วันอังคารที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

รายงานการประชุมกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ครั้งที่ ๕/๒๕๖๐

รายงานการประชุมกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
ครั้งที่  ๕/๒๕๖๐   วันที่  ๗  มิถุนายน   ๒๕๖๐
ณ  ห้องประชุมสภาเทศบาล  ชั้น ๓
เปิดประชุมเวลา  ๐๙.๓๐ น.
    เมื่อคณะกรรมการมาพร้อมกันแล้ว นางสุชาดา  พันธ์นรา ในฐานะประธานกรรมการกองทุนฯได้กล่าวเปิดประชุมตามระเบียบวาระดังนี้
ระเบียบวาระที่ ๑ : ประธานแจ้งที่ประชุม   ไม่มีเรื่องแจ้ง
ระเบียบวาระที่ ๒ : รับรองรายงานการประชุม  ครั้งที่  ๔/๒๕๖๐  วันที่  ๒๔  มีนาคม  ๒๕๖๐
มติที่ประชุม : รับรองรายงานประชุม
ระเบียบวาระที่ ๓ : เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
เรื่องที่ ๑   รายงานสถานะทางการเงินของกองทุนฯ ประจำเดือน พฤษภาคม ปีงบประมาณ  ๒๕๖๐  มีรายละเอียดดังนี้
        ยอดยกมา  ๙,๗๘๑,๙๑๖.๑๔   บาท
๑    รายรับ   
เงินรับคืนจากการดำเนินแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม                                   ๑๔,๒๑๘    บาท
       รวมรายรับ                    ๑๔,๒๑๘     บาท
๒    รายจ่าย
ค่าใช้จ่ายกิจกรรมประเภทที่ ๑                              ๔๐,๐๒๐        บาท
ค่าใช้จ่ายกิจกรรมประเภทที่ ๒                           ๔๖๔,๕๕๐        บาท
ค่าใช้จ่ายกิจกรรมประเภทที่ ๓                           ๕๐๒,๐๙๗        บาท
ค่าใช้จ่ายกิจกรรมประเภทที่ ๔                               ๕,๓๗๕        บาท
ค่าใช้จ่ายกิจกรรมประเภทที่ ๕                   ไม่มี
รวมรายจ่ายทั้ง ๕ กิจกรรม เป็นเงิน                    ๑,๐๑๒,๐๔๒         บาท
    คงเหลือเงินกองทุนฯ                                ๘,๗๘๔,๐๙๒.๑๔    บาท
มติที่ประชุม : รับทราบ
ระเบียบวาระที่ ๔ : เรื่องเพื่อพิจารณา
เรื่องที่ ๑ : การพิจารณาโครงการที่ขอสนับสนุนงบประมาณ จากหน่วยงาน/ภาคประชาชน   ๙   โครงการ
โครงการที่ ๑  โครงการอบรมการป้องกันฟื้นฟูภาวะเสี่ยงจากการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ
    โครงการนี้เป็นโครงการของชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันพลัดตกหกล้ม ลดภาวะเสี่ยง พลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ และให้ผู้สูงอายุนำการออกกำลังกายปรับใช้ป้องกันการพลัดตกหกล้มด้วยตนเอง  สำหรับการหกล้มในผู้สูงอายุ หากเกิดขึ้นแล้วมีแน้วโน้มที่จะพิการ และเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมในบ้านและสภาพร่างกายของผู้สูงอายุเอง ดังนั้นการให้ข้อมูลความรู้เรื่องการหกล้มในผู้สูงอายุ มีความจำเป็น การประเมินความเสี่ยงการหกล้มด้วยตนเอง หรืออุปกรณ์ต่างๆที่จะมาช่วย ป้องกันการหกล้ม การออกกำลังกายที่เหมาะสมป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ ซึ่งมีวิธีการออกกำลังกายง่ายๆสามารถทำเองได้ที่บ้าน หรือทำเป็นกลุ่ม จากการสอบถามสมาชิกชมรมยังขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น โดยมีกลุ่มเป้าหมาย สมาชิกชมรมผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังและสมาชิกทั่วไป ๑๐๐ คน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๑๒,๔๐๐ บาท  เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารกลางวัน และค่าวิทยากร
 คณะกรรมการกองทุนฯ มีความเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี เพิ่มความรู้ความเข้าใจให้กับผู้สูงอายุในการดูแลตนเองและป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ
 มติที่ประชุม : อนุมัติ   
โครงการที่ ๒  โครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแกนนำสตรีมุสลิมเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก แบบบูรณาการ
