วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ระเบียบกองทุน LTC1



ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
ว่าด้วย หลักเกณฑ์การสนับสนุนและส่งเสริมการบริการดูแลระยะยาว
สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง พ.ศ. ๒๕๕๙
…………....................................................……………………….
โดยที่เป็นการสมควร กำหนดหลักเกณฑ์การสนับสนุนและส่งเสริมการบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ให้มีประสิทธิภาพและความเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๑ (๒) แห่งประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๙ คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จึงมีมติในการประชุมครั้งที่ ……../๒๕๕๙  เมื่อวันที่         กันยายน  ๒๕๕๙  ให้ออกระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
                                   หมวด ๑
                              บททั่วไป คำนิยาม
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก  ว่าด้วยหลักเกณฑ์การสนับสนุนและส่งเสริมการบริการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง พ.ศ. ๒๕๕๙ ”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก รักษาการตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจตีความหรือวินิจฉัยชี้ขาดการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
“ประกาศ”   หมายความว่า  ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๙
     “เทศบาล”  หมายความว่า  เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
     “นายกเทศมนตรี” หมายความว่า นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก
“กองทุน”  หมายความว่า  กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
     “กองทุนหลักประกันสุขภาพ”  หมายความว่า กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ  การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต
     “ระเบียบกองทุน” หมายความว่า  ระเบียบคณะกรรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก พ.ศ. ๒๕๕๘
      “คณะกรรมการกองทุน” หมายความว่า  คณะกรรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
     “คณะอนุกรรมการ”  หมายความว่า  คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง   
         สถานบริการ หมายความว่า สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ของเอกชน และของสภากาชาดไทย หน่วยบริการการประกอบโรคศิลปะสาขาต่างๆ และสถานบริการสาธารณสุขอื่นที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดเพิ่มเติม        
          หน่วยบริการ หมายความว่า  สถานบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕
  ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนหมายความว่า ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุและคนพิการ หรือศูนย์ที่มีชื่ออย่างอื่น  ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือที่คณะอนุกรรมการเห็นชอบ
                       “ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงหมายความว่า  ผู้สูงอายุหรือบุคคลอื่นๆ ที่มีคะแนนประเมิน ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) เท่ากับหรือน้อยกว่า ๑๑ คะแนน ซึ่งแบ่งออกเป็น ๔ กลุ่ม และมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขตามชุดสิทธิประโยชน์ ในเอกสารแนบท้ายประกาศ

                      การบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงหมายความว่า การบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ในเอกสารแนบท้าย ที่เป็นการให้บริการ ณ ครัวเรือน หรือที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หรือที่หน่วยบริการ หรือที่สถานบริการ ที่ให้บริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง  โดยบุคลากรสาธารณสุขหรือผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
การดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงด้านสังคมหมายความว่า การดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย ช่วยเหลือตนเองได้แต่ไม่มีคนดูแล หรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้และต้องการความช่วยเหลือจากเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
                     ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Care giver)” หมายความว่า บุคคลที่ผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง หรือคณะอนุกรรมการอื่น ภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เห็นชอบ
 “คณะทำงาน” หมายความว่า คณะบุคคลที่คณะกรรมการกองทุนแต่งตั้งเพื่อช่วยเหลือการดำเนินงานของกองทุน
                                หมวด ๒                           
       เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ
ข้อ ๕ เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสนับสนุนและส่งเสริมการบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตามชุดสิทธิประโยชน์และอัตราการชดเชยค่าบริการที่กำหนดในเอกสารแนบท้ายประกาศ ของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หรือหน่วยบริการ หรือสถานบริการ ที่จัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตามที่คณะอนุกรรมการตามข้อ ๑๑ เห็นชอบ
ค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่ง ให้จ่ายเป็นค่าตอบแทนของบุคลากรที่เกี่ยวข้องตามอัตราที่หน่วยงานที่จัดบริการกำหนดได้ และรวมถึงจ่ายเป็นค่าตอบแทนของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในอัตราที่แตกต่างกันได้ตามอัตราที่หน่วยงานที่จัดบริการกำหนด หรือตามที่คณะอนุกรรรมการตามข้อ ๑๑ กำหนดหรือเห็นชอบ แต่ต้องไม่เกินค่าแรงขั้นต่ำที่รัฐบาลกำหนด
ข้อ ๖ ที่มาของเงิน
(๑) เป็นเงินเพิ่มจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในส่วนค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด โดยเงินที่ได้รับ ให้ถือว่าเป็นเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพและให้สามารถใช้ในปีงบประมาณถัดๆไปได้
(๒) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะได้รับเงินตาม (๑) ต้องมีความพร้อม เหมาะสม และได้แสดงเจตนาเข้าร่วมดำเนินงานดูแลผู้สูงอายุและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเห็นชอบ
(๓) ภายใต้บังคับข้อ ๕ กรณีเงินเพิ่มตาม (๑) ไม่เพียงพอให้สามารถนำเงินจากบัญชีกองทุนหลักประกันสุขภาพ ไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้
ทั้งนี้ กรณีที่ใช้เงินกองทุนตาม (๑) และ (๓) ให้คณะอนุกรรมการรายงานให้คณะกรรมการกองทุนทราบ
ข้อ ๗  การรับเงิน
(๑)  บรรดาเงินรายรับของกองทุนเพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ให้นำส่งเข้าบัญชีกองทุนที่เปิดไว้ตามข้อ
(๒) วิธีการรับเงิน การนำฝากเงิน ให้เป็นไปตามระเบียบกองทุน ข้อ ๑๙ และข้อ ๒๐
ข้อ ๘  การเก็บรักษาเงิน
(๑) ให้คณะกรรมการกองทุน เปิดบัญชีเงินฝากของกองทุน (ย่อย) กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (...) สาขาสุไหงโกลก ประเภทบัญชี “ออมทรัพย์” บัญชี ชื่อ บัญชีกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโกลก  เพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง แยกออกจากบัญชีกองทุน (หลัก) ต่างหาก
(๒) การเปิดบัญชีเงินฝากและเงื่อนไขการสั่งจ่ายเงินจากบัญชี ตาม (๑)  ให้คณะกรรมการกองทุน มอบหมายบุคคลที่เป็นผู้เปิดบัญชีและสั่งจ่ายเงินจากบัญชีกองทุน (หลัก) ตามระเบียบกองทุนข้อ  ๒๑ เป็นผู้เปิดบัญชีกองทุน (ย่อย) นี้อีก ๑ บัญชี
ข้อ ๙ การสั่งจ่ายเงิน
