รายงานการประชุมกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
ครั้งที่ ๗/๒๕๕๙
วันที่ ๒๙ มิถุนายน
๒๕๕๙
ณ
ห้องประชุมสภาเทศบาล
ชั้น ๓
เปิดประชุมเวลา ๐๙.๓๐ น.
เมื่อคณะกรรมการมาพร้อมกันแล้ว
นางสุชาดา พันธ์นรา
ในฐานะประธานกรรมการกองทุนฯได้กล่าวเปิดประชุมตามระเบียบวาระดังนี้
ระเบียบวาระที่ ๑ : ประธานแจ้งที่ประชุม ไม่มีเรื่องแจ้ง
ระเบียบวาระที่ ๒ : รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่
๖/๒๕๕๙ วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙
มติที่ประชุม : รับรองรายงานประชุม
ระเบียบวาระที่ ๓ : เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
เรื่องที่ ๑ รายงานสถานะทางการเงินของกองทุนฯ
ประจำเดือนธันวาคม ๒๕๕๘ มีรายละเอียดดังนี้
ยอดยกมา ๙,๓๕๘,๙๒๗.๔๘ บาท
๑
รายรับ
รับเงินคืนจากการดำเนินแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ๑,๙๐๐.๐๐ บาท
รวมรายรับ ๑,๙๐๐.๐๐ บาท
๒ รายจ่าย
ค่าใช้จ่ายกิจกรรมประเภทที่ ๑ ไม่มี
ค่าใช้จ่ายกิจกรรมประเภทที่ ๒ ๕๖,๐๐๐ บาท
ค่าใช้จ่ายกิจกรรมประเภทที่
๓ ๑๘๘,๗๑๕ บาท
ค่าใช้จ่ายกิจกรรมประเภทที่ ๔ ๑๒,๕๐๐ บาท
ค่าใช้จ่ายกิจกรรมประเภทที่ ๕ ไม่มี
รวมรายจ่ายทั้ง ๕ กิจกรรม
เป็นเงิน ๒๕๗,๒๑๕ บาท
คงเหลือเงินกองทุนฯ ๙,๑๐๓,๖๑๒.๔๘ บาท
มติที่ประชุม : รับทราบ
ระเบียบวาระที่ ๔ : เรื่องเพื่อพิจารณา
เรื่องที่ ๑ : การพิจารณาโครงการที่ขอสนับสนุนงบประมาณ จากหน่วยงาน/ภาคประชาชน ๕ โครงการ
โครงการที่ ๑ โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพด้วยกีฬาลีลาศ
โครงการนี้เป็นโครงการของชมรมลีลาศสุไหงโก-ลก
จัดขึ้นมาเพื่อส่งเสริมสุขภาพเยาวชนและประชาชนทั่วไป
สมาชิกชมรมกีฬาลีลาศฯออกกำลังกายเพื่อสุขภาพด้วยกีฬาลีลาศ
และรู้จักเลือกวิธีการดูแลสุขภาพของตนเองด้วยกีฬาลีลาศ ตามมาตรฐานกีฬาลีลาศ
เพื่อให้มีการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ เป็นการบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านร่างกาย
จิตใจ บุคลิกภาพ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เยาวชนและบุคคลทั่วไป
ได้มีการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพด้วยกีฬาลีลาศที่เหมาะสมกับวัย
ดังนั้นกีฬาลีลาศจึงเป็นช่องทางเลือกหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพให้แก่ผู้ที่สนใจ
การฝึกลีลาศที่ถูกจึงช่วยให้การออกกำลังกายมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ปัจจุบันในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก มีผู้สนใจกีฬาลีลาศเพิ่มขึ้น
จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นมา โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเยาวชนและประชาชนทั่วไป จำนวน ๔๐
คน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๙๐,๐๐๐ บาท
และทางชมรมลีลาศได้สนับสนุนจำนวน ๑๓,๒๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าวิทยากร
ค่าที่พักของวิทยากรและค่าอุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นในโครงการ
คณะกรรมการกองทุนฯ มีความเห็นว่าเป็นโครงการที่ทำมาแล้ว
๒ ปี แต่การขยายเครือข่ายเยาวชนและประชาชน ยังไม่กว้างขวาง ไม่เห็นเป็นรูปธรรม
ยังคงเป็นกลุ่มเดิมๆ
ส่วนวิทยากรสอนลีลาศเพื่อสุขภาพน่าจะใช้สมาชิกชมรม หรือวิทยากรในพื้นที่ สอนได้
แทนการใช้วิทยากรที่เชี่ยวชาญ (มีไลเซนท์ ) ซึ่งมีค่าตอบแทนวิทยากรที่สูง และ การฝึกอบรมใช้เวลานานถึง ๒๒ วัน
มติที่ประชุม : เห็นควรมอบอนุเลขาไปเจรจากับทางชมรม ฯ
ต่อรองในรายละเอียดที่กรรมการเสนอแนะ
โครงการที่ ๒ โครงการรำมวยไทเก๊กเพื่อสุขภาพ ประจำปี ๒๕๕๙