    โครงการนี้เป็นโครงการของแกนนำสตรีมุสลิม จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้ด้านสุขภาพ สามารถดูแลสุขภาพและแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง ปัจจุบันกลุ่มสตรีมุสลิมได้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และยังขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ ซึ่งส่วนใหญ่ จะเป็นผู้สูงอายุ และอยู่ที่บ้านโดยลำพัง เพราะบุตรหลานออกไปประกอบอาชีพทำให้ต้องอยู่เพียงลำพัง ขาดผู้ดูแลจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความช่วยเหลือดูแลในด้านการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาสคณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตสำหรับแกนนำสตรีมุสลิมจึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นมา โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็น สตรีมุสลิม จำนวน ๘๐ คน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯจำนวน ๑๐๓,๗๖๐ บาท ซึ่งแบ่งออกเป็น ๔ กิจกรรม
กิจกรรมที่ ๑ ตรวจสุขภาพแกนนำสตรีมุสลิมและให้ความรู้ด้านโภชนาการและสาธิตการทำน้ำสมุนไพร
กิจกรรมที่ ๒ ให้ความรู้ด้านศาสนาอิสลาม เรียนคัมภีร์อัลกุรอาน เดือนละ ๑ ครั้ง
กิจกรรมที่ ๓ ให้ความรู้และการออกกำลังกายโดยใช้ไม้พลอง ยางยืด  ผ้า
กิจกรรมที่ ๔ ให้ความรู้และวิธีการนวดเพื่อสุขภาพเพื่อช่วยเหลือตนเองได้
 คณะกรรมการกองทุนฯ มีความเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี ช่วยส่งเสริมให้กลุ่มสตรีมุสลิมได้รวมกลุ่มทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ  ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิต   เสนอแนะให้ปรับระยะเวลาดำเนินการให้เป็นปัจจุบัน และปรับลดงบประมาณในบางกิจกรรม
 มติที่ประชุม : อนุมัติ    
โครงการที่ ๓  โครงการสร้างเสริมสุขภาพยุวชน คนรักฟุตบอล – ฟุตซอล ๒๐๑๗ รุ่นที่ ๑ และ ๒
    โครงการนี้เป็นโครงการของชมรมฟุตบอล  เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก  กีฬาฟุตบอล เป็นชนิดกีฬาที่ประชากรส่วนใหญ่ให้ความสนใจโดยเฉพาะกลุ่มยุวชนเยาวชน ๙- ๑๒ ปี ขึ้นไป ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริม ยุวชน เยาวชน ใช้กีฬาฟุตบอลและฟุตซอลเป็นสื่อการส่งเสริมสุขภาพ รักการออกกำลังกาย ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  ห่างไกลยาเสพติด โดยจัด ๒ รุ่น (๑ รุ่นมี ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มฟุตบอล / กลุ่มฟุตซอล )  โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มยุวชนอายุ ระหว่าง ๙-๑๒ ปี จำนวน ๒๔๐ คน จากทั้งหมด ๒๘ ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก  ใช้เวลาฝึกอบรม ๑๕ วัน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน  ๒๕๙,๔๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าวิทยากร และค่าวัสดุอุปกรณ์  ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น โดยมีกิจกรรมประกอบด้วย ทดสอบความรู้  ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย  กิจกรรมให้ความรู้   ฝึกทักษะการเล่นฟุตบอล   ฟุตซอล 
 คณะกรรมการกองทุนฯ  มีความเห็นว่าเป็นโครงการที่เพิ่มทางเลือกในการออกกำลังกายของเด็กและเยาวชนที่สนใจกีฬาฟุตบอล  ฟุตซอล   แต่ให้ปรับเรื่องประกาศนียบัตรให้ออกในนามชมรมแทน  และเพิ่มการทดสอบสมรรถภาพร่างกายแทนการให้สุขศึกษา ทุกวัน
มติที่ประชุม :  อนุมัติ และให้ปรับแก้ตามข้อเสนอแนะ
โครงการที่ ๔  โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแม่และเด็กศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒ ปี ๒๕๖๐
    เป็นโครงการของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒ จัดขึ้นเพื่อคืนข้อมูลสุขภาพให้ชุมชนทราบ เพื่อให้ชุมชนเห็นความสำคัญและร่วมมือในการแก้ไขปัญหา  และได้รับการดูสุขภาพและเข้าถึงบริการได้มากขึ้น  เพิ่มพัฒนาศักยภาพ อสม.แกนนำ และสร้างภาคีเครือข่ายในการแก้ปัญหาสุขภาพแม่และเด็ก งานอนามัยและเด็กเป็นบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่การดูแลก่อนตั้งครรภ์ เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปอย่างมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัย มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง พัฒนาการสมวัยทุกด้าน ทั้งร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคม ทางศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒ มีการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแม่และเด็กร่วมกับชุมชน โดยจัดเวทีประชาคม การจัดตั้งแกนนำในการติดตามงาน และพัฒนาศักยภาพ อสม.และสร้างภาคีเครือข่ายให้สามารถช่วยเหลือดูแลสมาชิกในชุมชนได้ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๑๕,๒๐๐ บาท โดยแบ่งออกเป็น ๕ กิจกรรม
