้งหมด ๗๙,๑๙๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าวิทยากร ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ค่าสื่อนิทานป้องกันโรค และค่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในโครงการนี้
โครงการที่  ๓       โครงการส่งเสริมพัฒนาการและเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน ๕ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ปี ๒๕๕๙
โครงการนี้ เป็นอีกหนึ่งโครงการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง ๕ ศูนย์ จัดขึ้นเพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจและจัดอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการแก่เด็ก เพื่อให้เด็กได้รับประทานอาหารครบทุกหมู่ ให้เด็กได้รับการส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการให้สมวัย และเพื่อให้เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าและมีภาวะทุพโภชนาการได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง จากการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและพัฒนาการทุก ๓ เดือน ในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน ในศูนย์เด็กเล็ก ทั้ง ๕ ศูนย์ พบว่ามีเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการ ผอม อ้วน เตี้ย รวม ๑๗๔ คน เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า ๓ คน ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข และเฝ้าระวังติดตามอย่างต่อเนื่องและต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองจึงจะสำเร็จ หากถ้าครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองละเลยไม่ได้หาทางแก้ไข จะกลายเป็นปัญหาระยะยาวต่อไป จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นมา โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ปกครองเด็กทั้งหมดของแต่ละศูนย์ทั้ง ๕ ศูนย์ และเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการของแต่ละศูนย์ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯจำนวน ๙๕,๓๒๕ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าวิทยากร ค่าจัดบอร์ดนิทรรศการ ค่าอุปกรณ์ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น
โครงการที่  ๔       โครงการรณรงค์กวาดล้างไข้เลือดออก เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ปี ๒๕๕๙
โครงการนี้ เป็นโครงการของชมรม อสม.เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ร่วมกับคปสอ.เมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาสมีอัตราผู้ป่วยไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น อำเภอสุไหงโก-ลก มีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นกว่าปีที่แล้ว พบผู้ป่วย ๕๖ ราย เขตปาเสมัส ๑๒ ราย มูโน๊ะ ๕ ราย ปูโยะ ๔ ราย ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จำนวน ๓๕ ราย และพบมากที่สุด บริเวณ ถ.ประชาวิวัฒน์ ซ.๒๑  มีจำนวน ๑๒ ราย  ดังนั้น ทางชมรม อสม.เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ได้จัดโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก สร้างจิตสำนึกให้คนในชุมชนมีส่วนร่วม และรักษาความสะอาดภายในชุมชนเพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลาย โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงานทั้ง ๒๘ ชุมชนในเขตเทศบาล ย่านการค้า โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ วัด มัสยิด ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๘๐,๗๕๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าทรายอะเบทกำจัดลูกน้ำยุงลาย ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ และค่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในโครงการ
โครงการที่  ๕       โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค ชมรม อสม.เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ปี ๒๕๕๙
โครงการนี้ เป็นอีกหนึ่งโครงการของชมรม อสม.เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ อสม.ได้รับการตรวจสุขภาพตนเอง เพื่อให้ อสม.มีความรู้ ความเข้าใจ อย่างถูกต้อง อสม.มีความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวชุมชน เป็นต้นแบบของการดูแลสุขภาพตนเองโดยภาคประชาชน ขยายเครือข่ายการดูแลสุขภาพภาคประชาชนระดับตำบลให้มีความเข้มแข็ง ดังนั้นกิจกรรมที่ส่งเสริมสนับสนุนให้    อสม.ได้รับความรู้ ทักษะในด้านงานเสริมสร้างสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสุขภาพรวมไปถึงการได้มีโอกาส ตรวจสุขภาพ ตรวจสมรรถภาพร่างกายตนเอง ได้ทราบถึงผลการตรวจร่างกาย เบื้องต้น การให้สุขศึกษาจากเจ้าหน้าที่ อย่างถูกต้อง ตลอดจนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ในการดำเนินงานด้านสุขภาพภาคประชาชน กิจกรรมเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญที่ทำให้ อสม.