วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พนักงานเจ้าหน้าที่และอำนาจหน้าที่

พนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522

และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541

อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังต่อไปนี้

๑. นับ ชั่ง ตวง วัด ตรวจสินค้า และเก็บหรือนำสินค้าในปริมาณพอสมควรไปเป็นตัวอย่างเพื่อทำการทดสอบ โดยไม่ต้องชำระราคาสินค้านั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด

๒. ค้น ยึด หรืออายัดสินค้า ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุสินค้า ฉลากหรือเอกสารอื่น ที่ไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.นี้ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดี ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำผิด

๓. เข้าไปในสถานที่หรือยานพาหนะใดๆ เพื่อตรวจสอบการผลิตสินค้า การขายสินค้าหรือบริการ รวมทั้งตรวจสอบสมุดบัญชี เอกสารและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

๔. มีหนังสือเรียกให้บุคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ หรือส่งเอกสารและหลักฐานที่จำเป็นเพื่อประกอบการพิจารณา

ข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคพ.ศ. ๒๕๒๒ ในส่วนภูมิภาค

ได้แก่

๑. ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด

๒. หัวหน้าสำนักงานจังหวัดทุกจังหวัด

๓. ข้าราชการในจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการในคณะ อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดทุกจังหวัด

๔. นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด

๕. อุตสาหกรรมจังหวัด

๖. เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด

๗. เกษตรจังหวัด

๘. พาณิชย์จังหวัด

๙. นายอำเภอทุกอำเภอ

๑๐. ปลัดเทศบาล

๑๑. ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดหรือรองผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัด

๑๒. ผู้กำกับการหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองหรือรองผู้กำกับการหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอ

๑๓. เจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีตำแหน่งสารวัตรหรือรองสารวัตร ที่ทำหน้าที่ด้านป้องกันและปราบปรามของทุกสถานีตำรวจ

๑๔. เจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีตำแหน่งสารวัตรและรองสารวัตร องกองบังคับการตำรวจท่องเที่ยวที่ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลนักท่องเที่ยวในแต่ ละเขตพื้นที่

๑๕. นักวิชาการเกษตร เจ้าพนักงานการเกษตร และ เจ้าหน้าที่การเกษตรตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไปกรมวิชาการเกษตร

๑๖. นักวิชาการสาธารณสุข ตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป ประจำกองทันตสาธารณสุข

๑๗. ทันตแพทย์ตั้งแต่ระดับ ๔ ขึ้นไป ประจำกองทันตสาธารณสุข

คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำเทศบาล

คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้มีคำสั่งที่ 3/2552 ลงวันที่ 20 เมษายน 2552 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำเทศบาล โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

1.รับ และพิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคในเขตพื้นที่ ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ประกอบ ธุรกิจ ในเรื่องเกี่ยวกับการถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือไม่ได้ความในการซื้อสินค้า เครื่องอุปโภค บริโภค หรือบริการที่มีการซื้อขายในท้องตลาด

2.เจรจา ไกล่เกลี่ยปัญหาข้อพิพาทเพื่อหาข้อยุติเบื้องต้น หากคู่กรณีไม่สามารถตกลงกันได้ ให้สอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อเสนอเรื่องต่อคณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภค ประจำจังหวัดพิจารณาดำเนินการ

3.ติดตาม สอดส่องพฤติการณ์ของผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งกระทำการใดๆอันมีลักษณะเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคและอาจจัดให้มี การทดสอบหรือพิสูจน์สินค้าหรือบริการใดๆตามที่เห็นสมควรและจำเป็น เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค

4.สั่ง ให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดส่งเอกสารหรือข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่มีผู้ร้องทุกข์ หรือเรื่องอื่นใดที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคมาพิจารณาได้ ในการนี้ จะเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงด้วยก็ได้

5.ประสานงานกับส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจและหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค

6.ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน และสร้างเครือข่ายความเข้มแข็งของประชาชนเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค

7.ดำเนินการอื่นๆตามที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดมอบหมาย

ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อสินค้าหรือบริการ ร้องเรียนที่

ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนผู้บริโภคเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

งานนิติการ กองวิชาการและแผนงาน

สำนักงานเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก โทร.073-615295


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น