วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

รายงานการประชุมกองทุนฯ ครั้งที่ ๘/๒๕๕๔


รายงานการประชุมกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
ครั้งที่  ๘/๒๕๕๔  วันที่ ๙  สิงหาคม  ๒๕๕๔
  ห้องประชุมสภาเทศบาล  ชั้น ๓

เปิดประชุมเวลา ๑๐.๐๐ น.
                เมื่อคณะกรรมการมาพร้อมกันแล้ว นางสุชาดา พันธ์นรา นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก ในฐานะประธานกรรมการกองทุนฯ ได้กล่าวเปิดการประชุมตามระเบียบวาระดังนี้

ระเบียบวาระที่ ๑ : ประธานแจ้งที่ประชุม
                ประธานแจ้งที่ประชุมทราบ ๒ เรื่อง คือ ด้วยในวันที่ ๑๒ สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ ขอเชิญทุกท่านร่วมกิจกรรมวันแม่ โดยในช่วงเช้าจะมีพิธีตักบาตร และการรับบริจาคโลหิต ส่วนช่วงค่ำ จะมีการจุดเทียนถวายพระพร ณ บริเวณลานคนเดิน ส่วนเรื่องที่ ๒ สืบเนื่องจากการจัดงานครบรอบ ๔๘ ปี โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ถือว่างานได้รับความสนใจมาก โดยเฉพาะเรื่องการตรวจสุขภาพ เช่น การตรวจมวลกระดูก จะได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม มีการเข้าคิวกัน แสดงให้เห็นว่าคนสุไหงโก-ลก ใส่ใจในเรื่องสุขภาพของตัวเอง
ระเบียบวาระที่ ๒ : รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ ๗/๕๔ วันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๔
มติที่ประชุม : รับรองรายงานประชุม

ระเบียบวาระที่ ๓ : เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
                เรื่องที่ ๑ : รายงานสถานะทางการเงินของกองทุนฯ ยอดยกมา ๔,๐๒๑,๑๘๓.๗๐ บาท
โดยมี รายรับ-รายจ่าย ดังนี้
๑. จ่ายให้กิจกรรมประเภทที่ ๑ จำนวน ๑ โครงการ คือ
                ๑.๑ โครงการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเด็กฯ  เป็นเงิน    ๓๐,๘๗๐    บาท
๒. จ่ายให้กิจกรรมประเภทที่ ๒ จำนวน ๔ โครงการ คือ
                ๒.๑ โครงการดูแลใส่ใจผู้ไปประกอบฮัจญ์ ๕๔                           เป็นเงิน     ๓๙,๙๐๐    บาท
                ๒.๒ โครงการรวมพล คน อสม.รักสุขภาพ                                   เป็นเงิน     ๕๐,๐๐๐    บาท
                ๒.๒ โครงการศูนย์ ๓ วัย สานสายใยรักฯ                                      เป็นเงิน     ๗๔,๘๕๐  บาท
                ๒.๒ โครงการอบรมและเฝ้าระวังสุขภาพด้านอาชีวอนามัย    เป็นเงิน     ๔๙,๖๗๐   บาท
๓. จ่ายให้กิจกรรมประเภทที่ ๓ จำนวน ๑ โครงการ คือ
                ๓.๑ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ                                            เป็นเงิน       ๖,๐๐๐    บาท
๔. จ่ายให้กิจกรรมประเภทที่ ๔
                ๔.๑ ค่าเบี้ยประชุม ค่าเอกสาร อาหารว่าง                                       เป็นเงิน        ๖,๕๐๐    บาท
                                                                                                รวมรายจ่าย             เป็นเงิน  ๒๕๗,๗๙๐   บาท
๕. รับเงินคืนจากโครงการต่างๆ                                                                        เป็นเงิน     ๒,๔๖๑   บาท
                                                                                คงเหลืองบประมาณกองทุน  ๓,๗๖๕,๘๕๔.๗๐ บาท
มติที่ประชุม : รับทราบ

