วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

รายงานการประชุมกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ครั้งที่ ๘/๒๕๕๖



รายงานการประชุมกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
ครั้งที่  ๘/๒๕๕๖  วันที่  ๒๒  สิงหาคม  ๒๕๕๖
  ห้องประชุมสภาเทศบาล  ชั้น ๓

เปิดประชุมเวลา ๑๐.๐๐ น.
                เมื่อคณะกรรมการมาพร้อมกันแล้ว นางสุชาดา พันธ์นรา  ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนฯ ได้กล่าวเปิดการประชุมตามระเบียบวาระดังนี้
 
ระเบียบวาระที่ ๑ : ประธานแจ้งที่ประชุม
ด้วยเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ร่วมกับชมรมผู้สูงอายุ ได้จัดทำและส่งโครงการ  Lovelyland ตามโครงการร้อยมือ สร้างเมือง เป็นเรื่องการดูแลผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง อยู่คนเดียวในพื้นที่  เป็นโครงการที่ได้รับการคัดเลือกเข้าประกวดระดับประเทศ โดยทางช่อง ๙ อสมท. จะลงมาถ่ายทำในพื้นที่ด้วย ซึ่งโครงการนี้มีรางวัลมากพอสมควร เป็นการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับผู้สูงอายุในพื้นที่ให้ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง

ระเบียบวาระที่ ๒ : รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่  ๗/๕๖  วันที่  ๑๖ กรกฎาคม  ๒๕๕
มติที่ประชุม : รับรองรายงานประชุม

ระเบียบวาระที่ ๓ : เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

                เรื่องที่ ๑ : รายงานสถานะทางการเงินของกองทุนฯ ยอดยกมา  ๖,๑๒๗,๓๔๓.๙๗  บาท โดยมี รายรับ-รายจ่าย ดังนี้
๑. จ่ายให้กิจกรรมประเภทที่ ๑
๑.๑ โครงการมหกรรมสายใยรักแห่งครอบครัว                                    เป็นเงิน      ๕๙,๒๐๐    บาท
๒. จ่ายให้กิจกรรมประเภทที่ ๓
๒.๑ โครงการรณรงค์กวาดล้างไข้เลือดออกฯ                                          เป็นเงิน     ๑๑๘,๓๐๐   บาท
๒.๒ โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม. ดูแลผู้ป่วยจิตเวช                         เป็นเงิน        ๒๐,๐๐๐   บาท
๓. จ่ายให้กิจกรรมประเภทที่ ๓
๓.๑ โครงการรำดาบไท้เก็กเพื่อสุขภาพ                                                    เป็นเงิน       ๗๕,๐๐๐   บาท
๓.๒ โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยกีฬาบาสฯ                       เป็นเงิน       ๖๘,๓๐๐   บาท
๓.๓ โครงการบาโงปรเม็ง สุขภาพดีฯ                                                      เป็นเงิน         ๗,๘๐๐   บาท
๔. จ่ายให้กิจกรรมประเภทที่ ๔
๔.๑ ค่าเบี้ยประชุมคณะกรรมการฯ ประจำเดือนกรกฎาคมฯ              เป็นเงิน         ๗,๐๐๐    บาท
๔.๒ ค่าตอบแทนคณะกรรมการฝ่ายติดตามฯ                                          เป็นเงิน           ๗๐๐    บาท
                                                                                                รวมรายจ่าย                     เป็นเงิน     ๙๙,๕๒๐     บาท
๕. รับเงินคืน
๔.๑ จากโครงการต่างๆ                                                                                 เป็นเงิน      ๒,๐๗๘   บาท
                                                                                                รวมรายรับ                        เป็นเงิน      ๒,๐๗๘   บาท
                                                                                     คงเหลืองบประมาณกองทุน       ๕,๗๗๓,๑๒๑.๙๗   บาท
มติที่ประชุม : รับทราบ

ระเบียบวาระที่ ๔ : เรื่องเพื่อพิจารณา

เรื่องที่ ๑ : การพิจารณาโครงการที่ขอสนับสนุนงบประมาณ จากหน่วยงาน/ภาคประชาชน จำนวน ๓ โครงการ