กิจกรรมที่ ๑ จัดตั้งแกนนำในการติดตามงานอนามัยแม่และเด็กในชุมชนและให้ความรู้ จำนวน ๖,๘๐๐ บาท
กิจกรรมที่ ๒ ค้นหาหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ และติดตามหญิงหลังคลอด ไม่ใช้งบประมาณ
กิจกรรมที่ ๓ สร้างเสริมสุขภาพเด็กอายุ ๐-๕ ปี ให้มีสุขภาพดี (เป้าหมาย ชุมชนละ ๒๐ คน ๑๔ ชุมชน) ไม่ใช้งบประมาณ
กิจกรรมที่ ๔ คลินิกสุขภาพเด็กดีและคลินิกฝากครรภ์เคลื่อนที่  ไม่ใช้งบประมาณ
กิจกรรมที่ ๕ จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กที่บุตรน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์  จำนวน ๘,๔๐๐ บาท
 คณะกรรมการกองทุนฯ มีความเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี  ช่วยแก้ปัญหาแม่และเด็กในพื้นที่
 มติที่ประชุม : อนุมัติ    
โครงการที่ ๕  โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปี ๒๕๖๐
    เป็นโครงการของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒  ปัจจุบันปัญหาสุขภาพที่สำคัญ มาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลให้แนวโน้มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสูงขึ้น ซึ่งมีผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชน และสังคม  โรคดังกล่าว ได้แก่โรค ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ หลอดเลือดสมอง หากได้รับการดูแลไม่เหมาะสม อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ทำให้เพิ่มภาระแก่ครอบครัวในเรื่องการดูแล เศรษฐกิจ ค่ารักษาพยาบาล จากการดำเนินงานของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๒ ในปี ๒๕๕๙ พบว่ามีกลุ่มเป้าหมาย คัดกรองประชากรอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป ที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบทั้งหมด ๓.๙๐๙ ราย แบ่งเป็นความดันโลหิตกลุ่มปกติ ๑,๕๑๒ ราย   กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง ๑,๐๗๙ราย  เบาหวานกลุ่มปกติ ๓,๐๓๔ ราย กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ๓๐๑ ราย ดังนั้นการจัดกิจกรรมเพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเอง ทั้งในเรื่องอาหาร ออกกำลังกาย  อารมณ์    ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๒๖,๔๐๐ บาทเพื่อใช้จ่ายเป็นค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  อาหารกลางวัน  ค่าตอบแทนวิทยากร  ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นต้น
 คณะกรรมการกองทุนฯ มีความเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี  เป็นการเฝ้าระวังโรคเรื้อรัง ในกลุ่มเสี่ยง
มติที่ประชุม : อนุมัติ 
โครงการที่ ๖  โครงการพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว คปสอ.ม.สุไหงโก-ลก
    เป็นโครงการของงานรักษาพยาบาลในชุมชน โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก  จัดขึ้นเพื่อจัดระบบบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวให้ความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการดูแลสุขภาพ สุขภาพจิต สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ (Care giver) มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลผู้สูงอายุ และสามารถปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลแก่ผู้สูงอายุได้ถูกต้อง อย่างมีคุณภาพ จากข้อมูลในพิ้นที่ อ.