วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา

ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา

เรื่อง ให้ธุรกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา

พ.ศ. ๒๕๔๓[๑]

อาศัย อำนาจตามความในมาตรา ๓๕ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและ เสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายประกอบกับมาตรา ๓ มาตรา ๔ และมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดธุรกิจที่ควบคุมสัญญา และลักษณะของสัญญา พ.ศ. ๒๕๔๒ คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ธุรกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา

ข้อ ๒ ในประกาศนี้

“การ ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่” หมายความว่า การให้บริการสื่อสารทางโทรศัพท์ที่ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารกันได้เป็น คำพูด เครื่องหมาย สัญญาณ ตัวหนังสือ ภาพ เสียง หรือการอื่นใดที่สามารถสื่อความหมายได้โดยอาศัยคลื่นวิทยุ แต่ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจหรือเฉพาะกลุ่ม

“การ ประกอบธุรกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่” หมายความว่า การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับผู้บริโภคโดยมีค่า ตอบแทน

“ค่า ตอบแทน” หมายความว่า ค่าเช่าเลขหมาย ค่าใช้เลขหมายรายเดือน ค่าใช้บริการ ค่าใช้บริการพิเศษ ค่าขอเปิดใช้บริการใหม่ ค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดที่ผู้ประกอบธุรกิจกำหนดให้ผู้บริโภคชำระเกี่ยวกับการ ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่

ข้อ ๓ สัญญา ที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภคต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่ สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจนมีขนาดของตัวอักษรไม่เล็กกว่าสองมิลลิเมตรและ ต้องใช้ข้อสัญญาที่มีสาระสำคัญและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

(๑) ผู้ประกอบธุรกิจต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับอัตราค่าประกันการใช้เลขหมาย ค่าตอบแทน และค่าเบี้ยปรับกรณีผิดนัดชำระค่าตอบแทนแต่ไม่รวมถึงค่าใช้บริการโทรศัพท์ ทางไกลระหว่างประเทศ และค่าใช้บริการโทรศัพท์ข้ามแดนระหว่างประเทศ

อัตราค่าใช้บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ ให้เป็นไปตามอัตราที่การสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกาศกำหนด

อัตราค่าใช้บริการโทรศัพท์ข้ามแดนระหว่างประเทศ ผู้ประกอบธุรกิจต้องแจ้งอัตราค่าใช้บริการเมื่อผู้บริโภคร้องขอ

(๒) ผู้ประกอบธุรกิจต้องส่งใบแจ้งรายการการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้ผู้ บริโภคทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบวัน ก่อนวันครบกำหนดชำระ โดยใบแจ้งรายการต้องระบุรายละเอียดการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่าง พื้นที่ ดังนี้

(ก) วัน เดือน ปี เวลาการใช้บริการ

(ข) จำนวนครั้งที่ใช้บริการ

(ค) เลขหมายโทรศัพท์ปลายทาง

(ง) รายละเอียดและการคิดค่าตอบแทน

ผู้ บริโภคมีสิทธิขอรับใบแจ้งรายการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในพื้นที่เดียวกันที่มี รายการตามที่กำหนดในวรรคหนึ่ง โดยแจ้งความประสงค์ ณ ศูนย์บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ประกอบธุรกิจเป็นหนังสือ หรือทางโทรศัพท์ หรือเครื่องมือสื่อสารอย่างอื่น หรือโดยวิธีการอื่นใด แต่ขอรับใบแจ้งรายการการใช้บริการดังกล่าวย้อนหลังได้ไม่เกินสามเดือน ในการนี้ผู้ประกอบธุรกิจต้องดำเนินการให้ภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เว้นแต่ในกรณีที่ต้องส่งใบแจ้งรายการนั้นไปยังผู้บริโภคโดยทางไปรษณีย์ ผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิเรียกค่าจัดส่งได้ตามความเป็นจริง

(๓) ผู้บริโภคมีสิทธิขอยกเลิกสัญญาการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เมื่อใดก็ได้

(๔) ผู้บริโภคมีสิทธิขอระงับการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ชั่วคราวได้ไม่เกิน หกเดือนโดยแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ประกอบธุรกิจทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน หรือแจ้งโดยวิธีอื่นตามที่ระบุไว้ในสัญญา

(๕) ในกรณีที่ผู้บริโภคขอระงับการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ชั่วคราวต้องมีข้อสัญญาดังนี้