(๑) ให้นายกเทศมนตรีสั่งจ่ายเงินกองทุน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายตามข้อ ๕ ภายใต้ข้อเสนอการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และแผนการดูแล (Care Plan) รายบุคลของหน่วยบริการ สถานบริการ หรือศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน ที่คณะอนุกรรมการเห็นชอบ
(๒) หลักเกณฑ์การจ่ายเงิน ให้เป็นไปตามระเบียบกองทุนข้อ ๒๕ (๑) และข้อ ๒๖
ข้อ ๑๐  การบันทึกบัญชีและการรายงานการเงิน  ให้เป็นไปตามระเบียบกองทุนข้อ ๒๗ และข้อ ๒๘
                                    หมวด ๓ 
          คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
ข้อ ๑๑  ให้คณะกรรมการกองทุน แต่งตั้งคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยมีองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
                     (๑) ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรปกครองท้องถิ่นหรือ             ประธานอนุกรรมการ
ผู้บริหารอื่นที่ได้รับมอบหมาย      
(๒)  ผู้แทนกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ (๒ คน)                อนุกรรมการ
(๓)  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลของรัฐในพื้นที่หรือผู้แทน (๑ คน)         อนุกรรมการ
(๔)  สาธารณสุขอำเภอในพื้นที่หรือผู้แทน (๑ คน)                       อนุกรรมการ
(๕)  หัวหน้า/ผู้แทนหน่วยบริการปฐมภูมิของรัฐในพื้นที่ (๑ คน)         อนุกรรมการ
(๖)  ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข (๑ คน)                   อนุกรรมการ
(๗)  ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึงพิงในพื้นที่ (๑ คน)             อนุกรรมการ
(๘)  ประธานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน (๑ คน )        อนุกรรมการ     (๙ )  ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม หรือ ผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุ        อนุกรรมการ
(๑๐)  ปลัดองค์กรปกครองท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่อื่น     
                           ที่ได้รับมอบหมาย (๑ คน)                             อนุกรรมการและเลขานุการ
                   (๑๑) หัวหน้าศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
   อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขา ฯ
ข้อ ๑ ให้เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก  จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนตามความจำเป็นและเหมาะสม   อย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง โดยการประชุมแต่ละครั้ง
(๑) มีอนุกรรมการมาประชุมไม่กว่าน้อยกึ่งหนึ่ง
(๒) จัดให้มีระเบียบวาระการประชุม 
(๓) จัดทำรายงานการประชุม โดยอนุกรรมการและเลขานุการ เป็นผู้ลงนามและรับผิดชอบความถูกต้อง สมบูรณ์ครบถ้วนของรายงาน
(๔) ให้รายงานสถานการณ์ของเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพเพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ให้ที่ประชุมทราบ
(๕ ) ให้คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และคณะทำงาน  มีสิทธิ์รับค่าตอบแทนได้โดยไม่เกินอัตราที่สปสช.กำหนด
ข้อ ๑  หน้าที่ของคณะอนุกรรมการ

(๑) พิจารณาจัดหา และกำหนดกรอบอัตราการชดเชยค่าบริการ สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง  
(๒) เห็นชอบให้ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หรือหน่วยบริการ หรือสถานบริการ เข้าร่วมจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ที่กำหนดในเอกสารแนบท้ายประกาศ
(๓) ประสานงานกับเทศบาลในการจัดระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยบูรณาการกับการบริการดูแลช่วยเหลือทางด้านสังคม
(๔) กำกับ ติดตาม ประเมินผล และแก้ไขปัญหาที่จะเป็นอุปสรรคต่อการจัดบริการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามแผนการดูแลด้านสาธารณสุข (Care Plan) และด้านสังคม (Socail Care Plan) ของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หรือเทศบาล          