ระเบียบวาระที่ ๔ : เรื่องเพื่อพิจารณา
เรื่องที่ ๑ : การพิจารณาโครงการที่ขอสนับสนุนงบประมาณ จากหน่วยงาน/ภาคประชาชน จำนวน ๓ โครงการ
โครงการที่ ๑ โครงการควบคุมและป้องกันภาวการณ์ขาดไอโอดีน  งานเวชกรรมสังคม  โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
                โครงการนี้มีลักษณะการดำเนินงาน  เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนทุกครัวเรือนต้องได้บริโภคเกลือและผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่เสริมไอโอดีน เพราะมีความสำคัญต่อการพัฒนาสมองของทารก ไม่ให้เป็นเด็กปัญญาอ่อนหรือเด็กเอ๋อ ส่วนในวัยเรียนและวัยผู้ใหญ่ จะเป็นการป้องกันไม่ให้เป็นโรคคอพอก โดยมีการอบรมให้ความรู้ และกำหนดกิจกรรมภายหลังการอบรม เพื่อส่งเสริมให้ชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ใช้เกลือเสริมเสริมไอโอดีนในการปรุงอาหาร มีเป้าหมายการดำเนินงานเป็นแกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข ครูอนามัยโรงเรียน ผู้ดูแลศูนย์เด็กเล็ก จำนวน ๑๓๐ คน  โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสารไอโอดีน สร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีน ลดภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนของทารกแรกเกิด และเกิดชุมชนไอโอดีนอย่างน้อย ๓ ชุมชนในปี ๒๕๕๔ ๒๕๕๕ โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ เป็นค่าอาหาร ค่าอาหารว่าง ค่าตอบแทนวิทยากร และค่าวัสดุที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน ๒๖,๔๓๐ บาท ซึ่งคณะกรรมการกองทุนได้ให้ความเห็นว่าโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสมองของเด็กให้ฉลาด ข้อมูลจากการวัดไอคิวเด็กทั่วประเทศ จังหวัดนราธิวาสมีค่าไอคิวต่ำที่สุด    ประกอบกับเป็นนโยบายการดำเนินงานของจังหวัดด้วย เพียงแต่เสนอแนะเรื่องการประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ทุกคนได้ปฏิบัติ รวมทั้งเรื่องค่าตอบแทนวิทยากรจำเป็นต้องมีหรือไม่ ถ้าเป็นงานที่ต้องปฏิบัติปกติและเป็นนโยบายที่ต้องทำอยู่แล้ว ถ้าจำเป็นเห็นควรปรับลดลงตามความเหมาะสม
มติที่ประชุม : อนุมัติ แต่ให้ปรับตามคำแนะนำ

โครงการที่ ๒ โครงการลีลาศเพื่อสุขภาพ ชมรมกีฬาลีลาศสุไหงโก-ลก
                โครงการนี้เป็นโครงการที่สนับสนุนให้เยาวชนและผู้สนใจเข้าร่วมฝึกกีฬาลีลาศที่ถูกวิธี เพิ่มทางเลือกการส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย รวมทั้งเป็นการฝึกประสาทสัมผัสระหว่างมือ เท้า และสมอง โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มความรู้ ทักษะกีฬาลีลาศ ส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยกีฬาลีลาศ และขยายเครือข่ายกลุ่มกีฬาให้มากขึ้น มีเป้าหมายการดำเนินงานเป็นกลุ่มเยาวชนและผู้สนใจ จำนวน ๔๐ คน โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ เป็นค่าอาหารว่าง ค่าตอบแทนและค่าที่พักวิทยากร เป็นเงิน ๕๐,๔๐๐ บาท ซึ่งคณะกรรมการกองทุนฯได้ให้ความเห็นในเรื่องกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจากการติดตามการดำเนินงาน ๒ ครั้งที่ผ่านมา กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเดียวกัน ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเป็นการฝึกสอนสมาชิกของกลุ่มมากกว่า เพื่อไม่ให้เป็นตัวอย่างกับชมรมกีฬาอื่นๆ ควรเพิ่มในเรื่องการขยายเครือข่ายให้มากกว่าเดิม
มติที่ประชุม : ไม่อนุมัติ

โครงการที่ ๓ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ชุมชนสวนมะพร้าว
                โครงการนี้มีลักษณะการดำเนินงาน เป็นการช่วยเหลือ ดูแล ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนให้สามารถดูแล ใส่ใจสุขภาพอนามัยตนเองให้ห่างไกลจากโรคต่างๆ อยู่ในสังคมอย่างมีความสุขตามอัตภาพ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สูงอายุและผู้ดูแลในชุมชน จำนวน ๘๐ คน มีกิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ การตรวจคัดกรองโรคเบื้องต้น การสาธิตการออกกำลังกายที่เหมาะสม และการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและติดเตียง โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม ลดอัตราการเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ เป็นค่าอาหาร ค่าอาหารว่าง ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าเอกสารและค่าวัสดุที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน ๒๓,๐๐๐ บาท ทางคณะกรรมการกองทุนฯได้ให้ความเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี เพียงแต่ที่ผ่านมาโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุมักจะดำเนินงานในพื้นที่ของชุมชนไทยพุทธเป็นส่วนใหญ่ และผลที่ได้จากการประเมินโครงการที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุที่ผ่านมา ผู้สูงอายุให้ความร่วมมือและมีความสุขกับโครงการลักษณะนี้มาก จึงอยากให้ชุมชนมุสลิม ทำโครงการลักษณะนี้บ้าง สำหรับชุมชนที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณแล้ว อยากให้ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยอาจจะใช้งบประมาณของชุมชนเองก็ได้
มติที่ประชุม : อนุมัติ

ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องเพื่อติดตาม
เรื่องที่ ๑ : รายงานผลการดำเนินงานของอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ
๑.คณะทำงานจัดทำแผนฯ
จากการประชุมพิจารณาแผนงานของหน่วยงานต่างๆและภาคประชาชน ของคณะทำงานจัดทำแผน  ในปี ๒๕๕๔ จำนวน ๒ ครั้ง มีแผนงานโครงการที่เสนอเข้าแผนทั้งหมดประมาณ ๕๐ แผนงาน ได้รับการพิจารณาเข้าแผนกองทุนจำนวน ๓๓ แผนงาน คิดเป็นจำนวนเงินที่จะต้องใช้ทั้งหมด ๑,๔๓๘,๘๘๐ บาท หรือ ร้อยละ ๕๙.๔๐ ทั้งนี้ยังมีอีกหลายโครงการที่บรรจุอยู่ในแผนของกองทุนแล้ว แต่ยังไม่ได้นำเสนอเพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ซึ่งทางอนุฝ่ายเลขาได้ประสานไปยังผู้รับผิดชอบแต่ละหน่วยงานแล้ว  เพื่อจัดทำโครงการนำเสนอคณะกรรมการกองทุนต่อไปฯ


๒.อนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ
                - ไม่มี
๓.อนุกรรมการฝ่ายการเงิน
ปีงบประมาณ ๒๕๕๔ เหลือเวลาอีกประมาณ ๑ เดือนกว่าๆ ฝากให้ผู้ทำโครงการและขอสนับสนุนงบประมาณ จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงาน พร้อมกับส่งหลักฐานการเงินต่างๆด้วย
๔.อนุกรรมการฝ่ายติดตามฯ
ในรอบเดือนที่ผ่านมา ได้ติดตามการดำเนินกิจกรรมของโครงการต่างๆ จำนวน ๔ โครงการด้วยกัน คือ ๑.โครงการดูแลใส่ใจ ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์
    ๒.โครงการศูนย์ ๓ วัย สานสายใยรักแห่งครอบครัว
    ๓.โครงการรวมพล คน อสม.รักสุขภาพ
    ๔.โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ชุมชนสันติสุข
    ทุกโครงการมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกินเป้าหมาย ซึ่งถือว่าคุ้มค่าน่าสนับสนุนสำหรับโอกาสต่อไป

ระเบียบวาระที่ ๖ : วาระอื่นๆ
ปลัดฯ : ด้วยในขณะนี้ กองทุนมีงบเหลืออีกประมาณ ๓,๗๐๐,๐๐๐ บาท อยากให้ทางฝ่ายอนุเลขาฯ คิดโครงการเกี่ยวกับการขยายแกนนำ อสม. ในกลุ่มเยาวชน เช่น การอบรมผู้ช่วย อสม. ในนักเรียน หรือ อสม.น้อย เป็นต้น
ตันจุรีย์ : หารือประเด็นที่คณะกรรมการลงมติ ไม่เห็นชอบโครงการบางโครงการ เสนอแนะให้ทางคณะกรรมการฯ ได้ซักถามผู้เสนอโครงการนั้นๆ ข้อสงสัยในประเด็นต่างๆให้ชัด เพื่อจะได้มีโอกาสชี้แจงในประเด็นต่างๆด้วยตนเอง ทั้งนี้เพื่อลดแรงกดดันของฝ่ายอนุเลขาในภายหลัง กรณีที่โครงการนั้นๆ ไม่ผ่านการอนุมัติจากที่ประชุม อย่างน้อยผู้รับผิดชอบโครงการก็ได้ชี้แจงทุกประเด็นแล้ว ที่เหลือก็เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการฯที่จะลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบโครงการนั้นๆ
             : ความคืบหน้าของโครงการออกกำลังกาย ๑๑ ชุมชน โครงการได้รับการอนุมัติและลงนามแล้ว แจ้งให้ประธานชุมชนไปทำข้อตกลงยืมเงินกับอนุกรรมการฝ่ายการคลังได้เลย
ที่ประชุม : รับทราบ

ปิดการประชุม ๑๑.๔๕ น.
  นายไซนัล  นิรมาณกุล
                                                                                                                   ผู้บันทึกการประชุม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น