(ก) ผู้ประกอบธุรกิจต้องกำหนดให้มีการยกเว้น หรือลดอัตราค่าใช้เลขหมายรายเดือนในระหว่างระงับการใช้บริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ชั่วคราวให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจต้องระบุไว้โดยชัดเจนในสัญญา

(ข) ผู้บริโภคไม่ต้องรับผิดชอบในภาระหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังจาการแจ้งขอระงับการ ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ชั่วคราวมีผล เว้นแต่ผู้ประกอบธุรกิจจะพิสูจน์ได้วาภาระหนี้ที่เกิดขึ้นเป็นผลจาการกระทำ ของผู้บริโภคเอง

(ค)[๒] เมื่อครบกำหนดการขอระงับการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ชั่วคราวผู้ประกอบ ธุรกิจจะเปิดให้ผู้บริโภคใช้บริการทันทีโดยไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ ที่เกี่ยวกับการขอต่อบริการจากผู้บริโภค แต่หากในรอบเดือนถัดมาผู้บริโภคไม่ได้ใช้บริการและไม่ชำระค่าใช้หมายเลขราย เดือน ผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้

(๖) ผู้ประกอบธุรกิจต้องระบุเหตุแห่งการผิดสัญญาของผู้บริโภคที่ผู้ประกอบธุรกิจ มีสิทธิระงับการให้บริการชั่วคราว หรือยกเลิกการให้บริการ หรือหักเงินประกันการใช้บริการไว้เป็นการเฉพาะด้วยตัวอักษรสีแดง หรือตัวดำ หรือตัวเอน ที่เห็นเด่นชัดกว่าข้อความทั่วไป

(๗) เมื่อมีเหตุที่ผู้ประกอบธุรกิจจะระงับการให้บริการชั่วคราว หรือยกเลิกการให้บริการ หรือหักเงินประกันการใช้บริการ ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้บริโภคทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า สามสิบวัน เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้

(ก) ผู้บริโภคถึงแก่ความตาย

(ข) ผู้บริโภคใช้เอกสารปลอมในการขอใช้บริการ

(ค) ผู้ประกอบธุรกิจพิสูจน์ได้ว่าเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้บริโภคนั้นถูกลักลอบนำไปใช้โดยมิชอบ

(ง) ผู้บริโภคได้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เกินวงเงินที่ได้ตกลงไว้ในสัญญากับผู้ประกอบธุรกิจ

(จ) ผู้ประกอบธุรกิจพิสูจน์ได้ว่าผู้บริโภคได้นำเอาเลขหมายของตนไปให้ผู้อื่นใช้เพื่อแสวงหารายได้โดยมุ่งหมายจะไม่ชำระค่าตอบแทน

(ฉ)[๓] ผู้บริโภคผิดนัดชำระค่าใช้บริการเกินกว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ครบกำหนดชำระ

(๘) เมื่อสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เลิกกัน ผู้ประกอบธุรกิจต้องคืนเงินประกันการใช้เลขหมาย หรือในกรณีที่มีหนี้ค้างชำระต้องคืนเงินส่วนที่เหลือจากการหักหนี้ค้างชำระ แก่ผู้บริโภค

ใน การคืนเงินประกันการใช้เลขหมาย ให้ผู้ประกอบธุรกิจคืนเงินดังกล่าวให้แก่ผู้บริโภค เมื่อได้แสดงหลักฐานว่าเป็นบุคคลเดียวกับผู้ใช้บริการหรือแก่ผู้รับมอบอำนาจ จากผู้บริโภคภายในกำหนดเวลา ดังต่อไปนี้

(ก) สามสิบวันนับแต่วันเลิกสัญญา สำหรับผู้บริโภคทั่วไป

(ข) หกสิบวันนับแต่วันเลิกสัญญา สำหรับผู้บริโภคที่เป็นสมาชิกใช้บริการโทรศัพท์ข้ามแดนระหว่างประเทศ

ทั้งนี้ อาจคืนด้วยเงินสด หรือเช็ค หรือนำเข้าบัญชีเงินฝากของผู้บริโภค หรือตามที่ผู้บริโภคแจ้งความประสงค์

กรณี ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถคืนเงินประกันการใช้เลขหมายให้แก่ผู้บริโภคได้ตาม ที่กำหนด ผู้ประกอบธุรกิจตกลงชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีของเงินจำนวนดัง กล่าวในระหว่างเวลาผิดนัด แต่ ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิผู้บริโภคที่จะเรียกค่าเสียหายอย่างอื่น