(๕) รายงานผลการกำกับ ติดตาม ประเมินผล รวมทั้งปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานให้แก่คณะกรรมการกองทุนทราบ
(๖) อื่นๆตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการกองทุน
                                     หมวด ๔
การสนับสนุนและส่งเสริมบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
ข้อ ๑๔ หลักเกณฑ์การเข้าร่วมจัดบริการดูแลระยะยาวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ของหน่วยบริการ สถานบริการ หรือศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน ตามข้อ ๕
                   (๑) ต้องจัดให้มีผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข (Care Manager) ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ซึ่งผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง หรือคณะอนุกรรมการอื่นภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด ทำหน้าที่
                             (๑.๑) เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการจัดบริการ ประสานให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับบริการด้านสาธารณสุขตามชุดสิทธิประโยชน์
(๑.๒) ประเมินและวางแผนการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข (Care Plan) ให้กับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแต่ละกลุ่มก่อนให้บริการ
การประเมิน การวางแผนการดูแลและการกำหนดอัตราค่าตอบแทนการดูแล ให้เป็นไปตามไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในเอกสารแนบท้าย
                             (๑.๓) ประเมินผลการดูแลและปรับแผนการให้บริการ ร่วมกับบุคลากรสาธารณสุขของหน่วยงาน
                   (๒) จัดให้มีผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Care Giver) ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรที่คณะบุคคล หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตาม (๑) กำหนด หรือมีเครือข่ายสุขภาพอื่นๆหรืออาสาสมัคร จิตอาสา ทำหน้าที่
                             (๒.๑) บริการดูแลที่บ้าน/ชุมชนและให้คำแนะนำแก่ญาติและผู้ดูแล ในการบริการสาธารณสุขเบื้องต้น ทั้งด้านการพยาบาล การฟื้นฟูสภาพ การทำกายภาพบำบัด การดูแลด้านยา ด้านโภชนาการ รวมถึงการวัดสัญญาณชีพ การตรวจคัดกรองสุขภาพ ตรวจน้ำตาลในเลือด การปฐมพยาบาลการช่วยฟื้นคืนชีพ เป็นต้น
                             (๒.๒) ดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน อาทิ การดูแลทำความสะอาดร่างกาย การดูแลเรื่องการกินยา ดูแลเรื่องการกินอาหาร
(๒.๓) จัดการสภาพแวดล้อม/บ้าน เพื่อการฟื้นฟูสภาพ ป้องกันอุบัติเหตุ ให้เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงแต่ละกลุ่ม
                   ทั้งนี้ อัตราส่วน Care Manager : Care Giver : ผู้สูงอายุ  : ๕-๑๐ : ๓๕-๔๐
(๓) จัดให้มีบุคลากรสาธารณสุข (ทีมหมอครอบครัว) ทำหน้าที่ในการดูแลด้านการพยาบาล ด้านการฟื้นฟูสภาพร่างกาย ด้านโภชนาการ ด้านเภสัชกรรมและด้านอื่นๆตามความจำเป็น อาทิ สุขภาพช่องปาก สุขภาพจิต
                   (๔) บูรณาการการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขและด้านสังคมกับเทศบาล ในการจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์และอุปกรณ์เครื่องช่วยที่จำเป็นตามสภาพผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงตามข้อ ๒๒
(๕) มีการติดตามประเมินผลการจัดบริการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามแผนการดูแล (Care Plan) โดยผู้จัดการดูแลระบบ (Care Manager) ร่วมกับผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Care Giver) และรายงานผลต่อคณะอนุกรรมการ
