วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้น้ำบาดาล

ภารกิจที่ถ่ายโอนไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

1.การขุดเจาะน้ำบาดาล

2.การพัฒนาเป่าล้างบ่อน้ำบาดาลเดิม

3.การซ่อมบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำแบบบ่อลึก

4.การเรียกเก็บค่าใช้น้ำบาดาล

5.การอนุญาตการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางตอนบนสุดน้อยกว่า 4 นิ้ว และมอบอำนาจการอนุญาตใช้น้ำบาดาลที่อนุญาตใช้ไม่เกินวันละ 10 ลูกบาศก์เมตร

ภารกิจเรียกเก็บค่าใช้น้ำบาดาล

** การใช้น้ำบาดาลอย่างอนุรักษ์นั้นจะใช้การเก็บค่าใช้น้ำบาดาลเป็นเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อใช้สร้างจิตสำนึกให้กับ ผู้ใช้น้ำบาดาลได้ตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรน้ำบาดาล

หน้าที่ของผู้รับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล

ผู้รับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลต้องชำระค่าใช้น้ำบาดาลและ ค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง

-ตาม พ.ร.บ.น้ำบาดาล พ.ศ. 2520 มาตรา 25/1 และ

-กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2540) แก้ไขเพิ่มเติมโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2543)

1.การแต่งตั้งผู้รับผิดชอบ

กรมทรัพยากรน้ำบาดาล จะต้องดำเนินการ

1.1 แต่งตั้งพนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่

1.2 แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่

แต่งตั้งพนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่

กรมทรัพยากรน้ำบาดาล แต่งตั้งนายกเทศมนตรีหรือนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นพนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ (ประกอบด้วยเทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล)

-มีอำนาจหน้าที่ในการจัดเก็บค่าใช้น้ำบาดาล และค่าธรรมเนียมต่างๆ

-รวมทั้งมอบอำนาจให้ดำเนินการฟ้องร้องบังคับคดีผู้ประกอบกิจการ น้ำบาดาลที่ค้างชำระค่าใช้น้ำบาดาลตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520

2.วิธีและขั้นตอนการดำเนินการ

2.1 กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ส่งสำเนาใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการเรียกเก็บค่าใช้น้ำบาดาล

2.2 การคำนวณค่าใช้น้ำบาดาล

การคำนวณค่าใช้น้ำบาดาลให้คำนวณปริมาณน้ำบาดาลที่ใช้ ดังนี้

2.2.1 กรณีที่ผู้รับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำ ให้ชำระชำระค่าใช้น้ำบาดาลที่วัดได้จากเครื่องวัดปริมาณน้ำนั้น

2.2.2 กรณีไม่อาจคำนวณปริมาณน้ำบาดาลได้จากเครื่องวัดปริมาณน้ำเพราะผู้รับใบอนุญาตไม่ได้ติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำหรือด้วยเหตุอื่นได ให้ชำระค่าใช้น้ำบาดาลตามปริมาณน้ำบาดาลสูงสุดที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต ใช้น้ำบาดาล โดยคำนวณตามวันที่ไม่อาจคำนวณน้ำบาดาลได้

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2521) ออกตามความในพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520

เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการทางวิชาการสำหรับการใช้น้ำบาดาลแบบอนุรักษ์

ในกรณีที่ติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำ ให้ผู้รับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลกรอกรายการในรายงานการใช้น้ำบาดาลตามแบบ นบ./11 แล้วส่งรายงานดังกล่าวให้พนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

บทกำหนดโทษ

กรณีผู้รับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลไม่ส่งรายงานตามแบบ นบ./11 มีความผิด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท (มาตรา 37)

2.3 หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเรียกเก็บค่าใช้น้ำบาดาล

-ให้ดำเนินการตามกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2540) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติ น้ำบาดาล พ.ศ. 2520

-ระเบียบกรมทรัพยากรน้ำบาดาลว่าด้วยการจัดเก็บรายได้และการนำส่งรายได้ตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520

กำหนดให้มีการชำระค่าใช้น้ำบาดาล จำนวน 4 งวด

งวดที่ 1 ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม

งวดที่ 2 ตั้งแต่เดือนเมษายน ถึงเดือนมิถุนายน

งวดที่ 3 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายน

งวดที่ 4 ตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม

ผู้ใช้น้ำบาดาลจะต้องชำระค่าใช้น้ำบาดาลในแต่ละงวดให้ครบถ้วนต่อพนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ ภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มงวดถัดไป

อัตราค่าใช้น้ำบาดาล

- ค่าใช้น้ำบาดาลอัตราลูกบาศก์เมตรละ 3.50 บาท

การเรียกเก็บค่าใช้น้ำบาดาล

ประเภท. 1 อุปโภคบริโภคท้องที่มีน้ำประปาใช้เก็บเต็ม (3.50บาท/ลบ.ม.) ท้องที่ไม่มีน้ำประปาใช้ยกเว้น

2.ธุรกิจ

-โรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่ใช้วัตถุดิบจากผลิตผลการเกษตรตามประเภทและชนิดที่รัฐมนตรีกำหนด ท้องที่มีน้ำประปาใช้ เก็บเต็ม(3.50บาท/ลบ.ม.) ท้องที่ไม่มีน้ำประปาใช้ลดหย่อนเก็บ 75% ของปริมาณน้ำ(2.625 บาท/ลบ.ม.)

-โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบจากผลิตผลการเกษตรตามประเภทและชนิดที่รัฐมนตรีกำหนดท้องที่มีน้ำประปาใช้ เก็บเต็ม (3.50บาท/ลบ.ม.)ท้องที่ไม่มีน้ำประปาใช้ลดหย่อนเก็บ 30% ของปริมาณน้ำ(1.05 บาท/ลบ.ม.)

