วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

รายงานการประชุมกองทุนฯครั้งที่ ๔/๒๕๕๕



รายงานการประชุมกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
ครั้งที่  ๔/๒๕๕๕   วันที่  ๒๔  มกราคม  ๒๕๕๕
ห้องประชุมสภาเทศบาล  ชั้น 
…………..

เปิดประชุมเวลา  ๑๐.๐๐ น.

                เมื่อคณะกรรมการมาพร้อมกันแล้ว  นาย กิตติ  หวังธรรมมั่ง   รองประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ  คนที่ 1  ทำหน้าที่แทนประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ  ซึ่งติดภารกิจ ได้กล่าวเปิดการประชุมและดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ  ดังนี้

ระเบียบวาระที่                 ประธานแจ้งที่ประชุมทราบ
                                                - ไม่มีเรื่องแจ้ง
ระเบียบวาระที่                 รับรองรายงานการประชุมครั้งที่  ๓/๒๕๕๕    วันที่  ๒๒  ธันวาคม  ๒๕๕๕ 
 มีขอแก้ไข รายงานการประชุมฯ   หน้า     รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม     ลำดับที่  ๑๗   เปลี่ยนจาก
นายประทวน  แก้วห่อทอง   ผอ.กองคลัง   (ประธานอนุกรรมการฝ่ายการเงินการคลัง)  เป็นนางจำรูญจิตร  ตันสกุล    รักษาการ  ผอ. กองคลัง  แทน

        มติที่ประชุม  : รับรองรายงานการประชุม

ระเบียบวาระที่ ๓                 เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

เรื่องที่                รายงานสถานะทางการเงินของกองทุนฯ  ยอดยกมา   ๔,๘๐๑,๖๗๐.๗๕  บาท 
                                      โดยมีรายรับ รายจ่าย  ดังนี้
      สำหรับค่าใช้จ่ายในเดือน  ธันวาคม   ๒๕๕๔   มีค่าใช้จ่าย  เฉพาะประเภทกิจกรรม  ที่  
การบริหารจัดการกองทุนและพัฒนาระบบบริหารจัดการ   จำนวน   ครั้ง    จ่ายเป็นค่าเบี้ยประชุมประจำเดือนธันวาคม   ๒๕๕๔    เป็นเงิน  ๗,๐๐๐  บาท    รวมรายจ่าย  ๗,๐๐๐  บาท
      มีเงินสมทบปี  ๒๕๕๕   จากเทศบาลเมือสุไหงโก-ลก   เป็นเงิน  ๘๑๑,๙๒๐  บาท  (โดยสมทบเมื่อ  ๒๘   ธันวาคม   ๒๕๕๔)
      สรุปคงเหลืองบประธานกองทุนฯ ทั้งสิ้น  ๔,๗๙๔,๖๗๐.๗๕  บาท

มติที่ประชุม          :  รับทราบ

              เรื่องที่              เรื่องแจ้งผ่าน  mail      ของ  สปสช.
                ท่านปลัดเทศบาล  ปีที่ผ่านมา  สปสช. ตรวจสอบ  การเคลื่อนไหวของงบประมาณของแต่ละกองทุนฯ พบว่า  มีการใช้จ่ายเงินไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน  มีเงินเหลือเก็บมาก เสนอโครงการน้อย  หากกองทุนใด  มีการใช้จ่ายเงินน้อย   หรือไม่ใช้จ่ายเงิน  สปสช.  อาจจะพิจารณาไม่โอนเงินสมทบเข้า


กองทุนในปีถัดไป  และฝากให้คณะกรรมการ   คณะอนุกรรมการ    กองทุนฯ   ประชาสัมพันธ์ให้ภาค
ประชาชน   กลุ่มต่าง ๆ  ได้รับทราบเกี่ยวกับกองทุน    เชิญชวนให้มีการเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน   และคณะกรรมการ  หรืออนุกรรมการฝ่ายต่างๆ  มีสิทธ์เสนอโครงการดีๆ  เพื่อให้กองทุนพิจารณาได้

ระเบียบวาระที่ ๔ : เรื่องพิจารณา

เรื่องที่                  การอนุมัติโครงการสร้างเสริมสุขภาพจากหน่วยงาน / ภาคประชาชน
 จำนวน  ๓ โครงการ 