และทีมงานสุขภาพภาคประชาชนเกิดความเข้มแข็ง ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานด้านส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชนให้ดียิ่งขึ้น ประชาชนได้รับความรู้คำแนะนำที่ถูกต้อง เป็นปัจจุบันได้รับรู้ข่าวสารด้านสุขภาพสามารถนำความรู้ที่ได้ไปแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวชุมชนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เกิดเครือข่ายการดูแลสุขภาพภาคประชาชนที่เข้มแข็งต่อไป โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็น อสม.ในเขตเทศบาลเมือง
สุไหงโก-ลก   จำนวน  ๑๙๕ คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน ๒๐ คน  ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๕๖,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าสนับสนุนกิจกรรมเดินรณรงค์  ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น
โครงการที่  ๖       โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
โครงการนี้ เป็นโครงการของทางกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จัดขึ้นเพื่อให้บริการการทำสุหนัตในกลุ่มเด็กและเยาวชนมุสลิมในพื้นที่ ช่วยป้องกันและลดปัญหาการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคซิฟิลิส โรคมะเร็ง โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ได้ประสานทีมงานจากสมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุขภาคใต้ ซึ่งมีบุคลากรที่ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่มีความรู้ ทักษะด้านการขลิบหนังหุ้มปลายแบบปราศจากการติดเชื้อ รวมทั้งความรู้ด้านศานาและแนวปฏิบัติทางศาสนาที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาพยาบาล แบบบูรณาการ ทั้งนี้เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลังการทำสุหนัต โดยมีกลุ่มเป้าหมาย เด็กอายุ ๗-๑๕ ปี ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จำนวน ๑๐๐ คน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๑๒๕,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารกลางวัน ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น
โครงการที่  ๗       โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยกีฬาฟุตบอล  ประจำปี ๒๕๕๙
โครงการนี้ เป็นโครงการของคณะกรรมการสภาสันติสุข เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก เพื่อต้องการสร้างจิตสำนึกให้เยาวชน กศน.ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รู้จักใช้ชีวิตให้เกิดประโยชน์ในด้านจิตใจและร่างกาย โดยใช้กีฬาฟุตบอลเป็นทางชี้นำ และส่งเสริมให้เยาวชน กศน.รู้จักการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เป็นการส่งเสริมสุขภาพ ตลอดจนป้องกันโรคภัยต่างๆและห่างไกลยาเสพติด  เพื่อให้เยาวชนที่สนใจเล่นฟุตบอลเรียนรู้วิธีการออกกำลังกายด้วยกีฬาฟุตบอลอย่างถูกวิธี มีกลุ่มเป้าหมายเป็น เยาวชนกศน.จำนวน ๖๐ คน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๑๓๙,๐๖๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับจัดซื้ออุปกรณ์กีฬาฟุตบอล จำนวน 12 รายการ  ค่าตอบแทนวิทยากร  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นต้น ดำเนินการอบรมและฝึกทักษะฟุตบอล รวม ๑๐ วัน ใช้สถานที่สนามกีฬาสันติภาพ
การประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๙ เมื่อ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙
โครงการที่ ๑ โครงการอบรมการป้องกัน ฟื้นฟูภาวะเสี่ยงจากโรคหลอดเลือดสมองด้วยวิถีแพทย์แผนไทย
โครงการนี้เป็นโครงการของทางชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ได้จัดขึ้นเพื่อให้ผู้สูงอายุ มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันฟื้นฟูดูแลตนเองจาดโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อลดภาวะเสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาต จากโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ และให้ผู้สูงอายุปรับใช้วิถีแพทย์แผนไทย มาใช้ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง จากการตรวจคัดกรองและประเมินสภาวะสุขภาพของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุในปี ๒๕๕๘ พบว่า สมาชิกป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ ฯลฯ จากการสอบถามสมาชิกชมรมยังขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับโรค หลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง การให้คำแนะนำเพื่อป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรคตั้งแต่ระยะต้น ให้การดูแลรักษาที่เหมาะสมและการให้คำแนะนำการดูแลตนเองหลังการรักษา