วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558

รายงานการประชุมกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ครั้งที่ ๒/๒๕๕๘



รายงานการประชุมกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
ครั้งที่  ๒/๒๕๕๘   วันที่  ๑๑  ธันวาคม   ๒๕๕๗
  ห้องประชุมสภาเทศบาล  ชั้น ๓
เปิดประชุมเวลา  ๑๓.๓๐ น.
                เมื่อคณะกรรมการมาพร้อมกันแล้ว นางสุชาดา  พันธ์นรา ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนฯ และได้กล่าวเปิดประชุมตามระเบียบวาระดังนี้

ระเบียบวาระที่ ๑ : ประธานแจ้งที่ประชุม  ไม่มีเรื่องแจ้ง
ระเบียบวาระที่ ๒ : รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่  ๑/๒๕๕๘   วันที่  ๖ พฤศจิกายน   ๒๕๕
มติที่ประชุม : รับรองรายงานประชุม

ระเบียบวาระที่ ๓ : เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
เรื่องที่ ๑   รายงานสถานะทางการเงินของกองทุน ฯ ประจำเดือน พฤศจิกายน ๒๕๕๗  มีรายละเอียดดังนี้
                                ยอดยกมา ๖,๙๐๗,๖๕๒.๙๗ บาท
        รายรับ
รับเงินคืนจากโครงการมะเร็งปากมดลูก(ศรีอามาน)                  ๙๐๐                      บาท
รับเงินคืนจากเบี้ยประชุมกองทุนฯ                                                 ๙๔๔                      บาท

                รวมรายรับ                                                                            ๑,๘๔๔                 บาท
      รายจ่าย
ค่าใช้จ่ายกิจกรรมประเภทที่ ๑                                          ไม่มี
ค่าใช้จ่ายกิจกรรมประเภทที่ ๒                                         ๙๕,๖๐๐   บาท   รายละเอียดดังนี้
๒.๑ โครงการส่งเสรอมสุขภาพดวงตาเทิดพระเกียรติ(รพ.)       ๙๕,๖๐๐               บาท
ค่าใช้จ่ายกิจกรรมประเภทที่ ๓                                     ไม่มี
ค่าใช้จ่ายกิจกรรมประเภทที่ ๔                                         ๑๑,๔๐๐   บาท  รายละเอียดดังนี้
๔.๑ ค่าใช้จ่ายประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ              ๗,๐๐๐  บาท
๔.๒ ค่าใช้จ่ายคณะกรรมการประชุมจัดทำแผนฯ         ๔,๔๐๐  บาท
รวมรายจ่ายทั้ง ๔ กิจกรรม เป็นเงิน                                ๑๐๗,๐๐๐  บาท
                คงเหลือเงินกองทุนฯ                                        ๖,๘๐๒,๔๙๖.๙๗                  บาท       
มติที่ประชุม : รับทราบ

ระเบียบวาระที่ ๔ : เรื่องเพื่อพิจารณา
เรื่องที่ ๑ : การพิจารณาโครงการที่ขอสนับสนุนงบประมาณ จากหน่วยงาน/ภาคประชาชน       โครงการ
โครงการที่ ๑  โครงการพัฒนาสุขภาพและทักษะโดยใช้กีฬาฟิตเนสเป็นสื่อ
                โครงการนี้เป็นโครงการทางชมรมกีฬาฟิตเนสเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จัดทำเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงห่างไกลจากโรค ทั้งยังช่วยประหยัดงบประมาณของรัฐบาลในค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ฟิตเนสก็เป็นกีฬาอีกชนิดหนึ่งที่ใช้ในการออกกำลังกาย ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนที่สนใจในการออกกำลังกายแบบฟิตเนสให้ได้ผลนั้น นอกจากการเล่นต่อครั้งต้องเหมาะสมแล้ว ยังต้องคำนึงถึงผลที่ได้รับ ทางชมรมฟิตเนส ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนสนใจในการออกกำลังกาย เพื่อสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ควบคุมน้ำหนักและช่วยการเผาผลาญในร่างกายให้ดีขึ้น เพิ่มอัตราการไหลเวียนของโลหิตในการนำออกซิเจนและสารอาหารไปยังส่วนต่างๆของร่างกายมากขึ้น โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ๔๔,๐๘๐  บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายอาหารว่างและเครื่อง ค่าวิทยากร และค่าวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
 คณะกรรมการกองทุนฯ มีความเห็นว่ารายละเอียดในตัวโครงการยังไม่สมบูรณ์ ยังต้องปรับแก้  และไม่ได้แสดงรายละเอียดของการใช้จ่ายงบประมาณในแต่ละรายการ  ควรให้ไปเพิ่มรายละเอียดต่างๆให้ครบถ้วน
มติที่ประชุม : เห็นควรปรับตามข้อเสนอแนะของกรรมการและให้นำเข้าที่ประชุมเพื่อนำเสนอโครงการ และให้คณะกรรมการพิจารณารายละเอียดโครงการอีกครั้ง

