ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา
เรื่อง ให้ธุรกิจการให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคของสถาบันการเงิน
เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. ๒๕๔๔[๑]
อาศัย อำนาจตามความในมาตรา ๓๕ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและ เสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายประกอบกับมาตรา ๓ มาตรา ๔ และมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดธุรกิจที่ควบคุมสัญญา และลักษณะของสัญญา พ.ศ. ๒๕๔๒ คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ธุรกิจการให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคของสถาบันการเงินเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“ธุรกิจการให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภค[๒]” หมายความว่า กิจการที่ผู้ประกอบธุรกิจทำสัญญาให้ผู้บริโภคซึ่งมิใช่นิติบุคคลกู้ยืม หรือจะได้กู้ยืมเงินจากผู้ประกอบธุรกิจและนำเงินที่ได้รับจากการกู้ยืมเงิน ไปใช้สอยตามวัตถุประสงค์ของผู้บริโภค ซึ่งมิใช่เป็นการใช้ในการประกอบกิจการเพื่อหารายได้
“ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเฉพาะ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ และนิติบุคคลที่ดำเนินธุรกิจให้กู้ยืมเงิน หรือการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ หรือการบริหารสินทรัพย์ประเภทสิทธิเรียกร้องที่เป็นเงิน
ข้อ ๓ สัญญา กู้ยืมเงินที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภค ต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน มีขนาดของตัวอักษรไม่เล็กกว่าสองมิลลิเมตร และจะต้องใช้ข้อสัญญาที่มีสาระสำคัญและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) สัญญากู้ยืมเงินชนิดที่ให้สิทธิผู้ให้กู้สามารถปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยได้ การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยใด ๆ เพิ่มขึ้น ผู้ให้กู้ต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบเป็นหนังสือ มีขนาดของตัวอักษรไม่เล็กกว่าสองมิลลิเมตรดังนี้
(ก) แจ้งให้ผู้กู้ทราบล่วงหน้าเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน
(ข) ในกรณีเร่งด่วนแจ้งทางจดหมายหรือประกาศทางหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยที่แพร่ หลายในประเทศล่วงหน้าเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และการแจ้งโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์นั้นให้แจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็น หนังสือซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามวรรคหนึ่งไม่หมายความถึงการเปลี่ยนแปลงเฉพาะอัตราดอกเบี้ยเบิกเกินบัญชี (MINIMUM OVERDRAFT RATE) อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MINIMUM LOAN RATE) อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MINIMUM RATAIL RATE) อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ใช้อ้างอิงเป็นอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้ยืมเงินและ อัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ผู้ประกอบธุรกิจเรียกเก็บกรณีผู้บริโภคปฏิบัติผิด เงื่อนไข ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงไป[๓]
(๒) การผิดสัญญาเรื่องใดของผู้กู้ที่ผู้ให้กู้มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะต้องเป็นข้อ ที่ผู้ให้กู้ระบุไว้เป็นการเฉพาะด้วยตัวอักษรสีแดงหรือตัวดำ หรือตัวเอน ที่เห็นเด่นชัดกว่าข้อความทั่วไปและก่อนการบอกเลิกสัญญาต้องแจ้งเป็นหนังสือ ไปยังผู้กู้และควรกำหนดระยะเวลาอันสมควรให้ผู้กู้แก้ไขการผิดสัญญาหรือผิด เงื่อนไขดังกล่าว
(๓) การจำหน่ายหรือการโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญากู้ยืมเงิน หรือสิทธิจำนอง หรือสิทธิจำนำ หรือสิทธิในหลักประกันอื่นใดของผู้ให้กู้ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนให้แก่ บุคคลภายนอก ผู้ให้กู้ต้องแจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้กู้ล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหนึ่งงวดของการ ชำระเงินกู้หรือดอกเบี้ย หรืองวดของการคิดดอกเบี้ย หรือจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้กู้มิเช่นนั้นจะยกเป็นข้อต่อสู้ผู้กู้ไม่ ได้ ยกเว้นในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะว่าไม่ต้องทำการบอกกว่าหรือแจ้งแก่ ผู้กู้หรือขอความยินยอมจากผู้กู้
(๔) ในกรณีที่สัญญากู้ยืมเงินกำหนดให้ผู้กู้นำทรัพย์สินที่มาวางไว้เป็นหลัก ประกันการชำระหนี้ตามสัญญาไปเอาประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัย หรือกำหนดให้ผู้กู้ทำประกันชีวิตโดยกำหนดให้ผู้ให้กู้เป็นผู้รับประโยชน์ตาม กรมธรรม์ประกันภัยหรือกรมธรรม์ประกันชีวิตดังกล่าว เมื่อผู้ให้กู้ได้รับเงินตามกรมธรรม์ประกันภัยหรือกรมธรรม์ประกันชีวิตแล้ว ต้องนำเงินที่ได้รับไปใช้เพื่อการซ่อมแซมทรัพย์สินให้ผู้กู้ หรือจัดหาทรัพย์สินอื่นทดแทนให้แก่ผู้กู้หรือหักหนี้ที่ค้างชำระของผู้กู้ ตามแต่กรณี เว้นแต่จะได้มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ หากมีเงินคงเหลือต้องคืนให้แก่ผู้กู้
(๕) ในกรณีสัญญากู้ยืมเงินที่กำหนดให้มีการคิดค่าเบี้ยปรับ หรือค่าธรรมเนียมจากผู้กู้เพื่อการชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก่อนกำหนด เวลาในสัญญา ผู้ให้กู้จะต้องกำหนดให้ชัดเจนในสัญญากู้ยืมเงินว่าจะคิดค่าเบี้ยปรับหรือ ค่าธรรมเสียมดังกล่าวในอัตราเท่าใด จากเงินจำนวนใด