อาจช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดี จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจรักษาสุขภาพอย่างต่อเนื่อง โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังและสมาชิกทั่วไป จำนวน ๑๐๐ คน ซึ่งมีกิจกรรมคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น บรรยายให้ความรู้โดยแพทย์จากโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก และฝึกปฏิบัติดูแลสุขภาพด้วยวิถีแพทย์แผนไทย ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯจำนวน ๑๒,๔๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าอาหารกลางวัน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม และค่าวิทยากร
โครงการที่ ๒ โครงการ “ครัวเรือน ลดเค็ม ต้นแบบ ”
โครงการนี้เป็นโครงการของกลุ่มงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ซึ่งโครงการนี้ได้นำร่องที่ชุมชนศรีอามานเมื่อปีที่แล้ว และในปีนี้จะจัดที่ชุมชนโปฮงยามู เพื่อให้ประชาชนกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ความเข้าใจในการบริโภคอาหารรสเค็มที่มีเกลือ(โซเดียม)ที่เหมาะสม ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพตนเองจากการบริโภคอาหาร ที่ไม่เหมาะสม เพื่อให้มีครัวเรือนลดค็มต้นแบบ จากการสำรวจชุมชนโปฮงยามู มีประชากรทั้งหมด ๒๒๔ คน โดยสำรวจคัดกรองและรวบรวมข้อมูลกลุ่มเป้าหมายในชุมชนจำนวน ๒๑๖ คน พบว่าประชาชนที่ไม่มีภาวะป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ๔๒ คน กลุ่มเสี่ยง ๘๐ คน สงสัยรายใหม่ ๑๖ คน และกลุ่มป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ๗๘ คน จากการศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาโรคความดันโลหิตสูงของประชาชนในชุมชน โปฮงยามูมีการรับประทานอาหารรสเค็มซึ่งเป็นสาตุสำคัญของการเกิดโรคจึงได้จัด โครงการนี้ขึ้นมาโดยหวังว่าจะเป็นแนวทางหนึ่งในการช่วยลดพฤติกรรมการบริโภค อาหารที่มีรสเค็มและเกลือโซเดียมสูง โดยแบ่งออกเป็น ๒ กิจกรรม กิจกรรมที่ ๑ มีการอบรมให้ความรู้ ลดเค็ม ลดเสี่ยง กิจกรรมที่ ๒ ประกวดเมนูอาหารลดเค็ม โดยมีกลุ่มเป้าหมายประชาชนกลุ่มป่วยและกลุ่มโรคความดันโลหิตสูง ๕๐ คน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๒๓,๕๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าวัสดุสาธิตอาหาร ค่าวิทยากร ค่าอาหารกลางวัน และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็นในโครงการ

โครงการ ที่ ๓ โครงการต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ “เพื่อนสะกิดเพื่อนป้องโรคอ้วน” ในโรงเรียนประถมศึกษาเทศบาล ๑-๔ อ.สุไหงโก-ลก
โครงการนี้เป็นโครงการของกลุ่มงานสุขศึกษา โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จัดขึ้นเพื่อให้เด็กนักเรียนมีการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง และเหมาะสมตามหลักโภชนาการ มีความรู้เกี่ยวกับสาเหตุภาวะเสี่ยงอ้วน และโรคแทรกซ้อนจากภาวะอ้วน ให้นักเรียนมีความเคลื่อนไหวและออกกำลังกายสม่ำเสมอ ๓๐ นาที ๓ วัน/สัปดาห์ แนวโน้มเด็กไทยมีปัญหาสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะสุขภาพด้านโภชนาการ เนื่องจากการกินอาหารที่ไม่ถูกต้อง ทั้งปริมาณและสัดส่วน ได้แก่ ข้าว แป้ง น้ำตาล ซึ่งเป็นอาหารจำพวกหมู่คาร์โบไฮเดรต และไขมันสูง ผัก ผลไม้น้อยและกิจกรรมในการเคลื่อนไหว และออกแรงน้อยในแต่ละวัน รวมทั้งค่านิยมการกินอาหารแบบตะวันตก คือ อาหารจานเดียว (Fast Food) รวมถึงน้ำอัดลม และขนมกรุบกรอบ ทั้งหลายซึ่งยังเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของเด็กไทย มีกลุ่มเป้าหมายเป็น เด็กนักเรียนประถมศึกษาชั้น ป.๕ ,ป.๖ ในโรงเรียนเทศบาล ๑- ๔ ที่มีภาวะโภชนาการเกินมาตรฐาน เสี่ยงอ้วน และ อ้วน จำนวน ๘๐ คน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๑๑,๓๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารกลางวัน ค่าวิทยากร และค่าวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็น

โครงการที่ ๔ โครงการคัดกรองและส่งเสริมสุขภาพชาวชุมชนบาโงเปาะเล็ง
โครงการนี้เป็นโครงการของชุมชนบาโงเปาะเล็ง จากการที่ ประธาน อสม. และคณะกรรมการชุมชนของบาโงเปาะเล็ง ได้ไปร่วมสังเกต การคัดกรองโรคเรื้อรังของหลายชุมชน จึงเกิดแนวคิดเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มวัยทำงาน อายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง เช่น ความดัน เบาหวาน รวมถึงการดูแลกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ให้ได้รับการดูแลสุขภาพที่บ้าน โดยมี อสม.เป็นผู้จัดกิจกรรม มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นพี่เลี้ยง ทางชุมชนเห็นว่าโครงการดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อชาวชุมชน เป็นการเฝ้าระวังโรคเรื้อรัง ให้เกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเอง รู้จักเลือกรับประทานอาหาร ลดภาวะเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังในระยะยาวจึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นมา ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายเป็น กลุ่มอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป จำนวน ๕๐ คน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๑๘,๔๕๐ บาท