โครงการที่ ๒  โครงการพัฒนาสุขภาพและทักษะโดยใช้กีฬาฟุตซอลเป็นสื่อ
คณะกรรมการกองทุนฯ เนื่องจากทางชมรมไม่ได้แจงรายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณในโครงการดังกล่าว  ทางกรรมการจึงมีความเห็นว่ารายละเอียดโครงการยังไม่สมบูรณ์ ให้ไปปรับรายละเอียดให้ครบถ้วน
มติที่ประชุม : เห็นควรให้ไปปรับปรุงโครงการ  นำเข้าที่ประชุมเพื่อนำเสนอโครงการ ให้คณะกรรมการพิจารณารายละเอียดโครงการอีกครั้ง

โครงการที่ ๓  โครงการพัฒนาสุขภาพและทักษะโดยใช้กีฬาฟุตบอลเป็นสื่อ
คณะกรรมการกองทุนฯ เนื่องจากทางชมรมไม่ได้แจงรายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณในโครงการดังกล่าว  ทางกรรมการจึงมีความเห็นว่ารายละเอียดโครงการยังไม่สมบูรณ์ ให้ไปปรับรายละเอียดให้ครบถ้วน
มติที่ประชุม :  เห็นควรให้ไปปรับปรุงโครงการ นำเข้าที่ประชุมเพื่อนำเสนอโครงการ และให้คณะกรรมการพิจารณารายละเอียดโครงการอีกครั้ง

โครงการที่ ๔  โครงการอบรมเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ ชมรมผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร
                   โครงการนี้เป็นโครงการที่ทางชมรมผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จัดทำเพื่อเป็นการรวมกลุ่มผู้ประกอบการขายอาหาร สร้างความรักและความสามัคคีในกลุ่ม และพัฒนายกระดับการประกอบอาชีพ ทางชมรมมีความเห็นว่า อาหารเพื่อสุขภาพ มีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่ผู้ประกอบการจะต้องรู้และเข้าใจ เพราะนอกจากเป็นที่นิยมชมชอบของผู้บริโภคที่จะได้รับอาหารที่ส่งผลดีต่อสุขภาพและให้ผู้ประกอบการเข้าใจในอาหารเพื่อสุขภาพและถูกหลักอนามัย อีกทั้งยังสามารถเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการอีกทางหนึ่ง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ๘๐,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับอาหารว่าง อาหารกลางวันและเครื่องดื่ม ค่าวิทยากร ค่าวัสดุอุปกรณ์สาธิตทำอาหารและค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น
คณะกรรมการกองทุนฯ มีความเห็นว่าให้เปลี่ยนชื่อโครงการเป็นการอบรมสุขาภิบาลอาหาร แทนการอบรมเมนูเพื่อสุขภาพ ส่วนรูปแบบกิจกรรมอยากให้เน้นส่งเสริมด้านสุขาภิบาลอาหารและสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก  โดยให้จัดทำในนามของชมรมร้านอาหาร ฯ สำหรับวิทยากรให้ระบุชัดเจนว่ามาเชิญจากหน่วยงานไหนบ้าง
มติที่ประชุม :  อนุมัติในหลักการ และให้ปรับตามข้อเสนอแนะ

