วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แนวทางการโฆษณาสินค้าหรือบริการ

แนวทางการโฆษณาสินค้าหรือบริการ

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

เรื่อง แนวทางการโฆษณาสินค้าหรือบริการ

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.. ๒๕๒๒

..................................

โดยที่มาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.. ๒๕๒๒ ได้กำหนดให้การโฆษณาจะต้องไม่ใช้ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม ซึ่งได้แก่ ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง ข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ข้อความที่เป็นการสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทำ

ผิดกฎหมายหรือศีลธรรมหรือนำไปสู่ความเสื่อมเสียในวัฒนธรรมของชาติ ฯลฯ แต่เนื่องจากปัจจุบัน

ยังพบว่ามีผู้ประกอบธุรกิจหลายประเภทโฆษณาสินค้าหรือบริการที่ใช้ข้อความไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค

ในลักษณะที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการทางสื่อต่าง ๆ มากมาย

โดยเฉพาะการโฆษณาทางสื่อวิทยุโทรทัศน์ และสื่อหนังสือพิมพ์ ในลักษณะที่มุ่งเน้นความสำคัญเกี่ยวกับ

สินค้าหรือบริการในบางจุดหรือบางส่วน แต่กลับแสดงรายละเอียดเงื่อนไขให้ผู้บริโภครับทราบในลักษณะ

แอบแฝง เช่น โฆษณาทางสื่อวิทยุโทรทัศน์ มีการแสดงข้อความด้วยตัวอักษรลอย (super) ขนาดเล็ก

มี ระยะเวลาสั้นอ่านไม่ทัน หรือทางสื่อหนังสือพิมพ์ ผู้โฆษณาจะใช้ตัวอักษรขนาดเล็กมากจนอ่านแทบไม่เห็นและวางอยู่ไกลข้อความที่ เป็นสาระสำคัญ ซึ่งผู้บริโภคมักจะไม่อ่านข้อความที่มีขนาดเล็กเช่นนั้น

และเมื่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคขอให้ผู้โฆษณาไปชี้แจงข้อเท็จจริง ผู้โฆษณาก็มักจะ

อ้างว่าส่วนราชการที่กำกับดูแลการโฆษณายังไม่มีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ ฉะนั้น

เพื่อให้การโฆษณาสินค้าหรือบริการเป็นไปโดยถูกต้อง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

จึงกำหนดแนวทางการโฆษณาสินค้าหรือบริการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.. ๒๕๒๒ ดังนี้

. ข้อ ความที่ใช้เป็นหลักในการโฆษณาทางสื่อต่าง ๆ ต้องแสดงให้เห็น อ่าน ฟังได้อย่างครบถ้วน ชัดเจนและไม่ทำให้ผู้บริโภคหลงผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ

. ข้อความที่แสดงรายละเอียดเงื่อนไขเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจความหมายของการโฆษณาได้อย่างถูกต้อง ให้ปฏิบัติดังนี้

.๑ ทางสื่อหนังสือพิมพ์หรือสื่อสิ่งพิมพ์ ให้ใช้ตัวอักษรที่เห็นและอ่านได้ชัดเจนมีขนาดไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของขนาด ตัวอักษรข้อความที่เป็นสาระสำคัญ ทั้งนี้ต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า ๒ มิลลิเมตร และต้องอยู่ใกล้กับข้อความที่เป็นสาระสำคัญนั้น

.๒ ทางป้ายโฆษณา ให้ใช้ตัวอักษรที่เห็นและอ่านได้ชัดเจนตัดกับสีพื้นมีขนาดไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของขนาดตัวอักษรสูงสุด

.๓ ทางวิทยุกระจายเสียง ให้ฟังได้ชัดเจนโดยใช้ความเร็วและจังหวะในการพูดเช่นเดียวกับข้อความที่โฆษณา

.๔ ทางวิทยุโทรทัศน์ ให้แสดงอักษรลอย (Super) เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๕ วินาที

ด้วยตัวอักษรที่เห็นและอ่านได้ชัดเจนตัดกับสีพื้น และมีขนาดความสูงของตัวอักษรไม่น้อยกว่าหนึ่งส่วน

ในยี่สิบห้าส่วนของขนาดความสูงของจอภาพ

. ใน กรณีที่ผู้โฆษณาอ้างอิงผลการทดสอบหรือทดลองที่กระทำในห้องทดลองซึ่งมี พื้นที่และสภาวะแวดล้อมที่จำกัด เช่น อุณหภูมิ ความชื้น สภาพพื้นที่ ต้องระบุไว้ในข้อความโฆษณาด้วยตัวอักษรให้เห็นและอ่านได้ชัดเจนว่าเป็นผลการ ทดสอบหรือทดลองในห้องทดลองของสถาบันหน่วยงานหรือองค์กรใด ที่ไหน และเมื่อไร หากไม่ระบุข้อความดังกล่าว จะต้องมีผลการทดสอบหรือทดลองที่กระทำในสภาวะแวดล้อมที่เป็นจริงของสถาบัน หรือองค์กรที่เชื่อถือได้และพร้อมที่จะแสดงยืนยันได้ทันที เมื่อคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาเรียกให้มาพิสูจน์ มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยว กับสินค้าได้

. การ โฆษณาว่ารับประกันสินค้า ผู้โฆษณาต้องระบุลักษณะและขอบเขตของการประกันให้ชัดเจน เงื่อนไขของการปฏิบัติตามที่ประกันต้องชัดเจนและครบถ้วนทุกเงื่อนไข ระบุตัวผู้รับประกันระยะเวลาประกัน ขั้นตอนปฏิบัติตามสัญญาประกัน เพราะการโฆษณารับประกันโดยไม่ชัดเจนย่อมส่อให้เห็นถึงเจตนาที่ประสงค์จะไม่ รับผิดชอบของผู้รับประกัน อาจทำให้ผู้บริโภคสำคัญผิดได้ด้วย

. การ พิจารณาข้อความโฆษณาต้องยึดถือเป็นหลักว่าผู้บริโภคเข้าใจความหมายของข้อ ความโฆษณาที่ปรากฏนั้นว่าอย่างไร มิใช่ถือเอาตามความเข้าใจหรือเจตนาของผู้ประกอบธุรกิจว่าเข้าใจหรือต้องตี ความอย่างไร เช่น โฆษณาให้บริการฟรี ตามความเข้าใจของผู้บริโภคย่อมเข้าใจว่าให้บริการโดยไม่คิดค่าตอบแทน แต่ถ้าการให้บริการฟรีนั้นทำภายใต้เงื่อนไขใด ผู้โฆษณาจะต้องระบุเงื่อนไขให้ครบถ้วน เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจถึงความต้องการหรือเจตนาของตน

ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๘

(นางรัศมี วิศทเวทย์)

เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อสินค้าหรือบริการ ร้องเรียนที่

ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนผู้บริโภคเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

งานนิติการ กองวิชาการและแผนงาน

สำนักงานเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก โทร.073-615295


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น