โครงการที่ ๑         โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพตำบลสุไหงโก-ลก  ปี  ๒๕๕๕            
 ผู้รับผิดชอบ       คือ     กลุ่มงานเภสัชกรรม   รพ. สุไหงโก-ลก    งบประมาณที่ใช้   ๔๕,๐๐๐  บาท
                สืบเนื่องจากสภาพปัญหา  ที่มีร้านอาหาร  ร้านค้า  ร้านชำ  มีการจำหน่ายอาหารที่ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค  อาหารไม่ถูกลักษณะ  ไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดซึ่งร้านอาหารมีมากกว่า  ๔๐๐ แห่ง  แต่ได้ดำเนินการเพียง  ๑๐๐  แห่ง  ซึ่งยังค้างอีก  ๓๐๐ แห่ง  ที่ต้องดำเนินการให้ร้านค้า เหล่านี้  มีความรู้  ความเข้าใจ  มีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านสุขาภิบาล   ถูกสุขลักษณะ  ปลอดภัยต่อผู้บริโภค  ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข  มีนโยบายส่งเสริมการคุ้มครองผู้บริโภค  ให้กระจายสู่ชุมชนเพิ่มมากขึ้นเป้าหมายในการดำเนินการ  ได้แก่  ร้านอาหาร  แผงลอย ในชุมชน  ร้านชำ  ที่อยู่ในชุมชนทั้ง    ๒๘ ชุมชน   ตลาดสด 
๑ แห่ง ร้านผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผลิตและจำหน่ายในพื้นที่  ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ  เป็นค่าอาหารว่าง    เครื่องดื่ม    อาหารกลางวัน    ค่าตอบแทน   อสม.  ในการดำเนินการ   ค่าตรวจวิเคราะห์อาหารสำเร็จรูป   รวมเป็นเงิน  ๔๕,๐๐๐ บาท
                ซึ่งคณะกรรมการกองทุนฯ  ได้ให้ข้อเสนอแนะ   เรื่องระยะเวลาดำเนินการจากเดิม  ต.ค. ๕๔-ก.ย.๕๕  ซึ่งช่วงปลายปีงบประมาณ   อาจจะกระทบกับการสรุปงบประมาณ   การเบิกจ่ายเงิน ควรเบิกเป็นรายไตรมาส  ควรมีแผนการใช้จ่ายเงินแนบด้วย   ส่วนเป้าหมาย  ควรแยกเป็นร้านชำกี่แห่ง   ร้านอาหารแผงลอย  กี่แห่ง  ร้านผลิตภัณฑ์สุขภาพกี่แห่ง    เพื่อให้สัมพันธ์กับการใช้จ่ายงบประมาณ     และให้ขยายกลุ่มเป้าหมาย  เช่น   ร้านค้า   ร้านชำ    ซึ่งอยู่ในตลาดจำนวนมาก   ทั้งรายใหม่  รายเก่า     เสนอให้เพิ่มกลุ่มเป้าหมาย  ในตลาดมากกว่า    จุด  เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่มักมาจับจ่ายซื้อของในตลาดสด   มากกว่าซื้อในชุมชน  และมีสินค้าต่างๆ  หลายรายการที่ไม่มี  อย. 

มติที่ประชุม          เห็นชอบโครงการ  แต่ให้ปรับตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ

โครงการที่         โครงการชาวจือแรตูลี    สุขภาพดี    มีความสุข    ประจำปี  ๒๕๕๕ 

                                โครงการนี้เป็นโครงการที่ทางชุมชนจือแรตูลี  ได้แนวคิดจากการไปร่วมงานมหกรรมกองทุนหลักประกันสุขภาพที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  เรื่องการส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มวัยผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง  เช่น  เบาหวาน  ความดัน   และอื่นๆ   โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเอง   เฝ้าระวังป้องกันโรค   มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ   ลดภาวะเสี่ยงจากโรค

ลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่  ส่วนผู้สูงอายุ   ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง  ผู้พิการ  ผู้ด้อยโอกาส  ได้รับการดูแลที่บ้านอย่างต่อเนื่องโดย  อสม.   และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข   มีการส่งผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีอาการผิดปกติพบแพทย์ในสถานบริการต่อไป   โดยมีกลุ่มเป้าหมาย   คือ   ประชาชนชาวชุมชนจือแรตูลี  ๒๕๙  คน  ผู้สูงอายุ  ผู้ป่วยเรื้อรังติดบ้านติดเตียง  ผู้พิการ  ผู้ด้อยโอกาส  จำนวน  ๓๐  คน  และขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ   เป็นเงิน  ๓๕,๐๐๐  บาท
ซึ่งคณะกรรมกองทุนฯ   ได้ให้ข้อเสนอแนะ เรื่องการจัดซื้อของเยี่ยมผู้สูงอายุสามารถซื้อล่วงได้เลย    และจัดทำแผนเยี่ยมเป็นระบบ

