วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ภารกิจถ่ายโอน การจดทะเบียนพาณิชย์

ภารกิจถ่ายโอน การจดทะเบียนพาณิชย์

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับทะเบียนพาณิชย์

1.พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499

2.พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549

3.พระราชกฤษีกากำหนดกิจการเป็นพาณิชยกิจ พ.ศ.2546

4.กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499

5.ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องให้ผู้ประกอบการ พาณิชยกิจ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2551

6.ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ และนายทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2552

7.ประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่อง การตั้งสำนักงานทะเบียนพาณิชย์ แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2552

8.คำสั่งสำนักงานกลางทะเบียนพาณิชย์ ที่ 1/2549 เรื่อง ให้จัดส่งสถิติและข้อมูลการจดทะเบียนพาณิชย์

9.ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดแบบพิมพ์ พ.ศ.2549

10.คำสั่งสำนักงานกลางทะเบียนพาณิชย์ที่ 13/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดเลขทะเบียนพาณิชย์และเลขคำขอจดทะเบียนพาณิชย์

กิจการที่เป็นพาณิชยกิจ

พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 มาตรา 6 ให้ถือว่ากิจการต่อไปนี้เป็นพาณิชยกิจ

1.การซื้อ การขาย การขายทอดตลาด การแลกเปลี่ยน

2.การให้เช่า การให้เช่าซื้อ

3.การเป็นนายหน้าหรือการเป็นตัวแทนค้าต่าง

4.การขนส่ง

5.การหัตถกรรม การอุตสาหกรรม

6.การรับจ้างทำของ

7.การให้กู้ยืมเงิน การรับจำนำ การรับจำนอง

8.การคลังสินค้า

9.การรับแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การเครดิตฟองซิเออร์ การโพยก๊วน

10.การรับประกันภัย

11.กิจการอื่นที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

พระราชกฤษฎีกา กำหนดกิจการเป็นพาณิชยกิจ พ.ศ.2546 ได้แก่

1.การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต

2.การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ

3.การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์

4.การให้บริการตู้เพลง

พาณิชยกิจที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ ได้แก่

1.การค้าเร่ การค้าแผงลอย

2.พาณิชยกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล

3.พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น

4.พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม

5.พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์

6.พาณิชยกิจซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

พาณิชยกิจซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้แก่

1.ประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่ 83 (พ.ศ. 2515) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2515 กำหนดให้ผู้ประกอบการ พาณิชยกิจซึ่งเป็นบริษัทจำกัด และห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์

2.ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 93 (พ.ศ.2520) ลงวันที่ 28 มีนาคม 2520 กำหนดให้พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรกร ซึ่งได้จดทะเบียนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 141 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2515 ไม่ อยู่ภายใต้บังคับแห่ง พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ 2499

การประกอบพาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียน

ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551

ข้อ 4 กำหนดให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจ ดังต่อไปนี้ ยกเว้นผู้ประกอบพาณิชยกิจที่เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บริษัทมหาชนจำกัด ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด ทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

1. การทำโรงสีข้าวและการทำโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร

2.การขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆอย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตามคิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาท ขึ้นไป หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขาย มีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป

3.การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนค้าต่าง ซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆอย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และสินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป

4.การประกอบหัตถกรรมหรือการอุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใดๆอย่างเดียว หรือหลายอย่างก็ตามและขายสินค้า ที่ผลิตได้มีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีค่ารวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป

5.การขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟ หรือเรือยนต์ประจำทาง การขอส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขดส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับจำนำ การทำโรงแรม

ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551

ข้อ 5 กำหนดให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจดังต่อไปนี้ไม่ว่า จะเป็นบุคคลธรรมดา หรือห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บริษัทมหาชนจำกัด ตามกฎหมายว่าด้วย บริษัทมหาชนจำกัด ทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

1. การขายหรือให้เช่า แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดีทัศน์ แผ่นวีดีทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง

2.การขายอัญมณี หรือเครื่องประดับที่ประดับด้วยอัญมณี

3.การซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออีเล็คโทรนิคผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

4.การให้บริการอินเทอร์เน็ต

5.การให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย

6.การบริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

(การประกอบพาณิชยกิจตาม 3-6 เป็นการประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)

7.การผลิต การรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิตอล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง

8.การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เนต

9.การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ

10.การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์

11.การให้บริการตู้เพลง

12.โรงงานแปรสภาพ แกะสลักและการทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีกการค้าส่งงาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้าง

กำหนดระยะเวลาในการยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์

1.การจดทะเบียนพาณิชย์(ตั้งใหม่) ผู้ประกอบการพาณิชยกิจต้องยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มประกอบพาณิชยกิจ

2.การจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องยื่นจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลง รายการภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ มีการเปลี่ยนแปลงรายการที่จดทะเบียนไว้เดิม

รายการที่ต้องยื่นขอจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลง คือ

(1). เปลี่ยนชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจ

(2). เลิกประกอบพาณิชยกิจบางส่วน หรือเพิ่มใหม่

(3). เพิ่มหรือลดเงินทุน

(4).ย้ายสำนักงานใหญ่

(5). เปลี่ยนผู้จัดการ

(6).เจ้าของหรือผู้จัดการเปลี่ยนที่อยู่

(7).ย้าย เลิก หรือเพิ่มสาขา โรงเก็บสินค้า หรือ ตัวแทนค้าต่าง

(8).แก้ไขเพิ่มเติมผู้เป็นหุ้นส่วน (หุ้นส่วนเข้า/ออก) เงินลงหุ้น จำนวนเงินลงทุนของห้าง

(9).จำนวนเงินลงทุน จำนวนหุ้น และมูลค่าหุ้นของบริษัทจำกัด จำนวนและมูลค่าหุ้นที่บุคคลแต่ละสัญชาติถืออยู่

(10).รายการอื่นๆ เช่น แก้ไขชื่อเว็บไซต์ ชื่ออักษรโรมัน ฯลฯ

3.การจดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจ ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องยื่นจดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจภายใน 30 วัน นับแต่วันเลิกประกอบพาณิชกิจ

อัตราค่าธรรมเนียม

1.จดทะเบียนพาณิชย์ 50 บาท

2.จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการ ครั้งละ 20 บาท

3.จดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจ 20 บาท

4.ขอให้ออกใบแทนทะเบียนพาณิชย์ ฉบับละ 30 บาท

5.ขอตรวจดูเอกสารเกี่ยวกับทะเบียน ครั้งละ 20 บาท

6.ขอให้เจ้าหน้าที่รับรองเอกสาร ฉบับละ 30 บาท

บทกำหนดโทษ

1.ไม่ยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ ภายใน 30 วัน

2.แสดงรายการเท็จ

3.ไม่ไปพบนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่

4.ไม่อำนวยความสะดวกแก่นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่

ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาทและปรับไม่เกินวันละหนึ่งร้อยบาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติตามกฎหมาย

5.ไม่ยื่นคำขอใบแทนทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วัน

6.ไม่แสดงใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ในที่เปิดเผย

7.ไม่จัดให้มีป้ายชื่อแสดงไว้ที่หน้าสำนักงานใหญ่หรือสาขา

ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท และปรับไม่เกินวันละยี่สิบบาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติตามกฎหมาย

8.ผู้ใดกระทำการฉ้อโกงประชาชน ปนสินค้าโดยทุจริตหรือกระทำการทุจริตอย่างอื่นอย่างร้ายแรง จะถูกเพิกถอนใบอนุญาตทะเบียนพาณิชย์และจะประกอบ พาณิชยกิจอีกต่อไปไม่ได้ เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะสั่งให้รับจดทะเบียนใหม่

ผู้ที่ถูกสั่งเพิกถอนใบทะเบียนพาณิชย์แล้ว ยังคงฝ่าฝืนประกอบพาณิชยกิจต่อไป มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ

สถานที่ขออนุญาตจดทะเบียนพาณิชย์

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 ผู้ประกอบพาณิชยกิจที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก สามารถติดต่อขอรับบริการเกี่ยวกับการจดทะเบียนพาณิชย์ ได้ที่ กองคลัง สำนักงานเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ดาวโหลดแบบพิมพ์

ทะเบียนพาณิชย์ : กลุ่มของแบบพิมพ์
จดทะเบียนจัดตั้งใหม่
จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการ
จดทะเบียนเลิกพาณิชยกิจ

คู่มือการจดทะเบียนพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499
คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับนายทะเบียนพาณิชย์และพนักงานเจ้าหน้าที่
ตัวอย่างการจดทะเบียนพาณิชย์ใหม่ / ตัวอย่างการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง/
ตัวอย่างการจดทะเบียนเลิกพาณิชยกิจ/ สถานที่จดทะเบียน / ค่าธรรมเนียม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น