โครงการที่ ๕  โครงการรณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประจำปี ๒๕๕๘
                  โครงการนี้เป็นโครงการที่ชมรม อสม.เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกร่วมกับ คปสอ.ม.สุไหงโก-ลก จัดทำโครงการนี้อย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อให้เด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี มีภูมิต้านทานต่อโรคโปลิโอสูงเพียงพอที่จะป้องกันการแพร่เชื้อโปลิโอนิดก่อโรคจากภายนอกเข้ามาในประเทศ รวมทั้งการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสวัคซีนโปลิโอ โดยการให้วัคซีนโปลิโอเสริม ๒ ครั้งแก่เด็กไทยอายุต่ำกว่า ๕ ปี ครอบคลุม ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ ๙๐ ในพื้นที่เป้าหมายและกวาดล้างโปลิโอให้หมดไปจากโลก ครั้งที่๑ วันที่ ๑๔ มกราคม  ๒๕๕๘  ครั้งที่ ๒ วันที่  ๑๑ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๘ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ เป็นเงิน ๕๘,๗๕๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการได้แก่ ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าพาหนะของอาสาสมัครที่ปฏิบัติงาน  ค่าจัดทำไวนิลประชาสัมพันธ์ และอื่นๆ
คณะกรรมการกองทุนฯ มีความเห็นว่าเป็นโครงการที่ทำอย่างต่อเนื่องทุกปี  ควรได้รับการสนับสนุนแต่ อยากให้ปรับรูปแบบการจัดทำไวนิลประชาสัมพันธ์ ให้สามารถใช้ได้หลายครั้ง ไม่ต้องจัดทำทุกปี  ทั้งนี้เพื่อลดขยะจากไวนิล
มติที่ประชุม : อนุมัติ ปรับตามข้อเสนอแนะ

โครงการที่ ๖  โครงการชาวชุมชน สุขภาพดี มีความสุข ประจำปี ๒๕๕๘
                  โครงการนี้เป็นของทางชุมชนจือแรตูลี จะทำเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มวัยผู้ใหญ่ ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง เช่น ความดัน เบาหวาน รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ได้รับการดูแลสุขภาพที่บ้านด้วย ทางกลุ่ม อสม.ชุมชนจือแรตูลี จัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มดังกล่าว โดยมีศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๑ เป็นพี่เลี้ยง และวัสดุอุปกรณ์จากศูนย์บริการสาธารณสุขฯ กิจกรรมดังกล่าวจะจัดเดือนละ ๑ ครั้ง วันอาทิตย์ สัปดาห์ที่ ๒ ของทุกเดือน มีจำนวนผู้มารับบริการเพิ่มขึ้น มีรายใหม่เพิ่มขึ้นได้รับการตอบรับจากชาวชุมชนเป็นอย่างดี โครงการนี้ได้ทำมาอย่างต่อเนื่อง ปีนี้เป็นปี ๔  กิจกรรมที่จัดมุ่งเน้นให้ชาวชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง มีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ในกลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ  โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ เป็นเงิน ๒๘,๒๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  ค่าตอบแทนวิทยากร และค่าวัสดุอื่นๆ ที่จำเป็น
คณะกรรมการกองทุนฯ มีความเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีและทำมาอย่างต่อเนื่องทุกปี 
มติที่ประชุม : อนุมัติ

โครงการที่    โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.ในการดูแลช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหา เพศวิถีศึกษารอบด้าน
                  โครงการนี้เป็นโครงการที่ทางโรงพยาบาลสุไหงโก-ลกของกลุ่มงานจิตเวช จัดโครงการนี้เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม. ให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในเรื่องเพศศึกษา  สามารถให้การดูแล ช่วยเหลือ ผู้ที่ประสบปัญหา ซึ่งวัยรุ่นในสมัยนี้เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลง ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เนื่องจากเป็นช่วงต่อของวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ ซึ่งจากสภาพแวดล้อมทางสังคม ครอบครัว และเศรษฐกิจ ตลอดจนเทคโนโลยีในปัจจุบันนับเป็นวิกฤติ ในช่วงพัฒนาของชีวิต ซึ่งปัญหาที่พบมากในวัยรุ่น ทั้งปัญหาสุขภาพ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ เป็นต้น ซึ่งมารกาวัยรุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การตั้งครรภ์เมื่อยังไม่พร้อมจะส่งผลเสียต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นมารดาหรือทารกหรือปัญหาความรุนแรงในครอบครัว  ดังนั้นเพื่อให้ผู้ที่ประสบปัญหาในเรื่องเพศวิถีศึกษารอบด้านได้รับการดูแล ช่วยเหลือและส่งต่อ ได้อย่างถูกต้องและมีคุณภาพ  โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ เป็นเงิน ๔๑,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารกลางวัน ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าที่พักวิทยากร และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น
คณะกรรมการกองทุนฯ มีความเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี เน้นการให้ความรู้แก่อสม.เพื่อนำไปใช้ต่อในการดูแลสุขภาพคนในชุมชนต่อไป
 มติที่ประชุม : อนุมัติ