ปลัดเทศบาล   : ให้ข้อมูลเรื่องแนวโน้มประเทศไทย   จะมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ  และมีจำนวนเด็กลดลงเรื่อยๆ  จากการคุมกำเนิดที่ได้ผลดี   ทำให้อนาคต ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุดังนั้นเราควรเตรียมความพร้อมให้กับผู้สูงอายุ   เช่น   จัดตั้งศูนย์ผู้สูงวัย   ช่วงกลางวันลูกๆไปทำงานสามารถไปฝากได้  เย็นก็ไปรับกลับ   มีการจัดกิจกรรมต่างๆ  เพื่อให้ผู้สูงอายุ  ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมด้านสุขภาพ    กิจกรรมส่งเสริมอาชีพ  โดยกิจกรรมที่จัดให้ไม่ควรเน้นวิชาการมากเกินไป   เน้นกิจกรรมเพื่อนันทนาการแก่ผู้สูงอายุ   และควรให้มีทุกชุมชน   โดยชุมชนเป็นผู้ริเริ่ม  และดำเนินการ

     มติที่ประชุม                :  อนุมัติโครงการ 

ระเบียบวาระที่                เรื่องเพื่อติดตาม

เรื่องที่                  รายงานผลการดำเนินงานของอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ
๑. คณะทำงานจัดทำแผนฯ
                                                ประธานคณะทำงานจัดทำแผน  ได้สรุปการจัดทำแผนดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโกลก ( ครั้งที่ ๑/๒๕๕๕ )แยกสัดส่วนประเภทกิจกรรม  ระหว่างเดือน  ตุลาคม กุมภาพันธ์  ๒๕๕๕  โดยมีรายละเอียดดังนี้

สรุปการจัดทำแผนดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก (ครั้งที่ 1)
                               แยกสัดส่วนประเภทกิจกรรม ระหว่างเดือน ตุลาคม 2554 - กุมภาพันธ์ 2555      

ประเภทกิจกรรม
จำนวนโครงการที่ผ่านการพิจารณา
งบประมาณ
(บาท)
คิดเป็นร้อยละ
สัดส่วนที่กำหนด
สัดส่วนที่เหลือ
1.การจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ฯ ตามชุดสิทธิประโยชน์
10 โครงการ
567,450
23.31
25
1.69
2.การสนับสนุนงบประมาณแก่หน่วยบริการ
7 โครงการ
293,100
12.04
25
12.96
3.การสร้างเสริมสุขภาพโดยภาคประชาชน  ชุมชน
26 โครงการ
571,844
23.49
40
16.51
4.การบริหารจัดการกองทุนฯ
24 ครั้ง
109,440
4.5
10
5.5

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น
1,541,834
63.34
100
36.66
คงเหลือ
892,206


           งบประมาณสมทบปี 2555
1.เงินสมทบจาก สปสช.  1,622,120 บาท
2.เงินสมทบจากเทศบาลเมืองสุไหงโกลก  811,920 บาท
รวมเป็นเงิน    2,434,040 บาท

๒. อนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ
๒.๑  การจัดทำสรุปผลการดำเนินการงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพ  เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก  กำลังดำเนินการ
๒.๒  ป้ายกองทุนฯ  ได้ติดต่อโรงพิมพ์สุไหงโก-ลก  ออกแบบขนาด  ๖๐ ซ.ม.  ×  ๒๐๐ ซ.ม. ใช้วัสดุอย่างดี  ร้านเสนอราคาประมาณ   ๒๐,๐๐๐  บาท  ซึ่งคิดว่าแพงเกินไปและสิ้นเปลืองซึ่งจะปรับรูปแบบ   และงบประมาณลงเหลือเพียง  ๑๐,๐๐๐ บาท
๒.๓   เรื่องงบประมาณที่เหลือจำนวนมาก  ของกองทุนฯ  ไม่น่าเป็นปัญหา   เพราะมีการเสนอ และพิจารณาโครงการอย่างต่อเนื่อง  มีหลายชุมชนเสนอโครงการดีๆ  ต่อยอดได้     เป็นต้นแบบได้แต่บางโครงการก็ล้มเหลว   เช่น  โครงการส่งเสริมการออกกำลังกาย   ยังมองไม่เห็นเป็นรูปธรรม   ยังไม่เห็นผลสัมฤทธิ์
ในปี   ๒๕๕๕  อยากเน้นให้มีกิจกรรมโครงการที่ริเริ่มทำโดยประชาชน  ให้มากขึ้น   และทุกกิจกรรม
 เป็นการเรียนรู้   ซึ่งกันและกัน