โครงการนี้เป็นโครงการของชมรมไทเก๊กสามัคคี
สุไหงโก-ลก ชาวจีนเชื่อว่าการฝึกมวยไทเก๊กเป็นประจำอย่างถูกต้องจะช่วยทำให้สุขภาพแข็งแรง
หลีกเลี่ยงโรคภัยไข้เจ็บ
อีกทั้งการฝึกมวยไทเก๊กยังสามารถทำได้ทุกเพศทุกวัยไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่
ผู้ชายหรือผู้หญิง
ดังนั้นหากมีการฝึกมวยไทเก๊กอย่างถูกวิธีจะช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง
สุขภาพจิตดีด้วย ดังนั้น ไทเก๊กจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่จะทำให้คนหันมาสนใจการออกกำลังกาย
และการบริหารร่างกายโดยรำมวยไทเก๊ก
ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากอีกทั้งการรำมวยไทเก๊กที่ถูกต้องจำเป็นที่ต้องได้รับการฝึกฝนจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้วย ทั้งนี้ทางชมรมไทเก๊กสุไหงโก-ลก
จึงมีความต้องการที่จะจัดกิจกรรมการสอนมวยไทเก๊ก โดยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้และฝึกฝนทักษะให้แก่สมาชิกชมรมและประชาชนที่สนใจ
โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ๘๕ คน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯจำนวน ๖๕,๕๐๐ บาท
เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าวิทยากร ค่าที่พักวิทยากร
และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น
ส่วนทางชมรมฯได้สมทบเพิ่มอีก ๒๐,๐๐๐ บาทเป็นค่าตอบแทนวิทยากรเพิ่ม
คณะกรรมการกองทุนฯ มีความเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี
สามารถให้ผู้ที่สนใจรำมวยไทเก๊กได้ออกกำลังกายที่ถูกวิธี และเป็นการกระตุ้นให้ผู้สูงอายุ และคนทุกเพศทุกวัยที่สนใจ ได้หันมาออกกำลังกาย
มติที่ประชุม : อนุมัติ
โครงการที่
๓ โครงการแกนนำนักสุขบัญญัติในโรงเรียน
โครงการนี้เป็นโครงการของกลุ่มงานสุขศึกษาโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
จัดขึ้นเพื่อให้แกนนำนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องสุขบัญญัติ
เพื่อให้แกนนำนักเรียนมีทักษะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติและดำเนินการงานสุขบัญญัติในโรงเรียนได้
เพื่อให้มีสุขภาพดีทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม
ตลอดจนเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในการป้องกันโรค โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็น นักเรียน
โรงเรียนเทศบาล ๑-๔ , โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก, โรงเรียนรังผึ้ง,
โรงเรียนบุณยลาภนฤมิต,โรงเรียนเกษมทรัพย์ แห่งละ ๒๕ คน เน้นกิจกรรมที่พัฒนาแกนนำนักเรียน
ฯ โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๒๒,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย
อาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารกลางวัน ค่าตอบแทนวิทยากร
และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็นในโครงการ
คณะกรรมการกองทุนฯ มีความเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี สามารถให้แกนนำนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้
ความเข้าใจเรื่องสุขบัญญัติ ถ่ายทอดความรู้
ความเข้าใจและดำเนินการสุขบัญญัติในโรงเรียนได้ และนักเรียนปฏิบัติตามสุขบัญญัติอย่างสม่ำเสมอเพิ่มขึ้นจนเป็นนิสัยมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
มติที่ประชุม : อนุมัติ
โครงการที่ ๔ โครงการวิถีชีวิตผู้ป่วยเบาหวาน
กับการใช้ยาในเดือนรอมฎอน
โครงการนี้เป็นของทางศูนย์แพทย์ใกล้ใจ