ข้อ ๑๕ หลักเกณฑ์และขั้นตอนการสนับสนุนและส่งเสริมการบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตามชุดสิทธิประโยชน์และอัตราการชดเชยค่าบริการที่กำหนดในเอกสารแนบท้ายประกาศ
                   (๑) ให้หน่วยบริการ  สถานบริการ  หรือศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน สำรวจข้อมูลผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบ ณ   กรกฎาคม ของทุกปี โดยใช้แบบประเมินความสามารถในการดำรงชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล และสรุปจำนวนผู้สูงอายุที่มีคะแนนประเมินเท่ากับหรือน้อยกว่า ๑๑ จำนวน ๔ กลุ่มตามความต้องการบริการด้านสาธารณสุข ตามแบบ LTC ๑ และจัดส่งให้เทศบาลปีละ ๑ ครั้ง เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการวางแผนดำเนินงาน
(๒) ให้ผู้จัดการระบบการดูแล  (Care Manager) ของหน่วยบริการ สถานบริการ หรือศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน ประเมินและวางแผนการดูแล (Care Plan) ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตาม (๑) รายบุคคล ตามแบบ LTC
(๓) ให้หัวหน้าหน่วยบริการ  สถานบริการ  หรือศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน จัดทำข้อเสนอการจัดบริการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน ตามแบบ LTC ๓ พร้อมแนบแผนการดูแล (Care Plan)  LTC  เสนอต่อประธานอนุกรรมการภายในเดือนสิงหาคมของทุกปี
(๔) หลังจากได้รับข้อเสนอตาม (๓) ให้คณะทำงานดำเนินการดังนี้
(๔.๑) สรุปรายละเอียดข้อเสนอการจัดบริการ ของหน่วยบริการ สถานบริการ และศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน ลงในแบบ LTC  
(๔.๒) จัดประชุมคณะอนุกรรมการ เพื่อพิจารณาข้อเสนอการจัดบริการ หากที่ประชุมมีมติ
-เห็นชอบ ใช้แบบสรุปรายละเอียดข้อเสนอและผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ของหน่วยบริการ สถานบริการ และศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน   LTC    เพื่อเป็นหลักฐานในการสั่งจ่ายเงินกองทุนสนับสนุนของนายกเทศมนตรี
-ไม่เห็นชอบ ให้แจ้งหัวหน้าหน่วยงานที่จัดทำข้อเสนอการจัดบริการทราบ พร้อมด้วยเหตุผล หากเป็นข้อเสนอที่สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ให้เสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไขและนำส่งใหม่ภายในเวลาที่กำหนด      
(๕) เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก  ดำเนินการเบิกจ่ายเงินกองทุน ให้หน่วยบริการ สถานบริการ หรือศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน ที่คณะอนุกรรมการได้ให้ความเห็นชอบข้อเสนอการจัดบริการ ภายใน ๑๕ วันทำการนับแต่วันที่ประชุมมีมติ
                                                     หมวด ๕
  วิธีการสนับสนุนเงินกองทุน
ข้อ ๑๖ การสนับสนุนเงินกองทุน ให้กับหน่วยบริการ สถานบริการ หรือศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชน ที่คณะอนุกรรมการได้ให้ความเห็นชอบข้อเสนอการจัดบริการ ให้ใช้วิธีสั่งจ่ายเช็คเข้าบัญชีทั่วไปของหน่วยงาน หรือบัญชีเงินฝากที่หน่วยงานได้เปิดรองรับเงินกองทุน (หลัก) ไว้ตามระเบียบกองทุน
การใช้จ่ายเงินที่ได้รับการสนับสนุนตามวรรคหนึ่ง ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบของหน่วยงานนั้นๆ โดยอนุโลม หากมีเงินเหลือจ่ายจากการจัดบริการตามข้อเสนอให้ส่งคืนกองทุน
ข้อ ๑๗ ก่อนเบิกจ่ายเงินสนับสนุน  ให้จัดทำบันทึกข้อตกลงการจัดระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ระหว่างเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกกับหน่วยบริการ สถานบริการ หรือศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชน ตามแบบ LTC    
ข้อ ๑๘ ในการเบิกจ่ายเงินสนับสนุนตามข้อ ๑๖ ให้มีหลักฐานประกอบด้วย
(๑) แบบข้อเสนอการจัดบริการ  LTC
(๒) แบบสรุปรายละเอียดข้อเสนอและผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการ LTC  