(๙) เมื่อผู้บริโภคได้แจ้งเหตุที่โทรศัพท์เคลื่อนที่สูญหายหรือถูกโจรกรรมให้ผู้ ประกอบธุรกิจทราบ ณ ศูนย์บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ประกอบธุรกิจเป็นหนังสือหรือทาง โทรศัพท์ หรือโดยเครื่องมือสื่อสารอย่างอื่น หรือโดยวิธีการอื่นใด ผู้ประกอบธุรกิจต้องดำเนินการในทันทีที่ได้รับแจ้งเพื่อระงับการให้บริการ โดยเร็วที่สุด และผู้บริโภคไม่ต้องรับผิดชำระค่าตอบแทนที่เกิดขึ้นภายหลังการแจ้งดังกล่าว เว้นแต่ผู้ประกอบธุรกิจจะพิสูจน์ได้ว่าภาระหนี้ที่เกิดขึ้นเป็นผลจากการ กระทำของผู้บริโภคเอง

(๑๐) ผู้บริโภคจะต้องรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการติดตามทวงถามอันเนื่องมา จากการผิดสัญญาของผู้บริโภค ตามที่ผู้ประกอบธุรกิจจ่ายไปจริงตามความจำเป็นและมีเหตุผลอันสมควร

(๑๑) การเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมข้อสัญญา เงื่อนไข ระเบียบ ประกาศ หรือข้อกำหนดใด ๆ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าตอบแทนเกี่ยวกับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อน ที่ ผู้ประกอบธุรกิจต้องแจ้งให้ผู้บริโภคทราบเป็นหนังสือมีขนาดของตัวอักษรไม่ เล็กกว่าสองมิลลิเมตรดังนี้

(ก) แจ้งให้ผู้บริโภคทราบล่วงหน้าเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน

(ข) ในกรณีเร่งด่วนแจ้งทางจดหมายหรือประกาศทางหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยแพร่ หลายในประเทศล่วงหน้าเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าเจ็ดวันในการแจ้งโดยประกาศทาง หนังสือพิมพ์นั้นต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรซ้ำอีก ครั้งหนึ่ง

(ค) ความใน (ก) และ (ข) ไม่ใช้บังคับกับการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าใช้บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่าง ประเทศ หรืออัตราค่าใช้บริการโทรศัพท์ข้ามแดนระหว่างประเทศ หรือการเปลี่ยนแปลงอัตราโดยกฎหมายกำหนดซึ่งมีผลบังคับใช้ภายในกำหนดเวลาน้อย กว่าสามสิบวัน

(๑๒) ผู้ประกอบธุรกิจต้องส่งคำบอกกล่าวตาม (๗) หรือตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องทำเป็นหนังสือ โดยการส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้แก่ผู้บริโภคตามที่อยู่ที่ระบุไว้ใน สัญญา หรือที่อยู่ที่ผู้บริโภคแจ้งการเปลี่ยนแปลงเป็นหนังสือครั้งหลังสุด

ข้อ ๔ สัญญาที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภคต้องไม่ใช้ข้อสัญญาที่มีลักษณะหรือมีความหมายทำนองเดียวกัน ดังต่อไปนี้

(๑) ข้อสัญญาที่กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิคิดเบี้ยปรับในกรณีที่ผู้บริโภค ผิดนัดชำระค่าตอบแทน หรือหนี้อื่นใดเกินกว่าอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี

(๒) ข้อสัญญาที่เป็นการยกเว้น หรือจำกัดความรับผิดที่เกิดจากการผิดสัญญาของผู้ประกอบธุรกิจ

(๓)[๔] ข้อสัญญาที่ให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถระงับการให้บริการทันทีในกรณีผู้บริโภค ผิดนัดชำระค่าใช้บริการน้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ครบกำหนดชำระ

(๔) ข้อสัญญาที่ให้ผู้บริโภคต้องรับผิดชำระค่าตอบแทนทั้งหมดที่เกิดจากการเรียก ออกจากเลขหมายของผู้บริโภค โดยไม่ให้ผู้บริโภคยกเหตุใด ๆ มากล่าวอ้างปฏิเสธความรับผิดต่อผู้ประกอบธุรกิจ

บทเฉพาะกาล

ข้อ ๕ ข้อสัญญาตามข้อ ๓ (๕) ไม่ใช้บังคับจนกว่าจะครบกำหนด ๖๐ วัน นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ

ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๔

ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์

ประธานกรรมการว่าด้วยสัญญา


ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕[๕]

ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อสินค้าหรือบริการ

ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ร้องเรียนที่ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนผู้บริโภคเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

งานนิติการ กองวิชาการและแผนงาน

สำนักงานเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก โทร.073-615295

คำอธิบายเพิ่มเติม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น