โครงการที่ ๕ โครงการกีฬาต้านยาเสพติด ประจำปี ๒๕๕๙ ชุมชนบาโงเปาะเล็ง และชุมชนกือดาบารู
โครงการนี้เป็นโครงการของคณะกรรมการชุมชนทั้ง ๒ ชุมชน คือ ชุมชนกือดาบารูและชุมชนบาโงเปาะเล็ง เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการออกกำลังกาย เห็นได้จากการที่มีสถานที่ออกกำลังกายหลากหลายประเภท กระจายอยู่หลายแห่งในเขตเทศบาล ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ใจกลางเมือง แต่มีประชาชน เยาวชน ซึ่งอาศัยอยู่รอบนอกอยู่ห่างจากสถานที่ออกกำลังกายที่เทศบาลจัดให้ และหลายชุมชนมีพื้นที่ออกกำลังกายแต่ยังขาดอุปกรณ์กีฬาในการออกกำลังกาย คณะกรรมการทั้ง ๒ ชุมชนได้มีความเห็นตรงกันที่จะร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนให้เยาวชนและประชาชน ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ให้ประชาชนและเยาวชนมีสุขภาพดี จิตแจ่มใส ได้รวมกลุ่มออกกำลังกายตามที่ตนถนัด โดยสามารถออกกำลังกายได้ในชุมชนหรือพื้นที่ใกล้เคียง โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นประชาชนและเยาวชนในชุมชน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวนทั้งสิ้น ๔๑,๓๘๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์ต่างๆ

โครงการที่ ๖ โครงการคัดกรองและส่งเสริมสุขภาพชาวชุมชน ประจำปี ๒๕๕๙ (ต่อยอด)
โครงการนี้เป็นโครงการต่อยอดของชุมชนโปฮงยามู ร่วมกับชมรม อสม.เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก เพื่อคัดกรองและเฝ้าระวังโรคเรื้อรังให้ชาวชุมชนส่งเสริมให้ชาวชุมชนได้รับ ความรู้ในการดูแลสุขภาพและ
ป้องกันโรคเรื้อรัง สนับสนุนให้ชาวชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้มีการดูแลและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่เป็นอยู่ เพื่อให้ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่ติดบ้าน ติดเตียง ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ได้รับการดูแลที่บ้านอย่างต่อเนื่อง โดย อสม.และเจ้าหน้าที่ ในส่วนชุมชนโปฮงยามู ได้เปิดโครงการนี้เป็นปีแรกและขอดำเนินการใน ๖ เดือนแรก ซึ่งได้รับการตอบรับจากชุมชนเป็นอย่างดี และยังมีประชาชนที่ยังไม่ได้คัดกรอง และยังต้องเฝ้าระวังโรคเรื้อรัง รวมถึงเสริมกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต ส่งเสริมการออกกำลังกาย เป็นต้น ดังนั้นเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง ทางชุมชนโปฮงยามูจึงได้เสนอโครงการนี้ขึ้นมา โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็น ชาวชุมชนที่มีอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป จำนวน ๔๕ คน และผู้ป่วยโรคเรื้อรังติดบ้าน ติดเตียง ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน ฯจำนวน ๑๒,๙๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าวิทยากร และค่าวัสดุที่เกี่ยวข้อง

                                 รายชื่อคณะกรรมการบริหารกองทุน และคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ
๑.คณะอนุกรรมการฝ่ายจัดทำแผนฯ ประกอบด้วย
๑.๑ นายสมพร ติ้นหนู รองปลัดเทศบาล ประธานอนุกรรมการ
๑.๒ นายบำรุง หนูอินทร์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ อนุกรรมการ
๑.๓ นางอุทิศ ศรนารา หัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชน อนุกรรมการ
๑.๔ นายวัชริศ เจ๊ะเล๊าะ ประธานชมรมอสม.เทศบาลฯ อนุกรรมการ
๑.๕ นางยามิงละห์ มะ ประธานอสม.อ.สุไหงโก-ลก อนุกรรมการ
๑.๖ นายกามารอเด็ง มามะ ผู้แทนชุมชน อนุกรรมการ
๑.๗ นางอุไรรัตน์ เอี่ยมสุวรรณมณี ผู้แทนชุมชน อนุกรรมการ
๑.๘ นางนอร์ไอนี มะรอนิง ผู้แทนชุมชน อนุกรรมการ
๑.๙ นายถาวร ชุ่มมงคล ผู้แทนชุมชน อนุกรรมการ
๑.๑๐ นางจารินี เหาะสัน ผู้แทนชุมชน อนุกรรมการ
๑.๑๑ นายอัครวิทย์ ขานโบ ผอ.กองสาธารณสุขฯ อนุกรรมการและเลขานุการ
๑.๑๒ นายนาสรูดิน สือแม หัวหน้าฝ่ายบริการฯ อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขาฯ
๑.๑๓นางตันจุรีย์ ไชยลาภ พยาบาลวิชาชีพ ๗ วช. อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขาฯ
มีหน้าที่รับผิดชอบ พิจารณา กลั่นกรอง รวบรวม แผนงาน โครงการ กิจกรรม ด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและฟื้นฟูสุขภาพ ซึ่งมาจากภาคประชาชน หน่วยงานราชการและชมรมต่างๆ ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก มีการใช้จ่ายเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลและประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด ตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนฯ และนำเสนอแผนการใช้จ่ายเงินต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฯเพื่อให้ความเห็นชอบ ก่อนนำไปสู่การปฏิบัติ
๒.คณะอนุกรรมการฝ่ายเลขาและธุรการ ประกอบด้วย
๒.๑ นายอัครวิทย์ ขานโบ ผอ.กองสาธารณสุขฯ ประธานอนุกรรมการ
๒.๒นายนาสรูดิน สือแม หัวหน้าฝ่ายบริการฯ อนุกรรมการ
๒.๓นางตันจุรีย์ ไชยลาภ พยาบาลวิชาชีพ ๗ วช. อนุกรรมการและเลขานุการ
มีหน้าที่รับผิดชอบ ด้านงานธุรการของกองทุนฯ จัดเตรียม จัดทำเอกสารและบันทึกเกี่ยวกับการประชุมของคณะกรรมการ เก็บรักษาเอกสาร หลักฐานต่างๆของกองทุน รับและกลั่นกรองโครงการต่างๆ
ของหน่วยงาน ภาคประชาชน ก่อนนำเสนอคณะกรรมการพิจารณา งานอื่นๆที่ไม่มีผู้รับผิดชอบโดยเฉพาะและ งานอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
๓.คณะอนุกรรมการฝ่ายการเงินและบัญชี ประกอบด้วย
๓.๑ นางจินดา อินทร์สุวรรณ ผอ.กองคลัง ประธานอนุกรรมการ
๓.๒ นางจุรี จันติ หัวหน้าฝ่ายบริหารการเงิน อนุกรรมการ
๓.๓ นางสาวไพริน กล่อมเกลี้ยง  นักวิชาการการเงินฯ อนุกรรมการและเลขานุการ
มีหน้าที่รับผิดชอบ ควบคุมดูแลการรับ จ่ายเงินของกองทุนฯ การจัดทำบัญชีโดยถือปฏิบัติตามรูปแบบบัญชีของเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกโดยอนุโลม จัดทำงบดุล ตามแบบที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด และงานอื่นๆตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
๔.คณะกรรมการด้านการติดตามประเมินผลประกอบด้วย
๔.๑ นายอภิเชษฐ เจ๊ะอูมา รองนายกเทศมนตรี ฯ ประธานอนุกรรมการ
๔.๒ นางจารินี เหาะสัน ผู้แทนชุมชน อนุกรรมการ
๔.๓ นางสาวสมจิตร การเกษม ผู้แทนชุมชนสันติสุข อนุกรรมการ
๔.๔ นายอิสมาแอ ยูโซ๊ะ ผู้แทนชุมชนประปา อนุกรรมการ
๔.๕ นายศรัณย์ สุขเกษม รองปลัดเทศบาล อนุกรรมการและเลขานุการ
มีหน้าที่รับผิดชอบ ด้านการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณของกองทุนฯและจัดทำรายงานสรุปผลการติดตาม ประเมินผล เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯเพื่อทราบ

รายชื่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
ตามคำสั่งสำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาตั้ ค ๐๑๔๑๔/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
๑. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก                 เป็น ที่ปรึกษา
๒. สาธารณสุขอำเภอสุไหงโก-ลก                    เป็น ที่ปรึกษา
๓.นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก                    เป็น ประธานกรรมการ
๔.นายกิตติ หวั่งธรรมมั่ง ผู้ทรงคุณวุฒิคนที่ ๑                เป็น รองประธานกรรมการ
๕.นางยามิงละห์ มะ ผู้ทรงคุณวุฒิคนที่ ๒                เป็น รองประธานกรรมการ
๖.นายธนภัทร์ พีรนันทสิทธิ์ สมาชิกสภาเทศบาลที่สภาเทศบาลมอบหมาย    เป็น กรรมการ
๗.นายมานะ บุญรัตน์พิสุทธิ์ สมาชิกสภาเทศบาลที่สภาเทศบาลมอบหมาย    เป็น กรรมการ
๘.หัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก            เป็น กรรมการ
๙.หัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง (ศสม.๑)                เป็น กรรมการ
๑๐.นายวัชริศ เจ๊ะเลาะ อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านประจำพื้นที่        เป็น กรรมการ
๑๑.นายกามารอเด็ง มามะ อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านประจำพื้นที่    เป็น กรรมการ
๑๒.นางเพ็ญ บุญฑริกสกุล ผู้แทนหมู่บ้านหรือชุมชน            เป็น กรรมการ
๑๓.นายสาริณี เบ็ญมุนิน ผู้แทนหมู่บ้านหรือชุมชน            เป็น กรรมการ
๑๔.นายธนัตถ์สรณ์  จันทร์วิลาส ผู้แทนหมู่บ้านหรือชุมชน            เป็น กรรมการ
๑๕.นายอดุล อูเซ็ง ผู้แทนหมู่บ้านหรือชุมชน                เป็น กรรมการ
๑๖.นายอาดือนัน สิงหะ ผู้แทนหมู่บ้านหรือชุมชน                เป็น กรรมการ
๑๗.ปลัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก                    เป็น กรรมการและเลขานุการ
๑๙.ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก    เป็น กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                                                ระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพ
                                                      เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
                                                                   พ.ศ.๒๕๕๘
                                                       ..............................................