(๓) แบบบันทึกข้อตกลงการจัดบริการ   LTC
(๔) สำเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝากตามข้อ ๑๖ เพื่อเป็นหลักฐานในการสั่งจ่ายเช็คเข้าบัญชี (กรณีสนับสนุนครั้งแรก) และ  
(๕) แบบใบเบิกเงินตามระเบียบกองทุน (กท. ๑)  
ข้อ ๑๙ ในการเบิกจ่ายเงินจากบัญชีเงินฝากของหน่วยงาน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนการดูแล  (Care Plan) ให้หัวหน้าหน่วยงานเป็นผู้อนุมัติเบิกตามรายการและค่าใช้จ่ายที่คณะอนุกรรมการเห็นชอบตามแบบอนุมัติเบิกเงินจากบัญชี (กท.๙) และเก็บไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ ๒๐ ภายใน ๓๐ วันหลังเสร็จสิ้นการดำเนินงานตามข้อเสนอ ให้หัวหน้าหน่วยงาน รายงานผลการดำเนินงานต่อประธานอนุกรรมการ ตามแบบ LTC ๖ พร้อมด้วยสำเนาเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ ส่วนต้นฉบับให้เก็บไว้ที่หน่วยงานเพื่อการตรวจสอบ
(๑) หลักฐานการใช้จ่ายเงิน เช่น ใบเสร็จรับเงิน หรือใบสำคัญรับเงิน
(๒) เอกสารอื่นๆ ที่เป็นสาระสำคัญของการดำเนินงาน รวมทั้งภาพถ่ายกิจกรรม
(๓) เงินเหลือจ่าย (ถ้ามี)
ข้อ ๒๑ กรณีการดูแลตามแผนต้องสิ้นสุดลงด้วยเหตุใดก็ตาม และมีเงินเหลือจ่ายหากหน่วยงานมีความจำเป็นต้องใช้ที่เงินเหลือจ่ายนั้นเพื่อการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ต่อไป ให้ดำเนินการดังนี้  
(๑) ให้หน่วยงานจัดทำแผนการดูแลและข้อเสนอการจัดบริการ ตามข้อ ๑๕ (๒) (๓) ส่งให้กองทุนเพิ่มเติม ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในเอกสารแนบท้ายและตามวงเงินที่เหลืออยู่ โดยภายหลังจัดส่ง หน่วยงานสามารถให้บริการตามแผนได้ทันที
(๒) ให้คณะทำงานเสนอ (๑) ต่อคณะอนุกรรมการในการประชุมครั้งต่อไป เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ เงื่อนไขการเห็นชอบกำหนดให้มีผลย้อนหลังนับแต่วันที่จัดส่ง (๑) ให้กองทุน
ข้อ ๒๒ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการจัดบริการ                                                         
                   (๑) ให้หน่วยงานประเมินกระบวนการจัดบริการของหน่วยงานตามแบบ
LTC ๗ และรายงานผลการประเมินมาพร้อมกับรายงานตามข้อ ๒๐
(๒) ให้คณะอนุกรรมการประเมินความพึงใจของผู้รับบริการ/ผู้มีส่วนได้เสียต่อการจัดบริการของหน่วยงาน ตามแบบ LTC ๘ ปีละ ๑ ครั้ง ณ เดือนกรกฎาคม ของทุกปี
(๓) ให้คณะทำงานสรุปผลการดำเนินงานตามข้อ ๒๐ และข้อ ๒๒ รายงานต่อคณะอนุกรรมการและคณะกรรมการกองทุน เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงระบบการจัดบริการให้มีประสิทธิภาพและสนองตอบต่อความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย           
             หมวด ๖
การสนับสนุนและส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงด้านสังคม
ข้อ ๒๓ เพื่อให้การดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีประสิทธิภาพ และเกิดการบูรณาการกับการดูแลช่วยเหลือทางด้านสังคม ให้เทศบาลโดยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบร่วมกับหน่วยบริการ สถานบริการ หรือศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนในการดำเนินการดังนี้
(๑) สำรวจข้อมูลผู้สูงอายุหรือบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงด้านสังคม ตามแบบ LTC ๙ ส่งให้คณะอนุกรรมการปีละ ๑ ครั้ง ภายในเดือนสิงหาคมของทุกปี โดยการสำรวจแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม
กลุ่ม ก คือ ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน และเทศบาล ได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือแล้ว
กลุ่ม ข คือ ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย ไม่มีคนดูแล แต่ยังสามารถช่วยเหลือตนเองได้ รอเทศบาลเข้าไปดำเนินการให้ความช่วยเหลือ
กลุ่ม ค คือ ผู้สูงอายุที่ได้รับการช่วยเหลือเสร็จสิ้นแล้ว มีอาการดีขึ้น สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ย้ายที่อยู่อาศัย หรือเสียชีวิต  