๑ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จัดขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ในการปรับสูตรยา
และการปรับเวลาการรับประทานยาได้ถูกต้องในเดือนรอมฎอน
และให้ผู้ป่วยสามารถคุมน้ำตาลในเลือดได้อยู่ในเกณฑ์ปกติ จากข้อมูล ปี ๒๕๕๘
การมารับบริการของผู้ป่วยเบหวานก่อนเดือนรอมฎอน
พบว่าผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ร้อยละ ๕๗.๑๔
ในเดือนรอมฎอนพบว่ามีผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ร้อยละ
๕๘.๓๓ และหลังจากเดือนรอมฎอน ๑
สัปดาห์พบว่าผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ร้อยละ ๖๓.๖๔
ดังนั้นทางศุนย์แพทย์ใกล้ใจ ๑
จึงได้มีโครงการนี้ให้กับผู้ป่วยเบาหวานในการช้ยาในเดือนรอมฎอนโดยมีการปรับรูปแบบการรักษา
ได้แก่ การปรับสูตรยา การปรับการรับประทานยา
การให้ความรู้อาหารที่ผู้ป่วยควรบริโภคในเดือนรอมฎอน
การให้ความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวตามแผนการรักษาไม่ขัดต่อหลักการศาสนาอิสลาม
และไม่เกิดโรคภาวะแทรกซ้อน โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ป่วยเบาหวานนับถือศาสนาอิสลาม
จำนวน ๙๑ คน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๓,๑๗๕ บาท
เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าตอบแทนวิทยากร
และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น
คณะกรรมการกองทุนฯ มีความเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นในการรับประทานยาโดยไม่ขาดยาในเดือนรอมฎอน
และสามารถคุมน้ำตาลในเลือดได้
มติที่ประชุม : อนุมัติ
โครงการที่ ๕ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กในนักเรียน
โรงเรียนสังกัดเทศบาล
โครงการนี้เป็นโครงการของงานศูนย์บริการสาธารณสุข
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จัดขึ้นเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับพยาธิสภาพของภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก
เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครอง มีความรู้เรื่องการเลือกบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็ก
เพื่อให้นักเรียนที่มีภาวะซีดลดลงอยู่ในเกณฑ์ ภาวะโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็กเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ
ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาของร่างกาย เรียนรู้ ความสามารถทางสติปัญญา
และสร้างภูมิคุ้มกัน การขาดธาตุเหล็กในช่วงวัยเรียน จะทำให้นักเรียนมีสมาธิสั้น
ขาดความกระตือรือร้นในการเรียน มีผลให้คะแนนการเรียนรู้ และระดับสติปัญญาลดน้อยลง
นอกจากนี้ยังมีอันตรายเสี่ยงต่อการเป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
และทางเดินอาหารมากกว่าคนปกติ
กระทรวงสาธารณสุขมีความพยายามที่จะควบคุมป้องกันโดยจัดระบบการเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางใน
๒ กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กวัยเรียน และหญิงตั้งครรภ์
โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๑-๔ โดยวิธีสุ่มตรวจจำนวน ๑๐% ของนักเรียนทั้งหมด ชั้น ป.๑ถึงป.๖ และนักเรียนชั้น ป.๔ –ป.๖
ที่มีภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก และผู้ปกครองนักเรียน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ
จำนวน ๒๕,๕๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารกลางวัน
ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าวัสดุทางการแพทย์ เข็มเจาะ HCT สำลี
ยาเสริมธาตุเหล็ก และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น
