รายงานการประชุมกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
ครั้งที่ ๑/๒๕๕๕
วันที่ ๑๘ ตุลาคม
๒๕๕๔
ณ ห้องประชุมสภาเทศบาล ชั้น ๓
เปิดประชุมเวลา ๑๐.๐๐
น.
เมื่อคณะกรรมการมาพร้อมกันแล้ว
นายกิตติ หวังธรรมมั่ง ผู้ทรงคุณวุฒิ ในฐานะรองประธานคณะกรรมการกองทุนฯคนที่ ๑
ได้กล่าวเปิดการประชุมตามระเบียบวาระดังนี้
ระเบียบวาระที่ ๑ : ประธานแจ้งที่ประชุม
สืบเนื่องประธานคณะกรรมการกองทุนฯ
ติดราชการ ในฐานะรองประธานจึงทำหน้าที่แทน
ระเบียบวาระที่ ๒ : รับรองรายงานการประชุม
ครั้งที่
๙/๕๔ วันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๔
มติที่ประชุม : รับรองรายงานประชุม
ระเบียบวาระที่ ๓ : เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
เรื่องที่
๑ : รายงานสถานะทางการเงินของกองทุนฯ ยอดยกมา ๓,๗๔๕,๒๘๔.๗๐ บาท
โดยมี รายรับ-รายจ่าย ดังนี้
๑. จ่ายให้กิจกรรมประเภทที่ ๒ จำนวน ๑
โครงการ คือ
๑.๑
โครงการควบคุมป้องกันภาวะขาดสารไอโอดีน เป็นเงิน
๒๕,๙๘๐ บาท
๒. จ่ายให้กิจกรรมประเภทที่ ๓ จำนวน ๑
โครงการ คือ
๒.๑
โครงการส่งเสริมด้านการออกกำลังกายปี ๒๕๕๔ (๑๑ ชุมชน)
เป็นเงิน ๒๓๓,๓๙๐ บาท
๓. จ่ายให้กิจกรรมประเภทที่ ๔
๓.๑
ค่าเบี้ยประชุม ค่าเอกสาร อาหารว่าง เป็นเงิน
๖,๕๐๐
บาท
รวมรายจ่าย
เป็นเงิน ๒๖๕,๘๗๐ บาท
๔. รับเงินคืนจากโครงการต่างๆ เป็นเงิน ๑๓,๔๖๐
บาท
๕.รับค่าดอกเบี้ย
เป็นเงิน ๑๑,๑๑๔ บาท
คงเหลืองบประมาณกองทุน
๓,๕๐๓,๙๘๘.๗๐
บาท
มติที่ประชุม : รับทราบ
ระเบียบวาระที่ ๔ : เรื่องเพื่อพิจารณา
เรื่องที่ ๑ : การพิจารณาโครงการที่ขอสนับสนุนงบประมาณ
จากหน่วยงาน/ภาคประชาชน จำนวน ๔ โครงการ
:
เดือนนี้ไม่มีโครงการเสนอขอสนับสนุนงบประมาณ
ระเบียบวาระที่ ๕
เรื่องเพื่อติดตาม
เรื่องที่ ๑ : รายงานผลการดำเนินงานของอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ
๑.คณะทำงานจัดทำแผนฯ
หลังจากได้ส่งแบบฟอร์มการเสนอแผนงานขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ
ให้หน่วยงาน ชุมชน และชมรมต่างๆภายในเขตเทศบาล จำนวนประมาณ ๖๐ แห่ง
ซึ่งมีกำหนดส่งภายในวันที่ ๓๑ ตุลาคม มีบางหน่วยงาน และชมรม มีบางหน่วยงาน
และบางชมรม ได้ทยอยส่งมาบ้างแล้ว
และจะเชิญคณะทำงานจัดทำแผนร่วมพิจารณาภายในเดือนพฤศจิกายนนี้
สำหรับวันเวลาที่แน่นอนจะประสานอีกครั้ง
๒.อนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ
แจ้งอนุกรรมการเรื่องการพิจารณาแผนการดำเนินงานของบกองทุนฯปี
๒๕๕๕ จะมีการพิจารณา ๓ งวด ประมาณเดือนพฤศจิกายน มีนาคม และกรกฎาคม ต้องเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงาน
ชมรม และชุมชน รับทราบด้วย เพื่อส่งแผนให้คณะจัดทำแผนพิจารณากลั่นกรองก่อน
๓.อนุกรรมการฝ่ายการเงิน
ขณะนี้ยังมีบางโครงการที่ยังไม่เคลียร์หลักฐาน
แต่โดยส่วนใหญ่ผู้ขอสนับสนุนงบประมาณ เพื่อดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ในการส่งหลักฐานและสรุปผลการดำเนินงาน