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุง  ระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกเสียใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  เรื่อง  การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนิน งานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่  พ.ศ.  ๒๕๕๘  จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
 อาศัยอำนาจตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  เรื่อง  การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่  พ.ศ.  ๒๕๕๘  จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑  ระเบียบนี้เรียกว่า     “ระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก  พ.ศ.  ๒๕๕๘ ”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่  ๑  มกราคม ๒๕๕๘  เป็นต้นไป
ข้อ ๓  ให้ยกเลิกระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก พ.ศ.  ๒๕๕๓  ลงวันที่  ๑  เดือนมกราคม  พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
“คณะกรรมการ” หมายความว่า  คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
 “กองทุนหลักประกันสุขภาพ”   หมายความว่า   กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก  เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ  การป้องกันโรค  การฟื้นฟูสมรรถภาพ  และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิ  ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต
“สถานบริการ”  หมายความว่า  สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ  ของเอกชน  แลของสภากาชาดไทย  หน่วยบริการประกอบโรคศิลปะสาขาต่าง ๆ และสถานบริการสาธารณสุขอื่นที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดเพิ่มเติม
“หน่วยบริการ”  หมายความว่า  สถานบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ  พ.ศ.  ๒๕๔๕  ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
“สำนักงาน”  หมายความว่า   สำนักงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ที่ทำการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
ตั้งอยู่ที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม  ๑๗๐ ถนนเทศปฐม  อำเภอสุไหงโก-ลก  จังหวัดนราธิวาส
“หน่วยงานสาธารณสุข” หมายความว่า หน่วยงานที่มีภารกิจด้านการสาธารณสุขโดยตรง  แต่มิได้เป็นสถานบริการหรือหน่วยบริการ  เช่นสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ส่วนสาธารณสุข  เป็นต้น
“หน่วยงานอื่น” หมายความว่า หน่วยงานที่มิได้มีภารกิจด้านการสาธารณสุขโดยตรงแต่อาจดำเนินกิจกรรมด้านส่งเสริมสุขภาพหรือป้องกันโรคได้ในขอบเขตหนึ่งเช่น โรงเรียน  สถาบันการศึกษา วัด เป็นต้น
“กลุ่มหรือองค์กรประชาชน” หมายความว่า องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน หรือภาคเอกชน ที่มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม  ชมรม สมาคม มูลนิธิ หรือองค์กรที่เรียกชื่ออย่างอื่นตั้งแต่ ๕ คนขึ้นไป ซึ่งเป็นการรวมตัว กันดำเนินกิจกรรมโดยมีวัตถุประสงค์ไม่แสวงหาผลกำไร  ทั้งนี้จะเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้

ข้อ ๕  ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับกับการบริหารงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมือง       สุไหงโก-ลก
บรรดาระเบียบ  ข้อบังคับ  คำสั่ง  มติของคณะกรรมการ  หรือวิธีปฏิบัติอื่นใดที่ขัด  หรือแย้งกับความตามระเบียบนี้ให้ใช้ความในระเบียบนี้แทน
ข้อ ๖ ให้ประธานกรรมการรักษาการตามระเบียบนี้  และให้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือออกประกาศเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้  โดยไม่ขัด หรือแย้งกับระเบียบนี้


หมวดที่  ๑
วัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ข้อ  ๗  ให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก  โดยกองทุนหลักประกันสุขภาพมีวัตถุประสงค์ดังนี้
             (๑) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุข  ของหน่วยบริการหรือสถานบริการ  หรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่  โดยเน้นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ  การป้องกันโรค  การฟื้นฟูสมรรถภาพและการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก  เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ  กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง   และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ                
     (๒)  เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนหรือหน่วยงานอื่นในพื้นที่  ได้ดำเนินงานตามแผนงาน  หรือโครงการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ  การป้องกันโรค  ให้แก่สมาชิกหรือประชาชนในพื้นที่  และกรณีมีความจำเป็นต้องจัดซื้อวัสดุที่มีลักษณะเป็นครุภัณฑ์ให้สนับสนุนได้ในวงเงินไม่เกิน ๕,๐๐๐  บาทต่อโครงการ วัสดุครุภัณฑ์ที่หาได้ให้อยู่ในความดูแลและบำรุงรักษาของกลุ่มหรือองค์กรประชาชนหรือหน่วยงานอื่นที่ได้รับการสนับสนุน