คณะกรรมการกองทุนฯ มีความเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี นักเรียนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองและเฝ้าระวังภาวะซีด สามารถให้ผู้ปกครองและนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย
มีความรู้ ความเข้าใจ และเลือกบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง
มติที่ประชุม : อนุมัติ
ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องเพื่อติดตาม
เรื่องที่
๑ : รายงานผลการดำเนินงานของอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ
๑.คณะอนุกรรมการฝ่ายจัดทำแผนฯ
: ได้ดำเนินการประชุมแผนฯ ปี ๒๕๕๙ ครบทั้ง ๒ รอบแล้ว โดยกิจกรรมประเภทที่
๑ จำนวน ๑๖ โครงการ กิจกรรมประเภทที่ ๒ จำนวน ๒๔
โครงการ กิจกรรมประเภทที่ ๓ จำนวน
๔ โครงการ กิจกรรมประเภทที่ ๔ จำนวน ๓ โครงการ และกิจกรรมประเภทที่ ๕
เกี่ยวกับโรคระบาด ไม่มีโครงการเสนอ
๒.คณะอนุกรรมการฝ่ายเลขาและธุรการ: ไม่มีเรื่องแจ้ง
๓.คณะอนุกรรมการฝ่ายการเงินและการบัญชี : ไม่มีเรื่องแจ้ง
๔.คณะอนุกรรมการฝ่ายประเมินและติดตาม
: ได้ออกติดตามประเมินผล ๘โครงการ
๑.โครงการป้องกันฟื้นฟูภาวะเสี่ยงจากโรคหลอดเลือดสมองด้วยวิถีแพทย์แผนไทย(ศูนย์เรียนรู้ผู้สูงอายุ)
๒.โครงการพัฒนาศักยภาพ Care Giver ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง (ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒)
๓.โครงการคัดกรองเร็วไว ห่างไกลมะเร็ง
(ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒)
๔.โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแม่และเด็กชุมชนกูโบร์ (ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒)
๕.โครงการคัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน(ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ
๒)
๖.โครงการดูแลสุขภาพปากและฟันของผู้สูงอายุในชุมชน (ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒)
๗.โครงการสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา
๘.โครงการแก้ไขภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์
เรื่องที่
๒ ๑.โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยกีฬาฟุตบอล
ประจำปี ๒๕๕๙ (ทบทวนครั้งที่ ๒)
ทางผู้เสนอโครงการได้ปรับลดงบประมาณค่าใช้จ่าย
ค่าวัสดุอุปกรณ์ตามที่คณะกรรมการได้เสนอแนะให้ทบทวน ซึ่งประกอบด้วย
ค่าลูกฟุตบอล ค่าตอบแทนปรับจากรายชม.
เป็นเหมาจ่าย ปรับลดค่าเสื้อกั้ก เปลี่ยนจากกรวยยางเป็นโดมโคนแทน รวมค่าใช้จ่ายหลังปรับลด เป็น ๖๔,๘๐๐ บาท (
เดิม ๑๐๗,๐๕๐ )
มติที่ประชุม : อนุมัติ
ระเบียบวาระที่ ๖ เรื่องอื่นๆ
ปลัดเทศบาล ฯ แจ้งการเข้าร่วมประชุมวิชาการ จัดโดยสถาบันนิด้า ที่ จอมเทียน พัทยา ระหว่างวันที่ ๑๑-๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๙ โดยมี ปลัดเทศบาล และคุณนาสรูดิน
สือแม เข้าร่วมประชุม ฯ ในเวทีนี้มีการมอบโล่กองทุนดีเด่นด้านการบริหารจัดการกองทุน ระดับจังหวัด
ตันจุรีย์ ไชยลาภ แจ้งเรื่องโรคมือ เท้า ปาก ที่กำลังระบาดในภาคกลาง ขอความร่วมมือให้ อสม.กรรมการชุมชน และกรรมการกองทุนฯ ช่วยประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข่าวสาร และ
เฝ้าระวังการระบาดของโรค ถ้าพบเด็กป่วย
หรือสงสัย ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้าน เพื่อเข้าไปสอบสวนโรค
และควบคุมการแพร่ระบาดของโรค
ปิดการประชุม
๑๒.๐๐ น.
นางปะอีซะห์ มะฮามะรีเป็น บันทึกและพิมพ์รายงานการประชุม
นางตันจุรีย์ ไชยลาภ ตรวจทานและแก้ไข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น