สุไหงโก-ลก มีผู้สูงอายุ ๓,๖๓๐ ราย พบว่าผู้สูงอายุติดเตียง จำนวน ๒๔ ราย ติดบ้านจำนวน ๓๕ ราย ติดสังคม ๓,๕๗๑ ราย ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้รับการดูแลระยะยาว จำนวน ๒๔ ราบ การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพด้วยความยากลำบาก และในการดำเนินชีวิตประจำวันต้องพึ่งพาดูแล ซึ่งบางคนขาดคนดูแลและพักอาศัยโดยลำพัง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจในการดูแลของชุมชนในการเยี่ยมดูแลสุขภาพทั้งด้าน ร่างกาย จิตใจ สังคม จึงต้องมีการพัฒนาระบบการดำเนินงานดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็น ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ (Care giver) ๑๐ คน  เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน ๕ คน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯจำนวน ๔๗,๖๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย เช่น ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารกลางวัน ค่าวิทยากร และค่าใช้จ่ายอื่นๆทีจำเป็น เพื่อใช้ใน ๕ กิจกรรม คือ ๑ ประชุมคณะทำงาน ๒. พัฒนาศักยภาพเครือข่าย ฯ ๓.จัดทีมหมอครอบครัวออกเยี่ยมบ้านกลุ่มติดเตียง ๔. ประกวด CG  ดีเด่น  ๕. สรุปและประเมินผล
 คณะกรรมการกองทุนฯ มีความเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี  เสนอให้ปรับกิจกรรมประกวดเป็นถอดบทเรียนการทำงานของผู้ดูแล  ให้ปรับระยะเวลาดำเนินการให้เป็นปัจจุบัน โดยเริ่มจาก มิย.เป็นต้นไป
 มติที่ประชุม : อนุมัติ    และปรับแก้ตามข้อเสนอแนะ
โครงการที่ ๗  โครงการชุมชนต้นแบบ สุขภาพพอเพียง
เป็นโครงการของงานสุขศึกษา โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก  จัดขึ้นพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการสุขภาพตนเอง มีทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงดังกล่าวสามารถลดระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ จากผลการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป ในชุมชนสันติสุข ตั้งแต่เดือน ต.ค. ๕๘ ถึง เดือนกันยายน ๕๙ จำนวน ๒๙๐ ราย พบผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ทางกลุ่ม อสม.ร่วมกับศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ๑ งานฝ่ายสุขศึกษา โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ได้ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนโดยมุ้งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อสอดคล้องกับปัญหาในพื้นที่และได้แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการใช้ร่วมกับนโยบายของโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก “รุก บุก ขยาย” เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นมา โดยมีกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ชุมชนสันติสุข จำนวน ๑๐๐ ราย ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๓๖,๘๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารกลางวัน ค่าป้ายไวนิล และอื่นๆที่จำเป็นเพื่อใช้ใน ๓ กิจกรรม ได้แก่ การทำประชาคมสุขภาพ  วิเคราะข้อมูล  นำกลุ่มเสี่ยงมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยเน้นการจัดการตนเองโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ตามวิถีชุมชน   มีการประกวดเมนูอาหารสุขภาพ    หลังดำเนินการ ๖ เดือนมีการถอดบทเรียนและคืนข้อมูลให้ชุมชนเพื่อนำปัญหามาแก้ร่วมกัน
 คณะกรรมการกองทุนฯ มีความเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี  ช่วยในการเฝ้าระวังโรคเรื้อรังในชุมชนที่ยั่งยืน  และเสนอให้ยกเลิกการประกวดเป็น สาธิตเมนูอาหารแทน   ปรับระยะเวลาดำเนินการให้เป็นปัจจุบัน
 มติที่ประชุม : อนุมัติ    
โครงการที่ ๘  โครงการบูรณาการการดูแลผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมฯ
    เป็นโครงการของงานแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการดูแลตนเองในโรคข้อเข่าเสื่อม เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันอาการปวดเข่า ข้อเข่าเสื่อม หรือโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นภาวะที่ข้อเข่าผ่านการใช้งานมาเป็นเวลานานเกิดการเสื่อมของกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อทำให้มีการงอกของกระดูกเวลาเดินจะเจ็บข้อมีการผิดรูปของข้อเข่า โรคข้อเข่าเสื่อมมักพบในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดความทรมานแก่ผู้สูงอายุอย่างยิ่ง  ดังนั้น