.  อนุกรรมการฝ่ายการเงินและการคลัง
                ได้ส่งหนังสือเร่งรัดให้ทุกโครงการของโรงพยาบาลสุไหโก-ลกที่ได้รับงบประมาณจากกองทุนฯในปี  ๒๕๕๓ -๒๕๕๕   ซึ่งมีทั้งหมด  ๑๑  โครงการที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยให้เร่งส่งหลักฐานการใช้จ่ายเงิน   พร้อมสรุปผลการดำเนินงานให้กองทุนรับทราบด้วย
ผอ. พินัย   :   เน้นให้มีการเบิกจ่ายเงินในห้วงเวลาไม่ควรเบิกข้ามปี  เพราะจะมีผลต่อการสรุปข้อมูลการใช้จ่ายเงิน   รายเดือน, รายปี  ของอนุกรรมการฝ่ายการเงิน


                ๔.  อนุกรรมการฝ่ายติดตามและประเมินผล
๒๔  ธ.ค.  ๒๕๕๔   ออกประเมินโครงการลีลาศเพื่อสุขภาพ                    ผ่าน
๑๘  ม.ค.  ๒๕๕๕    ออกประเมินโครงการรณรงค์โปลิโอ   (ครั้งที่ ๒)      ผ่าน

ระเบียบวาระที่   วาระอื่น ๆ

ปลัดเทศบาล :   เมื่อเดือนมกราคม  ๒๕๕๕  ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสพบปะผู้บริหารท้องถิ่นทางนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด  ได้ฝากให้ทุกกองทุนฯ   ดูแลแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่    ซึ่งอำเภอ
สุไหงโก-ลกมีปัญหาสุขภาพ    คือ  โรคเท้าช้าง   เนื่องจากมีป่าพรุ   ซึ่งมียุงเสือเป็นพาหะนำโรค มีปัญหาเรื่องการโยกย้ายของประชากร  ซึ่งทำให้การควบคุมโรคทำได้ยาก   มีการเสนอให้กองทุนฯ   จัดให้มีรางวัลแก่ผู้ที่
สามารถค้นหา ผู้ป่วยรายใหม่   เพื่อเข้าสู่การบำบัด  ปัญหาที่     คือ  ปัญหาฟันผุ  ในเด็ก   ซึ่งเป็นปัญหา


สุขภาพที่สำคัญของจังหวัด  ปัญหาที่    คือ   โรคเรื้อน  การค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชน   ได้ฝากให้โรงพยาบาล  ร่วมกับกองสาธารณสุข   ช่วยกันดำเนินการ

ผอ. พินัย :   โครงการที่เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพในพื้นที่  ควรดำเนินการแต่ต้องไม่ซ้ำซ้อนกับงานประจำแต่เน้นการต่อยอดโครงการ  หรือเพื่อการพัฒนาซึ่งสามารถเสนอโครงการ  ขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนได้

คุณ ตันจุรีย์ :  แจ้งรายชื่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ  ชุดใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชุดเดิม   ยกเว้น   คุณวินัย   นาคใหม่   ขอไม่รับตำแหน่งเนื่องจากติดภารกิจ    และทางชุมชนได้คัดเลือกผู้แทน   เพื่อรับตำแหน่ง    คือ  นาย กามารอเด็ง   มามะ

คุณ วิโรจน์ :  เสนอเรื่องป้ายกองทุนฯ   ควรจัดทำโดยใช้วัสดุแบบคงทนถาวร   ใช้ได้นานๆ   งบประมาณที่ร้านประมาณราคาให้ 20,000 บาท  ถ้าได้ของดี ทนทาน คิดว่าไม่แพง 




                                                                                  ปิดการประชุม  เวลา  ๑๒.๐๐ น.
                                                                                  นางตันจุรีย์  ไชยลาภ    บันทึกการประชุม
                                                                                  นายมนัส   เบญจสาร พิมพ์                                                           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น