เมื่อดำเนินการเสร็จแล้ว
๔.อนุกรรมการฝ่ายติดตามฯ
ได้ติดตามการดำเนินกิจกรรมของโครงการต่างๆ
จำนวน ๒ โครงการด้วยกัน คือ
๑.โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
ชุมชนสันติสุข มีนายกฯเป็นประธานในพิธีเปิด
๒.โครงการส่งเสริมใช้เกลือไอโอดี
มีรองอภิเชษฐ์ เป็นประธานพิธีเปิด
ทั้ง ๒ โครงการได้รับความร่วมมือจากชุมชน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกินเป้าหมาย
ถือว่าคุ้มค่าน่าสนับสนุนสำหรับโอกาสต่อไป
ระเบียบวาระที่ ๖ : วาระอื่นๆ
ตันจุรีย์ : สรุปผลการดำเนินงานกองทุนปี
๒๕๕๔ ดังนี้
สรุปการใช้งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
|
|||||
(ตามแผนฯ)
ตั้งแต่ ตุลาคม ๒๕๕๓ - กันยายน
๒๕๕๔
|
|||||
ประเภทกิจกรรม
|
จำนวนโครงการที่
|
งบประมาณที่เบิกจ่ายแล้ว
|
คิดเป็นร้อยละ
|
ตามแผนกองทุนปี ๕๔
|
สัดส่วนที่กองทุนกำหนด
|
ได้รับการอนุมัติ
|
คิดเป็นร้อยละ
|
||||
1.การจัดบริการด้านส่งเสริมสุขภาพ
ป้องกันโรค
ฟื้นฟูสมรรถภาพ
ตามชุดสิทธิประโยชน์
|
๙ โครงการ
|
๒๖๕,๓๔๐
|
๑๑.๐๑
|
๒๑.๕๗
|
๒๕
|
2.การสนับสนุนงบประมาณแก่หน่วยบริการ
|
๓ โครงการ
|
๑๑๕,๘๘๐
|
๔.๘๑
|
๑๐.๒๓
|
๒๕
|
3.การสร้างเสริมสุขภาพโดยประชาชน
และชุมชน
|
๕ โครงการ
|
๓๔๓,๕๔๐
|
๑๔.๒๖
|
๒๓.๒๗
|
๔๐
|
4.การบริหารจัดการกองทุน
|
๘ ครั้ง
|
๕๒,๐๐๐
|
๒.๑
|
๔.๓๒
|
๑๐
|
รวม
|
๗๗๖,๗๖๐
|
๓๒.๒๕
|
๕๙.๔๐
|
๑๐๐
|
|
คงเหลือ
|
๑,๖๓๑,๖๖๐
|
๖๗.๗๕
|
๔๐.๖๐
|
สามารถแยกโครงการตามมิติได้ดังนี้
ประเภทมิติที่ ๑ การจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค
และฟื้นฟูสมรรถภาพ
(ตามชุดสิทธิประโยชน์)
จำนวน ๙ โครงการ
ลำดับ
|
ชื่อโครงการ
|
ผู้รับผิดชอบ
|
งบประมาณ (บาท)
|
๑
|
โครงการคุณแม่คุณภาพ
|
งานฝากครรภ์ ( รพ.สก.)
|
๕๕,๒๐๐
|
๒
|
โครงการแก้ปัญหาภาวะโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์
|
งานฝากครรภ์ (
รพ.สก.)
|
๓๗,๕๐๐
|
๓
|
โครงการแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์
|
งานฝากครรภ์ (
รพ.สก.)
|
๑๑,๐๐๐
|
๔
|
โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของ
สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ
|
งานสังคมสงเคราะห์
|
๑๙,๙๘๐
|
๕
|
โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุชุมชนสันติสุข
|
อสม. ชุมชนสันติสุข
|
๓๐,๙๒๐
|
๖
|
โครงการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการใน
เด็กแรกเกิด
๐-๗๒ เดือน
|
งานศูนย์แพทย์ชุมชน
|
๓๖,๑๘๐
|
๗
|
โครงการห่วงใยใส่ใจผู้สูงอายุ และกลุ่มเสี่ยงในชุมชนเจริญสุข
|
อสม. ชุมชนเจริญสุข
|
๖,๐๐๐
|
๘
|
โครงการศูนย์ ๓ วัย สานสายใยรักแห่งครอบครัว
|
งานฝากครรภ์ (
รพ.สก.)
|
๗๔,๘๕๐
|
๙
|
โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุชุมชนสวนมะพร้าว
|
อสม.