กลุ่มงานแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้เห็นความสำคัญเพื่อแก้ปัญหาเรื่องข้อเข่าเสื่อมคือการป้องกันหรือการชะลอ ไม่ให้เกิดภาวะดังกล่าวนานที่สุด ซึ่งมีแนวทางในการปฏิบัติตัวและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม และสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้นโดยข้อปฏิบัติเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยยืดอายุของข้อต่อและระบบโครงสร้างของร่างกายเราให้ใช้งานได้นานขึ้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สูงอายุและประชานที่เป็นโรคขอเข่าเสื่อม จำนวน ๖๐ คน ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๑๒,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารกลางวัน ค่าป้ายไวนิล   ค่าวิทยากร และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น
 คณะกรรมการกองทุนฯ มีความเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี 
 มติที่ประชุม : อนุมัติ    
โครงการที่ ๙  โครงการหนึ่งในใจแพทย์แผนไทยใกล้ใจประชาชน
    เป็นโครงการของงานแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกในการดูแลสุขภาพแก่ประชาชน เพื่อเผยแพร่ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ในปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูแลสุขภาพของคนในชุมชน ส่งเสริมการจัดทำนวัตกรรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยอาศัยการนำเอาองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกรวมถึงการนำเอาธรรมชาติรอบตัวมาใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ เช่น การรักษาโรคด้วยสมุนไพร การออกกำลังกายด้วยกายบริหารฤาษีดัดตน การนวด อบ และประคบด้วยสมุนไพร การรับประทานอาหารตามหลักธรรมชาติบำบัด การทำสมาธิบำบัด การฝึกโยคะเพื่อสุขภาพ เป็นต้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็น อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ผู้สูงอายุ และประชาชนทั่วไป จำนวน ๑๐๐ คน  ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน ๑๔,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารกลางวัน ค่าไวนิล และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น
คณะกรรมการกองทุนฯ  มีความเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี 
 มติที่ประชุม : อนุมัติ    
ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องเพื่อติดตาม
เรื่องที่ ๑  : รายงานผลการดำเนินงานของอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ
    ๑.คณะอนุกรรมการฝ่ายจัดทำแผนฯ : สรุปแผนดำเนินงานกองทุนฯ ปี ๒๕๖๐ (ตามเอกสาร )
    ๒.คณะอนุกรรมการฝ่ายเลขาและธุรการ:รายงานการประชุมการดำเนินงานกองทุนฯ เมื่อ ๒๙ พค.๖๐
    ๓.คณะอนุกรรมการฝ่ายการเงินและการบัญชี:สตง.นราธิวาสประสานขอตรวจเอกสารโครงการชมรมบาสเกตบอลปี ๒๕๕๙
    ๔.คณะอนุกรรมการฝ่ายประเมินและติดตาม : ทีมอนุติดตามออกประเมิน ติดตามในเดือนพฤษภาคมจำนวน  ๔ โครงการ 
เรื่องที่ ๒ : กองทุนดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ( LTC )
    ในปี ๒๕๕๙ มีผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ที่เสียชีวิต  ๕ ราย
    การดำเนินงาน LTC ในปี ๒๕๖๐
 ยอดผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ตามเงื่อนไขของสปสช.  จำนวน ๒๔ ราย  (เก่า /ใหม่ )
มีการรับสมัคร ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง  ( CG )  เพิ่มอีก ๑๐ คน รวม ของปี ๒๕๕๙ เป็น ๒๐ คน
ให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานของ CM  / CG  ให้เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์เรียนรู้ผู้สูงอายุ ทำหน้าที่กำกับดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง    
ระเบียบวาระที่  ๖ เรื่องอื่นๆ   -
            
        
                                           ปิดการประชุม  ๑๒.๐๐ น.
            นางปะอีซะห์    มะฮามะรีเป็น       บันทึกและพิมพ์รายงานการประชุม
            นางตันจุรีย์       ไชยลาภ           ตรวจทานและแก้ไข



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น