(๒) จัดทำแผนการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงด้านสังคม รายบุคคล กลุ่ม ก และกลุ่ม ข ตามแบบ  LTC ๙/๑
                   (๓) ดำเนินการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุตามแผน (๒) รายบุคคล ตามวิธีการช่วยเหลือ ในแต่ละสภาพปัญหา โดยประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  
                   (๔) รายงานสรุปผลการการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงด้านสังคมต่อคณะอนุกรรมการภายใน ๓๐ วันหลังสิ้นปีงบประมาณ
                   ข้อ ๒๔ ให้ทรัพย์สินของกองทุน ตามระเบียบกองทุนข้อ ๔๖ (๑) (ข) (๓) (๔) (๕) ประเภทอุปกรณ์ทางการแพทย์ และอุปกรณ์เครื่องช่วยอื่นๆ ที่ได้รับตามโครงการรับบริจาคและให้ยืมอุปกรณ์การแพทย์ของกองทุน เป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงด้านสาธารณสุขและด้านสังคมตามข้อ ๒๓ (๓)
                   ข้อ ๒๕ กรณีทรัพย์สินของกองทุนตามข้อ ๒๔ ไม่เพียงพอต่อการให้การดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ให้หน่วยงานตามข้อ ๒๓ และกองทุนดำเนินการจัดหาให้เพียงพอ โดยประสานขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพจังหวัดนราธิวาส องค์การบริหารส่วนจังหวัดนราธิวาส หรือโดยวิธีอื่นตามความเหมาะสม
                   ข้อ ๒๖ ให้คณะทำงาน รายงานสรุปสถานะทรัพย์สินของกองทุนตามข้อ ๒๔ ตามแบบ กท. ๑๖/๑ ต่อคณะกรรมการกองทุนและคณะอนุกรรมการปีละ ๑ ครั้ง ทุกสิ้นปีงบประมาณ
                              หมวด ๗ 
                  ค่าตอบแทน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
ข้อ ๒๗ การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมคณะอนุกรรมการ และค่าตอบแทนคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน ให้เป็นไปตามระเบียบกองทุนข้อ ๔๐ (๒) (๒.๒) และ (๒.๓)
ข้อ ๒๘ ภายใต้บังคับข้อ ๕ และข้อ ๑๕ การจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรที่เกี่ยวข้องและค่าตอบแทนผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Care Giver) ในการให้บริการตามแผนการดูแล (Care Plan) ให้คณะอนุกรรมการกำหนดอัตราการชดเชยค่าบริการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามเอกสารแนบท้าย ภายใต้เงื่อนไขดังนี้
(๑) ค่าตอบแทนบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ให้เบิกจ่ายได้เฉพาะกรณีออกปฏิบัติงานเชิงรุกในชุมชน ช่วงนอกเวลาในวันราชการปกติหรือในวันหยุดราชการเท่านั้น อัตรา
-วันราชการปกติ เบิกจ่ายได้วันละไม่เกิน ๒ ชั่วโมง อัตราชั่วโมงละ ๕๐ บาท
-วันหยุดราชการ เบิกจ่ายได้วันละไม่เกิน ๖ ชั่วโมง อัตราชั่วโมงละ ๖๐ บาท
(๒) ค่าตอบแทนผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Care Giver) ให้เบิกจ่ายได้เฉพาะกรณีมีการออกให้บริการดูแลที่บ้าน/ชุมชนจริงโดย
          -จำนวนผู้สูงอายุที่ดูแลตามแผนการดูแลวันหนึ่งต้องไม่เกิน ๖ คน
          -ค่าตอบแทนที่ได้รับต้องไม่เกินค่าแรงขั้นต่ำที่รัฐบาลกำหนด ณ ขณะนั้น
ข้อ ๒๘ ในการดำเนินงานดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง หากไม่มีหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือแนวปฏิบัติกำหนดไว้ในระเบียบนี้  ให้เป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการกองทุน หรือคณะอนุกรรมการแล้วแต่กรณี
      ประกาศ   วันที่            กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙



                                                (นางสุชาดา   พันธ์นรา)
                                    ประธานกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ
                                              เทศบาลเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น