ชุมชนสวนมะพร้าว
|
๒๓,๐๐๐
|
ประเภทมิติที่ ๒
การสนับสนุนงบประมาณให้หน่วยบริการฯ จำนวน ๓ โครงการ
ลำดับ
|
ชื่อโครงการ
|
ผู้รับผิดชอบ
|
งบประมาณ (บาท)
|
๑
|
โครงการรวมพล คน อสม.รักสุขภาพ
|
กองสาธารณสุขฯ
|
๕๐,๐๐๐
|
๒
|
โครงการดูแล ใส่ใจผู้ไปประกอบฮัจย์ ปี ๒๕๕๔
|
คปสอ.ม.สุไหงโก-ลก
|
๔๐,๐๐๐
|
๓
|
โครงการควบคุมป้องกันภาวะขาดสารไอโอดีน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
|
งานเวชกรรมสังคม
|
๒๕,๙๘๐
|
ประเภทมิติที่ ๓
การสร้างเสริมสุขภาพโดยชุมชน/ภาคประชาชน จำนวน
๕ โครงการ
ลำดับ
|
ชื่อโครงการ
|
ผู้รับผิดชอบ
|
งบประมาณ (บาท)
|
๑
|
โครงการลีลาศเพื่อสุขภาพ
|
ชมรมลีลาศสุไหงโก-ลก
|
๕๐,๔๐๐
|
๒
|
โครงการคัดกรอง ความดัน เบาหวานเชิงรุกโดย
อสม.
|
ชมรม อสม. เทศบาลฯ
|
๕๐,๐๐๐
|
๓
|
โครงการจัดงานวันผู้สูงอายุ
|
ชมรมผู้สูงอายุ
(รพ.สก.)
|
๔๕,๐๐๐
|
๔
|
โครงการออกกำลังกายโดยวิธีการรำวงมาตรฐานเพื่อสุขภาพ
|
กลุ่มไม้พลองเพื่อสุขภาพ
|
๙,๐๐๐
|
๕
|
โครงการส่งเสริมด้านการออกกำลังกาย
|
๑๑ ชุมชน
|
๒๓๙,๐๔๐
|
ประเภทมิติที่ ๔
การบริหารจัดการกองทุนฯ
- จ่ายเป็นค่าเบี้ยประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ
คณะทำงาน (ตามระเบียบของกองทุนฯ) ค่าเอกสาร
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวม 10 ครั้ง ( ประชุมคณะกรรมการบริหาร
ฯ 8 ครั้ง และคณะทำงานจัดทำแผน 2 ครั้ง ) เป็นเงินทั้งสิ้น 52,000 บาท
ผอ.พินัย : จะสังเกตได้ว่ากองทุนเรายังมีเงินเหลืออีกพอสมควร
ส่วนหนึ่งสืบเนื่องมาจากคณะทำงานจัดทำแผนกองทุนด้วย
ที่พิจารณาแผนแล้วไม่ให้ผ่านในบางโครงการ
เบื้องต้นจะพิจารณาแต่ละโครงการภายใต้การมีประโยชน์ต่อส่วนรวมมากน้อยเพียงใด
ถ้าประเภทที่มีแต่กิจกรรมการอบรมเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีกิจกรรมอื่นๆเสริมด้วย
มักจะไม่ผ่านการพิจารณา ส่วนเรื่องปัญหาอุปสรรค
บางครั้งคณะกรรมการไม่ซักถามเพราะไม่รู้รายละเอียดของกีฬาประเภทนั้นๆ เช่น
กีฬาลีลาศ หรือมีความเกรงใจที่จะถามผู้จัดทำโครงการ
คุณกิตติ : ส่วนหนึ่งที่ภาคชุมชน
หรือชมรม ไม่ค่อยอยากทำโครงการ เนื่องมาจากจะถูกมองว่าทำแล้วได้ผลประโยชน์
ทำให้คนมีจิตอาสาหมดกำลังใจ ทำแล้วไม่ได้อะไรแถมยังโดนด่าโดนว่าอีก
ควรหาแนวทางแก้ไข เช่น การให้ค่าตอบแทนผู้จัดทำโครงการได้หรือไม่ เพื่อไม่ต้องควักกระเป๋าหรือเข้าเนื้อตัวเอง
ผอ.พินัย :
จะเก็บเป็นประเด็น เพื่อหารือในเวทีการประชุมเฉพาะ จะได้ว่าเป็นเรื่องๆ
เพราะมันมีข้อจำกัดในเรื่องเกี่ยวกับการเงิน ซึ่งมักจะ Fix ในเรื่องการใช้จ่าย
รวมทั้งเรื่องการจัดทำเอกสารเผยแพร่ผลงานของกองทุน อาจจะต้องมีการสัมภาษณ์คณะกรรมการฯ และผู้จัดทำโครงการต่างๆที่ผ่านมาด้วย
ผอ.ประทวน :
การประชุมครั้งนี้จะเป็นการประชุมกองทุนฯ ครั้งสุดท้าย
เพราะต้องย้ายไปรับราชการที่เทศบาลเมืองปัตตานีในต้นเดือนหน้า
คุณยามิงละห์ :
กองทุนน่าจะมีกล้องถ่ายรูปของกองทุนโดยเฉพาะ
เพื่อใช้ในการติดตามการดำเนินงานของโครงการต่างๆ โดยเฉพาะกรณีที่เจ้าของโครงการไม่มีกล้องหรือไม่ได้ถ่ายรูปไว้
ที่ประชุม
:
รับทราบ
ปิดการประชุม
๑๑.๓๐ น.
นายไซนัล
นิรมาณกุล
ผู้บันทึกการประชุม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น