3.เกษตรกรรม

-การเพาะปลูกท้องที่มีน้ำประปาใช้เก็บเต็ม (3.50บาท/ลบ.ม.)ท้องที่ไม่มีน้ำประปาใช้ยกเว้น

-การเลี้ยงสัตว์ที่ใช้น้ำบาดาลไม่เกินวันละ 50 ลบ.ม.ท้องที่มีน้ำประปาใช้เก็บเต็ม(3.50บาท/ลบ.ม.)ท้องที่ไม่มีน้ำประปาใช้ยกเว้น

การเลี้ยงสัตว์ส่วนที่ใช้น้ำบาดาลเกินวันละ 50 ลบ.ม.(เก็บเฉพาะส่วนที่เกิน)ท้องที่มีน้ำประปาใช้เก็บเต็ม(3.50บาท/ลบ.ม.)ท้องที่ไม่มีน้ำประปาใช้ลดหย่อนเฉพาะส่วนที่เกินวันละ 50 ลบ.ม.แล้วเก็บเพียง 30 % ของปริมาณน้ำ (1.05 บาท/ลบ.ม.)

ประเภทการใช้น้ำบาดาล

1.อุปโภคบริโภค

1.1.บ้านอยู่อาศัย

1.2.โรงพยาบาลของรัฐ สถานที่ราชการ สถาบันการศึกษา และศาสนสถาน

1.3.อาคารชุด แฟลต อพาร์ตเมนต์ หอพัก บ้านเช่า หมู่บ้านจัดสรร ที่ดินจัดสรรเพื่ออยู่อาศัย/สวนเกษตร

1.4.ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำประปาขององค์การของรัฐหรือ อปท.

2.ธุรกิจ แบ่งเป็น

2.1 ธุรกิจ(อุตสาหกรรม)

-การใช้น้ำในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานผลิตเบียร์ สุรา ห้องเย็น เหล็กเส้น อาหารกระป๋อง

2.2 ธุรกิจ(บริการ)

-การใช้น้ำบาดาลเพื่อบริการลูกค้า เช่นโรงแรม โรงภาพยนตร์ ศูนย์การค้า ตลาด ร้านอาหาร สถานีบริการน้ำมัน อาคารพาณิชย์ สนามกีฬา สนามกอล์ฟ สวนสนุก สวนสัตว์ สำนักงาน โรงพยาบาลเอกชน

2.3 ธุรกิจ(การค้า)

-การใช้น้ำบาดาลเป็นวัตถุดิบในการผลิต เช่น น้ำดื่ม น้ำแร่ น้ำอัดลม โซดา น้ำแข็ง เครื่องดื่มชูกำลัง

3.เกษตรกรรม

ได้แก่การใช้น้ำบาดาลเพื่อ

-การเพาะปลูก

-การเลี้ยงสัตว์

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดประเภทและชนิดของโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบจากผลิตผลการเกษตร

1. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับผักหรือผลไม้อย่างไดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง

2. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับเมล็ดพืชหรือหัวพืชอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง

3. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับน้ำตาล ซึ่งทำจากอ้อย หญ้าหวาน หรือพืชอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง

4. โรงงานประกอบกิจการที่เกี่ยวกับสัตว์หรืออาหารสัตว์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง

5. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับนม อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง

6. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับน้ำมันจากพืช หรือสัตว์ หรือไขมันจากสัตว์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง

7. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการผลิตเยื่อหรือกระดาษ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง

8. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับสิ่งทอ ด้าย หรือเส้นใยธรรมชาติเป็นส่วนประกอบ

9. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับเครื่องปรุงหรือเครื่องประกอบอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง

10. โรงงานประกอบเกี่ยวกับยาง อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง

11. โรงงานประกอบกิจการที่เกี่ยวกับการบ่มใบชา หรือใบยาสูบ

12. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวผลิตผลเกษตรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง

13. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับชา กาแฟ โกโก้ ช็อกโกแลต หรือขนมหวานอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง

14. โรงงานผลิตภาชนะบรรจุหรือเครื่องใช้จากไม้ไผ่ หวาย ฟาง อ้อ กก หรือผักตบชวา

2.4 ลำดับขั้นตอนการปฏิบัติ

1. ให้พนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ แจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลชำระค่าใช้น้ำบาดาล โดยทำเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับภายใน 15 วัน นับแต่วันเริ่มงวดถัดไป พร้อมทั้งแจ้งผลการไม่ปฏิบัติตามด้วย

2. ผู้รับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลนำใบแจ้งหนี้ไปติดต่อชำระเงินค่าใช้ น้ำบาดาลต่อพนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันเริ่มงวดถัดไป

3. พนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ รับชำระค่าใช้น้ำบาดาลและ ออกใบเสร็จรับเงิน

4. พนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่นำเงินค่าใช้น้ำบาดาลเข้าบัญชีกองทุนพัฒนาน้ำบาดาล และคลังจังหวัด ตามข้อกำหนดของกระทรวง (กรมทรัพยากรน้ำบาดาลจะทำความตกลงกับคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกระทรวงการคลัง)

5. ในกรณีผู้รับใบอนุญาตไม่ชำระค่าใช้น้ำบาดาลตามระยะเวลาที่กำหนดให้พนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ รวบรวมพยานหลักฐานส่งพนักงานอัยการพิจารณาฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้ชำระหนี้ค่าใช้น้ำบาดาล โดยให้ดำเนินการตามระเบียบกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ว่าด้วย การจัดเก็บรายได้ และการนำส่งรายได้ ตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 และรายงานผลการดำเนินคดีให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลทราบทุกระยะ

6. พนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ รายงานสรุปผลการจักเก็บรายได้ทุกเดือนให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลทราบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น