โครงการที่ ๑ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามสุขบัญญัติแห่งชาติในสถานศึกษา  รพ.สุไหงโก-ลก
                โครงการนี้เป็นโครงการที่มีลักษณะการจัดกิจกรรมการให้ความรู้แก่นักเรียนในเรื่องการปฏิบัติตัวตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ  เพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย โดยเฉพาะเรื่องการดูแลสุขภาพฟัน เรื่องเป็นปัญหาทางสาธารณสุขและสุขภาพที่สำคัญของนักเรียนในพื้นที่  โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องสุขบัญญัติ สามารถปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ นำไปสู่การมีสุขภาพที่ดี สามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ โดยมีเป้าหมายของกิจกรรมเป็นแกนนำนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๑-๔ จำนวน ๘๐ คน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ เป็นค่าอาหาร ค่าอาหารว่าง ค่าวัสดุอุปกรณ์ และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง  เป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท ซึ่งคณะกรรมการกองทุนฯได้ให้ความเห็นว่าเป็นโครงการที่ส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพปากและฟัน  เพียงแต่ในเรื่องค่าใช้จ่ายเรื่องค่าอาหาร อาหารว่าง ให้ปรับตามอัตราที่กำหนด รวมทั้งสัดส่วนของนักเรียนให้จัดสรรตามความเหมาะสมของโรงเรียน
มติที่ประชุม : อนุมัติ  

โครงการที่ ๒        โครงการการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกเชิงรุกในชุมชนท่าชมพู่ (โซน ๑)
ด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาอย่างต่อเนื่องของทุกพื้นที่ ที่ผ่านมาแม้ทุกหน่วยงานได้พยายามใช้วิธีการควบคุมป้องกันหลายๆรูปแบบ ซึ่งจะได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง ตามสถานการณ์การระบาด ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานมีความต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ และสร้างการมีส่วนร่วมของชาวชุมชนจริงๆ ทางชุมชนท่าชมพู่ จึงได้คิดโครงการนี้ขึ้น    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ อสม.และชาวชุมชน ได้มีความรู้ ความเข้าใจ มีความตระหนัก มีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหาและควบคุมโรค เกิดการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชนอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเป็นกลุ่มชาวชุมชน ในโซน ๑ คือ เจริญเขต ซอย ๗ จำนวน ๕๕ หลังคาเรือน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ เป็นค่าอาหาร ค่าอาหารว่าง ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าตอบแทนวิทยากร และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง  เป็นเงิน ๑๐,๑๐๐ บาท ซึ่งคณะกรรมการกองทุนฯได้ให้ความเห็นว่าเป็นโครงการที่เป็นความต้องการของชุมชน ดำเนินโดยชุมชน เพียงแต่ให้เพิ่มในเรื่องการปรับปรุงสภาพแวดล้อมนอกบริเวณบ้านด้วย นอกจากทำลายแหล่งเพาะพันธ์ภายในบ้านอย่างเดียว รวมทั้งบ้านของคณะกรรมการต้องเป็นตัวอย่างให้ผู้อื่น ส่วนการดำเนินกิจกรรมให้มีการประเมินด้วย โดยอาจต้องแต่งตั้งผู้ประเมินติดตามพร้อมมีค่าตอบแทนด้วย และให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งขยายในโซนอื่นๆต่อไป
มติที่ประชุม : อนุมัติ  

 โครงการที่ ๓   โครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม ใน ๘ ชุมชน
                โครงการนี้เป็นโครงการที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้กลุ่มสตรีวัยเจริญพันธ์ในชุมชนที่สนใจในเรื่องสุขภาพของตนเอง มีโอกาส และกล้าที่จะรับการตรวจ เพราะสะดวก ลดการเสียเวลาไปรับบริการ ณ โรงพยาบาล ประกอบกับในปัจจุบันมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆมากมายที่มีส่วนต่อการเป็นโรคมะเร็ง เป็นการหาทางป้องกันและรักษาล่วงหน้า หากมีการพบโรคในระยะแรก ซึ่งมีโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้ โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้สตรีวัยเจริญพันธ์ มีความรู้ ความเข้าใจ มีความตระหนัก และสนใจรับการตรวจโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม รวมทั้งเพื่อเป็นการสร้างแกนนำสตรีวัยเจริญพันธ์สุขภาพดี มีเป้าหมายการดำเนินงานเป็นกลุ่มแม่บ้านและสตรีวัยเจริญพันธ์ ใน ๘ ชุมชน จำนวน  ๒๙๔ คน โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ เป็นค่าอาหาร ค่าอาหารว่าง ค่าตอบแทน  และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน ๔๒,๑๐๐ บาท ซึ่งคณะกรรมการกองทุนฯได้ให้ความเห็นว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์ต่อกลุ่มแม่บ้าน  ตอบวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ เพียงแต่ในรายละเอียดการดำเนินงานให้ตรวจสอบข้อมูลของผู้รับบริการด้วย เผื่ออาจซ้ำซ้อนหรือมีการตรวจแล้วในรอบปีนี้
 มติที่ประชุม : อนุมัติ 

ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องเพื่อติดตาม

เรื่องที่ ๑  : รายงานผลการดำเนินงานของอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ

๑.คณะทำงานจัดทำแผนฯ
                        : การประชุมของคณะทำงานจัดทำแผนกองทุนฯ ได้พิจารณาครบ ๓ ครั้งแล้ว โดยในปี ๒๕๕๖ มีเงินสนับสนุนจากสำนักงานหลักประกัน ๑,๖๓๖,๒๔๐ บาท เทศบาลสมทบ ๘๑๙,๒๘๐ บาท รวมเป็นเงิน ๒,๔๕๕,๕๒๐ บาท สามารถแบ่งสัดส่วนตามประเภทกิจกรรมดังนี้

ประเภทกิจกรรม
จำนวนโครงการ
งบประมาณ
คิดเป็นร้อยละ
สัดส่วนที่กำหนด
๑.การจัดบริการตามชุดสิทธิประโยชน์
๑๓
๖๑๑,๘๙๐
๒๔.๙๑
๒๕
๒.การสนับสนุนหน่วยบริการฯ
๒๐๔,๓๐๐
๘.๓๒
๒๕
๓.การสนับสนุนภาคประชาชนฯ
๒๙
๘๒๒,๐๔๘
๓๓.๔๗
๔๐
๔.การบริหารจัดการฯ
๑๗๐,๐๐๐
๖.๙๒
๑๐
รวม
๔๙
๑,๘๐๘,๒๓๘
๗๓.๖๒
๑๐๐

๒.อนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ
                                 :   ตามที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้แจ้งเกี่ยวกับการประกวดการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๖ ซึ่งจะมีหัวข้อการประกวดเหมือนที่ผ่านมา คือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ด้านการควบคุมโรค ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค และนวตกรรมกองทุนฯ นั้น สรุปปีนี้กองทุนฯเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จะส่งโครงการไท้เก็กเพื่อสุขภาพ ประกวดในสาขานวตกรรมกองทุนฯ รายละเอียดทางอนุฝ่ายเลขานุการจะแจ้งในการประชุมครั้งต่อไป
               
๓.อนุกรรมการฝ่ายการเงิน
:ขอให้โครงการที่ยังไม่ส่งหลักฐานและสรุปผลการดำเนินงานให้อนุกรรมการการเงินฯ
ให้ส่งหลักฐานพร้อมผลการดำเนินกิจกรรมด้วย  เช่น
-โครงการรณรงค์หยอดวัคซีนโปลิโอ ปี ๒๕๕๖ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
-โครงการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ด่านควบคุมโรค
-โครงการส่งเสริมสุขภาพชาวชุมชน ชุมชนหัวกุญแจ
ซึ่งทางอนุฝ่ายการเงินได้ประสานและทำหนังสือเร่งรัดให้ผู้จัดทำโครงการสรุปผลการดำเนินงานพร้อมหลักฐานการเงินไปแล้ว
๔.อนุกรรมการฝ่ายติดตามฯ
:ในรอบเดือนที่ผ่านมาได้ติดตามการดำเนินงานจำนวน ๑ โครงการ คือ โครงการรำดาบ
ไท้เก็กเพื่อสุขภาพ ซึ่งดำเนินกิจกรรมตั้งวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๖ ซึ่งได้รับผลตอบรับจากชาวชุมชนย่านการค้าดีมาก มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมเกินเป้าหมายที่กำหนด

ระเบียบวาระที่ ๖ : วาระอื่นๆ
กามารอเด็ง : โครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยกีฬาว่ายน้ำ ได้เริ่มดำเนินกิจกรรมแล้ว มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน ๔๘ คน จากเป้าหมายที่กำหนด ๔๐ คน
ที่ประชุม : รับทราบ

                                                                                                               
                                                                                                                                ปิดการประชุม ๑๑.๓๐ น.
                    นายไซนัล  นิรมาณกุล
                                                                                                                                            ผู้บันทึกการประชุม