(๖) ผู้ให้กู้จะส่งคำบอกกล่าวซึ่งตามกฎหมายหรือตามสัญญากำหนดให้ต้องแจ้งหรือ บอกกล่าวเป็นหนังสือ โดยการส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้แก่ผู้กู้ตามที่อยู่ที่ระบุไว้ใน สัญญาหรือที่อยู่ที่ผู้กู้ได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงไว้เป็นหนังสือครั้งหลังสุด
(๗) สัญญากู้ยืมเงินที่กำหนดให้ผู้กู้ต้องจัดหาผู้ค้ำประกันการกู้ยืมเงิน ผู้ให้กู้ตกลงกับผู้กู้ว่าจะจัดให้มีการทำสัญญาค้ำประกัน ซึ่งมีคำเตือนสำหรับผู้ค้ำประกันไว้หน้าสัญญาค้ำประกันนั้น โดยมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน มีหัวเรื่องว่า “คำเตือนสำหรับผู้ค้ำประกัน” ใช้อักษรตัวหนาขนาดไม่เล็กกว่าสี่มิลลิเมตรและอย่างน้อยต้องมีข้อความตาม เอกสารแนบท้ายประกาศฉบับนี้ โดยมีขนาดตัวอักษรไม่เล็กกว่าสองมิลลิเมตร และจะกำหนดข้อสัญญาเกี่ยวกับความรับผิดของผู้ค้ำประกันในสัญญาค้ำประกันมี สาระสำคัญตรงกับคำเตือนดังกล่าว
ข้อ ๓/๑[๔] ผู้ ประกอบธุรกิจต้องส่งมอบสำเนาหรือคู่ฉบับสัญญาเกี่ยวกับการให้กู้ ยืมเงินให้แก่ผู้บริโภคไว้เป็นหลักฐานหนึ่งฉบับทันทีที่ผู้บริโภคลงนามใน สัญญา
ข้อ ๔ ข้อสัญญาที่ผู้ให้กู้ทำกับผู้กู้ต้องไม่ใช้ข้อสัญญาที่มีลักษณะหรือมีความหมายทำนองเดียวกัน ดังต่อไปนี้
(๑) ข้อสัญญาที่เป็นการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดจากการผิดสัญญาของผู้ให้กู้
(๒) ข้อสัญญาที่ให้สิทธิผู้ให้กู้บอกเลิกสัญญากับผู้กู้หรือเรียกร้องให้ผู้กู้ ชำระหนี้ทั้งหมด หรือแต่บางส่วนก่อนกำหนดเวลาในสัญญา โดยผู้กู้มิได้ผิดนัดชำระหนี้ หรือผิดสัญญาหรือผิดเงื่อนไขอันเป็นสาระสำคัญข้อใดข้อหนึ่งในสัญญา
(๓) ข้อสัญญาที่ให้สิทธิผู้ให้กู้เลิกสัญญากับผู้กู้ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้กู้
(๔) ข้อสัญญาที่ให้สิทธิผู้ให้กู้เปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการต่าง ๆ เกี่ยวกับสัญญากู้ยืมเงิน เว้นแต่ที่กำหนดไว้ในข้อ ๓ (๑)
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๕ ประกาศ นี้ไม่ใช้บังคับกับสัญญากู้ยืมเงินที่ผู้ให้กู้และผู้กู้ได้ กระทำขึ้นและยังไม่ครบกำหนดสัญญากู้ยืมเงินในวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๔๔ เป็นต้นไป
ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์
ประธานกรรมการว่าด้วยสัญญา
[เอกสารแนบท้าย]
๑. คำเตือนสำหรับผู้ค้ำประกัน
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศ คณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคของสถาบันการเงินเป็นธุรกิจที่ควบ คุมสัญญา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔[๕]
ประกาศ คณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคของสถาบันการเงินเป็นธุรกิจที่ควบ คุมสัญญา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๕[๖]
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๒๒ ง/หน้า ๑๖/๖ มีนาคม ๒๕๔๔
[๒] ข้อ ๒ นิยามคำว่า“ธุรกิจการให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภค” แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคของสถาบันการเงินเป็นธุรกิจที่ควบ คุมสัญญา (ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๕๔๔
[๓] ข้อ ๓ (๑) วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคของสถาบันการเงินเป็นธุรกิจที่ควบ คุมสัญญา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๕
[๔] ข้อ ๓/๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคของสถาบันการเงินเป็นธุรกิจที่ควบ คุมสัญญา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔
[๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๒๔/๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๔
[๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๔ ง/หน้า ๕๙/๑๐ มกราคม ๒๕๔๖
หมายเหตุเพิ่มเติม
เมื่อคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาได้กำหนดให้มีประกาศควบคุมสัญญาของการประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือบริการใดแล้ว หากปรากฏว่า
- ไม่ใช้สัญญาหรือข้อความที่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาประกาศกำหนด ให้ถือว่าสัญญาดังกล่าว มีข้อสัญญาหรือข้อความ ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
- ใช้สัญญาหรือข้อความ ที่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาประกาศห้ามใช้ ให้ถือว่าสัญญาดังกล่าว ไม่มีสัญญาหรือข้อความเช่นว่านั้น
บทลงโทษ
ถ้า ผู้ประกอบการรายใดไม่ส่งมอบสัญญาหรือไม่ส่งมอบหลักฐานการรับเงินที่มีข้อ สัญญาหรือข้อความตามที่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญา ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับเกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
คำอธิบายเพิ่มเติม
ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อสินค้าหรือบริการ
ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
ร้องเรียนที่ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนผู้บริโภคเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
งานนิติการ กองวิชาการและแผนงาน
สำนักงานเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก โทร.073-615295
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น