(๓)  เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ  การป้องกันโรค  การฟื้นฟูสมรรถภาพ  และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก  ของศูนย์เด็กเล็กหรือศูนย์ที่มีชื่ออย่างอื่นที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน  หรือศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ หรือศูนย์ที่มีชื่ออย่างอื่นที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการในชุมชน  ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกำหนด  เป็นเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๕ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพในแต่ละปีงบประมาณนั้น
(๔) เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ  ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๕  ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพในแต่ละปีงบประมาณนั้น และในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อซื้อครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรงครุภัณฑ์นั้นจะต้องมีราคาไม่เกิน ๒๐,๐๐๐  บาทต่อหน่วย  โดยการจัดซื้อจัดจ้างให้ใช้ระเบียบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยอนุโลม  และครุภัณฑ์ที่จัดหาได้  ให้อยู่ในความดูแลและบำรุงรักษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ
(๕) กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่  ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น  เหมาะสม  และทันต่อสถานการณ์                          

หมวดที่ ๒
คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
ข้อ ๘ให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประกอบด้วย  
(๑)   นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก                                 เป็นประธานกรรมการ
(๒)  ผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่  จำนวน  ๒  คน                               เป็นรองประธานกรรมการ
(๓)  สมาชิกสภาเทศบาลที่สภามอบหมาย   จำนวน  ๒  คน      เป็นกรรมการ
(๔)  หัวหน้าหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่   จำนวน  ๒ คน          เป็นกรรมการ
(๕)  อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่ คัดเลือกกันเอง
จำนวน  ๒   คน                                 เป็นกรรมการ
 (๖)  ผู้แทนชุมชนที่ชุมชนคัดเลือกกันเอง จำนวนไม่เกิน  ๕  คน       เป็นกรรมการ                                               
(๗)  ผู้แทนศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน หรือศูนย์
รับเรื่องร้องเรียนอิสระในพื้นที่(ถ้ามี)หน่วยละ ๑ คน         เป็นกรรมการ
 (๘) ปลัดเทศบาลหรือเจ้าหน้าที่อื่นที่นายกเทศมนตรีมอบหมาย       เป็นกรรมการและ เลขานุการ                  
     (๙) ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม  หรือเจ้าหน้าอื่น
ที่นายกเทศมนตรีมอบหมาย                            เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ         
ให้สาธารณสุขอำเภอและผู้อำนวยการโรงพยาบาลในพื้นที่เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุน
การคัดเลือกกรรมการตาม (๕)และ(๖) ให้เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก  จัดประชุมเพื่อให้บุคคลในแต่ละกลุ่มได้คัดเลือกกันเองอย่างเปิดเผยและมีส่วนร่วมของประชาชนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่  ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกำหนด
ให้คณะกรรมการตาม (๑) และ (๓)-(๙) ประชุมคัดเลือกกรรมการตาม (๒) จำนวน ๒ คน  จากผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่  โดยให้คนหนึ่งเป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง  และอีกคนหนึ่งเป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  แจ้งรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการพร้อมบันทึกรายงานการประชุมคัดเลือก  ให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  หรือสำนักงานเขตออกคำสั่งแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการกองทุนต่อไป
ข้อ ๙  ให้กรรมการในคณะกรรมการกองทุนที่มาจากการคัดเลือก  มีวาระในตำแหน่งคราวละ ๔ ปี
 เมื่อกรรมการในวรรคหนึ่งอยู่ในตำแหน่งครบวาระ ๔ ปีแล้ว  ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการคนใหม่  ให้กรรมการที่ครบวาระนั้น  อยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่  ทั้งนี้ต้องไม่เกินหกสิบวัน
             ในกรณีที่กรรมการตามวรรคหนึ่ง  พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ  ให้มีการดำเนินการคัดเลือกกรรมการประเภทเดียวกันแทน  และให้ผู้ได้รับการคัดเลือกอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลือของ  กรรมการซึ่งตนแทน
ในกรณีที่ประธานกรรมการตามข้อ ๘  วรรคหนึ่ง (๑)ไม่มีหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้  ให้รองประธานกรรมการทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมตามลำดับ  แต่ในกรณีที่ประธานกรรมการตามข้อ ๘  วรรคหนึ่ง (๑)  พ้นจากตำแหน่ง ให้ปลัดเทศบาลที่ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลกปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานกรรมการแทน
ข้อ ๑๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระแล้ว  กรรมการที่มาจากการคัดเลือกตามข้อ        ๘ วรรคหนึ่ง (๒)(๔)(๕)(๖) และ (๗) พ้นจากตำแหน่ง  ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑ ) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ย้ายไปดำรงตำแหน่งหรือประกอบวิชาชีพหรืออาชีพในท้องถิ่นหรือพื้นที่อื่น
(๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(๕) เป็นบุคคลล้มละลาย
    ข้อ ๑๑  คณะกรรมการกองทุนมีอำนาจหน้าที่  ดังนี้
         (๑) พิจารณาอนุมัติแผนงาน  หรือโครงการ  หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
         กรณีกรรมการผู้ใดในคณะกรรมการกองทุน  เป็นผู้เสนอและดำเนินการวางแผนงานหรือโครงการ  หรือกิจกรรม  ให้กรรมการผู้นั้นมีสิทธิชี้แจงต่อที่ประชุม  แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงอนุมัติแผนงาน  หรือโครงการหรือกิจกรรมนั้น
         (๒) ออกระเบียบที่จำเป็นเพื่อประสิทธิภาพในการบริหารกองทุน  และระเบียบว่าด้วยค่าตอบแทนของคณะกรรมการกองทุนหรือคณะกรรมการหรือผู้ดำเนินงาน  ทั้งนี้ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้  และไม่เกินกว่าอัตราหรือหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
         (๓) ควบคุมและกำกับดูแลการรับเงิน  การจ่ายเงิน  การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
         (๔) กำกับดูแลให้หน่วยงาน  หรือกลุ่มหรือองค์กรผู้ที่ได้รับอนุมัติงบประมาณดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนงาน  โครงการที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติและตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
         (๕) สนับสนุนให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ในพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณะสุขทั้งที่บ้าน  ในชุมชน  หรือหน่วยบริการ  ได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
         (๖) ให้คำแนะนำในการจัดทำข้อมูลและแผนดำเนินงานที่เกี่ยวกับปัญหาสาธารณสุขของกลุ่มเป้าหมาย  หน่วยบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
            (๗) พิจารณาให้ความเห็นชอบการจัดทำสรุปผลการดำเนินงาน  รายงานการรับจ่ายและเงินคงเหลือของกองทุนหลักประกันสุขภาพ  เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้สำนักงานสาขาจังหวัดสำนักงานเขต  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน  ภายในเดือนธันวาคมของทุกปี
         (๘) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน  เพื่อดำเนินงานที่เกี่ยวข้องได้ตามความจำเป็น  และให้คณะอนุกรรรมการหรือคณะทำงานที่ได้รับแต่งตั้ง  ได้รับค่าตอบแทนการประชุมหรือค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นในการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
         ทั้งนี้  หลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดตาม  (๒) (๓) และ (๔) ให้เป็นไปตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้
         ข้อ ๑๒ ให้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกไม่น้อยกว่าปีละหกครั้ง  การประชุมต้องมีกรรมการมาประชุมไมน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนคณะกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม
         การลงมติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมมีสิทธิออกเสียงเพื่อการชี้ขาด
         คณะ กรรมการและที่ปรึกษาที่เข้าร่วมประชุมมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนหรือเบี้ย ประชุมตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
         ข้อ ๑๓ เพื่อให้การบริหารงานของกองทุน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงาน  ได้อย่างน้อย ๔ คณะคือ
         (๑) คณะอนุกรรมการด้านแผนฯ
         (๒) คณะอนุกรรมการด้านเลขานุการ
         (๓) คณะอนุกรรมการด้านการเงินและบัญชี
         (๔) คณะอนุกรรมการด้านการติดตามประเมินผล
        ให้อนุกรรมการหรือคณะทำงานมีสิทธิเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการ  และให้ได้รับค่าตอบแทนและเบี้ยประชุมตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
         ข้อ ๑๔ การยุบเลิกกองทุนหลักประกันสุขภาพของเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกให้เป็นไปตามวิธีการที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
หมวดที่ ๓
การรับเงิน การจ่ายเงิน  การเก็บรักษาเงิน  การบัญชี

ข้อ ๑๕  การรับเงิน การจ่ายเงิน  การเก็บรักษาเงิน  การบัญชี  ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด

          ประกาศ   ณ  วันที่   ๑     มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๘


                                                       
                                                                            (นางสุชาดา    พันธ์นรา)
                                                                       นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก
                                                             ประธานกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ
                                                                          เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก