วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

รายงานการประชุมกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ครั้งที่ ๗/๒๕๕๗



รายงานการประชุมกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
ครั้งที่  ๗/๒๕๕๗   วันที่  ๒๕   มิถุนายน   ๒๕๕๗
  ห้องประชุมสภาเทศบาล  ชั้น ๓
เปิดประชุมเวลา  ๑๐.๐๐ น.
                เมื่อคณะกรรมการมาพร้อมกันแล้ว นายกิตติ หวังธรรมมั่ง รองประธานคณะกรรมการกองทุนฯ ทำหน้าที่ประธานการประชุมได้กล่าวเปิดการประชุมและแจ้งว่า นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก ในฐานะประธานกรรมการกองทุนติดภารกิจ และได้มอบหมายให้ผมทำหน้าที่ประธานการประชุมแทน จึงขอ ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระดังนี้
ระเบียบวาระที่ ๑ : ประธานแจ้งที่ประชุม  ไม่มีเรื่องแจ้ง
ระเบียบวาระที่ ๒ : รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่  ๖/๒๕๕๗   วันที่    พฤษภาคม   ๒๕๕
มติที่ประชุม : รับรองรายงานประชุม
ระเบียบวาระที่ ๓ : เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
เรื่องที่ ๑   รายงานสถานะทางการเงินของกองทุน ฯ ประจำเดือน พฤษภาคม ๒๕๕๗ มีรายละเอียดดังนี้
                                ยอดยกมา ๗,๒๑๕,๗๓๔.๒๕ บาท
        รายรับ
รับเงินคืนจากโครงการโปลิโอฯ                                                                       ๖,๒๐๐                   บาท
รับเงินคืนจากเบี้ยประชุมฯ                                                                               ๑,๑๐๒                   บาท
รับเงินคืนจากโครงการอบรมสร้างและใช้แผนที่ยุทธศาสตร์ฯ ๒๓,๔๖๖                บาท
                                                                รวมรายรับ                                            ๓๐,๗๖๘               บาท
      รายจ่าย
ค่าใช้จ่ายกิจกรรมประเภทที่ ๑                                          ไม่มี
ค่าใช้จ่ายกิจกรรมประเภทที่ ๒                                         ไม่มี
ค่าใช้จ่ายกิจกรรมประเภทที่ ๓                                         ๕๒,๕๑๐              บาทรายละเอียดดังนี้
๓.๑โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายกีฬาตะกร้อ    ๓๔,๗๖๐                บาท
๓.๒โครงการยิ้มสดใสในวัยเด็ก (๒-๑๓ ปี)                  ๑๒,๗๕๐              บาท(เจริญสุข )
๓.๓โครงการส่งเสริมสุขภาพเพื่อชุมชน                        ๕,๐๐๐                   บาท(เจริญสุข)
ค่าใช้จ่ายกิจกรรมประเภทที่ ๔                                         ๗,๐๐๐                   บาทรายละเอียดดังนี้
๔.๑ค่าใช้จ่ายประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ                ๗,๐๐๐                   บาท
รวมรายจ่ายทั้ง ๔ กิจกรรมเป็นเงิน ๕๙,๕๑๐                บาท
                คงเหลือเงินกองทุนฯ        ๗,๑๘๗,๐๐๑.๒๕                บาท       
มติที่ประชุม : รับทราบ

ระเบียบวาระที่ ๔ : เรื่องเพื่อพิจารณา
เรื่องที่ ๑ : การพิจารณาโครงการที่ขอสนับสนุนงบประมาณ จากหน่วยงาน/ภาคประชาชน      โครงการ
โครงการที่ ๑  โครงการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพเพื่อความฉลาดทางสติปัญญาตามสุขบัญญัติแห่งชาติ
                โครงการนี้เป็นโครงการที่ทางโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จัดทำเพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุขพฤติกรรมสุขภาพและปัญหาทางสติปัญญาของเด็ก ซึ่งปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก  ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยทางสังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งพฤติกรรม ซึ่งมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น โครงการนี้จัดทำเพื่อให้ผู้อบรมนำความรู้ที่ได้รับสามารถปฏิบัติและเพื่อให้มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามหลักสุขบัญญัติ ๑๐ ประการ ตลอดจนส่งผลทางความฉลาดทางสติปัญญาได้ และสามารถถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ สู่เพื่อนนักเรียนในสถานศึกษาได้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นแกนนำนักเรียนชั้น ป.๔ และป.๕ ชั้นละ ๒๐ คน (โรงเรียนเทศบาล ๑-๔และโรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก) จำนวน ๒๐๐ คน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๑๓,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย อาหารว่างและเครื่องดื่ม  ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม
คณะกรรมการกองทุนฯ มีความเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีควรดำเนินโครงการประสานร่วมกับโรงเรียนและให้ทำอย่างต่อเนื่อง  และให้ปรับแบบเสนอโครงการตามแบบของกองทุนฯ
 มติที่ประชุม : อนุมัติ  ปรับตามข้อเสนอแนะ
โครงการที่ ๒        วัยรุ่นยุคใหม่ใส่ใจสุขภาพโรงเรียนแสงธรรมวิทยา ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๗
โครงการนี้ เป็นโครงการที่โรงเรียนแสงธรรมวิทยาจัดทำเพื่อลดปัญหาสุขภาพนักเรียนในโรงเรียน ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่ไม่ค่อยใส่ใจสุขภาพของตนเอง  นอนดึกและไม่ออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายอ่อนแอป่วยง่าย  บริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และนักเรียนบางกลุ่มนั้นติดยาเสพติดเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น สูบบุหรี่ กัญชา น้ำกระท่อม เป็นต้น ดังนั้นด้วยเหตุผลดังกล่าว ทางโรงเรียนจึงทำโครงการนี้เพื่อให้เยาวชนในโรงเรียน มีความรู้ และเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเอง ได้รับรู้ถึงอันตรายของสารตกค้าง และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ๒๓๐ คน นักเรียน ๒๐๐ คนแบ่ง ๒ รุ่นๆละ ๑๐๐ คน นักเรียนชาย ๑๐๐ คน นักเรียนหญิง ๑๐๐ คน ม.๒-ม.๖ ครูควบคุม ๑๐ คน และแกนนำ (ยสร.) ๒๐ คน  ขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๗๕,๔๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายค่าอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าวิทยากรและค่าวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
คณะกรรมการกองทุนฯ มีความเห็นว่า  เป็นโครงการที่ดี เป็นการแก้ไขปัญหาสุขภาพในกลุ่มวัยรุ่น ให้ปรับค่าอาหารกลางวันจาก ๖๐ บาทเป็น ๕๐ บาท เหมือนกับโครงการอื่นๆ และอยากให้ทางโรงเรียนมีส่วนร่วมด้วยตามที่โรงเรียนมีต้นทุน  และอยากให้ ปรับ เพิ่มกลุ่มเป้าหมายโดยเน้น  ม.๒   ม.๓  และ ม. ๔ เป็นหลัก  ส่วนกิจกรรมที่ได้จากการอบรมเพื่อความยั่งยืน ต่อเนื่อง ควรให้แกนนำนักเรียนไปเผยแพร่ผ่านสื่อในโรงเรียนเช่น กิจกรรมหน้าเสาธง  เสียงตามสาย  เป็นต้น  นอกจากนี้อยากให้วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนว่า มีปัญหาอะไรบ้าง จะแก้ปัญหาได้อย่างไร กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน แต่งตั้งคณะทำงานที่จะร่วมแก้ปัญหา ของบสนับสนุนเพื่อไปดำเนินการ ติดตามผล ดูผลสำเร็จของงาน 
มติที่ประชุม : ให้ปรับโครงการตามข้อเสนอแนะและนำเข้าที่ประชุมพิจารณารายละเอียดที่แก้ไขอีกครั้งในคราวประชุมครั้งต่อไป
 โครงการที่๓ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้นำเยาวชนสาธารณสุขในโรงเรียนแสงธรรมวิทยา และ อย.น้อย
                โครงการนี้เป็นโครงการที่ทางโรงเรียนแสงธรรมวิทยาจัดทำขึ้นเพราะได้เล็งเห็นถึงปัญหาสุขาภิบาลอาหาร  และ สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ซึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ห้องน้ำ เมื่อเสร็จภารกิจแล้วมักจะไม่ล้างมือ หรือราดน้ำให้สะอาดทั่งถึงและโรงอาหารของโรงเรียนไม่สะอาด  เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้วมักจะไม่ชอบเอาขยะไปทิ้งลงถังขยะ  ดังนั้นด้วยเหตุผลดังกล่าวทางโรงเรียนแสงธรรมวิทยาจึงจัดโครงการนี้เพื่อสร้างแกนนำหรือเยาวชนสาธารณสุขในโรงเรียน ให้มีความรู้ และความเข้าใจในเรื่องสุขภาพและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น เป็นแบบอย่างที่ดี สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันและเผยแพร่เยาวชนในโรงเรียนได้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ๑๑๑ คน นักเรียน  ๑๐๐ คน ชาย ๕๐ คน หญิง ๕๐ คน   ม.๒- ม.๖ ชั้นละ ๑๐ ครูผู้ควบคุม ๕ คน  แกนนำ (ยสร.) ๖ คน ขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน  ๑๗,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายอาหารว่างและเครื่องดื่ม  อาหารกลางวัน ค่าวิทยากร ค่าชุดทดสอบอาหาร และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น
คณะกรรมการกองทุนฯ มีความเห็นว่า ทั้ง ๒ โครงการที่โรงเรียนเสนอมา เป็นเรื่องที่คล้ายกัน ซ้ำซ้อน กลุ่มเป้าหมายเดียวกัน ให้ทางโรงเรียนไปปรับว่าในโรงเรียนมีปัญหาเกี่ยวกับอะไรบ้าง เช่น ปัญหาสุขภาพ ปัญหาสุขาภิบาล ปัญหาสิ่งแวดล้อม  นำทั้ง๒ โครงการมาปรับรวมเป็น  ๑ โครงการใหญ่  ปรับกิจกรรมย่อย ปรับการดำเนินงาน วิธีการให้ชัด  ให้มาหารือกับทางกองสาธารณสุขเพิ่มเติม
มติที่ประชุม :  อนุมัติในหลักการแต่ให้นำทั้ง ๒ โครงการ มายุบรวมเป็น ๑ โครงการใหญ่ แยกกิจกรรม การดำเนินงาน โดยให้สอดคล้องกับปัญหา  เมื่อแก้ไขโครงการแล้วให้นำเข้าที่ประชุมให้คณะกรรมการพิจารณาใหม่อีกครั้ง
โครงการที่ ๔     โครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและเต้านม
                 โครงการนี้เป็นโครงการที่ทางชุมชนศรีอามานจัดทำขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ในปีนี้ดำเนินการเป็นปีที่ ๔ และได้รับความร่วมมือจากชาวชุมชนเป็นอย่างดี ทางชุมชนยังต้องดำเนินการต่อเนื่อง เพราะในยุคปัจจุบัน อาหารการกิน และสภาพแวดล้อมมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันหญิงไทยได้เสียชีวิตกับโรคมะเร็งเป็นจำนวนมากและพบในคนอายุน้อยมากขึ้นทุกปี อีกทั้งยังขาดความรู้การเฝ้าระวังโรคดังกล่าว ทางชุมชนศรีอามานตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ จัดทำการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในชุมชนเพื่อให้ชาวชุมชนเกิดความสะดวกมากขึ้น และค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชน ให้ได้รับการรักษาทันท่วงที ถูกต้องและต่อเนื่อง โดยเชิญเจ้าหน้าที่จากศูนย์สุขภาพชุมชนของโรงพยาบาลสุไหงโก-ลกมาให้ความรู้ สอนตรวจเต้านมด้วยตนเองและ คัดกรองมะเร็งปากมดลูก ภายในชุมชน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน  ๑๐,๔๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อาหารกลางวัน ค่าตอบแทนวิทยากร และค่าไวนิล
 คณะกรรมการกองทุน  มีความเห็นว่า เป็นโครงการที่ดี และทำมาอย่างต่อเนื่อง และอยากให้ทางชุมชนอื่นทำกิจกรรมเชิงรุกเช่นนี้ด้วย   ส่วนไวนิลอยากให้ปรับข้อความให้สามารถใช้ได้ต่อเนื่อง  
มติที่ประชุม : อนุมัติ ปรับตามข้อเสนอแนะ
ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องเพื่อติดตาม
เรื่องที่ ๑  : รายงานผลการดำเนินงานของอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ
                ๑.คณะอนุกรรมการฝ่ายจัดทำแผนฯ   การจัดทำแผน   เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการใช้ประกาศกองทุนฯ ฉบับใหม่  ปี ๒๕๕๗ มีสิ่งที่ต้องดำเนินการดังนี้
Ø จัดประชุมเพื่อปรับปรุงระเบียบกองทุนหลักประกันเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ให้สอดคล้องกับประกาศฉบับใหม่  โดยจะนัดอนุกรรมการฝ่ายเลขาและอนุกรรมการฝ่ายแผน ฯ ประชุมร่วมกัน
Ø จัดประชุมเพื่อซักซ้อมการเสนอแผนงาน โครงการ  จากกลุ่มต่างๆ ได้แก่  ๑.ส่วนราชการ  กองต่างๆ  โรงเรียน   ๒.ชุมชน อสม.   ๓. ชมรม กลุ่ม สมาคม  ๔. ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์ต่างๆ เป็นต้น
โดยจะดำเนินการเชิญประชุม กลุ่มต่างๆ ในเดือน สิงหาคม  นี้  โดยให้แจกเอกสารแนบท้าย ให้กลุ่มต่างๆ ใช้ประกอบในการเสนอโครงการด้วย             
                ๒.คณะอนุกรรมการฝ่ายเลขาและธุรการ  จากการเข้าร่วมประชุมของผอ.พินัย มีเรื่องแจ้งคือ
Ø นโยบายหลักประกันสุขภาพในอนาคต จะเพิ่มหน่วยบริการปฐมภูมิ กระจายทั่วเมือง เน้นการสร้างนำซ่อม
Ø  โรคภัยเงียบ  โรคเรื้อรัง NCD   มะเร็ง ซึ่งหลายโรคสามารถป้องกันได้ 
Ø การจัดระบบการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
Ø ศูนย์เด็กเล็ก เน้นการพัฒนาทุกด้านให้เด็กมีสุขภาพดี มีพัฒนาการสมวัย
                ๓.คณะอนุกรรมการฝ่ายการเงินและบัญชี   :   ไม่มีเรื่องแจ้ง
                ๔.คณะอนุกรรมการฝ่ายประเมินและติดตาม :  ไม่มีเรื่องแจ้ง
               
ระเบียบวาระที่  ๖ เรื่องอื่นๆ   ไม่มีเรื่องแจ้ง
                                             ปิดการประชุม  ๑๒.๐๐ น.
                                                                นางปะอีซะห์    มะฮามะรีเป็น          บันทึกและพิมพ์รายงานการประชุม
นางตันจุรีย์       ไชยลาภ                     ตรวจทานและแก้ไข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น