โครงการที่ ๘  โครงการพัฒนาแกนนำวัย Teen และผู้ให้ความช่วยเหลือศูนย์เพื่อนใจวัย Teen
                  โครงการนี้ก็เป็นอีกหนึ่งโครงการของกลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จัดทำขึ้นเพื่อเป็นจัดตั้งเป็นศูนย์เพื่อนใจวัย Teen นอกสถานพยาบาลเป็นแนวทางและรูปแบบการจัดบริการรูปแบบหนึ่งที่เป็นจุดรับการเชื่อมต่อที่กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงได้ง่ายในรูปแบบต่างๆ ในอำเภอสุไหงโก-ลก พบว่ามีหญิงตั้งครรภ์อายุ น้อยกว่า ๒๐ ปี ร้อยละ ๑๐.๒๕ ,๑๑.๓๓ และ ๑๒.๗๘ ในปี ๒๕๕๕, ๒๕๕๖,และ ๒๕๕๗ ตามลำดับ มารดาวัยรุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากวัยรุ่นเป็นวัยที่มีภาวะอารมณ์แปรปรวนสูง วุฒิภาวะทางอารมณ์ยังไม่สมบูรณ์ มีความสับสนในบทบาทของตนเองในสังคม ขาดทักษะและประสบการณ์ในการเผชิญหน้า ขาดการเข้าใจตนเอง และประสบการณ์ชีวิต ทำให้วัยรุ่นมีความวิตก กังวลและถูกชักจูงไปในทางที่ผิดได้ง่าย  กลุ่มเป้าหมายในโครงการนี้เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ๕ แห่ง คือ โรงเรียนสุไหงโก-ลก ,วิทยาลัยการอาชีพ,เทศบาล ๔,การศึกษานอกระบบและโรงเรียนแสงธรรม แห่งละ ๑๐ คน รวมทั้งผู้ให้ความช่วยเหลือ จำนวน ๑๐ คน  ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ทั้งสิ้น ๑๘๑,๑๐๐ บาท โดยแบ่งออกเป็น ๒ กิจกรรม กิจกรรมที่ ๑ อบรมเชิงปฏิบัติการในเรื่องการอนามัยการเจริญพันธุ์  โดยใช้งบประมาณ ๔๑,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย อาหารว่างและอาหารกลางวัน ค่าวิทยากร และค่าที่พักของวิทยากร และค่าวัสดุต่างๆ   กิจกรรมที่ ๒  ใช้งบประมาณ ๑๔๐,๑๐๐ บาทเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับค่าปฏิบัติงานนอกเวลาราชการสำหรับเจ้าหน้าที่ ค่าพาหนะสำหรับแกนนำ ค่าอาหารว่างสำหรับผู้มารับบริการ
คณะกรรมการกองทุนฯ มีความเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่ดี  ที่มุ่งเน้นการจัดกิจกรรม ให้คำปรึกษา ให้ความช่วยเหลือ แก่วัยรุ่นที่มีปัญหาต่างๆ โดยลักษณะเครือข่ายเพื่อนช่วยเพื่อน  กิจกรรมที่ ๑ เน้นการให้ความรู้ผ่านกระบวนการ ผ่านกิจกรรมต่างๆ  ซึ่งควรจัดให้มีเพราะช่วยเพิ่มองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับวัยรุ่น   ส่วนกิจกรรมที่ ๒  เน้นค่าใช้จ่ายสำหรับเจ้าหน้าที่ที่มาปฏิบัติงานล่วงเวลาในการให้คำแนะนำทำกิจกรรมต่างๆกับเด็ก   ซึ่งบางวันมีเด็กที่มาร่วมทำกิจกรรมไม่มาก  หรืออาจไม่มีเลย  โดยรวมยังไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของกองทุนฯในการใช้จ่ายงบประมาณลักษณะนี้
มติที่ประชุม : อนุมัติ เฉพาะกิจกรรมที่ ๑

โครงการที่    โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
                  โครงการนี้เป็นโครงการที่ทางอนุกรรมการฝ่ายเลขาและธุรการ เพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีการใช้จ่างบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในพื้นที่ จึงจัดมีการประชุมพิจารณาแผนงานโครงการซึ่งมาจากส่วนราชการ ภาคประชาชน ที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน โดยจัดให้มีการประชุมคณะอนุกรรมการฝ่ายจัดทำแผนฯทุกๆ ๔ เดือน รวม ๓ ครั้ง/ปี และเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯได้กำหนด จึงจัดให้มีการประชุมเพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการโดยคณะกรรมการกองทุนฯเดือนละ ๑ ครั้ง รวม ๑๒ ครั้ง/ปี  การออกประเมินติดตามโครงการต่างๆ ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน  ดังนั้นเพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนฯเป็นไปอย่างประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีการใช้งบประมาณทั้งหมด  ๒๖๒,๒๕๐ บาท  แบ่งเป็น ๗ กิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมที่ ๑ ประชุมพิจารณาแผนกองทุนฯ ๓ ครั้ง/ปี  เป็นเงิน ๑๘,๐๕๐ บาท
กิจกรรมที่ ๒ ค่าใช้จ่ายจัดประชุมซักซ้อมการจัดทำแผนงานโครงการ  เป็นเงิน ๓,๕๐๐ บาท
กิจกรรมที่ ๓  ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ๑๒ ครั้ง / ปี  เป็นเงิน  ๑๖๐,๗๐๐  บาท
กิจกรรมที่ ๔  ค่าใช้จ่ายในการออก ติดตามประเมินผลโครงการต่างๆ เป็นเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท
กิจกรรมที่ ๕  ค่าจัดทำสรุปรายงานการดำเนินงานประจำปี ของกองทุนฯ  เป็นเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท
กิจกรรมที่ ๖ ค่าจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้ในงานกองทุนฯ เป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท
กิจกรรมที่ ๗ จัดซื้อครุภัณฑ์เพื่อใช้ในงานกองทุนฯ เป็นเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท
มติที่ประชุม : อนุมัติ

ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องเพื่อติดตาม
เรื่องที่ ๑  : รายงานผลการดำเนินงานของอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ
                ๑.คณะอนุกรรมการฝ่ายจัดทำแผนฯ :   ไม่มีเรื่องแจ้ง
                ๒.คณะอนุกรรมการฝ่ายเลขาและธุรการ:       ไม่มีเรื่องแจ้ง
                ๓.คณะอนุกรรมการฝ่ายการเงินและการบัญชี   :   รายงาน ๑๖ โครงการที่ยังมาส่งใช้หลักฐาน เป็นโรงพยาบาล ๘ โครงการ  และของภาคประชาชน ๘ โครงการ
                ๔.คณะอนุกรรมการฝ่ายประเมินและติดตาม :  ได้ออกประเมิน ๓ โครงการ
                                ๑.โครงการส่งเสริมสุขภาพดวงตาเทิดพระเกียรติ ของโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
                                ๒.โครงการรำกระบี่ไทเก็กเพื่อสุขภาพ ของชมรมไทเก็ก
                                ๓.โครงการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการในเด็กแรกเกิดถึง ๗๒ เดือน ของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒
               
ระเบียบวาระที่  ๖ เรื่องอื่นๆ            ไม่มีเรื่องแจ้ง


                                             ปิดการประชุม  ๑๕.๓๐ น.
                                                                นางปะอีซะห์    มะฮามะรีเป็น      บันทึกและพิมพ์รายงานการประชุม
นางตันจุรีย์       ไชยลาภ                ตรวจทานและแก้ไข